ชงใช้ระบบการศึกษาสร้างความเป็นพลเมือง
ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบให้ตนรับข้อเสนอทางการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของสภาพัฒนาการเมือง ที่ต้องการส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นพลเมือง สิทธิ และหน้าที่ของพลเมืองของเยาวชน โดยสภาพัฒนาการเมืองได้เสนอแนวการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 12 แนวทาง ได้แก่
- ให้มีการจัดวางโครงสร้างทางการศึกษา เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบประชาธิปไตย
- จัดทำแผนในการสร้างครู และบุคลากรทางการศึกษา
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นพื้นที่การฝึกฝนสังคมประชาธิปไตยให้กับทุกคน ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร จนถึงนักการภารโรงให้ได้มีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตการคิด และการบริหารจัดการสังคมที่ตนเป็นสมาชิก
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดการศึกษา เพื่อสร้างพลเมืองที่สอดคล้องกับความต้องการของชุนท้องถิ่น
- ส่งเสริมการใช้หลักประชาธิปไตยในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชนโรงเรียน
- ส่งเสริมให้มีการสอนความรู้ทางการเมืองในระบบการศึกษาอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยของอายุตั้งแต่เด็ก
- ส่งเสริมให้มีการอบรมบ่มเพาะศีลธรรม
- เสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง ศธ. กับสถาบัน และองค์กรต่างๆ ของรัฐ
- สร้างความเป็นพลเมืองทั้งในสถานศึกษาและสถาบันครอบครัว
- ผลิตสื่อ เพื่อการศึกษาและสาธารณะ เผยแพร่แนวคิดการสร้างพลเมืองในวิถีทางประชาธิปไตย
- ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การสร้างพลเมือง ของศธ. ปี 2553
- ส่งเสริมให้มีการอ่านศึกษารัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นกฎหมายแม่บทที่สำคัญ
“ทางสภาพัฒนาการเมืองเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรการศึกษา เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในทุกระดับ ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้ใหญ่ พร้อมทั้งขอให้ ศธ. นำเสนอแนวทางดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ เพื่อการสร้างพลเมืองในระบบการศึกษา ทั้งนี้จะนำข้อเสนอดังกล่าวรายงานต่อ รมว.ศึกษาธิการ และนายกรัฐมนตรีต่อไป” ปลัด ศธ. กล่าว.
ที่มา : เดลินิวส์
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ก.ค.ศ.ไฟเขียวโยกย้าย 20 ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่าจากการประชุมก.ค.ศ.ที่มีพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เป็นประธานเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ว่าที่ประชุมยังอนุมัติย้ายและบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ผอ.สพท.) 20 ราย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)เสนอได้แก่ อนุมัติย้ายและแต่งตั้งให้
- นายกิตติพงศ์ พิพัฒน์ศิวพงศ์ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.) เขต 38 เป็น ผอ.สพม. เขต 39
และอนุมัติบรรจุและแต่งตั้งผอ.สพท.จากรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ 19 ราย ประกอบด้วย
- นายอำนาจ บุญทรง เป็น ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)สระบุรี เขต 1
- นายศักดิ์นิพน สว่างวงศ์ เป็นผอ.สพป.สมุทรปราการ เขต 2
- นายวิญญู สันติภาพวิวัฒนา ผอ.สพป.ลำพูน เขต 1
- นายสง่า ศรีงาม เป็นผอ.สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2
- นายอภินันท์ บุญรอด เป็นผอ.สพป.พะเยา เขต 2
- นายประนอม เชื้อหมอ เป็นผอ.สพป.เชียงราย เขต 2
- นายไพรวัลย์ จันทะนะ เป็น ผอ.สพป.ลำปาง เขต 2
- นายธานินทร์ ชลจิตต์ เป็นผอ.สพป.ชลบุรี เขต 2
- นายภูมิพัทร เรืองแหล่ เป็นผอ.สพป.เลย เขต 3
- นางสุดา สุขอ่ำ เป็น ผอ.สพป.จันทบุรี เขต 2
- นายพรชัย โพคันโย เป็น ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต 5
- นายรอง ปัญสังกา เป็นผอ.สพป.แพร่ เขต 2
- นายสุดใจ มอญรัต เป็น ผอ.สพป.กาญจนบุรี เขต 3
- นายวุฒิพล ฉนำกลาง เป็นผอ.สพป. แม่ฮ่องสอน เขต 2
- นายสมรักษ์ ถวาย เป็น ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1
- นายประหยัด สุขขี เป็นผอ.สพป.นราธิวาส เขต 3
- นายสมชาย รองเหลือ เป็น ผอ.สพม.เขต 38
- นายเกรียงพงศ์ ภูมิราช เป็น ผอ.สพม.เขต 9
- นายพะยอม วงษ์พูล ดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม. เขต 42
ที่มา : มติชน
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
เปิดรายชื่อ49ว่าที่ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา
นางรัตนา ศรีเหรัญ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนในฐานะปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ลงนามในประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เรื่องการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) รุ่นที่ 2 ซึ่งมีผู้ผ่านการอบรมและพัฒนา เพื่อรอแต่งตั้งให้เป็น ผอ.สพท.จำนวน 49 ราย ได้แก่
- นายสมรักษ์ ถวาย
- นายวันชาติ บัวสิงห์
- นายภูมิพัทธ เรืองแหล่
- นายเจริญ จำรัสกลาง
- นายพัฒนะ งามสูงเนิน
- นายนิวัฒน์ แก้วเพชร
- นายชูเกียรติ ก่อเกิด
- นายวิญญู สันติภาพวิวัฒนา
- นายยงศักดิ์ เชาวน์วุฒิกุล
- นายธานินทร์ ชลจิตต์
- นายไพศาล ปันแดน
- นายธันวา ดีช่วย
- นายอภิชัย ทำมาน
- นายวุฒิพล ฉนำกลาง
- นายณัฏฐ์พัชร์ ศรีสังข์
- นายสิงห์ โพธิ์งาม
- นายตั้ง อสิพงษ์
- นายไพจิต ไชยฤทธิ์
- นายประหยัด สุขขี
- นายสม พุ่มแก้ว
- นายเกรียงพงศ์ ภูมิราช
- นายสุดใจ มอญรัต
- นายประถม เชื้อหมอ
- นายอำนาจ บุญทรง
- นายบุญชู จันทร์ดำ
- นายพีรพงศ์ สุรเสน
- นายวัลลภ รองพล
- นายบรรพ์ ใสแจ่ม
- นายสะอาด อุสมา
- นางสุดา สุขอ่ำ
- นายสมชาย รองเหลือ
- นายสง่า ศรีราม
- นายพรชัย โพคันโย
- นายภัญญู ภูริศรี
- นายบุญสืบ กลิ่นธรรม
- นายธนัญชัย สายสุด
- นายไพรวัลย์ จันทะนะ
- นายรอง ปัญสังกา
- นายอภินันท์ บุญรอด
- นายศักดิ์นิพน สว่างวงศ์
- นายธีระวัฒน์ วรรณนุช
- นายคำจันทร์ รัตนอุปการ
- นายมรกต กลัดสะอาด
- นายทวีศิลป์ สารแสน
- นายอดิศักดิ์ มุ่งชู
- นายโกศล ฐานะ
- นายอดุลย์ศักดิ์ บุญเอนก
- น.ส.รัตติมา พานิชอนุรักษ์
- นายพยอม วงษ์พูล
” ในขั้นตอนจากนี้ไปจะมีการพิจารณาแต่งตั้งผู้ที่ผ่านการพัฒนาว่าจะให้ดำรงตำแหน่งในเขตพื้นที่การศึกษาใด โดยจะพิจารณาจากตำแหน่งที่ว่างและความจำนงของผู้ผ่านการพัฒนาที่ได้ระบุไว้ จากนั้นจะเสนอรายชื่อให้ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา (ศธ.)เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบในการประชุมครั้งต่อไป” นางรัตนา กล่าว
ที่มา : เดลินิวส์
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้วางงานการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ ภายในปี 2558 โดยปฏิรูปการเรียนรู้ นำกระบวนการจัดการเรียนการสอน หรือจัดกิจกรรมให้เด็ก โดยการเริ่มปรับกระบวนการเรียนการสอน เช่น สอนแบบบูรณาการมากขึ้น สอนการบ้านโดยให้เด็กทำโครงงานมากขึ้น หรือสอนภาษาโดยเน้นการสื่อสารมากขึ้น หรือการกำหนดกิจวัตรประจำวันของเด็กให้สอดคล้องกับสิ่งที่เหมาะสม
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้จะยกระดับคุณภาพการศึกษาและการสร้างโอกาสให้กับเด็ก โดยเรื่องยกระดับคุณภาพการศึกษา จะพัฒนา ร.ร. โดยใช้สื่อไอซีทีเพื่อการศึกษาแบบต่างๆ หรือยกระดับ ร.ร.เป็นกลุ่มๆ ส่วนโอกาสทางการศึกษาจะเน้นเรื่องการปรับค่าใช้จ่ายรายหัว เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กเข้ามาเรียนมากขึ้น แต่มีค่าใช้จ่ายน้อยลง
“รวมถึงอาเซียนเป็นตัวนำในการยกระดับการใช้ภาษาอังกฤษของเด็กเพื่อการสื่อสาร เพื่อให้เด็กพูดเป็น สื่อสารได้ ในระดับที่น่าพอใจ พร้อมปรับตัวเนื้อหาการสอนอาเซียน ให้เด็กเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจ การค้าขายกับอาเซียน เรียนรู้เรื่องภาษีอากร การค้าขายข้ามชาติ กฎหมายความมั่นคง รวมถึงเรียนรู้เรื่องเชิงสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์แบบสมานฉันท์ และพัฒนาเรื่องครู โดยครูทุกคนต้องได้รับการอบรมเทคนิคการสอนวิชาเฉพาะที่สอนอยู่ และอบรมเกี่ยวกับนโยบายหรือทิศทางการศึกษาไทย อย่างน้อย 2 ครั้ง” นายกมลกล่าว
ที่มา : moe
สมศ.เผยผลประเมินรอบสาม พบปัญหาคุณภาพสถาบันลดลง ขอโรงเรียนจัดเก็บข้อมูลให้ดี หลังพบยังมีปัญหานำฐานข้อมูลมาใช้ไม่ได้ จนรู้สึกว่า สมศ.สร้างภาระ รวมถึงไม่นำผลประเมินไปพัฒนาคุณภาพต่อ ขณะข้อร้องเรียน “ให้ยุบ สมศ.”ต้องกลับไปดูสาเหตุก่อน…
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เปิดเผยว่า ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สามที่ผ่านมา ใน 20 จังหวัด พบว่า มีสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคุณภาพการศึกษาลดลง เปลี่ยนจากสถานภาพรับรองเป็นไม่รับรองมีจำนวนมากกว่า และมีสถานศึกษาที่มีคุณภาพดีขึ้นถึง 3 เท่า คือ เปลี่ยนจากสถานภาพไม่รับรองเป็นรับรอง เมื่อนำมาวิเคราะห์พบว่า สาเหตุของคุณภาพที่ลดลงมาจากผู้บริหาร โดยเฉพาะตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งต้องทำงานแบบเอาจริงเอาจัง นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการโยกย้ายบุคลากร ทั้งผู้บริหารหรือครูโอนย้าย ทำให้ความรู้ติดตัวไปด้วย ประกอบกับคนไทยไม่มีพฤติกรรมการทำงานเป็นวิถีชีวิตคุณภาพ คือ ไม่บันทึกการทำงานไว้ ดังนั้น เมื่อ สมศ. เข้าประเมิน 1 เดือนก่อนการประเมินจึงรู้สึกเครียด เพราะต้องทำข้อมูลเอกสารหรือผลงานที่ทำมาเพื่อรับการประเมิน จึงรู้สึกว่า สมศ.สร้างภาระ
ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังพบปัญหาสำคัญตอนนี้ คือ การไม่นำผลประเมินไปใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพ ซึ่งเป็นความผิดพลาดอย่างมากของสถาบัน ซึ่งการไม่จัดเก็บข้อมูลที่ดี ไม่มีระบบฐานข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ได้ ทำให้เมื่อต้องมารื้อฟื้นสิ่งที่ทำมาทั้งหมดในเวลาสั้นๆ อาจทำให้ผลประเมินไม่สะท้อนคุณภาพที่แท้จริง ดังนั้น สถานศึกษาทุกแห่งควรทำระบบฐานข้อมูลและจัดเก็บเอกสารให้เป็นปัจจุบัน เมื่อ สมศ.เข้ารับการประเมินเมื่อไรก็นำผลงานมาแสดงได้
สำหรับกรณีสถาบันอุดมศึกษาต่อต้านการประเมินคุณภาพภายนอกนั้น ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ไม่มีประเทศใดที่ปฏิเสธการตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษา มีการกระจายอำนาจไปสู่สภามหาวิทยาลัย การตรวจสอบยิ่งต้องเข้มข้นขึ้นและต้องตรวจสอบให้บ่อยมากขึ้น การปฏิเสธการประเมิน โดยขอให้ยุบ สมศ.และไม่ต้องการรับผลการประเมินคุณภาพภายนอกและนำไปใช้นั้น ต้องวิเคราะห์ว่า สาเหตุเป็นเพราะอะไร และสิ่งที่ สมศ.ประเมินที่ผ่านมาจะเป็นภาระหรือเพิ่มงานให้สถานศึกษามากขึ้นอย่างไร ซึ่งต้องบอกให้ได้ตัวบ่งชี้ไม่สะท้อนคุณภาพอย่างไร เช่น ดูเรื่องของศิษย์เก่า หรือตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
“ที่ผ่านมา สมศ.เชิญมหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมสร้างตัวชี้วัด สร้างมาตรฐานร่วมกันให้สอดคล้อง เพราะการประเมินในระดับมหาวิทยาลัยขณะนี้มันมีความหลากหลายมาก เพราะแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน แต่เนื่องจาก สมศ.ใช้เกณฑ์เดียวประเมินทุกสถาบัน เนื่องจากเป็นเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ สถาบันอุดมศึกษาอาจจะรู้สึกได้เปรียบเสียเปรียบกัน เกณฑ์การประเมินคุณภาพของ สมศ.ก็เหมือนกับเกณฑ์ของ อย.ที่มีมาตรฐานเดียว แต่ทางสถาบันอุดมศึกษาต้องการให้ สมศ.จัดเกณฑ์ให้หลายมาตรฐานสอดคล้องธรรมชาติหรือบริบทแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่ง สมศ.ได้ให้มหาวิทยาลัยจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย มาระยะหนึ่งแล้วจนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้าแต่ประการใด” ผอ.สมศ. กล่าว
ที่มา : ไทยรัฐ
Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre