ผอ.สพป.ระยอง เขต 2 ประสบอุบัติ

สพฐ

Print Friendly

29 ธันวาคม57 เวลา05:07น. รับแจ้งอุบัติเหตุบริเวณโค้งจินตหรา/สุขุมวิท/เข้าแกลง ม.6ต.ชากพง อ.แกลง จ.ระยอง เป็นเหตุเสียหลักชนต้นไม้ร่องกลาง
ส่งผลบาดเจ็บ1รายชาย ติดภายในตัวรถดำเนินการช่วยเหลือนำออกจากตัวรถปฐมพยาบาลก่อนนำส่ง ร.พ.แกลง เขต.รับผิดชอบ สภ.บ้านกร่ำ

โดย :  ชนปพส ทวีภูษิตทรง >> รายละเอียด , อาสากู้ภัยอำเภอ-แกลง >> รายละเอียด

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ปฏิรูปการศึกษา…เพื่ออะไร ?

Print Friendly

ในช่วงเวลาที่เรากำลังร่วมกันปฏิรูปการศึกษาของชาติ คำถามแรกที่เกิดขึ้นในใจของผม คือเราปฏิรูปการศึกษาเพื่ออะไร ?

อะไรคือความมุ่งหมายที่แท้จริงของการจัดการศึกษา ที่จะยังผลต่อความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของสังคมไทย และเนื่องในวโรกาสเดือนเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมขออัญเชิญพระบรมราโชวาทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการศึกษามา นำเสนอคู่กับความมุ่งหมายการจัดการศึกษาของประเทศชั้นนำทางด้านการศึกษา อย่างเช่นสิงคโปร์และฟินแลนด์ พวกเขากำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาไว้อย่างไร และสอดคล้องกับสิ่งที่พระองค์ท่านพระราชทานแนวพระราชดำริไว้อย่างไร

วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญา บัตรแก่บัณฑิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร มีใจความตอนหนึ่งว่า…ประเทศชาติของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ

“ผลการศึกษา อบรมในวันนี้จะเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของชาติในวันข้างหน้า ท่านทั้งหลายจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อท่านออกไปเป็นครู ท่านต้องพยายามทำหน้าที่ของท่านให้สำเร็จโดยสมบูรณ์”

ปี 1997 (พ.ศ. 2540) นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ (ในขณะนั้น) โก๊ะ จก ตง ประกาศวิสัยทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่อง “Thinking Schools, Learning Nation” (TSLN) และเป็นที่มาของจุดมุ่งหมายให้ “การศึกษา” เป็นสิ่งหล่อหลอมอนาคตของชาติ (Molding the Future of the Nation) จัดการศึกษาเพื่อสร้างเด็กที่มีความเป็นผู้นำ มีความเป็นพลเมืองที่เอาธุระกับส่วนรวม ให้การเรียนรู้ที่ได้สมดุลรอบด้านแก่เด็ก ๆ ต้องพัฒนาเด็กให้เข้าถึงศักยภาพที่เต็มที่ของแต่ละคน ฟูมฟักให้เป็นพลเมืองที่ดี เป็นพลเมืองที่มีสำนึกถึงความรับผิดชอบต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตสถาบันเดิม มีใจความตอนหนึ่งว่า…การให้การศึกษานั้น กล่าวโดยจุดประสงค์ที่แท้จริง คือการสร้างสรรค์ความรู้ ความคิด พร้อมทั้งคุณสมบัติและจิตใจที่สมบูรณ์ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล เพื่อช่วยให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและราบรื่น ทั้งสามารถบำเพ็ญประโยชน์สุขเพื่อตน เพื่อส่วนรวมได้ตามควรแก่อัตภาพ ผู้ทำหน้าที่ด้านการศึกษาทุกฝ่ายทุกระดับ ควรจะได้มุ่งทำงานเพื่อวัตถุประสงค์นี้ยิ่งกว่าสิ่งใด

ปี 1970-1980 (พ.ศ. 2513-2523) ฟินแลนด์มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องการศึกษา โดยเปลี่ยนจุดมุ่งหมายจัด “การศึกษา” เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมด้วยโครงสร้าง ระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น และจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของตน (Equity, Flexible Structures and High Level Education to all)

พระบรมราโชวาทของในหลวงทั้ง 2 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2508 และ 2515 สะท้อนแนวพระราชดำริที่ลึกซึ้ง ล้ำสมัย ที่พระราชทานให้แก่เราชาวไทยมาล่วงหน้า เป็นทิศทางเดียวกับที่ทั้งสองประเทศใช้เป็นความมุ่งหมายในการจัดการ ศึกษา…พัฒนาอย่างมุ่งมั่นจนเป็นประเทศชั้นนำเรื่องการศึกษาในปัจจุบัน

พ.ศ. 2557 ประเทศไทยใน “วาระแห่งการปฏิรูปการศึกษาเพื่อการปฏิรูปประเทศ” ร่างแผนการแนวทางปฏิรูปการศึกษา (2558-2564) ของกระทรวงศึกษาธิการ ระบุเป้าหมายการศึกษาเพื่อให้คนไทย คือ 1) เป็นคนดี 2) มีความรู้ ความสามารถ 3) สมานฉันท์ 4) มีศักยภาพในการแข่งขัน 5) สามารถสื่อสาร 6) คิด วิเคราะห์ 7) แก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล 8) มีคุณธรรม จริยธรรม 9) มีจิตสาธารณะ 10) มีระเบียบวินัย 11) เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 12) ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย 13) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 14) มีค่านิยมภูมิใจในความเป็นไทย และ 15) สามารถก้าวทันโลก

หากท่านลองพิจารณาความเหมือนและความต่างในสาระทั้งปวงที่ผมนำเสนอ คำสำคัญที่ปรากฏอยู่ในเรื่องการจัดการศึกษาของฟินแลนด์และสิงคโปร์ คือการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม การพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพของแต่ละคน การเรียนรู้อย่างสมดุล ความเป็นพลเมืองของสังคมและชาติ และการเป็นทรัพยากรที่มีค่าของประเทศ

สิ่งที่ต่างคือสิงคโปร์จะเน้นที่ความเป็นพลเมืองของชาติ และหล่อหลอมทรัพยากรที่มีคุณค่าสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต ในขณะที่ฟินแลนด์เน้นระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ไม่ว่าจะอายุเท่าใด ให้ความสำคัญในการเรียนตามศักยภาพสูงสุดของแต่ละคน

หันกลับมาเปรียบ เทียบกับไทย เป็นที่น่าสังเกตว่า เราระบุเป้าหมายคนไทยให้มีคุณลักษณะย่อยถึง 15 ประการ เปรียบคล้ายกับการผลิตสินค้าโดยใช้ 15 ชิ้นส่วนย่อยมาประกอบกันโดยมิได้แสดงให้เห็นว่าแต่ละส่วนเชื่อมโยงสัมพันธ์ เป็นระบบอย่างไร ผมได้แต่ตั้งคำถามในใจว่า หากเราวางแนวทางการปฏิรูปไว้เช่นนี้

เราจะได้คนไทยอย่างที่เราหวังหรือไม่ ?

เพราะในความเป็นจริง เด็กแต่ละคนก็มีความเก่งและศักยภาพในเรื่องที่แตกต่างกัน แล้วเราจะทำอย่างไรให้เขามีคุณสมบัติทั้งหมดนั้นตามที่เราหวัง เรามีจุดมุ่งหมายรวมที่ชัดเจนแล้วหรือยัง

เราปฏิรูปการศึกษาเพื่ออะไร ?

หากเป้าหมายมีแต่เรื่องรายละเอียด หากไม่ได้มองกระบวนการหล่อหลอมเด็ก ๆ ที่เป็นระบบ หากต่างคนต่างคิดแล้วเอาแต่เพียงคีย์เวิร์ดมาปะติดปะต่อกัน การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จะเป็นอย่างไร….ผมเว้นไว้ให้คุณเติมคำตอบเอง

โดย : คอลัมน์ Education Ideas โดย ศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

จี้บอร์ดคุรุสภาตรวจสอบสาขาขาดแคลนจริง ส.ค.ศ.ท. ยันใช้ครูจบตรงวุฒิดีกว่า

Print Friendly

ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย(ส.ค.ศ.ท.) กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภามีมติเห็นชอบและประกาศสาขาขาดแคลนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 98 สาขาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)จำนวน 10 สาขา

ที่จะผ่อนผันโดยออกหนังสือปฏิบัติการสอนชั่วคราว เพื่อให้สามารถยื่นสอบบรรจุข้าราชการได้แต่จะต้องพัฒนาตนเพื่อให้สามารถผ่านให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ ว่า ในการประชุม ส.ค.ศ.ท.ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้หารือกันในประเด็นดังกล่าว เพราะเห็นว่าสาขาวิชาขาดแคลนที่บอร์ดคุรุสภาประกาศ หลายสาขาไม่ขาดแคลนจริงบางสาขาเป็นเพียงวิชาแขนงหนึ่งของบางสาขาที่เปิดสอนอยู่เท่านั้น ทำให้เมื่อถึงเวลาเปิดสอบแข่งขันจึงเปิดสอบไม่ได้หรือไม่มีคนมาสอบ จึงอยากให้คุรุสภาตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนว่าเป็นสาขาขาดแคลนจริงหรือไม่ ขณะเดียวกัน ส.ค.ท.ศ.ยังยืนยันว่าควรต้องใช้ครูที่จบวุฒิการศึกษามาโดยตรงจะดีกว่า

“ทาง ส.ค.ศ.ท.เห็นว่าตอนนี้ทั้ง สอศ. สพฐ.และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) มาขอใบอนุญาตสอนชั่วคราวกันมาก จึงอยากขอให้คุรุสภาตรวจสอบให้ดี ๆ ว่า สาขาที่ขอมาขาดแคลนจริงหรือไม่ เพราะเท่าที่ทราบหลายสาขาที่ขอมาไม่ขาดแคลนจริง เป็นเพียงแขนงที่เป็นวิชาย่อยในสาขานั้น และขณะนี้ก็ยังไม่มีมหาวิทยาลัยใดส่งหลักสูตรมาให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)รับรองเพื่อตีค่าเงินเดือน”ผศ.ดร.สุรวาทกล่าวและว่า อย่างไรก็ตามขณะนี้สิ่งที่สถานศึกษาต้องทำ คือ ดูว่าสาขาที่ตัวเองขาดแคลนมีอะไรและต้องการได้ครูสาขาอะไร แล้วแจ้งให้ฝ่ายผลิตทราบล่วงหน้า เพื่อจะได้วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ แต่หากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ผลิตให้ไม่ได้ จึงค่อยมาสรุปว่านั่นคือสาขาขาดแคลน

ด้าน นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ได้เสนอให้บอร์ดคุรุสภาประกาศสาขาวิชาขาดแคลน 21 สาขา แต่ผ่านเพียง 10 สาขาส่วนที่ไม่ผ่านเพราะที่ประชุมมองว่ามหาวิทยาลัยเปิดสอนซึ่งก็ไม่เป็นไร เพราะทั้ง 10 สาขาที่ได้รับอนุมัติก็ตรงกับความต้องการของ สพฐ. ที่อยากได้คนเก่งและจบสายตรง อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ สพฐ.ก็จะทำหนังสือไปยัง ก.ค.ศ.เพื่อให้ ก.ค.ศ.รับรองหลักสูตรและกำหนดค่าตำแหน่งและเงินเดือนต่อไป

ที่มา : ผู้จัดการ

“คลัง” เตรียมชง 30 ธ.ค.นี้ เคาะขึ้นเงินเดือน ขรก.บำนาญ เผยมี 3 แนวทาง

Print Friendly

นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เมื่อกลุ่มราชการได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนแล้ว จึงต้องการดูแลข้าราชการบำนาญด้วยเช่นกัน กรมฯ จึงได้ศึกษาแนวทางการปรับเพิ่มรายได้ให้นายกรัฐมนตรีตัดสิน 3 แนวทาง เช่น ปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ การปรับเพิ่มเงินเดือน หวังช่วยเหลือราชการบำนาญให้มีรายได้เพิ่ม คาดว่าเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาวันที่ 30 ธันวาคม 2557 นี้

รายงานข่าวแจ้งว่า นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ลงนามอนุมัติการปรับเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558 โดยใช้งบกลางเพิ่มขึ้น 3,855 ล้านบาท ข้าราชการบำนาญได้รับประโยชน์ 533,328 คน เนื่องจากที่ผ่านมา เมื่อมีการปรับเพิ่มเงินข้าราชการ การปรับเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของข้าราชการระดับล่าง กระทรวงการคลัง จะเสนอปรับเพิ่มเงิน ช.ค.บ.ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้แก่ข้าราชการทุกระดับ

โดยก่อนหน้านี้ ครม.อนุมัติปรับเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการ และพนักงานราชการทุกประเภทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จำนวน 1.98 ล้านคน ใช้งบ 22,900 ล้านบาท สำหรับบัญชีเงินเดือนแบบช่วง มีข้าราชการอีก 6 ประเภท ได้ขึ้นเงินเดือนเพิ่มเติมอีก 1 ขั้น หรือร้อยละ 4 และยังปรับเพดานเงินเดือนให้อีก 3 ขั้น หรือประมาณร้อยละ 10 สำหรับกลุ่มข้าราชการที่อัตราเงินเดือนเต็มเพดานแล้ว

และก่อนหน้านี้ ก็ยังได้ปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งเป็นข้าราชการประดับล่าง มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป และยังปรับเพดานเงินเดือนขั้นสูงจาก 12,285 บาท เป็น 13,285 บาท รวมทั้งปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากอัตราเดือนละ 1,500 บาท เป็น 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนแล้วต้องไม่เกินเดือนละ 13,285 บาท และกรณีที่มีรายได้ไม่ถึงเดือนละ 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นอีกจนถึงเดือนละ 10,000 บาท

ที่มา : ผู้จัดการ

รมว.ศธ.กำชับทุกสถานศึกษา เข้มงวดทำกิจกรรมข้างนอก

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดอุบัติเหตุรถบัสนักเรียนจากจังหวัดลำปาง เสียหลักพลิกทับรถตู้รับส่งนักเรียนเทศบาลแม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย บริเวณแยกแม่สาย-เชียราย เป็นเหตุให้มีเด็กนักเรียนเสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เมื่อเย็นวันที่ 26 ธันวาคม 2557 นั้น หลังได้รับรายงานเหตุการณ์ดังกล่าว ตนได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ในพื้นที่ จ.เชียงราย และ จ.ลำปาง ไปช่วยเหลือให้กำลังใจ ให้คำปรึกษานักเรียน และครอบครัวของนักเรียนที่ประสบเหตุอย่างใกล้ชิดทันที และได้สั่งการให้ศูนย์เฉพาะกิจดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ฉก.ชน.) ลงพื้นที่ติดตามดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครอบครัว อย่างใกล้ชิด เบื้องต้นตนได้รายงาน พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ท่าน รมว.ศธ. ได้ฝากแสดงความเสียใจกับครอบครัวของนักเรียนที่เสียชีวิต และได้สั่งการให้กำชับสถานศึกษาเรื่องการนำนักเรียนไปร่วมกิจกรรม ทัศนศึกษา หรือออกไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ตามสถานที่ต่างๆ นอกโรงเรียน ให้พิจารณาความจำเป็น และให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เบื้องต้นทราบว่า รถบัสเป็นของบริษัทนิวอุดมลำปางทัวร์ พานักเรียนเดินทางมาจากจังหวัดลำปาง ขับมาจากอำเภอเมืองเชียงราย โดมุ้งหน้าไปอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุเบรคกระทันหันเสียหลักปีนเกาะกลางถนนแล้วพลิกทับรถตู้รับส่งนักเรียนซึ่งจอดรอสัญญานไฟในทิศทางเดียวกัน จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตดังกล่าว ซึ่งขณะนี้สรุปมีนักเรียนเสียชีวิต 1 คน สาหัส 1 คนและ ป่วยดูอาการ 3 คน ซึ่ง เบื้องต้น สพฐ.ได้มอบเงินให้นักเรียนที่เสียชีวิต 10,000 บาท บาดเจ็บเล็กน้อย รายละ 3,000 บาท ที่พักรัษาตัว รายละ 5,000 บาท

นับเป็นเหตุการณ์ที่เศร้าสลด ก็ขอให้หน่วยงานสถานศึกษาช่วยกันดูแลสอดส่องเรื่องการจัดกิจกรรมนอกสถานศึกษาเน้นย้ำขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กนักเรียนให้มากที่สุด” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ที่มา : แนวหน้า

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

เปิดงาน “สพฐ. ก้าวไกล นำการศึกษาไทยสู่อาเซียน”

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า สืบเนื่องจากการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 สพฐ.ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศ ดำเนินการสร้างความตระหนักรู้และความพร้อมกับนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด โดยกำหนดเป็นนโยบายและดำเนินการในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมที่จะเป็นพลเมืองอาเซียนที่สามารถแข่งขันได้ และอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านได้อย่างสันติสุข ผ่านการเรียนรู้ด้านหลักสูตร โครงการ กิจกรรมต่างๆ อาทิ โครงพัฒนาภาษาอังกฤษสู่อาเซียน โครงการภาษาที่สอง โครงการพัฒนาโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน (Spririt of ASEAN) โครงการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) เป็นต้น

เพื่อเป็นการนำเสนอผลงานการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ตลอดจนถึงจุดเน้นและทิศทางในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานภายหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 จึงได้จัดงาน “สพฐ. ก้าวไกล นำการศึกษาไทยสู่อาเซียน” ภายในงานประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่

  • การเสวนาพัฒนาการศึกษาไทย ในหัวข้อ “การศึกษาไทยในเวทีอาเซียน” “เตรียมความพร้อมเด็กไทยสู่เวทีอาเซียน” ของผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น
  • นิทรรศการแสดงผลการดำเนินงาน ของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. แบ่งเป็น 3 โซน ได้แก่ 1) นิทรรศการอาเซียนกับการศึกษาไทย 2) นิทรรศการ “สพฐ.ก้าวไกล นำการศึกษาไทยสู่อาเซียน” เป็นค่ายภาษาอังกฤษของนักเรียน 4 ระดับชั้น 3) นิทรรศการ “สพฐ.ต่อยอด อนาคตการศึกษาไทย ก้าวสู่เวทีอาเซียนอย่างยั่งยืน” นำเสนอสถานการณ์จำลองเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและภายหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 เชิงบูรณาการ ทั้งเนื้อหา กระบวนการ ภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียน

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศธ. กล่าวว่า สพฐ.ดำเนินการกิจกรรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและสู่โลกในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียนและบุคลากรในสังกัดมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะภาษา ทั้งภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากลางที่ใช้ในประชาคมอาเซียน และภาษาที่ใช้ในประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนถึงการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ คุณลักษณะที่สำคัญของความเป็นพลเมืองอาเซียนและพลเมืองของโลก

ภาพจาก moe

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญของการศึกษาในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และได้กำหนดเป็นนโยบายเฉพาะในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 และการดำรงความต่อเนื่องภายหลังจากการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว โดยมีเป้าหมายดังนี้

  • เพื่อให้มีความพร้อมในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นักเรียนนักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
  • เพื่อให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ ขยายความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษา ตลอดจนการเปลี่ยนทางการศึกษากับประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้สามารถพัฒนาและเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาประเทศสมาชิกอาเซียน
  • เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการยอมรับในความแตกต่างหลากหลายในลักษณะของสังคมพหุวัฒนธรรม และให้ความเคารพในอุดมการณ์ ความเชื่อ บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ให้กับนักเรียนนักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ

จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายว่า จะทำอย่างไรให้เรื่องที่ได้ดำเนินการไปแล้วหรือเรื่องที่กำลังจะดำเนินการต่อไป บรรลุถึงเป้าหมายและบังเกิดผลได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม รักสันติสุข มีความอดทนอดกลั้น ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา และความท้าทายต่างๆ ในศตวรรษที่ 21

ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในเรื่องของการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ ศธ.ได้พิจารณางานที่ต้องดำเนินการจากหลายส่วน เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 นโยบายของรัฐบาลว่าด้วยการส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน และประเด็นสำคัญด้านการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ได้สรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงานของ ศธ.ว่าด้วยการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนไว้ ดังนี้

“เสริมสร้างความเข้าใจ ใฝ่รู้ภาษา มุ่งพัฒนาสัมพันธ์ เท่าทันเทคโนโลยี สามัคคีอาเซียน” ซึ่งสามารถขยายความได้ดังนี้

  • เสริมสร้างความเข้าใจ หมายถึง การเข้าใจในสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์พื้นฐานของแต่ละประเทศและในประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก
  • ใฝ่รู้ภาษา หมายถึง ใฝ่รู้ที่จะเข้าใจภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน และภาษาของประเทศคู่เจรจา
  • มุ่งพัฒนาสัมพันธ์ หมายถึง การพัฒนาความร่วมมือที่ดีระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม รวมทั้งกับประเทศสมาชิกอาเซียน
  • เท่าทันเทคโนโลยี หมายถึง การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาคนและการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในทุกระดับและตลอดชีวิต

อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ดำเนินการทั้ง 4 กระบวนการที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็จะส่งผลให้เรามีความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเมื่อทุกประเทศมีความพร้อม ก็จะนำเข้าสู่ “ความสามัคคีของอาเซียน” ต่อไป

ดังนั้น จึงขอให้ทุกคนที่อยู่ ณ ที่นี้ ช่วยขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความมุ่งมั่นตั้งใจของทุกคนจะประสบความสำเร็จและเกิดผลสัมฤทธิ์ในที่สุด

โดย : นวรัตน์ รามสูต,บัลลังก์ โรหิตเสถียร
ที่มา : moe

เริ่มเรียนธรรมศึกษาใน ร.ร.ปี 58

Print Friendly

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานเปิดการประชุมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในสถานศึกษา ที่หอประชุมพุทธมณฑล จ.นครปฐม พร้อมทั้งกล่าวว่า การส่งเสริมการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาจะประสบผลสำเร็จได้คณะสงฆ์ต้องสนับสนุนครูพระ และสื่อการเรียนการสอน ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องเอาใจใส่ ให้ความสำคัญ และกำหนดเป็นหลักสูตร ศธ.และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ต้องร่วมกันติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ด้าน พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตามที่ ศธ.ได้ลงบันทึกข้อตกลงร่วมกับ พศ. และสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในสถานศึกษานั้น ทาง ศธ.จะเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2558 โดยจะกำหนดให้นักเรียน ป.6 เริ่มเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี และจัดการเรียนธรรมศึกษาต่อเนื่องในระดับมัธยมศึกษา

ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ.กล่าวว่า ศธ.จะหารือกับสถานศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำคะแนนสอบธรรมศึกษาไปใช้ในการพิจารณารับนักเรียนเข้าเรียนต่อ ม.1 และ ม.4 ด้วย.

ที่มา : moe

ติวครูฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาพัฒนาสื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

Print Friendly

โลกวิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีความสำคัญแขนงหนึ่งในทางวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งทุกประเทศในโลกใบนี้ต่างก็ให้ความสำคัญกับวิชานี้ จะต้องมีการสอนในระดับโรงเรียน และมหาวิทยาลัย จะต้องวิเคราะห์ทดลอง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ นอกจากนี้มีกิจกรรมการทดลอง ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน

โดยศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต หรือศึกษาการเคลื่อนที่แบบต่างๆ จากการสังเกต และรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ แล้วสรุปเป็นทฤษฎีและกฎ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่าวิชาฟิสิกส์เป็นหัวใจของวิชาวิทยาศาสตร์ ใช้ตรรกศาสตร์ และคณิตศาสตร์ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีด้านต่างๆ วิชานี้จึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่าวิชาอื่นๆ

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดยศูนย์บริการวิชาการ ได้ร่วมกับสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ จัดอบรมตามโครงการส่งเสริมการพัฒนาอุปกรณ์ และสื่อการสอนสำหรับครูฟิสิกส์ ให้กับครูฟิสิกส์จากโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วจังหวัดเชียงราย เพื่อให้ครูในจังหวัดเชียงราย มีอุปกรณ์การทดลอง และสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมในหัวข้อต่างๆ ในวิชาฟิสิกส์ และสามารถทำการบำรุงรักษา และนำอุปกรณ์เครื่องมือที่มีอยู่ออกมาใช้ในการเรียนการสอน รวมถึงสามารถประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่และหาได้ง่ายมาใช้เป็นสื่อการสอนในชั้นเรียนเพื่ออธิบายหลักการทางฟิสิกส์ อีกทั้งการอบรมยังมีส่วนช่วยให้มีการจัดตั้งกลุ่มให้คำปรึกษาในการดูแลการใช้งานอุปกรณ์อย่างถูกวิธี ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้านฟิสิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในวิชาดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น โดยการอบรมมีทั้งการบรรยาย และฝึกปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงพัฒนาอุปกรณ์ และสร้างสื่อการเรียนการสอน

นางพรทิพย์ ยศโยธิน ครูฟิสิกส์จากโรงเรียนป่าแดดวิทยาคม เข้าอบรมครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า การเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์นั้น อุปกรณ์ หรือสื่อการสอนมีความสำคัญมากที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียนอย่างแท้จริง เพื่อเป็นฐานให้พวกเขาเรียนต่อไประดับสูงเป็นไปด้วยดี แต่ด้วยความขาดแคลนจึงทำให้การเรียนการสอนในชีวิตจริงทำได้เพียงอธิบายตามตำรา หรือเปิดคลิปวีดีโอการทดลองต่างๆ ให้นักเรียนดูประกอบการเรียนแทน หรือบางครั้งครูกับภารโรงก็ช่วยกันหาวัสดุที่อยู่ใกล้ๆ ตัวมาประยุกต์สร้างอุปกรณ์ง่ายๆ แต่ก็ขาดรายละเอียดสำคัญๆ ไป

“ห้องปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ที่มีอุปกรณ์พร้อมๆ อาจจะมีราคาราว 3-4 แสนบาท แต่งบประมาณที่ได้คือ 5,000 บาทต่อปี เงินจำนวนนี้หมดไปกับค่าเอกสารประกอบการเรียน” ครูที่เข้าร่วมอบรมดังกล่าวให้เหตุผลถึงการไม่มีโอกาสสอนการทดลองให้กับนักเรียนของพวกเขาทั้งที่รู้ว่ามีความสำคัญอย่างไร

ในการอบรมครูพรทิพย์ และเพื่อนครูจากโรงเรียนอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ได้ร่วมกับคณาจารย์ในสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มฟล. ช่วยกันมองหาวัสดุที่ราคาไม่แพง หรือหาได้ง่ายในท้องถิ่นมาประยุกต์เพื่อสร้างอุปกรณ์และสื่อการสอนขึ้น ทำให้เกิดอุปกรณ์การเรียนเกี่ยวกับ “การเคลื่อนที่” โดยใช้รางอะลูมิเนียมที่ใช้กับงานกระจกติดเข้ากับสายวัดรอบเอวของอุปกรณ์ตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อทำหน้าที่สเกล ทั้งยังมีอุปกรณ์การเรียนรู้อื่นๆ โดยผู้จัดการอบรมนี้ช่วยจุดประกายให้ผู้เข้าอบรมเป็นผู้มองหาอุปกรณ์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้าอบรมให้ออกแบบการนำมาใช้งานด้วยตัวเอง เพราะหากอุปกรณ์เกิดปัญหาผู้เข้าอบรมซึ่งมีความเข้าใจการทำงานของอุปกรณ์เป็นอย่างดีแล้วจะสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง

ครูพรทิพย์ เล่าต่อว่า เคยเข้ารับการอบรมกับ มฟล.มาก่อนเกี่ยวกับเทคนิคการสอน แต่พอทางมหาวิทยาลัยทราบเรื่องที่ครูไม่สามารถสาธิตการทดลองเคมีให้กับนักเรียนได้เรียนได้เพราะไม่มีสารเคมีสำหรับการทดลอง ก็ได้รับความช่วยเหลือประสานงานจัดหาให้ ทำให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้แบบได้ทดลองด้วยตัวเอง เมื่อทราบข่าวเรื่องการจัดอบรมนี้จึงได้รีบสมัครเข้าร่วมเนื่องจากตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

โดย : รมณ รวยแสน
ที่มา : moe

ชู “ความรู้คู่คุณธรรมนำสู่อนาคต” จัดวันเด็กปี 58

การศึกษาไทย

Print Friendly

ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เตรียมจัดงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2558 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 10 ม.ค.2558 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเด็กและเยาวชนให้มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัยที่มีต่อตนเองและสังคม โดยมี 2 กิจกรรมสำคัญเริ่มจากการนำเด็กและเยาวชนดีเด่นและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ 779 คน เข้าเยี่ยมคารวะและรับโล่รางวัลจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 7 ม.ค. จากนั้นวันเสาร์ที่ 10 ม.ค. ศธ.ร่วมกับ 20 หน่วยงาน อาทิกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดงานวันเด็กที่สนามเสือป่า โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิด ภายใต้คำขวัญวันเด็กของนายกรัฐมนตรี คือ ความรู้คู่คุณธรรมนำสู่อนาคต

ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า กิจกรรมงานวันเด็กที่สนามเสือป่าจะแบ่งออกเป็น 3 ดินแดน ส่วนแรกเป็นดินแดนอนาคต แบ่งออกเป็น 3 โซนย่อย ได้แก่

  1. โซนความเป็นไทย สืบสานวัฒนธรรมไทย โซนความเป็นอาเซียน และโซน workshop ให้เด็กประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ
  2. ดินแดนเด็กไทยคิดดีทำดี ในดินแดนนี้จะมีการนำเสนอค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ มีการถามตอบชิงรางวัลเกี่ยวกับค่านิยมหลัก 12 ประการ รวมถึงมีมุมหมากรุกไทยให้เด็กๆ ทดลองเล่นด้วย
  3. ดินแดนผจญภัยวัยเรียนรู้ มีเครื่องเล่นต่างๆให้เด็กๆมาเพลิดเพลิน แต่ในปีนี้ จะมีเครื่องเล่นเพิ่มเป็น 2 เท่า.

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

คะแนน GAT/PAT ค่าเฉลี่ยทรงตัว

Print Friendly

ผลสอบ GAT/PAT ค่าเฉลี่ยไม่ต่างปีก่อน คะแนนเขียนอ่าน คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา เต็ม 150 เฉลี่ยได้แค่ 82.22 ส่วนภาษาอังกฤษ เต็ม 150 เฉลี่ย 49.91, PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ เต็ม 300 เฉลี่ยได้ 51.56 ส่วน PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เต็ม 300 เฉลี่ยได้แค่ 86.72

นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (ผอ.สทศ.) กล่าวว่า ตามที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้จัดการทดสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ หรือ PAT ครั้งที่ 1/2558 สอบเมื่อวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2557 ขณะนี้ สทศ.ได้ทำการตรวจกระดาษคำตอบเรียบร้อยแล้ว และได้ประกาศผลสอบ GAT/PAT ไปเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 23.00 น. ซึ่งเร็วกว่ากำหนดการเดิม จะประกาศผลสอบในวันที่ 26 ธันวาคม สำหรับผู้ที่สนใจดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ สทศ. www.niets.or.th เพื่อที่นักเรียนจะได้นำผลวิเคราะห์วางแผนในการพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป สำหรับผู้ที่ต้องการยื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2558 สามารถยื่นคำร้องได้ตั้งแต่วันที่ 25- 27 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-16.00 น. โดย สทศ.จะให้บริการดูกระดาษคำตอบในวันที่ 11 มกราคม 2558 ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.

นายสัมพันธ์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สทศ.ได้วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนการสอบ ดังนี้ ความถนัดทั่วไป หรือ GAT คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 131.97 ต่ำสุด 0 สูงสุด 300, GAT 1 เขียนอ่าน คิดวิเคราะห์และแก้โจทย์ปัญหา คะแนนเต็ม 150 เฉลี่ย 82.22 ต่ำสุด 0 สูงสุด 150 GAT 2 การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 150 เฉลี่ย 49.91 ต่ำสุด 0 สูงสุด 150 PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 51.56 ต่ำสุด 0 สูงสุด 294, PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 86.72 ต่ำสุด 3 สูงสุด 237, PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 93.41 ต่ำสุด 16 สูงสุด 288, PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 94.99 ต่ำสุด 3 สูงสุด 261, PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 140.56 ต่ำสุด 12.50 สูงสุด 252.50, PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 129.06 ต่ำสุด 40 สูงสุด 248.50, PAT 7.1 ภาษาฝรั่งเศส คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 88.11 ต่ำสุด 27 สูงสุด 288, PAT 7.2 ภาษาเยอรมัน คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 82.29 ต่ำสุด 24 สู.สุด 288, PAT 7.3 ภาษาญี่ปุ่น คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 90.14 ต่ำสุด 30 สูงสุด 294, PAT 7.4 จีน คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 82.33 ต่ำสุด 9 สูงสุด 297, PAT 7.5 อาหรับ คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 91.11 ต่ำสุด 39 สูงสุด 285 และ PAT 7.6 บาลี คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 93.78 ต่ำสุด 39 สูงสุด 297

“ภาพคะแนนเฉลี่ยปีนี้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา แม้ PAT 1, PAT 2 และ PAT 3 จะคะแนนต่ำลง แต่ก็ถือว่าไม่มาก โดยจากการวิเคราะห์คะแนนสอบที่ออกมาย้อนหลัง 6 ครั้งที่ผ่านมา พบว่ามีคะแนนสูง บวก-ลบไม่เกิน 10 คะแนน ซึ่งไม่ถือว่ามีนัยสำคัญ สะท้อนว่าข้อสอบของ สทศ.ในแต่ละปีมีความยากและง่ายไม่ต่างกัน” ผอ.สทศ.กล่าว.

ที่มา : ไทยโพสต์

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre