สมศ.ย้ำเกณฑ์ประเมินคุณภาพต้องยึดตามมาตรฐาน ไม่ตามแต่สากล พร้อมหนุนทปอ.หากจะพัฒนา

สมศ

Print Friendly

ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษาเอง โดยจะส่งรายละเอียดให้ สมศ.พิจารณาภายใน 15 มกราคมนั้น ว่า ที่ผ่านมา สมศ. ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาลุกขึ้นมากำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินด้วยตนเองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหาก ทปอ.จะดำเนินการก็เป็นเรื่องที่ดี แต่สำคัญคือตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ที่กำหนดต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ต้นสังกัดกำหนดด้วย ไม่ใช่ยึดตามแต่สากล โดยเฉพาะเกณฑ์ประเมินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของหน่วยงานต่างๆ เพราะเน้นประเด็นบางด้านเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ ทปอ. จะกำหนดเกณฑ์การประเมินเอง แต่ในส่วนผู้ประเมินยืนยันว่าควรเป็นหน่วยงานกลาง ที่ไม่ได้อยู่สังกัดเดียวกับผู้รับการประเมิน

“ผมคาดว่าตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ที่ ทปอ.จะกำหนดขึ้นมานั้น คงหนีไม่พ้นองค์ประกอบหลักของการประเมินคุณภาพที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เช่น คุณภาพศิษย์ อาจารย์ และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ซึ่งเมื่อ ทปอ.ส่งเกณฑ์มาให้ สมศ.ตามที่ระบุ ภายในวันที่ 15 มกราคม ก็จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สมศ. ว่าจะเห็นชอบหรือไม่ นอกจากนี้ต้องเสนอให้ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) พิจารณาร่วมด้วย”ศ.ดร.ชาญณรงค์กล่าวและว่า อย่างไรก็ตา เชื่อว่าหากตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ที่ ทปอ.กำหนดมามีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่ สมศ. ดำเนินการอยู่ ก็คิดว่าน่าจะไม่มีปัญหาอะไร และคงจะนำมาใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ระดับอุดมศึกษาได้ ซึ่งจะเริ่มประเมินในวันที่ 1 ต.ค.2558

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพป.ระยอง เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วยครั้งที่ 9 จำนวน 10 อัตรา – ครูระยอง

Print Friendly

สพป.ระยอง เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วยครั้งที่ 9 จำนวน 10 อัตรา รายงานตัวบรรจุวันที่ 6 มกราคม 2558

สพป.ระยอง เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วยครั้งที่ 9 จำนวน 10 อัตรา

สพป.ระยอง เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วยครั้งที่ 9 จำนวน 10 อัตรา

>> รายละเอียด <<

บวงสรวงหนังสั้น”ครูพันธุ์ใหม่”หวังเสริมการพัฒนาจากล่างขึ้นบน – ครูระยอง

Print Friendly

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมกระทรวงศึกษาธิการร่วมกันผลักดันภาพยนตร์ สะท้อนปัญหา และแนวทางปฏิรูปการศึกษาไทย ต่อยอดจากจากเวทีเสวนา 4 ภาค ที่กระทรวงศึกษาธิการ บริเวณลานหน้ากระทรวงศึกษาธิการมีพิธีบวงสรวงเปิดตัวภาพยนตร์สั้นเรื่อง ครูพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เพื่อสื่อให้รู้ถึงแก่นแท้ของการศึกษาไทยที่ต้องพัฒนาจากล่างขึ้นบน การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา คุณภาพชีวิตครู ที่จะต้องนำมาบูรณาการร่วมมกัน โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบง่ายมีการจัดพิธีในแบบพราหมณ์ เพื่อบวงสรวงเปิดกล้องภาพยนตร์สั้นเรื่องครูพันธุ์ใหม่ที่ เบื้องต้นได้นักแสดงเป็นอดีตดัชชี่บอยปี 2013 นายภานุพงษ์ สมบัติพล มาเป็นนักแสดงหลัก และนักแสดงตัวน้อยจากจังหวัดร้อยเอ็ด

ภาพจาก มติชน

ดร.อธิปรัชญ์ ภัควัฒภักดี ที่ปรึกษากิติมศักดิ์คณะกร ธิการการศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติ ตัวแทนนายตวง อันทะไชย ประธานกรรมา ธิการการศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติ กล่าวว่า ภาพยนตร์ ดังกล่าวเกิดจากการจัดเวทีเสวนา 4 ภาค เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว ที่รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาจาก 7 ประชาคมการศึกษา ซึ่งเป็นการต่อยอดจากเวทีเสวนา เพื่อสะท้อนปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในระบบการศึกษาไทย ที่จะต้องนำเด็กมาเป็นศูนย์กลาง และแก้ปัญหาจากโรงเรียนโดยเน้นที่ครูผู้สอน ซึ่งภาพยนตร์ดังกล่าว เกิดจากจิตอาสานักแสดงเป็นครูฝึกสอนจริงที่รับรู้ปัญหาการศึกษาไทยในพื้นที่ ซึ่งรายได้การจัดทำภาพยนตร์ส่วนหนึ่งมาจากจิตอาสา นักแสดงไม่มีค่าตัว

ขณะที่นางธัญวรรณ เหมพนม ผู้กำกับ เปิดเผยว่า ภาพยนตร์ดังกล่าวจะสะท้อนแนวทางปฏิรูปการศึกษา ว่าครูต้องทำตัวเช่นใด และจะเป็นกานสะท้อนปฏิสัมพันธ์ของเด็ก กับครู ว่าจะเป็นอย่างไร และจะเป็นการกระตุ้นให้สังคมรู้ว่าการปฏิรูปการศึกษาเป็นของทุกคนที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งในวันที่ 16 มกราคมนี้ จะมีการเปิดตัวตอนแรกซึ่งจะเป็นการแนะนำตัวละคร ส่วนเรื่องเต็มทั้ง 13 ตอนนั้น ต้องรอข้อสรุปที่ตกผลึกจากคณะกรรมาธิการเสียก่อน ซึ่งอาจต้องมีการเพิ่มนักแสดง ส่วนเรื่องงบประมาณในการจัดสร้าวภาพยนตร์ขอยังไม่เปิดเผยรายละเอียด

ที่มา : มติชน

กระทรวงครู’58 กับภารกิจ “ปฏิรูป” เพื่ออนาคต!!

Print Friendly

เปิดศักราชใหม่..2558 แต่ภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยังคงต้องขับเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงาน “ปฏิรูปการศึกษา” ที่ส่งสัญญาณว่าน่าจะเป็นรูปเป็นร่างกว่าการปฏิรูปที่ผ่านมา ๆ แม้จะเพิ่งเริ่มต้น..

นั่นเพราะ ปฏิรูปการศึกษา ตามใบสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในภาพลักษณ์ของรัฐบาลท็อปบูทที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ที่ปักธงจะปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการปฏิรูปที่ใหญ่กว่าที่เคยทำมา เพราะต้องทำควบคู่ไปกับการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ที่ใช้ในการปกครองประเทศ

ส่งผลให้การปฏิรูปศึกษาถูกพูดถึงในมุมมองใหม่และกว้างขึ้น นั้นคือ “ปฏิรูปเพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ”

…เวลานี้ชัดเจนว่า คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ศธ. ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ นั่งหัวโต๊ะ มีเป้าหมายตรงกันที่จะให้การปฏิรูปการศึกษานั้นเป็นนโยบายพื้นฐานของทุกรัฐบาล ที่จะต้องเดินตามแนวทางให้เกิดความยั่งยืน ปราศจากการเมืองมาแทรกแซง สอดคล้องกับที่คณะกรรมาธิการการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่ได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ใน1 ใน 7 ข้อเสนอนโยบายพื้นฐานการศึกษาแห่งรัฐเพื่อให้สภานิติบัญญัติ (สนช.) พิจารณาและบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน ทั้งบอร์ดปฏิรูป ศธ. กมธ.ศึกษาฯ สปช.ยังเห็นทิศทางเดียวกันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการระดับชาติ เรียกแบบไม่ทางการว่า “ซุปเปอร์บอร์ด” เข้ามาทำหน้าที่ดูแลการกำหนดนโยบายการศึกษาในภาพรวม ตอบโจทย์การผลิตและการพัฒนาประเทศที่ต้องการ มีการควบคุมมีผู้รับผิดรับชอบต่อปัญหาการจัดการศึกษา แต่ขณะนี้ยังไม่กำหนดตุ๊กตาที่ชัดเจนว่าจะเป็นใครบ้างแต่เป้าหมายคือต้องมาจากทุกภาพส่วนเป็นตัวแทนของประชาชนที่มั่นใจให้ทำหน้าที่แทนได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงก็นับได้ว่าเป็นครั้งแรกของการศึกษาไทย

อย่างไรก็ตาม บอร์ดปฏิรูป ศธ.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ อีก 7 ชุด อาทิ ด้านงบประมาณ,ด้านพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ,ด้านการแก้ไขกฎหมายในภาพรวม ฯลฯ ทำหน้าที่ศึกษาและเป็นกลไกทำงานประสานระหว่างบอร์ดปฏิรูป ศธ. สปช.และ สนช. เพื่อให้การทำงานเดินไปทิศทางเดียวกัน โดยระยะเร่งด่วน1 ปีนี้จะมีกรอบทำงาน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.ยกระดับปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ โดยจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรอิสระทำหน้าที่ในการปฏิรูป ซึ่งจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2.ปฏิรูปนโยบายการศึกษาลดความเหลื่อมล้ำและให้โอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียม 3.ปฏิรูปโครงสร้างบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ซึ่งในเดือนมกราคม 2558 ศธ.จะเริ่มนำร่องโครงการกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษา 20 เขตมีอำนาจบริหารตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนซึ่งหากได้ผลในทางบวกก็จะขยายโครงการเพิ่ม เป็นต้น และ4.ปฏิรูปเชิงคุณภาพโดยเน้นการยกระดับความรู้

นอกเหนือจากงานปฏิรูปการศึกษาแล้ว ในปี 2558 ยังมีงานประจำที่ต้องทำต่อเนื่องคือ การปฏิรูปโครงสร้าง ศธ.ของ 3 องค์กรหลัก ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) โดยในส่วนสกอ.มีความชัดเจนแต่ต้นว่าต้องการขอแยกตัวเป็น “กระทรวงอุดมศึกษา” เพื่อความเป็นอิสระและการบริหารจัดการที่คล่องตัว เมื่อได้ไฟเขียวก็ยังยืนยันข้อเดิม ขณะที่สอศ.ซึ่งรัฐบาลและรมว.ศึกษายุคนี้ให้ความสำคัญกับผู้เรียนสายอาชีพอย่างมากเพราะเป็นหน่วยผลิตแรงงานฝีมือซึ่งมีความต้องการของประเทศ จึงให้ไปศึกษาเรื่องดังกล่าวเช่นกันและได้เสนอเป็น “ทบวงอาชีวศึกษา” ภายใต้กำกับ ศธ.และเสนอให้อาชีวเอกชนมารวมด้วยกันเพื่อให้การทำงานมีคุณภาพและมาตรฐานใกล้เคียงกัน ส่วนอีก 2หน่วยงานคือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักปลัด สป.ก็อาศัยโอกาสนี้ขอปรับเช่นกันโดย สพฐ.ขอแยกเป็น “ทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ด้วย

…แม้ ศธ.จะเปิดทางปฏิรูปโครงสร้าง แต่ก็ไม่ผลีผลามทำในทันทีเนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่ส่งผลต่อวงกว้าง ที่สำคัญต้องตอบสังคมได้ว่าปรับโครงสร้างแล้วช่วยแก้ปัญหาดีขึ้นอย่างไรด้วย อีกทั้งการปฏิรูปโครงสร้างเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา เช่นนี้ ศธ.จึงต้องโฟกัสไปที่ภาพใหญ่ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาก่อนว่าต้องทำอะไรบ้าง ถ้าไปกระทบกับโครงสร้างก็จะทำจุดนั้น

งานชิ้นใหญ่อีกชิ้นที่จะเกิดกับการศึกษาของปี 2558 นั่นคือ การปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เนื่องจากใช้มาเป็นระยะเวลา 6 ปีและถึงวงรอบที่จะต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ ประกอบกับมีการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่จึงต้องมีการปรับให้ตรงกับทิศทางของประเทศด้วยจึงถึงเวลาต้องปรับครั้งใหญ่ ซึ่ง สพฐ.ได้กำหนดกระบวนการและปฏิทินการดำเนินการเอาไว้เรียบร้อย โดยช่วงระยะครึ่งปีแรกตั้งแต่ม.ค.-พ.ค. 2558 จะเป็นการทำงานในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การกำหนดกรอบทิศทางหลักสูตร รับฟังความเห็น และช่วงครึ่งปีหลังมิ.ย.-ธ.ค. 2558 จะยกร่างหลักสูตรแกนกลาง เป็นต้น จากนั้นจะนำร่องหลักสูตรฯและคาดประกาศใช้หลักสูตรในเดือนพฤษภาคม 2560

แม้งานหลักของ ศธ.ในปีนี้จะไม่ใช่งานที่จะเห็นผลได้ในระยะสั้น แต่ต้องวาดภาพเผื่อยาวไปนับ 10 ปีจึงเป็นงานวางรากฐานและหวังผลสำเร็จที่ปลายทางเรียกว่า “อนาคต”

ที่มา : ผู้จัดการ

10 ข่าวการศึกษากระแทกใจรอบปี 57

การศึกษาไทย

Print Friendly
  • การศึกษาไทยรั้งท้าย
    ปี 2557 ตอกย้ำคุณภาพอันตกต่ำของการศึกษาไทย ด้วยรายงานผลโกลบอล คอมเพทติทีฟ รีพอร์ท 2014-2015 ของ เวิร์ดอีโคโนมิค ฟอรั่ม ที่ระบุว่า ในระดับโลกคุณภาพระบบการศึกษาไทยอยู่อันดับที่ 87 ถดถอยลง 9 อันดับ และคุณภาพประถมศึกษาถดถอยลง 4 อันดับ จากปี 2556 เมื่อแยกเฉพาะกลุ่มอาเซียนที่เข้าร่วมการประเมิน 9 ประเทศ ทั้งคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคุณภาพระบบอุดมศึกษาไทย อยู่ในอันดับ 6 ตามหลังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่อยู่อันดับ 5 มาจับตากันว่าในปี 2558 นี้ คุณภาพการศึกษาไทยจะสละตำแหน่งรั้งท้ายได้หรือไม่
  • ปลดออก “ศศิธารา”
    มหากาพย์ครุภัณฑ์อาชีวะ คดีฉาวกรณีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา ตามโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 : ไทยเข้มแข็ง 2555 หรือ เอสพี 2 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ใช้เวลาในการสืบหาข้อเท็จจริงและสอบสวนผู้เกี่ยวข้องกันแบบข้ามปี จนที่สุดก็มีคําสั่งลงโทษปลด ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา ในกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวะ ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ออกจากราชการ คดีนี้ถือเป็นอีกคดีประวัติศาสตร์ของวงการศึกษาไทย ที่มีการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงกับผู้บริหารระดับสูง หรือ ระดับ 11 ของกระทรวงศึกษาธิการ ถึงขั้นปลดออกจากราชการ
  • รณรงค์เรียนอาชีวะพลาดเป้า
    ขณะนี้ประเทศไทย ต้องการกำลังคนช่างฝีมือระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เป็นจำนวนมาก การส่งเสริมให้เด็กเรียนสายอาชีพมากขึ้นจึงเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ที่มีหน้าที่ผลิตเด็กช่างโดยตรง จึงโหมรณรงค์ทุกรูปแบบและตั้งเป้าหมาย ว่า ปีการศึกษา 2557 จะเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะต่อสายสามัญ เป็น 45 ต่อ 55 จากปี 2556 ที่มีสัดส่วน 36 ต่อ 64 แต่ก็ไม่สามารถขยับตัวเลขเด็กอาชีวะให้เพิ่มขึ้น ทำได้เพียงตรึงตัวเลขไม่ให้ลดลง และในปีการศึกษา 2558 สอศ.ก็ได้ตั้งเป้าหมายใหม่ไว้ที่ 41 ต่อ 59 โดยจับทุกวิทยาลัยเซ็นสัญญาว่าจะเพิ่มเด็กให้ได้ 5%
  • วงโยธวาทิตฉาว
    นี่ก็ดังแบบฉาว ๆ วงโยธวาทิต “Max Percussion Theater” โรงเรียนสตรีวิทยา 2 หลังครูและนักเรียนบุกขอยืมเงิน 3.1 ล้านบาท จากนายตัน ภาสกรนที เจ้าของน้ำชาเขียวยี่ห้อหนึ่ง เพื่อเหินฟ้าไปแข่งขันที่เมืองกังหันเนเธอร์แลนด์ ตามติดด้วยคลิปเสียงหลุดมาจากวงสนทนาว่า นายพชรพงศ์ ตรีเทพา ผอ.รร.สตรีวิทยา 2 เป็นผู้วางแผนให้ไปขอยืมเงิน จนเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต กระทั่งมีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง และสุดท้ายนายพชรพงศ์ ก็ถูกสั่งไปช่วยราชการที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กทม.เขต 2 จนถึงปัจจุบัน
  • ปลูกฝัง 12 ค่านิยมที่ดี
    ตีปี๊บดังกระหึ่ม!! แทบทุกหน่วยงานรณรงค์ปลูกฝังค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ บทกลอนอาขยานค่านิยมหลักคนไทย ฉบับ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถูกนำไปให้เด็กท่องขึ้นใจ ตามนโยบายสำคัญของนายกฯ ที่ว่า “เราจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง ฉะนั้นคนต้องเข้มแข็งก่อน” ทำให้เวลานี้ไปไหนมาไหนก็จะเห็นการรณรงค์ในรูปแบบต่าง ๆ เต็มไปหมด คงต้องรอดูกันว่ากระแสนี้จะกระฉ่อนข้ามปี หรือเลือนหายไปตามกาลเวลา
  • ชะลอประเมินอุดมศึกษา
    ถือเป็นการรวมพลังครั้งสำคัญของชาวอุดมศึกษา เมื่อ 4 เครือข่ายอุดมฯ ยื่นหนังสือด่วนที่สุด ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชะลอประกาศตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายภายนอกรอบสี่ ระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ซึ่ง คสช.ก็ไม่รีรอสั่งให้ สมศ.ชะลอทันที และดูท่าเรื่องนี้จะวุ่นไม่จบ เพราะล่าสุดที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ก็มีมติขอกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินมหาวิทยาลัยเอง
  • เกือบไม่ได้กู้ยืมเรียนกันแล้ว
    เต้นกันเป็นแถวทั้งเด็ก ผู้ปกครอง และสถาบันการศึกษา เมื่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)ถูกตัดงบประมาณ ปี 2557 ไปถึง 6,700 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ไม่มีเงินให้ผู้กู้รายใหม่ และผู้กู้รายเก่าจะไม่ได้กู้เรียนต่อ 141,671 ราย สุดท้ายรัฐบาลทนเสียงเรียกร้องไม่ไหวจัดสรรเงินเติมให้ กยศ.อีก 8,700 ล้านบาท ทำให้มีเงินมาหมุนให้กู้ต่อได้ แต่ทว่าปัญหาจริง ๆ ที่ทำให้ กยศ.ไม่มีเงินทุนมาหมุนเวียน เพราะผู้กู้ขาดสำนึกการชำระหนี้ จึงมีการคลอดกฎเหล็กออกมาว่าตั้งแต่ ปี 2561 กยศ.จะนำรายชื่อผู้ค้างชำระตั้งแต่ปี 2539 ถึงปัจจุบันเข้าสู่ระบบข้อมูลเครดิตบูโร หรือถูกขึ้นบัญชีดำว่าเป็นผู้มีปัญหาด้านการเงิน
  • ล้มแจกแท็บเล็ต
    หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าบริหารประเทศ ได้สั่งพับโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา(แท็บเล็ต)ต่อ 1 นักเรียน ที่รัฐบาลซื้อแท็บเล็ตแจกนักเรียน ชั้น ป.1 และ ม.1 ทั่วประเทศเป็นรายคนลง เพราะมองว่าการแจกแท็บเล็ตไม่ตอบโจทย์ระบบการศึกษาและสิ้นเปลืองงบฯ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เจ้าภาพหลัก ได้ชูโครงการสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ หรือสมาร์ทคลาสรูมขึ้นมาแทน แต่จนแล้วจนรอดโครงการที่จะนำมาทดแทนก็ยังไม่คลอดให้เห็นเป็นรูปธรรม
  • นักศึกษาต่อต้านสอบยูเน็ต
    ไม่เอายูเน็ต ไม่สอบยูเน็ต กระแสคัดค้านจากนิสิต นักศึกษา นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษาดังกระหึ่ม ทันทีที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศจะสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา หรือยูเน็ต กับเด็กระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายของทุกมหาวิทยาลัย ในทุกสาขาวิชา เพื่อทดสอบศักยภาพว่าที่บัณฑิต และล่าสุด สทศ.ยอมถอยลดวิชาที่จะสอบลง ไม่บังคับสอบ และไม่เปิดเผยข้อมูลผลการทดสอบ แต่ก็ยังไม่มีกำหนดเวลาการสอบออกมา
  • สจล.เงินหาย1.6พันล้าน
    เป็นข่าวฉาวโฉ่ส่งท้ายปี เมื่อผู้บริหารชุดปัจจุบัน นำโดย ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตรวจพบว่าเงินฝากของสถาบันฯซึ่งเป็นเงินคงคลังสะสมที่มีอยู่กว่า 3,000 ล้านบาท ถูกถอนออกไปอย่างผิดปกติตั้งแต่ปลายปี 2555 ถึง 1,663 ล้านบาท เรื่องนี้แม้จะจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องบางส่วนได้แล้ว แต่สังคมยังติดตามดูต่อไปว่าจะมีอดีตผู้บริหารระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ ถือเป็นเรื่องร้อนฉ่ารับการสรรหาอธิการบดีคนใหม่ต้นปีหน้าได้เลย.

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ปปท.แฉกรมพลศึกษาซื้อเครื่องเล่นนักเรียน แพงเกินราคาที่แท้จริงเร่งสอบเชือดคนทุจริต

Print Friendly

นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีสุ่มตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายและเครื่องนันทนาการของกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ราคาแพงกว่าความเป็นจริงว่า กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากจากการอภิปรายของ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องดังกล่าวที่มีการซื้อซ้ำซ้อนและราคาแพงกว่าปกติ เบื้องต้น ปปท.จึงสุ่มตรวจบางพื้นที่ เช่น จ.นครปฐม นนทบุรีและจ.อุบลราชธานี พบมีการจัดซื้อเครื่องเล่นเด็กชุดป้อมปืนใหญ่สไลด์เดอร์ราคาตามสัญญาระบุชุดละ 980,000บาท ติดตั้งอยู่ที่โรงเรียนบางเลน จ.นครปฐม แต่เมื่อตรวจสอบเปรียบเทียบกับโรงเรียนวัดบึงลาดสวายและโรงเรียนบ้านไผ่คอกวัว ซึ่งเป็นโรงเรียนพื้นที่ใกล้เคียงกันพบว่า จัดซื้อเครื่องดังกล่าวที่มีลักษณะใกล้เคียงกันในราคาเพียงชุดละ 85,000บาท

ด้านแหล่งข่าวจากชุดสืบสวนศูนย์อำนวยการต่อต้านทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.) ระบุจากข้อมูลตรวจสอบไปยังบริษัทไคฉีกรุ๊ป (KAIQI GROUP CO .,LTD) ประเทศจีน ซึ่งเป็นบริษัทคู่สัญญาส่งเครื่องเล่นระบุตามคำสั่งซื้อให้โรงเรียนบ้านบางเลน แจ้งราคาเครื่องเล่นดังกล่าวเพียง 5,3000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 158,100บาทเท่านั้น (อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 30 ก.ย. 2556 ) ขณะที่คุรุภัณฑ์ส่งเสริมการออกกำลังการรายการอื่นๆ อีก 15 รายการ ก็พบว่ามีการจัดซื้อแพงเช่นกัน เช่น ชุดบริหารดึงข้อ จัดซื้อ 47,500บาท ราคาผู้ผลิต 6,045 บาท ชุดเดินโยกแขนจัดซื้อ 68,300บาท ราคาผู้ผลิต 6,944บาท ชุดบริหารกล้ามเนื้อแขนและอกจัดซื้อ 83,0000 บาท ราคาผู้ผลิต 12,896บาท

ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมกีฬาและนันทนาการเพื่อสุขภาพของประชาชนมีทั้งสิ้น 17 สัญญา วงเงินกว่า 700 ล้านบาท งบส่วนใหญ่มาจากการแปรญัตติของ ส.ส.ตั้งแต่ปี 2556 และพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรส่วนใหญ่ได้รับการประสานจาก ส.ส. ในพื้นที่ผ่านนักการเมืองท้องถิ่นหรือฐานเสียง เมื่อสอบถามไปยังพื้นที่พบว่าไม่ได้เป็นผู้เสนอความต้องการ ก่อนหน้านี้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สุ่มตรวจสอบ 30 รายการ พบว่าการประมูลไม่ได้นำรายละเอียดไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางและการส่งมอบและติดตั้งไม่เป็นไปตามสัญญา เช่น เซ็นส่งมอบทั้งที่ยังไม่ติดตั้งและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุยังไม่ได้รายงานให้อธิบดีกรมพลศึกษารับทราบ แต่กลับตรวจรับพัสดุพร้อมรายงานความถูกต้องเพื่อเบิกจ่ายเงินแก่ผู้ขาย สตง.จึงเห็นว่ากรมพลศึกษาไม่ปฏิบัติตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างส่อเกิดความเสียหายกับรัฐ โดยนอกจากโครงการเครื่องเล่นแล้วยังพบว่ากระทรวงการท่องเที่ยวฯ มีโครงการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายตามโครงการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงนันทนาการอย่างยั่งยืนในปีงบประมาณ 2555/2556 จำนวน 12สัญญา วงเงิน 667ล้านบาท แต่ยังไม่มีการตรวจรับงานเนื่องจากการส่งมอบยังไม่เรียบร้อย

ที่มา : แนวหน้า

คัด’รอง-ผอ.’สถานศึกษาม.ค.58 – ครูระยอง


คัด’รอง-ผอ.’สถานศึกษาม.ค.58

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบอนุมัติร่างปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งมอบอำนาจให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือก และให้ สพฐ.เป็นผู้รับผิดชอบในข้อสอบ ภาค ก แล้วนั้น ขณะนี้ สพฐ.ได้กำหนดปฏิทินการสอบคัดเลือกในเบื้องต้นแล้ว คาดว่าหลังจากวันหยุดปีใหม่ภายในวันที่ 10 มกราคม 2558 ตนจะลงนามในประกาศปฏิทินการสอบคัดเลือกผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่คาดว่าจะเปิดรับสมัครช่วงปลายเดือนมกราคม 2558 นี้

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า สำหรับข้อสอบ ภาค ก สพฐ.อยู่ระหว่างการพิจารณามหาวิทยาลัยที่จะมาดำเนินการเรื่องนี้โดย สพฐ.จะให้มหาวิทยาลัยออกข้อสอบ จัดส่งข้อสอบและตรวจประเมินผลคะแนนทั้งหมด โดยในส่วนของข้อสอบนั้นได้คุยกับมหาวิทยาลัยถึงโครงสร้างเนื้อหาแล้ว จะมีความยากง่ายในระดับปานกลาง ไม่ยากมากจนมีผู้ผ่านการสอบคัดเลือกน้อย หรือมีความง่ายจนเกินไปจนไม่ได้คุณภาพในการคัดคนมาเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ฉะนั้น ข้อสอบภาค ก ที่จะนำมาเป็นข้อสอบกลางใช้เหมือนกันทุกสนามสอบ ต้องมีความเที่ยงธรรม ทั้งนี้ ข้อสอบที่จะนำมาใช้ อาจกำหนดให้มีชุดเดียว แต่มีหลายแบบหรือมีหลายชุด มีความยากง่ายเท่ากัน แต่ให้เขตพื้นที่การศึกษาที่เปิดสอบจับสลากว่าจะได้ข้อสอบในชุดใด

“การให้เขตพื้นที่การศึกษาจัดสอบรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษาพร้อมกันทั่วประเทศทุกอย่างจะต้องไม่มีปัญหา ตั้งแต่การขนส่งข้อสอบ การตรวจข้อสอบ และข้อสอบที่ใช้ จะต้องไม่มีการรั่วไหล ซึ่งการให้มหาวิทยาลัยแห่งเดียวรับผิดชอบทั้งหมดน่าจะดีกว่าให้หลายมหาวิทยาลัยรับผิดชอบ โดยหลังจากการรับสมัครสอบรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษาแล้ว ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2558 สพฐ.จะทยอยเปิดรับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วยกรณีทั่วไปและกรณีที่มีเหตุความจำเป็นพิเศษ และศึกษานิเทศก์ (ศน.) ไปตามลำดับ จะไม่รอให้การสอบคัดเลือกแล้วเสร็จ เพื่อความรวดเร็วและในอนาคตตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป สพฐ.จะกำหนดปฏิทินการคัดเลือกล่วงหน้าเพื่อให้ผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือก มีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้า” นายกมลกล่าว

ที่มา : moe

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ครม.ไฟเขียวเพิ่มเงินค่าครองชีพข้าราชการบำนาญตั้งแต่ซี 7 ลงมา 4% มีผลย้อนหลัง 1 ธ.ค.57

Print Friendly

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่..) พ.ศ….. มีสาระสำคัญที่จะปรับเพิ่มเงินค่าครองชีพให้กับข้าราชการบำนาญที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว ในระดับซี 7 ลงมา หรือชั้นยศพันโท รวม 533,328 ราย ในอัตรา 4% เพื่อให้มีรายได้ที่เหมาะสมสอดคล้องการปรับเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย โดยรัฐบาลจะใช้เงินจากงบกลางรายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 5,139 ล้านบาทมาใช้ดำเนินการ เริ่มมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2557 เป็นต้นไป โดยเหตุผลที่รัฐบาลให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2557 เหมือนกับการอนุมัติขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐก่อนหน้านี้ และให้มีผลในวันดังกล่าว เนื่องจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้เหตุผลว่า จะช่วยกระตุ้นและยกระดับเศรษฐกิจตั้งแต่ปลายปีนี้ เพราะเป็นเรื่องของจิตวิทยาที่พอข้าราชการได้รู้ว่าได้ขึ้นเงินเดือนก็จะกล้าใช้จ่ายเงินทันที

ทั้งนี้ การปรับเพิ่มเงินดังกล่าว กำหนดให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาท หรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญอยู่แล้วในวันที่ 1 ธ.ค.2557 ให้ได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ในอัตรา ดังต่อไปนี้ 1.ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ.อยู่แล้วให้ได้รับ ช.ค.บ.เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละ 4 % ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญและ ช.ค.บ.ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ 2.ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับช.ค.บ. ในอัตราเดือนละ 4% ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า กระทรวงการคลังรายงานที่ประชุมครม.ว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นไปตามที่ครม.ได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่าจะจัดระบบอัตรากำลัง และปรับปรุงค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐให้เหมาะสมและเป็นธรรม อีกทั้งครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2557 ให้ปรับเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้น้อย โดยปรับบัญชีเงินเดือนระดับตำแหน่งไม่เกินระดับชำนาญการ หรือระดับ 7 หรือชั้นยศพันโท จะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น 1 ขั้น หรือ 4%

รวมทั้งปรับเพดานเงินเดือนขั้นสูงทุกระดับ และโดยที่ในการปรับปรุงค่าตอบแทนบุคคลากรภาครัฐ กระทรวงการคลังจะพิจารณาในการปรับปรุงเงินเพิ่มค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ควบคู่ในทางเดียวกันเสมอ เพื่อให้มีความสอดคล้องกันในด้านค่าครองชีพ ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อมีการปรับเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐก็จะมีการปรับเพิ่ม ช.ค.บ. ให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญตามแนวทางเดียวกันด้วยเสมอ เช่น ในการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่างๆ เพิ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2550 และเมื่อวันที่ 1 เม.ย.2554 ในอัตรา 4% และ 5% โดยมีการปรับเงิน ช.ค.บ. ให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นในอัตรา 4% และ 5% เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ล่าสุดได้ให้ความช่วยเหลือผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญด้วยการประกันรายได้ขั้นต่ำให้ได้รับบำนาญรวมกับ ช.ค.บ. แล้วไม่ต่ำกว่าเดือนละ 9,000 บาท ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 81/2557 ลงวันที่ 10 ก.ค.2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. 2521

ที่มา : ข่าวสด

ก.ค.ศ.พัฒนาสำนักงานเป็นระบบอัจฉริยะ

Print Friendly

นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (เลขาฯ ก.ค.ศ.) กล่าวว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้เริ่มโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (CMSS : Competency Management Supporting System) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้มีการจัดทำระบบข้อมูลทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ (ก.ค.ศ. 16) และมีระบบสนับสนุนการบริหารงานบุคคล โดยได้มีการพัฒนาระบบมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนั้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การพัฒนาระบบงานบุคคลดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

สำนักงาน ก.ค.ศ.จึงมีแนวคิดจัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ระยะ 4 ปี (ปี พ.ศ.2558-2561) และได้กำหนดการดำเนินงาน 3 ส่วน คือ

  1. จัดและพัฒนาระบบสำนักงานอัจฉริยะ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาระบบสำนักงานอัจฉริยะ พัฒนาระบบเฝ้าระวังการบริหารงานบุคคลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ วิจัยและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านการบริหารงานบุคคล โดยยึดผลงานและสมรรถนะ
  2. จัดและพัฒนาระบบสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยจัดและพัฒนาระบบบัตรข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ เสริมสร้างศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  3. จัดและพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเลิศ โดยพัฒนาระบบการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ

“หากสามารถดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ เชื่อว่าจะทำให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดำเนินการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐาน ก.ค.ศ.จะก้าวไปสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมด้านการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” นางศิริพรกล่าว.

ที่มา : ไทยโพสต์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

แนะคสช.เพิ่มค่านิยมข้อที่13 ชี้”คลิปตบตี-โป๊”เกลื่อนต้องสอนเยาวชนรู้ทั้นสื่อสร้างภูมิคุ้มกัน – ครูระยอง

Print Friendly

นักวิชาการแนะ ศธ.สร้างข้อนิยมข้อที่ 13 หรือการรู้เท่าทันสื่อให้เยาวชน เพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นภูมิคุ้มกันในการใช้สื่อ ชี้กระแสข่าวสารทุกวันนี้ล่อแหลม มีทั้งคลิปตบตีกัน คลิปโป๊ เล่นการพนัน ส่วนครูก็ไม่สามารถป้องกันคุ้มครองเด็กได้

นายธาม เชื้อสถาปนาศิริ นักวิชาการด้านสื่อ กล่าวว่า จากนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในเรื่องค่านิยมหลัก 12 ประการ ตนมีคิดว่าควรเพิ่มค่านิยมข้อที่ 13 ว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อ เพราะทุกวันนี้เยาวชนไทยสามารถใช้สื่อได้อย่างเสรีมาก ทำให้เกิดการความรู้ไม่เท่าทันก็มากขึ้นตามไปด้วย โดยไม่รู้ว่าอย่างไหนก่อให้เกิดประโยชน์หรือโทษแก่ตัวเราเอง ทั้งถ่ายรูปถ่ายคลิปตบตีกัน การเผยแพร่ความรุนแรง การเปิดเผยข้อมูลอัตลักษณ์ของตนเองมากเกินไป ใช้เล่นการพนัน หรือการถ่ายรูปโป๊ คลิปโป๊ต่างๆ เป็นต้น จนกลายเป็นกระแสฮือฮาขึ้นมาในสังคมไทยอยู่หลายครั้ง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ได้มีการเรียนการสอนในโรงเรียน เพราะครูก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการใช้สื่ออย่างเหมาะสมได้ สุดท้ายก็ใช้วิธีการแบนสื่อ โดยบางโรงเรียนใช้วิธีห้ามไม่ให้เด็กนักเรียนเอาโทรศัพท์มือถือมายังโรงเรียน ซึ่งไม่ใช่วิธีในการแก้ปัญหา

นายธามกล่าวต่อว่า ปัจจุบันการเรียนวิชารู้เท่าทันสื่อมีเฉพาะในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ระดับปริญญาตรีเท่านั้น ซึ่งกว่าจะได้เรียนก็เมื่อชั้นปี 3-4 แต่ในความเป็นจริงแล้วควรจะสอนเรื่องรู้เท่าทันสื่อตั้งแต่ชั้นอนุบาลด้วยซ้ำ หากจะปฏิรูปการศึกษาก็ต้องทำทั้งระบบ ในเมื่อเรามีการนำวิชาหน้าที่พลเมืองกลับเข้ามา ก็ควรที่จะนำวิชารู้เท่าทันสื่อเข้ามาอยู่ในหลักสูตรการศึกษาด้วย ยิ่งสมัยนี้เทคโนโลยีพัฒนาไปไกลมาก สามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ง่าย จนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ครูจึงไม่ได้มีหน้าที่สำคัญแค่สอนหนังสืออีกต่อไป เพราะความรู้อยู่เท่ากันที่ปลายนิ้ว อย่างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็มีการทำห้องเรียนออนไลน์ แม้จะเพียงแค่บางโรงเรียน แต่ถามว่าเรามีความพร้อมในการฉีดภูมิคุ้มกันในเรื่องการใช้สื่อให้แก้เด็กแล้วหรือยัง

“การศึกษาในอดีตหรือกระบวนทัศน์แรก เรามีครูเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน ต่อมากระบวนทัศน์ที่สอง เรานำรูปแบบ Child Center หรือนักเรียนเป็นศูนย์กลางจากต่างประเทศเข้ามาใช้ ซึ่งภายหลังก็ล้มเหลว เพราะเด็กไทยไม่ได้แอคทีฟอย่างเมืองนอก เราถูกปลูกฝังมาในระบบท่องจำ จึงทำให้การศึกษาในกระบวนทัศน์ที่สองล้มเหลว แต่ปัจจุบันเราเข้าสู่กระบวนทัศน์ที่สาม คือศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของสื่อเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน เด็กก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการติดตั้งภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งทุกวันนี้ ศธ.ยังไม่มีการอะไรเลย ยังไม่ได้วางรากฐานหรือเตรียมความพร้อมให้เด็กในการใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน ซึ่งประเทศไทยต้องกลับมาพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง” นายธามกล่าว.

ที่มา : ไทยโพสต์

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre