ขยายครูตู้ รร.ขนาดกลาง1.4หมื่นแห่ง

สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

Print Friendly

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินโครงการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ว่า จากการติดตามผลการดำเนินโครงการฯโดยได้มีการประเมินโรงเรียนที่เข้าโครงการทั้ง 15,369 แห่งในช่วงเดือน ธ.ค.57 ที่ผ่านมาปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะการเอาใจใส่ของครูทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังการเรียน ขณะเดียวกันนักเรียนร้อยละ 97 ก็มีความตั้งใจในการเรียนและทำกิจกรรมไปพร้อมๆกับนักเรียนโรงเรียนต้นทาง ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้ทำความร่วมมือกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในการจัดหาครูเก่งจากทั่วประเทศจำนวน 20 คน ให้ไปสอนที่โรงเรียนวังไกลกังวล และคัดเลือกครูสอนเก่งอีก 40 คน ไปบันทึกเทปการสอนเสริมสำหรับการเตรียมสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และนำไปออกอากาศทางช่อง DLTV14 ในช่วงเดือน ม.ค.นี้ รวมถึงนำขึ้นเว็บไซต์และยูทูป เพื่อให้สามารถดูย้อนหลังและดาวน์โหลดได้ด้วย นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโรงเรียนที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า โดยการติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้แล้ว
“ทั้งนี้ สวนดุสิตโพลยังได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครูและนักเรียน เกี่ยวกับโครงการนี้ พบว่า ร้อยละ 81.59 ระบุว่ามีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมาก ทำให้เด็กมีความรู้มากขึ้น ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ร้อยละ 88.61 เห็นว่าทำให้เกิดการพัฒนามากขึ้น ส่วนความพึงพอใจต่อโครงการนั้นมีถึงร้อยละ 98.45 ที่ค่อนข้างพอใจและพอใจมาก”

พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวและว่า จากผลการดำเนินการซึ่งเป็นที่น่าพอใจของประชาชน รัฐบาลจึงมีความคิดที่จะขยายผลโครงการออกไปยังโรงเรียนขนาดกลางที่มีจำนวนนักเรียน 120 คนขึ้นไป จำนวน 14,000 โรงทั่วประเทศ โดยจะเริ่มในปีการศึกษา 2558 นี้ โดยใช้งบประมาณจากโครงการ1คอมพิวเตอร์พกพา(แท็บเล็ต ต่อ1นักเรียน)ที่กันไว้กว่า 6,000 ล้านบาท

ที่มา : สยามรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

เทงบ 8.1 ล้านบาท ลง 4 โครงการพัฒนาการเรียนด้วยเทคโนโลยี

social media

Print Friendly

บอร์ดกองทุนเทคโนฯ อนุมัติเงิน 8.1 ล้าน. ให้ 4 โครงการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี ระบุไม่ให้เงินครบ 100% ในทันแต่กำหนดระยะเวลาจัดสรร ทั้งให้มีการติดตามผลเพื่อให้มั่นใจว่านำเงินไปใช้เพื่อการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติโครงการที่เสนอขอรับการจัดสรรเงินกองทุนฯ จำนวน 4 โครงการ วงเงินรวม 8.1 ล้านบาท ดังนี้

  1. โครงการพัฒนาระบบการจัดการวิชาโครงงานและสิ่งประดิษฐ์แบบบูรณาการ สาขาเครื่องกล สู่การจดสิทธิบัตรและเชิงพาณิชย์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) วงเงิน 4.7 ล้านบาท โดยมุ่งส่งเสริมโครงการและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคตของผู้เรียนสายอาชีวศึกษา
  2. โครงการจัดทำต้นแบบระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมสื่อ eDLTV วิชาภาษาต่างประเทศบนระบบ eDL-Square วงเงิน 2.6 ล้านบาท โดยระบบดังกล่าวจะบรรจุเนื้อหาและบทสนทนาภาษาต่างประเทศ 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน เพื่อช่วยพัฒนาทักษะภาษาของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และครูผู้สอน รวมถึงบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ
  3. โครงการพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดสื่อการเรียนรู้และเครื่องวัดไฟฟ้าบนอุปกรณ์พกพา ใช้ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ในช่วงมัธยมปลาย วงเงิน 407,700 บาท
  4. โครงการศึกษาผลการเรียนรู้ในความเข้าใจ มโนมติวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนที่ได้รับการเรียนรู้จากโปรแกรมแบบทดสอบและเยียวยาข้อบกพร่องการเรียนรู้แบบออนไลน์ วงเงิน 274,400 บาท

ทั้งนี้ โปรแกรมดังกล่าวสร้างขึ้นเพื่อช่วยในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่แสดงภาพการทดลองโครงการต่างๆ ที่ทำให้เด็กเห็นภาพชัดเจนขึ้น เป็นการช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีจากการเรียนการสอนของวิชาวิทยาศาสตร์ ด้านฟิสิกส์ และปรับแนวคิดของนักเรียนในการที่จะเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมกำหนดให้มีการกำหนดระยะเวลาในการจัดสรรงบประมาณ โดยไม่ให้จัดสรรทั้งหมดในทันทีและให้มีการติดตามประเมินผลการทำงานของทุกโครงการ เพื่อให้มั่นใจว่านำงบประมาณไปใช้พัฒนาตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สช.ปรับหลักสูตรการสอน ร.ร.เอกชน ชี้ทำคะแนนดีปรับเพิ่มท็อปอัปรายหัวให้ – ครูระยอง


สช.ปรับหลักสูตรการสอน ร.ร.เอกชน ชี้ทำคะแนนดีปรับเพิ่มท็อปอัปรายหัวให้

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

Print Friendly

นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้มอบหมายให้อนุกรรมการวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เร่งปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ เบื้องต้นระดับชั้นประถมศึกษา 1 – 3 จะเน้นส่งเสริมการเรียนในวิชาภาษาไทย อังกฤษ คณิตศาสตร์ และสร้างทัศนคติที่ดีให้กับเด็กในวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะแตกต่างกับเด็กที่เรียนหลักสูตรปกติที่ไม่เน้นเรื่องดังกล่าว โดยเด็กจะต้องเรียนทั้ง 3 วิชา ประมาณ 80 – 90% ของเวลาเรียนทั้งหมด เชื่อว่าเมื่อปรับหลักสูตรและเน้นการเรียนการสอนในวิชาดังกล่าวแล้ว จะสามารถแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ได้เร็วยิ่งขึ้น ขณะที่ในระดับชั้น ป.4 – 6 จะให้โรงเรียนออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับบริบทโรงเรียนและท้องถิ่น กระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ไม่สอนโดยยึดแบบเรียนเป็นตัวตั้ง เพราะเป็นการจำกัดความคิดของเด็ก ขณะที่ระดับมัธยมศึกษาจะเน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ ค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตัวเองไม่ยึดตำราเป็นตัวตั้ง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มีหลายโรงเรียนจัดการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าว และพบว่าเด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ โรงเรียนเอกชนสามารถจัดทำหลักสูตรเองได้ตามมาตรา 13(3) ของ พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน พ.ศ. 2550 ที่เปิดกว้างให้ สช. สามารถกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรของ สช. เองได้ เช่นเดียวกับหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติ โดยการปรับหลักสูตรดังกล่าวจะเร่งให้ทันใช้ในปีการศึกษา 2558 มั่นใจว่า การปรับหลักสูตรครั้งนี้จะสามารถพัฒนาการเรียนการสอน ทำให้ผู้ปกครองมีความมั่นใจ ในคุณภาพและส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนเพิ่มขึ้น

“สช. คงไม่เน้นเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กร เช่น หน่วยงานอื่น แต่จะเดินหน้าปรับปรุงคุณภาพหลักสูตร และคุณภาพการเรียนการสอน รวมถึงคุณภาพครูให้เข้มข้น โดยต่อไปจะมีตัวชี้วัด หากโรงเรียนใดสามารถจัดการเรียนการสอนได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เด็กมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนดีขึ้น จะได้รับการท็อปอัพเงินอุดหนุนรายหัวมากกว่าโรงเรียนอื่น ถ้าโรงเรียนใดไม่พัฒนาก็จะได้เท่าเดิม ซึ่งเรื่องนี้ สช. สามารถดำเนินการได้โดยออกเป็นประกาศ กช. เรื่องมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติ” นายบัณฑิตย์ กล่าว

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สกศ.เสนอได้”ตั๋วครู”ต้องสอบ!

Print Friendly

สกศ.ผุดแนวคิดการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องผ่านการสอบ พร้อมกับเสนอแยกใบประกอบวิชาชีพครูออกเป็นระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ชี้เพื่อเพิ่มช่องทางคนจบสาขาอื่นมาเป็นครู

นายพินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาการผลิตครู และมีแนวคิดว่าควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต่อไปผู้ที่จะได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการสอบตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนด ไม่ใช่ได้โดยอัตโนมัติเช่นปัจจุบัน แต่ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงแนวคิด เพราะต้องหารือกับคุรุสภาและสถาบันผลิตครู รวมถึงดูแนวโน้มการปรับหลักสูตรว่าจะมีความสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ แต่เท่าที่ดูขณะนี้ ทุกฝ่ายค่อนข้างมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน

ขณะเดียวกันที่ประชุมก็มีความคิดเห็นว่าอาจมีการแยกเป็นระดับประถม มัธยม รวมถึงเพิ่มช่องทางการได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสำหรับผู้ที่จบในสาขาอื่นให้สามารถมาเป็นครูได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ควรจะต้องแยกใบอนุญาตฯ เพราะที่ผ่านมา สถาบันผลิตครูจะเปิดสอนโดยแยกออกเป็นสาขาวิชาเอกต่างๆ เช่น วิชาเอกคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา เป็นต้น ทำให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องเรียกบรรจุครูตามวิชาเอก ทำให้ครูไม่มีความถนัดที่จะสอนข้ามเอก โดยเฉพาะในระดับประถม ที่เด็กยังไม่จำเป็นต้องเรียนลงลึกเป็นรายวิชา จึงต้องการครูที่สามารถเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ มาใช้ในการสอนได้ เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดเจน เกิดความเข้าใจ ส่วนระดับมัธยมสามารถใช้ครูที่จบในวิชาเอกต่างๆ ได้ตามปกติ

นายพินิติกล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้าง ในส่วนของ สกศ.ค่อนข้างนิ่งแล้วว่าควรจะต้องมีคณะกรรมการ ระดับรัฐบาล มีสำนักงานขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี หรือสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ในการทำแผนพัฒนาการศึกษาให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษา รวมถึงจะต้องยกร่างกฎหมาย เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และทุกหน่วยงานต้องให้ข้อมูลตัวเลข โดยเฉพาะกรอบการผลิตบัณฑิตในสาขาต่างๆ ของทุกหน่วยงาน เพราะปัจจุบัน สกศ.รู้ข้อมูลเฉพาะหน่วยงานที่อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เท่านั้น ต่อไปจะต้องดูภาพรวมทั้งหมด เพื่อไม่ให้ผลิตเกินและตรงตามความต้องการ ส่วน สกศ.จะมีอำนาจไปกำหนดตัวเลขการผลิตในแต่ละสาขาหรือไม่นั้น ตรงนี้ตนไม่แน่ใจ รายละเอียดต้องกำหนดไว้ในกฎหมายที่จะยกร่างขึ้นใหม่.

ที่มา : ไทยโพสต์

ตั้ง “อมรวิชช์” ทำหน้าที่ โฆษกกระทรวงศึกษาฯ

กระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ลงนามคำสั่ง ศธ. ที่ สป.36/2558 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2558 แต่งตั้ง นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ เป็น โฆษก ศธ.ตามที่รัฐบาลมอบหมายให้ทุกกระทรวง ดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์การปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ทั่วถึงและครอบคลุม ทั้งนี้ นายอมรวิชช์ จะมีหน้าที่ให้ข่าว หรือชี้แจงแถลงข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายของ ศธ. ข่าวที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานประจำ หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมาย หรือข่าวสารที่สมควรเผยแพร่ต่อประชาชน และข่าวสารอื่นๆ ตามที่ รมว.ศึกษาธิการ มอบหมาย

นอกจากนี้ มีหน้าที่ประสานการดำเนินงานกับสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อประสานข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทันสมัย เพื่อประมวลเป็นข้อมูลในการเสนอข่าวสารต่อประชาชน

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

“ดุสิตโพล”ชี้ ครูไทยเก่งเทคโนโลยี แต่ยังติดวิธีสอนแบบเก่า

Print Friendly

ครูเป็นผู้ที่สังคมไทยยกย่องว่าเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญต่อสังคม แต่บทบาทของ “ครู” ที่ต้องผจญกับภาวะสังคมไทย ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ความเชื่อมั่น “ครูไทย” ในแต่ละปีเปลี่ยนแปลงไปด้วย

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้จัดทำดัชนี “ความเชื่อมั่นครูไทย” ปี 2557 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 8,209 คน ระหว่างวันที่ 25 ธ.ค. 57-14 ม.ค. 58 ได้ดังนี้

1. ประชาชนให้คะแนน “ดัชนีครูไทย” ปี 2557 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 7.58 คะแนน

2. “จุดเด่น” ของ “ครูไทย” ในปี 2557 
อันดับ 1    เก่งเทคโนโลยีมากขึ้น มีความพยายามในการศึกษาค้นคว้า
ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ 27.53%
อันดับ 2    เป็นผู้ให้ความรู้ ให้การอบรมสั่งสอนที่ดีกับเด็ก 19.94%
อันดับ 3    สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและ
เข้าใจเด็กรุ่นใหม่มากขึ้น18.67%
อันดับ 4    ขยัน อดทน ทุ่มเท สามารถทำงานได้หลายอย่าง 17.72%
อันดับ 5    ใกล้ชิดและมีส่วนร่วมกับชุมชน มีมนุษยสัมพันธ์ดี 16.14%

3. “จุดด้อย” ของ “ครูไทย” ในปี 2557 

อันดับ 1    วิธีการสอน เทคนิคการสอนยังเป็นรูปแบบเดิมๆ เน้นการท่องจำ 21.59%
อันดับ 2    ทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ 21.02%
อันดับ 3    มีภาระงานมาก ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่เด็กเท่าที่ควร 20.74%
อันดับ 4    พฤติกรรม การวางตัวที่ไม่เหมาะสม 19.89%
อันดับ 5    สังคมให้การยอมรับ เชื่อมั่นและศรัทธาลดลง 16.76%

4. ประเด็นที่มีค่าคะแนนความเชื่อมั่นต่อครูไทย มากที่สุด 3 ประเด็น 

ที่ ดัชนีชี้วัดครูไทย ปี 57 ปี 56 ปี 55 ปี 54 ปี 53 ปี 52
1 บุคลิกภาพ การแต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ 8.20 8.27 8.17 8.20 8.14 7.91
2 การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับชุมชนและชาวบ้านได้ 8.04 8.17 8.06 8.00 8.03 7.71
3 การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง 8.01 8.10 8.11 8.02 8.08 7.69

5. ประเด็นที่มีค่าคะแนนความเชื่อมั่นต่อครูไทย น้อยที่สุด 3 ประเด็น 

ที่ ดัชนีชี้วัดครูไทย ปี 57 ปี 56 ปี 55 ปี 54 ปี 53 ปี 52
1 การไม่เป็นหนี้เป็นสิน 6.86 7.33 7.47 6.92 7.53 6.57
2 การแสดงออกทางอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ 7.21 7.56 7.51 7.61 7.30 7.05
3 การรู้จักประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ 7.26 7.54 7.73 7.46 7.76 7.17

สรุปภาพรวมดัชนีค่าความเชื่อมั่นครูไทย ปี 2552 – 2557 (คะแนนเต็ม 10)

ที่มา : มติชน

UTQ-55209 การบริหารการเงินการคลังภาครัฐ

เฉลย UTQplus - ครูระยอง

Print Friendly

UTQ-55209 การบริหารการเงินการคลังภาครัฐ 15/20

  • ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำส่งเงินคลัง พ.ศ.2551 ปรับให้สอดคล้องกับระบบการเงินภาครัฐแบบใด
    – GFMIS
  • ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ย่อมาจากข้อใด
    – Government Fiscal Management Information System
  • เงินงบประมาณรายจ่ายที่ส่วนราชการเบิกจากคลังจังหวัดไปแล้วแต่ไม่ได้จ่าย หรือจ่ายไม่หมด หรือจ่ายแล้วถูกเรียกคืน และได้ส่งคลังก่อนสิ้นปีงบประมาณหรือก่อนสิ้นระยะเวลาเบิกเงินที่กันไว้เบิก เหลื่อมปี คือข้อใด
    – เงินเบิกเกินส่งคืน
  • เงินเบิกเกินส่งคืน หมายความว่า เงินงบประมาณรายจ่ายที่ส่วนราชการเบิกจากคลังจังหวัดไปแล้วแต่ไม่ได้จ่าย หรือจ่ายไม่หมด หรือจ่ายแล้วถูกเรียกคืน และได้ส่งคลังภายหลังสิ้นปีงบประมาณหรือภายหลังสิ้นระยะเวลาเบิกเงินที่กัน ไว้เบิกเหลื่อมปี คือข้อใด
    – เงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน
  • กรณีไม่สามารถใช้จ่ายเงินได้ตามกำหนด สามารถนำไปจ่ายใด้สูงสุด ตามข้อใด
    – 2 ปีงบประมาณ
  • เงินหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเงินรายได้แผ่นดิน ใครเป็นผู้มีหน้าที่หักนำส่ง
    – ส่วนราชการ
  • วงเงินคั้งแต่เท่าใด ที่ส่วนราชการทำหรือลงใบสั่งซื้อสั่งจ้าง เพื่อจองงบประมาณในระบบ
    – 5,000 บาท
  • การจัดจ้างซ่อมอาคารเรียนที่ถูกน้ำท่วมและพายุพัดในภาคใต้ เมื่อกรรมการตรวจรับงานจ้างเรียบร้อยแล้วต้องเบิกเงินจากคลังเพื่อจ่ายภายใน ข้อใด
    – 15 วันทำการ
  • เงินที่ต้องจ่ายในทุกสิ้นเดือน เช่น เงินเดือน ต้องส่งคำขอเบิกภายในข้อใด
    – วันที่ 15 ของเดือน
  • ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้องในเรื่อง การจ่ายเงินของส่วนราชการ
    – หลักฐานการจ่ายอย่างน้อยต้องมี 5 รายการ ส่วนที่สำคัญ คือ ลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน
  • การปฏิบัติในการจ่ายเงินให้จ่ายเป็นเช็ค ยกเว้นจ่ายเป็นเงินสดในการทดรองราชการในวงเงินตามข้อใด
    – ต่ำกว่า 5,000 บาท
  • การเขียนเช็ค กรณีสั่งจ่ายเพื่อนำเงินสดมาจ่าย ออกเช็คสั่งจ่ายในนามใคร และขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด
    – เจ้าหน้าที่การเงิน
  • การจ่ายเงินยืมการปฏิบัติที่คาบเกี่ยวปีงบประมาณ ให้ปฏฺบัติได้ตามข้อใด
    – ยืมเงินปีงบประมาณปัจจุบัน จ่ายได้ไม่เกิน 90 วันนับแต่เริ่มปีงบประมาณใหม่
  • ข้อใดกล่าวถูกต้องในการยืมเงินไปราชการและการส่งใช้เงินยืมและเงินเหลือจ่าย
    – เดินทางไปประจำสำนักงานต่างประเทศ ส่งภายใน 30 วันนับจากวันได้รับเงิน
  • ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้องในการรับเงินของส่วนราชการ
    – รายงานการใช้ใบเสร็จ ภายใน วันที่ 31 ของปีงบประมาณ
  • ข้อใด กล่าวถูกต้อง ในการเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ
    – ตู้นิรภัย มีตู้นิรภัย = กุญแจ อย่างน้อย 2 สำรับ สำรับละไม่น้อยกว่า 2 ดอก แต่ไม่เกิน 3 ดอก แต่ละดอกต้องแตกต่างกัน
  • ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องในการนำเงินส่งคลังและฝากคลัง
    – เงินรายได้แผ่นดิน นำส่งอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง วันใดเกิน 5,000 บาท นำส่งโดยด่วนอย่างช้าไม่เกิน 3 วันทำการ
  • ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้องในการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
    – กรณีไม่ได้ก่อหนี้ผูกพันแต่มีความจำเป็น ต้องทำความตกลงกับกรมบัญชีกลางก่อน
  • ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องในการควบคุมและการตรวจสอบ
    – ทุกสิ้นวันทำการ ให้หัวหน้าส่วนราชการตรวจสอบเงินสดและเช็คคงเหลือกับรายงานเงินคงเหลือประจำวัน
  • ระเบียบที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในระบบ GFMIS ได้แก่ระเบียบใด
    – ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2551

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สมศ.ชี้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานน่าห่วงที่สุด

Print Friendly

ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ทั้งสามรอบ ตั้งแต่ปี 2544-2557 พบว่ามีจำนวนสถานศึกษาที่ได้รับผลการประเมินคงที่ ทั้ง 3 รอบ ดังนี้

  • สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลประเมินระดับดี-ดีมาก จำนวน 4,420 แห่ง จากทั้งหมด 31,375 แห่ง
  • สถานศึกษาด้านการอาชีวศึกษาที่มีผลระดับดี-ดีมาก จำนวน 254 แห่ง จาก749 แห่ง
  • ระดับอุดมศึกษาที่มีระดับดี-ดีมาก จำนวน153 แห่ง จาก 260 แห่ง

ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อไปว่า ผลการวิเคราะห์ พบว่า ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุด โดยกลุ่มโรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินทั้ง 3 รอบ มีจำนวน 1,755 แห่ง และกลุ่มที่ผ่านการประเมิน รอบ 2 แต่รอบสามไม่ผ่านการประเมิน มีจำนวน 9,418 แห่ง ซึ่งทำให้เห็นภาพรวมทั้งประเทศได้ชัดเจนว่า ต้นสังกัดของสถานศึกษาจำเป็นต้องหาสาเหตุและวางแนวทางแก้ไขเร่งด่วนที่สุด และเมื่อวิเคราะห์ลงลึกที่พบว่าสาเหตุหนึ่งอาจมาจากการโยกย้ายของผู้บริหาร หรือครู ยิ่งสะท้อนให้เห็นชัดว่าคุณภาพของสถานศึกษาผูกติดกับตัวบุคคล ไม่ใช่ระบบ ทั้งๆที่สถานศึกษาควรสร้างคุณภาพในเชิงระบบให้เกิดขึ้น แม้จะเปลี่ยนตัวบุคคล คุณภาพไม่ควรจะต่ำลง

“ ปี 2558 ระบบการศึกษาไทยต้องสร้างค่านิยมการประเมินรอบด้าน โดยการประเมินรอบสี่ที่จะเริ่มในปี 2559-2563 ผมคาดหวังให้สถานศึกษาได้รับรองมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะสะท้อนศักยภาพการศึกษาของไทยในระดับสากล และเป็นหลักประกันว่าเด็กไทยทุกคนจะได้รับการศึกษาในสถานศึกษาที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกันทั่วประเทศ” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามการจัดตั้ง สมศ. ทำให้สถานศึกษาเกิดการรับรู้ ผู้บริหาร ครู เริ่มตื่นตัว มีความเข้าใจการประเมินที่ดีขึ้น ได้สะท้อนผลด้านจุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนา เสนอแนะทิศทางสู่เป้าหมายการจัดการศึกษา เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาให้แก่สถานศึกษา โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการสร้างคนคุณภาพให้แก่ประเทศ.

ที่มา : เดลินิวส์

สกศ.ผุดแนวคิด แยกใบประกอบวิชาชีพครู′ประถม-มัธยม′

ครูระยอง-บัณฑิต ครู

Print Friendly

นายพินิติ  รตะนานุกูล  เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาการผลิตครูและมีแนวคิดว่าควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  โดยแยกเป็นระดับประถม มัธยม รวมถึงเพิ่มช่องทางการได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสำหรับผู้ที่จบในสาขาอื่นให้สามารถมาเป็นครูได้

สาเหตุที่ควรจะต้องแยกใบอนุญาตฯ เพราะที่ผ่านมา สถาบันผลิตครู จะเปิดสอนโดยแยกออกเป็นสาขาวิชาเอกต่าง ๆ อาทิ วิชาเอกคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  สังคมศึกษา เป็นต้น ทำให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  ต้องเรียกบรรจุครูตามวิชาเอก ทำให้ครูไม่มีความถนัดที่จะสอนข้ามเอก โดยเฉพาะในระดับประถม ที่เด็กยังไม่จำเป็นต้องเรียนลงลึกเป็นรายวิชา  จึงต้องการครูที่สามารถเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ มาใช้ในการสอนได้ เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดเจน เกิดความเข้าใจ ส่วนระดับมัธยม สามารถใช้ครูที่จบในวิชาเอกต่าง ๆ ได้ตามปกติ 

“ต่อไปผู้ที่จะได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จะต้องผ่านการสอบตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนด  ไม่ใช่ได้โดยอัตโนมัติเช่นปัจจุบัน  แต่ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงแนวคิด เพราะต้องหารือกับคุรุสภาและสถาบันผลิตครู รวมถึงดูแนวโน้มการปรับหลักสูตรว่าจะมีความสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่  แต่เท่าที่ดูขณะนี้ ทุกฝ่ายค่อนข้างมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน”

ที่มา : มติชน

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ความท้าทาย ของคณะปฏิรูปการศึกษา

Print Friendly

“ปฏิรูปการศึกษา” คือหนึ่งในนโยบาย และภารกิจหลักเร่งด่วน ของคณะรัฐบาลเฉพาะกิจชุดนี้ และท่ามกลางการทำงานเพื่อการปฏิรูปการศึกษาอย่างเข้มข้นของคณะทำงานในส่วนต่าง ๆ ของรัฐบาล มีกระแสข่าวที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทยสะท้อนออกมาเป็นโจทย์ให้กับคณะทำงาน และสังคมได้รับรู้เป็นระยะ ๆ

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคุณภาพที่ต่ำกว่ามาตรฐานของครูผู้สอน หรือนักศึกษาที่จบการศึกษาออกมาไม่มีคุณภาพอย่างที่ควรจะเป็น หรือจบมาแล้วไม่สามารถทำงานตามที่องค์กรผู้จ้างงานคาดหวังได้ ตลอดจนการวิจารณ์ของสังคมเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนท่องจำเพื่อการสอบแข่งขันจนผู้ปกครองต้องส่งลูกหลานเรียนพิเศษจนสถาบันการศึกษาประเภทติวเตอร์เติบโตรับทรัพย์จนร่ำรวยกันไปตาม ๆ กัน

กระทั่งมีข่าวว่ารัฐบาลกำลังจะเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา

ปัญหาเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความท้าทาย ที่คณะปฏิรูปการศึกษาต้องขบคิด และใช้เวลาในการแก้ไขอย่างเป็นระบบ

นี่ยังไม่นับรวมปัญหาระดับโครงสร้างของภาคการศึกษาที่ไม่สามารถผลิตนักศึกษาเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ขาดแคลนแรงงาน และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

ซึ่งจะมีผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่นับวันจะเริ่มเห็นผลของปัญหาชัดเจนมากขึ้น

ผมเคยนำเสนอข้อมูลประมาณการผู้สำเร็จการศึกษาและประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานแต่ละระดับการศึกษาตั้งแต่ปี 2554-2557 จากกระทรวงแรงงานว่านักศึกษาส่วนใหญ่จะศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีจึงเข้าสู่ตลาดแรงงาน และเป็นกลุ่มวิชาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจ ในขณะที่ผู้ประกอบการต้องการแรงงานระดับ ปวช. และ ปวส. แต่กลุ่มนี้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานด้วยตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำ

คำนวณตัวเลขโดยเฉลี่ยพบว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. เข้าสู่ตลาดแรงงานเพียง 25% ในขณะที่ระดับ ปวส. เข้าสู่ตลาดแรงงาน 50% ที่เหลืออีก 50% ศึกษาต่อให้ได้ระดับปริญญาตรี

สำหรับ 50% ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน เมื่อทำงานสักระยะหนึ่งพยายามศึกษาต่อระดับปริญญาตรีภาคพิเศษช่วงหลังเลิกงานด้วยเวลาการศึกษาที่ไม่เอื้ออำนวยจึงมีการเลือกเรียนที่ไม่ใช่สายวิชาชีพเดิมทั้งหมด

ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียกำลังคน ที่ไม่ตรงกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจ

ขณะนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับภาคการศึกษา และภาคเอกชนอีกส่วนหนึ่งเริ่มตระหนักแล้วว่าระบบโครงสร้างการศึกษาของไทยนั้นกำลังกลับข้างกัน ระหว่างสายอาชีพกับสายสามัญ และต่างเสนอแนวทางต่าง ๆ ออกมา เพื่อแก้ปัญหานี้อย่างประปราย ซึ่งในทรรศนะของผมมองว่าสิ่งที่หลาย ๆ ฝ่ายต่างช่วยกันคิดช่วยกันทำนั้นเป็นการเริ่มต้นและกระตุ้นความสนใจให้สังคมเริ่มหันมามองได้

แต่ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จและเป็นรูปธรรม รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องด้านการศึกษาของประเทศต้องมองเห็นภาพนี้เหมือนกันและเข้ามาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมหรือเป็นระดับนโยบาย เพราะมีรายละเอียด และปัญหาที่เข้ามาท้าทายกำลังความสามารถของทุกภาคส่วน และไม่ได้เป็นภารกิจที่จะทำให้สำเร็จได้โดยใช้เวลาเพียงแค่ 1 หรือ 2 ปี

ซึ่งระยะเวลา 10 ปีอาจจะยังดูว่าน้อยเกินไปเสียด้วยซ้ำ สำหรับปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคม และแวดวงการศึกษาของไทยมานานกว่า 20 ปีในเรื่องนี้

โดยเฉพาะความท้าทายใน 2 ประเด็นหลักต่อไปนี้

เรื่องแรกคือ การเอาชนะและก้าวข้ามค่านิยม ของผู้ปกครองและตัวนักศึกษาเอง ที่ไม่ต้องการเรียนอาชีวะหรือสายอาชีพ เพราะมีทัศนคติว่าการเรียนสายนี้ ถูกสังคมมองว่าเป็นพลเมืองชั้นสองของตลาดแรงงาน หรือ เด็กนักเรียนที่เลือกเรียนในสายนี้มีศักดิ์ศรีที่ด้อยกว่าเรียนสายสามัญและมุ่งสู่ปริญญาตรี

อย่างไรก็ตามหากเราสามารถก้าวข้ามปัญหาเรื่องค่านิยมนี้ไปได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถสร้างคุณค่าให้การเรียนสายอาชีวะว่ามีความเท่าเทียมกับการเรียนสายสามัญ และสังคมเกิดความเข้าใจและยอมรับได้แล้วก็จะต้องมาขบคิดกันต่อใน ประเด็นสองก็คือ การจัดการกลับด้านอย่างไร ระหว่างนักเรียนมัธยมปลายที่มีอยู่ขณะนี้นับสี่แสนคน กับนักเรียน ปวช. ที่มีอยู่ราวสองแสนคน

เช่นหากประเทศมีนโยบาย และต้องการวางแผนให้นักเรียนเปลี่ยนมาเรียนสายอาชีวศึกษา หรือสายวิชาชีพ ประมาณ 65%-70% และมีจำนวนนักเรียนในระดับมัธยมปลายประมาณ 30%-35% ก็เท่ากับว่าต้องมีการย้ายนักเรียนจากฝั่งมัธยมปลายประมาณสองแสนคนให้ไปอยู่ในฝั่งของการเรียนสายอาชีพเพื่อให้อาชีวศึกษามีนักเรียนสี่แสนคนแทน

คำถามคือจะย้ายให้นักเรียนมาเรียนในสายอาชีพได้อย่างไร ?

ไม่ง่ายนะครับ ภายใน 1 ปีไม่มีทางทำได้แน่ ในความเห็นของผมคิดว่าใช้เวลาในการทำเรื่องพวกนี้ 10 ปีอาจจะยังไม่เสร็จ

เพราะในเชิงปฏิบัติ ถ้าเริ่มโอนให้นักเรียนไปเรียนสายอาชีพปีละประมาณสองหมื่นคน สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับนักเรียนอาชีวะที่เพิ่มขึ้นปีละสองหมื่นคนคือโรงเรียนอาชีวศึกษา จะมีครู มีเครื่องมือฝึกปฏิบัติและสาธารณูปโภคต่าง ๆ รองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นได้ทันท่วงทีหรือไม่ โดยเฉพาะครูที่สอนในสายอาชีวศึกษาหรือสอนวิชาชีพ

งานนี้รัฐบาลต้องวางแผนยาวเพราะการเพิ่มครูไม่ใช่เรื่องง่าย ครูกลุ่มนี้จะมาจากไหน และต้องผลิตครูเท่าไหร่ถึงจะพอต่อการรองรับนักเรียนสายอาชีวะที่เพิ่มขึ้นปีละ 20,000 คน สถาบันการศึกษาที่สอนสายอาชีพเดิมอย่าง กลุ่ม 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กับ 3 พระจอมเกล้า จะผลิตครูเข้าสู่อาชีวศึกษาให้ทันหรือไม่ ทางด้านกระทรวงศึกษาธิการได้มีการวางแผนการเพิ่มอัตราครูสายอาชีวศึกษาไว้รองรับแล้วหรือยัง

แค่สองประเด็นหลักนี้ไม่นับรวมประเด็นปลีกย่อยอื่น ๆ ก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีและต้องใช้การร่วมมือจากหลาย ๆ หน่วยงาน นี่คือความท้าทายที่แท้จริงของคณะปฏิรูปการศึกษา

โดย ดร.สาธิต พุทธชัยยงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre