คลิปครูถอดรองเท้าตบหน้านักเรียนเรียงคน เหมาะสมหรือไม่ !!?

Print Friendly

โลกออนไลน์กำลังวิพากษ์วิจารณ์คลิปวิดีโอภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในรั้วโรงเรียนแห่งหนึ่ง คุณครูท่านหนึ่งได้ถอดรองเท้าออก ก่อนจะนำมาใช้ตบใบหน้าเด็กนักเรียน ที่กำลังทยอยเดินออกจากห้องสอบ ที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องความเหมาะสมและจรรยาบรรณ ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนหนึ่งได้โพสต์คลิปวิดีโอเผยแพร่ไปตามเพจเฟซบุ๊กชื่อดังต่างๆ คลิปความยาวไม่กี่วินาที “ไอเดียร์บรรเจิด! ครูเอารองเท้าตบหน้าเด็กเพื่อขออำลา..” แสดงให้เห็นภาพคุณครูท่านหนึ่ง กำลังใช้รองเท้าข้างหนึ่ง ตบเข้าที่ใบหน้าเด็กนักเรียน ระหว่างเดินเรียงแถวออกจากห้องเรียน ที่คาดว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการสอบเสร็จ

ผู้โพสต์คลิปดังกล่าว ยังระบุข้อความว่า “นี่คือครูที่ดีหรือ? ครู—– พ่อแม่เด็กยังไม่เคยเอารองเท้าตบหน้าลูกเลย แล้วครูคือใคร ถึงมาทำกับน้องฉันได้ ครูดังแน่ ไม่จบหรอกพูดเลย ความเป็นครูอยู่ไหนคะ เอารองเท้าตบหน้าเด็ก เพื่อขออำลา อย่าเป็นครูเลยค่ะ เสียจรรยาบรรณครู แม่-ของขึ้น!! ฝากไลค์ฝากแชร์ด้วยนะคะ”

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากคลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก บางส่วนมองว่า ภาพดังกล่าวไม่รู้ความหมายหรือที่มา อาจจะเป็นการทำโทษที่สมเหตุสมผล หรือ วิธีอบรมสั่งสอนให้เด็ก ไม่ควรวิจารณ์ไปต่างๆ นานา หากยังไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง

กระนั้นก็ตามเมื่อดูภาพจากคลิปก็ไม่ได้รุนแรงถึงกับใช้คำว่า”ตบ” ลักษณะแค่ตีเบาๆเท่านั้น แต่การใช้รองเท้าก็ดูไม่เหมาะสมสำหรับความเป็นครู

ขณะที่บางส่วนคิดเห็นว่า การทำโทษเด็กมีหลากหลายวิธี แต่วิธีนี้ดูไม่เหมาะสมและรุนแรงเกินไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมวิชาชีพครู รวมทั้งจรรยาบรรณครู แม้ว่าคุณครูในคลิปดังกล่าวจะเป็นผู้อาวุโสก็ตาม แต่วิธีการทำโทษเด็กเช่นนี้ ดูไม่เหมาะสมและขัดต่อวัฒนธรรมไทยอย่างสิ้นเชิง

ที่มา : มติชน

แยกใบวิชาชีพครูรายวิชา-ระดับชั้น

Print Friendly

ตามที่คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) มีแนวคิดปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู โดยในประเด็นเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีข้อเสนอให้แยกใบประกอบวิชาชีพครูเป็นรายวิชาและแยกเป็นระดับชั้น ซึ่งล่าสุด นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา (บอร์ดคุรุสภา) กล่าวว่า การประชุมบอร์ดคุรุสภา วันที่ 19 มี.ค.58 นี้ ตนจะนำข้อเสนอที่ให้แยกใบอนุญาติประกอบวิชาชีพครูตามระดับการศึกษา เช่นใบอนุญาติประกอบวิชาชีพครูระดับปฐมวัย ใบประกอบวิชาชีพครูระดับประถมศึกษา เป็นต้น เข้าหารือต่อบอร์ดคุรุสภา เพื่อสอบถามความเห็นและหลังจากนั้นจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 1ชุด เพื่อศึกษารายละเอียดในเรื่องดังกล่าว

ประธานบอร์ดคุรุสภา กล่าวต่อไปว่า ที่จริงแล้วเรื่องนี้คุรุสภา เคยศึกษาไว้แล้วแต่ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง เพราะคุรุสภา เองก็รับข้อเสนอแนะนี้มาจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มครูปฐมวัย ซึ่งต้องการให้แยกใบอนุญาติประกอบวิชาชีพของครูปฐมวัยโดยเฉพาะ เพราะเป็นการจัดการศึกษาที่ค่อนข้างมีลักษณะเฉพาะทาง ซึ่งเรื่องนี้ตนก็เห็นด้วยกับการแยกประเภทใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพราะการที่เราตัดเสื้อขนาดเดียว แต่ใช้กับคนทุกขนาดนั้น อาจยังไม่เหมาะสม

“ผมเห็นว่าน่าจะมีการศึกษาเรื่องการออกใบอนุญาติประกอบวิชาชีพเฉพาะวิชา ไปในคราวเดียวกันเลย เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและรับครูตรงตามความต้องการมากขึ้น ทั้งนี้ คุรุสภาจะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกัน ถ้าส่วนใหญ่เห็นอย่างไร คุรุสภาก็พร้อมดำเนินการตาม”

นายไพฑูรย์ กล่าวและว่า คุรุสภาพร้อมจะเป็นตัวกลางระหว่างฝ่ายผลิตและฝ่ายใช้ครู ถ้าทุกฝ่ายเห็นด้วย ก็สามารถประกาศใช้ได้เลย เพราะเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมาย เพราะมีการเปิดช่องให้ดำเนินการได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาจะเกิดในทางปฏิบัติมากกว่า คือถ้าประกาศใช้แล้วการรับครูจะต้องรับให้ตรงประเภท ไม่สามารถใช้ครูข้ามวิชาได้อีก จะเอาครูพละไปสอนวิชาภาษาไทยไม่ได้ นอกจากนั้นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลก็จะมีปัญหาขาดแคลนครูทันที เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จะต้องหารือกันให้รอบครอบก่อนตัดสินใจ

ที่มา : สยามรัฐ

อนุมัติ ผอ.เชี่ยวชาญ-ครูเชี่ยวชาญ 10 ราย

Print Friendly

ก.ค.ศ. อนุมัติผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญ จำนวน 10 รายและเตรียมประกาศรายชื่อครู – บุคลากรที่มีผลงานดีเด่นเชิงประจักษ์ 62 ราย ทางเว็บไซต์ ก.ค.ศ.

นางสุจิตรา พัฒนะภูมิ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.) รักษาราชการแทนเลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยว่า ในการประชุม ก.ค.ศ. เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย ดังนี้ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 8 ราย ดังนี้

  1. นายอารินทร โพธิ์สวรรค์ โรงเรียนบ้านวังกระแจะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) กาญจนบุรี เขต 3
  2. นายประยูร สุธาบูรณ์ โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 8
  3. นายสมใจ วิเศษทักษิณ โรงเรียนจตุรมิตรวิทยาคาร จังหวัดขอนแก่น สพม. เขต 25
  4. นายเรืองยศ แวดล้อม โรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคม จังหวัดขอนแก่น สพม. เขต 25
  5. นายวีระเดช ซาตา โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น สพม. เขต 25
  6. นายนพรัตน์ รุ่งโรจน์ โรงเรียนอนุบาลวัดคลองใหญ่ สพป.ตราด
  7. นายศุภกฤต ดิษฐสุวรรณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ สพม. เขต 2
  8. นายสุรทิน ทิพย์อักษร โรงเรียนบ้านลำหัก สพป. นครศรีธรรมราช เขต 3

นอกจากนี้ ยังอนุมัติครูเชี่ยวชาญ จำนวน 2 ราย ดังนี้ นางนิตยา พิมพ์โคตร โรงเรียนบ้านเชียงอาด สพป. หนองคาย เขต 2 และ นางจิตราพร กาญจนพิบูลย์ วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่น ที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 62 ราย ให้เป็นผู้มีคุณสมบัติเข้ารับการประเมิน จากนั้นสำนักงาน ก.ค.ศ. และจะประกาศรายชื่อและผลงานทางเว็บไซต์ www.otepc.go.th เพื่อเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านคุณสมบัติและหรือผลงาน เป็นระยะเวลา 15 วัน

ที่มา : ผู้จัดการ

ศธ.พร้อมทำตามมติ “ซุปเปอร์บอร์ด”

กระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ตนได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ สิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยให้ทุกกระทรวงช่วยกันประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายของผู้บริหาร โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมทั้งการดูงานต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ศธ.โดยตรงคือ การจัดตั้งซุปเปอร์บอร์ด ด้านการศึกษา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าเป็นซุปเปอร์บอร์ดใด แต่ตนคิดว่าน่าจะเป็นซุปเบอร์ดบอร์ดที่มีลักษณะเดียวกับที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอ เพียงแต่นายกฯอาจเห็นว่าหากรอ สปช.ดำเนินการอาจจะช้า เกินไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว จึงอยากตั้งซุปเปอร์บอร์ดก่อน ในส่วนของ ศธ.คงต้องรอนายกฯจัดตั้งซุปเบอร์บอร์ดและนัดประชุม หากมีมติหรือนโยบายใด ศธ.ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม เพื่อให้การจัดการศึกษาในภาพรวมมีคุณภาพ

รมว.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่า ส่วนการปรับโครงสร้างของ ศธ.ที่มีข้อเสนอจะโอนย้ายสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กลับไปขึ้นตรงต่อนายกฯ และมีคณะกรรมการฯที่ต้องทำงานสอดรับซุปเปอร์บอร์ดที่จะตั้งขึ้นนั้น เรื่องนี้เป็นผลจากการประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. ซึ่งตนยังไม่ได้รายงานนายกฯอย่างเป็นทางการ เพราะขณะนี้ก็ยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจนเนื่องจากต้องทำควบคู่ไปกับการดำเนินงานของ สปช.ด้วย ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร โดยเมื่อได้ข้อสรุปก็จะรายงานให้นายกฯ พิจารณาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม เรื่องการปรับโครงสร้างนายกฯย้ำหลายครั้งว่าอาจต้องรอไว้ก่อน เพราะกระทบการดำเนินการในภาพรวมค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องอัตรากำลัง และบุคลากร ดังนั้น ในส่วนของ ศธ.คงต้องหารือเพื่อเตรียมความพร้อม แต่ไม่ใช่จะปรับโครงสร้างแบบปุ๊บปั๊บ.

ที่มา : ไทยรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ลุ้น สนช.แก้กฎหมาย 5 ฉบับ จ่าย 2.29 หมื่นล้าน ขึ้นเงินเดือน ขรก.

Print Friendly

ความเป็น “รัฐราชการ” กำลังถูกออกแบบผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ข้าราชการ-อดีตข้าราชการ เป็นองค์ประกอบสำคัญในโครงสร้างอำนาจ ทั้งในฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ

เพราะทั้งข้าราชการพลเรือน 1.98 ล้านคน และพนักงานรัฐวิสาหกิจอีก 2.68 แสนคน เป็นทั้งภาระและพลังในการขับเคลื่อนประเทศ โดยเฉพาะเวลาที่การบริหารราชการแผ่นดินอยู่ภายใต้อำนาจพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทุกจังหวะก้าวของข้าราชการ 18 กระทรวง กับ 2 สำนัก และรัฐวิสาหกิจ 56 องค์กร ล้วนมีผลต่อการอยู่-ไปของคณะรัฐบาล การบริหารค่าตอบแทน เพิ่มค่าจ้าง สวัสดิการ จึงเป็นพันธะหนึ่งของรัฐบาล

หลังรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ข้าราชการจึงได้รับผลจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ขึ้นเงินเดือน-ค่าจ้าง มาแล้ว 5 กลุ่ม และพนักงานรัฐวิสาหกิจได้รับปรับค่าจ้างแล้ว 1 ครั้ง

กลุ่มแรก มีผล 10 ก.ค. 2557 โดย คสช.อนุมัติเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ชคบ.) สำหรับผู้ที่ได้รับต่ำกว่าเดือนละ 9,000 บาท โดยปรับเพิ่มให้ครบ 9,000 บาท มีข้าราชการได้รับสิทธิ์ 70,000 คน ใช้งบฯ เพิ่มปีละ 151 ล้านบาท

กลุ่มที่สอง 1 ต.ค. 2557 ครม.อนุมัติเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวแก่ข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม ใช้งบฯ 390 ล้านบาท

กลุ่มที่สาม 1 ต.ค. 2557 อนุมัติกระทรวงมหาดไทยปรับโครงสร้างบัญชีเงินเดือนและค่าตอบแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ทั้ง อบจ. อบต. เทศบาล กว่า 1.62 แสนคนทั่วประเทศ

กลุ่มที่สี่ 1 ต.ค. 2557 เพิ่มเงินค่าครองชีพข้าราชการและลูกจ้างชั้นผู้น้อยที่รายได้ต่อเดือนไม่ถึง 9,000 บาท เพิ่มเป็น 10,000 บาท ข้าราชการและลูกจ้างรายได้เกินกว่าเดือนละ 10,000 บาท เพิ่มให้ไม่เกินเดือนละ 13,285 บาท ใช้งบฯ 1,500 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐชั้นผู้น้อย 380,000 คน กลุ่มที่สี่ เดิมจะมีผล 1 เม.ย. 2558 และให้มีผลตกเบิกย้อนหลังถึง 1 ธ.ค. 2557 แต่ล่าสุดต้องเลื่อนออกไปจนกว่า พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นไปตามมติ ครม. 9 ธ.ค. 2557 มีข้าราชการและพนักงานราชการได้รับสิทธิ์ 1.98 ล้านคน ใช้งบ ณ 22,900 ล้านบาท โดยปรับเพิ่มให้ 3 ขั้น หรือ 10% สำหรับบัญชีเงินเดือนแบบช่วง ข้าราชการอีก 6 ประเภท ได้ขึ้นเงินเดือนเพิ่มเติมอีก 1 ขั้น หรือ 4% รวมทั้งปรับเงินเดือนขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วยมากกว่าร้อยละ 10 ให้สอดคล้องกับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุวุฒิปริญญาเอก

กลุ่มที่ห้า อนุมัติตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เมื่อ 26 ม.ค. 2558 ให้ปรับปรุงอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ 35 แห่ง ที่ใช้บัญชีเงินเดือนค่าจ้าง 58 ขั้น ปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยขั้นละ 6.5% จากเดิมอัตราจ้างขั้นต่ำ 5,780-9,040 บาท ปรับเป็น 9,040 บาท อัตราขั้นสูงสุดเดิม 113,520 บาท เพิ่มขั้นอีก 6.5% เป็น 142,830 บาท ทั้งหมดนี้ต้องเสนอ ครม.อีกครั้ง

ภาพ : ประชาชาติธุรกิจ

การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการกลุ่มสี่ ครอบคลุมการปรับเงินเดือนให้ข้าราชการ 6 ประเภท (ดูตารางขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของ สนช. 5 ฉบับ คือ

  1. ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่..) พ.ศ. …
  2. ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร ฯ
  3. ร่าง พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ ฯ
  4. ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ฯ
  5. ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการรัฐสภา ฯ

นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเปิดเผยว่า ที่ ก.พ. มีหนังสือเวียนให้ชะลอการสั่งเลื่อนเงินเดือนตามการประเมินผลงานประจำปี ช่วงเดือน เม.ย. เพื่อรอให้ร่างกฎหมายมีผลใช้บังคับอาจทำให้ข้าราชการแตกตื่นบ้างแต่คงไม่ชะลอนาน

“ขึ้นเงินเดือน4%มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2557 แน่นอน ส่วนการปรับเงินเดือนจากผลงานที่ประเมินประจำปี วันที่ 1 เม.ย. คงไม่ทัน ก.พ.จึงออกหนังสือเวียน แต่ภายในเดือน เม.ย.น่าจะเสร็จ”

นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. … กล่าวว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวใกล้เสร็จในชั้น กมธ.วิสามัญฯแล้ว เหลือการประชุม 2 ครั้ง จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. วาระ 2 พิจารณาเป็นรายมาตรา ตามกระบวนการจะผ่านวาระ 2 และ 3 วันเดียวกัน จากนั้นจะส่งให้นายกฯนำขึ้นทูลเกล้าฯ ไม่เกินกลางเดือน เม.ย. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

“การพิจารณาชั้น กมธ.วิสามัญฯ ไม่ได้พิจารณาเฉพาะร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ แต่มีทั้งหมด 5 ฉบับ ทั้ง 5 ฉบับจะผ่านการพิจารณาจาก สนช.พร้อมกัน เป็นประโยชน์ต่อข้าราชการ 2 ล้านคน ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นช่วงสงกรานต์ จะตกเบิกย้อนหลังตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2557 ข้าราชการจะมีเงินจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น”

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

พื้นฐาน-อาชีวะ พร้อมกันอัตรารับเด็กคุรุทายาท

กระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้มีมติเห็นชอบนำโครงการคุรุทายาทกลับมาดำเนินการใหม่อีกครั้ง หลังศธ.ได้ยุติโครงการไปตั้งแต่ปี 2539 ที่ผ่านมาโดยยังคงยึดตามหลักการเดิม คือ ทุนการศึกษาแก่เด็กที่เรียนดีและอยากเป็นครู ได้เข้าเรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ รับประกันการมีงานทำ เมื่อเรียนจบให้กลับไปบรรจุยังภูมิลำเนาของตนเอง ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เห็นด้วยที่ศธ. จะฟื้นโครงการดังกล่าวเพราะจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครู โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลโดยครูเหล่านี้เมื่อเรียนจบแล้วก็จะต้องกลับไปใช้ทุนในบ้านเกิดของตนเอง ส่วนการกำหนดอัตรากำลังเพื่อรองรับนั้น เบื้องต้นคิดว่าไม่มีปัญหา เพราะแต่ละปีสพฐ. จะได้อัตราเกษียณคืน ประมาณ 15,000 อัตรา หากต้องนำมาใช้สำหรับบรรจุแต่งตั้งครูที่ได้รับทุนจากโครงการคุรุทายาท ก็คิดว่ามีเพียงพอ เพียงแต่ทางโครงการจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า ต้องการอัตรากำลังจำนวนเท่าไร เพื่อที่ สพฐ. จะได้กันอัตราว่างไว้ให้พอสำหรับรองรับครูกลุ่มดังกล่าว

ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีอัตราว่างและเปิดสอบบรรจุทุกปีๆละประมาณ 300-400 อัตรา เพราะฉะนั้นหากศธ. เดินหน้าโครงการคุรุทายาท เมื่อไร สอศ. ก็พร้อมจะกันอัตราว่างไว้ให้ โดยต้องดูว่าเด็กจะเรียนจบในปีใด ก็จะกันอัตราว่างในปีนั้นไว้ให้เพียงพอสำหรับความต้องการ และจะทำบัญชีให้ชัดเจนตามภูมิลำเนาของผู้รับทุน เพราะเมื่อเด็กเรียนจบจะต้องกลับไปเป็นครูในภูมิลำเนาของตนเอง อย่างไรก็ตาม สำหรับรายละเอียดในภาพรวมทั้งหมด ต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งฃ

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

พบเด็กชาติพันธุ์ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เหตุเรียนควบ’ภาษาไทย-พื้นถิ่น’

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหาร ระดับสูงของ ศธ.ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานความคืบหน้าการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งตนได้แนะนำว่าควรรีบดำเนินการ โดยเร็ว หากรอให้แล้วเสร็จพร้อมกันทุกระดับชั้น อาจทำให้ล่าช้า ดังนั้น ที่ประชุมจึงเสนอให้ สพฐ.แบ่งการปรับหลักสูตรเป็นช่วงชั้น เช่น หลักสูตรระดับปฐมวัย หลักสูตรระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 หรือช่วงชั้นที่ 1 จากนั้นค่อยดำเนินการต่อในช่วงชั้นที่ 2 คือ ระดับ ป.4-6 จนครบทุกช่วงชั้น ซึ่งจะทำให้หลักสูตรแกนกลางฉบับใหม่เสร็จเร็วขึ้น

รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวต่อว่า สพฐ.ยังได้รายงานผลการเรียนการสอนระบบทวิภาษา 4×3 MC ซึ่งใช้ในโรงเรียนตามชายแดนและพื้นที่พิเศษ โดยมีโรงเรียนที่เด็กใช้ภาษาท้องถิ่นนอกเหนือจากภาษาไทยจำนวนมาก อาทิ ละหู่ อาข่า กะเหรี่ยง เมียน ไทยใหญ่ จีนฮ่อ ลีซอ ม้ง คะฉิ่น ละว้า มูเซอ อีก้อ ที่ประชุมเห็นว่ารูปแบบนี้อาจทำได้ดีในต่างประเทศ แต่เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยอาจเกิดปัญหา โดยเฉพาะเด็กที่ครอบครัวไม่ได้ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร อาจทำให้เข้าใจภาษาไทยช้าขึ้น โดยผลการสำรวจพบว่ามีนักเรียนชั้น ป.3 อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จำนวนมากนั้นส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบให้ สพฐ.วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของรูปแบบเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันอีกครั้ง

“การให้ทบทวน ไม่ใช่การยกเลิก แต่ให้ไปดูความเหมาะสม ศึกษาข้อดีข้อเสีย หากไม่ทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาไทยได้เร็วและดีขึ้น แต่เรียนรู้ภาษาไทยได้ช้าลง อนาคตก็อาจเป็นไปได้ที่จะยกเลิก และให้เด็กกลุ่มนี้เรียนภาษาไทยเพียงอย่างเดียว โดยหากจะมีการยกเลิกจริง ก็ต้องดำเนินการแบบค่อยเป็น ค่อยไป ไม่ใช่ยกเลิกทันที และยังจำเป็นต้องมีครูพี่เลี้ยงที่เป็นเจ้าของภาษาคอยดูแลนักเรียนด้วย” พล.ร.อ.ณรงค์กล่าว

ที่มา : มติชน

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

′สสวท′ผุดเกมคณิตพิชิตเงินล้านสอน ป.5-6 ดาวน์โหลดได้เลย

สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

Print Friendly

นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท ) เปิดเผยว่า เกมคณิตพิชิตเงินล้าน เป็นเกมที่จัดทำโดย สสวท.เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้ในสาระวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถม 5-6 เรื่องบทประยุกต์ ครอบคลุมองค์ความรู้เรื่อง ร้อยละ เปอร์เซ็นต์ บัญญัติไตรยางค์ ทุน กำไร  ขาดทุน และดอกเบี้ย โดยการผสมผสานทางเทคโนโลยีเกมส์ และการจำลองการเริ่มดำเนินธุรกิจในลักษณะเกมส์ ผลลัพธ์ที่คาดหวังได้คือผู้เล่น จะได้เรียนรู้พื้นฐานของคณิตศาสตร์ที่นำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจได้แม่นยำขึ้นผู้สนใจดาวน์โหลดเกม “คณิตพิชิตเงินล้าน” ได้ที่แอพพลิเคชัน Google play เว็บไซต์ https://play.google.com/store/apps/details?id=th.ac.ipst.MathMillionaire&hl=th

ที่มา : มติชน

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพฐ.เตรียมกระจายงบฯสู่จังหวัด

Print Friendly

สพฐ.เดินหน้ารับแผนกระจายอำนาจให้สถานศึกษาในฐานะเป็นนิติบุคคล เผยการกระจายงบฯ สู่จังหวัดโดยตรง มีสัดส่วน 60-70% ของงบฯ ที่ได้รับ  นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ด้านการศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอจะดำเนินการจะจัดสรรงบประมาณลงสู่จังหวัด และให้อำนาจสถานศึกษาคิดโครงการบริหารจัดการงบฯ ซึ่งในเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับมอบหมายจาก พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ในเรื่องการทำให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล โดยการเพิ่มอำนาจของสถานศึกษาอย่างน้อย 4 เรื่อง คือ

  1. การบริหารจัดการ
  2. การบริหารงบประมาณ
  3. การบริหารบุคคล
  4. การบริหารวิชาการ

ซึ่งขณะนี้ได้มีการทดลองดำเนินการในกลุ่มสำนักงานเขตพื้นที่ฯ 20 เขต ที่อยู่ในโครงการปฏิรูปสู่ภาคปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

นายกมลกล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องของการกระจายงบประมาณไปสู่จังหวัดนั้น เป็นเรื่องที่สามารถดำเนินการได้เลย คือเมื่อได้รับงบฯ มา ทางส่วนกลางก็จะจัดการเคลียร์งบฯ ดังกล่าวว่าจะอยู่ในการดูแลของส่วนกลางเท่าไร ที่เหลือก็จะไปยังจังหวัดต่างๆ ประมาณ 60-70% และในเรื่องนี้ทาง สพฐ.เองก็เริ่มดำเนินการ โดยการกระจายงบฯ ลงไปยังสำนักงานเขตพื้นที่ฯ ต่างๆ เป็นผู้บริหารจัดการเองแล้ว นอกจากนี้ความเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านการศึกษา ที่ผมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ค่อนข้างที่จะมีแนวโน้มสูงว่าจะใช้จังหวัดเป็นฐาน

โดยอาจจะมีการจัดตั้งสภาการศึกษาระดับจังหวัด “สภาการศึกษาระดับจังหวัดจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่หลายๆ อย่าง เช่น การดูแลเรื่องการจัดสรรงบฯ ที่ส่วนกลางกระจายลงไปยังพื้นที่จังหวัด และเรื่องจัดสรรหลักสูตรการเรียนการสอนควบคู่ไปกับหลักสูตรของส่วนกลาง คือยังจะมีหลักสูตรที่ส่วนกลางเป็นผู้จัดในบางวิชา รักษาความเป็นมาตรฐานเดียวกัน ควบคู่ไปกับหลักสูตรที่ทางจังหวัดเป็นผู้จัด ที่จะสอนในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับจังหวัด เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อรองรับความหลากหลายของบริบทในแต่ละพื้นที่ และผู้เรียนยังสามารถนำความรู้ไปใช้ในพื้นที่ด้วย” เลขาฯ กพฐ.กล่าว.

ที่มา : ไทยโพสต์

สพฐ.สั่ง ร.ร. ปรับสอนแบบแจกลูกสะกดคำ สนองพระราชดำรัส “สมเด็จพระเทพฯ”

การศึกษาไทย

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีรับสั่งให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ฟื้นการสอนแบบแจกลูกสะกดคำและพิจารณาหาวิธีการขยายการสอนดังกล่าว เพราะเป็นพื้นฐานที่เป็นประโยชน์เพราะทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้ โดยพระองค์ท่านรับสั่งว่าเคยเรียนด้วยวิธีนี้ แต่ ศธ.ไปยกเลิกทำให้เด็กสะกดคำไม่เป็น ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พร้อมรับสนองพระราชดำรัส ทั้งนี้ โดยกระบวนการ สพฐ. ทราบว่าเด็กมีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ อยู่ 2 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่ไม่มีความพร้อมในการเรียน อาทิ เด็กต่างด้าวที่ย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เด็กชนเผ่าต่าง ๆ รวมถึงเด็กที่มีปัญหายากจน กลุ่มนี้ประมาณ 26,000 คน และกลุ่มที่ 2 เป็นเพราะโรงเรียนเปลี่ยนรูปแบบการสอน จากเดิมที่สอนแบบแบบแจกลูกสะกดคำ มาเป็นสอนอ่านเป็นคำ ๆ เช่นเดียวกันการสอนภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี เป็นต้น ทำให้เด็กไม่สามารถผลสมคำที่แตกต่างออกไปได้ จนเกิดปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ดังปัจจุบัน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สพฐ. ได้ดำเนินการแก้ไข ไปแล้วระดับหนึ่ง โดยได้จัดพิมพ์แบบเรียนเร็วใหม่ ตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ของหลวงดรุณกิจวิทูร และนายฉันท์ ขำวิไล ที่ใช้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 หนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชุดมานะ มานี มานะ ปิติ ชูใจ รวมถึง จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานอ่านออก เขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้ แจกโรงเรียนทั้งประเทศไปแล้ว รวมทั้งประกาศเป็นนโยบายการให้ทุกโรงเรียนปรับรูปแบบการสอน มาเป็นการสอนแบบแจกลูกสะกดคำทั้งหมด ขณะเดียวกันส่งเสริมให้ครูคิดนวัตกรรมการสอนแบบแจกลูกสะกดคำใหม่ ๆ ขึ้นมาปรับประยุคใช้กับการเรียนการสอนอีกทางหนึ่งด้วย

“ข้อดีของการเรียนแบบแจกลูกสะกดคำ จะทำให้เด็กสามารถผสมคำได้หลากหลาย เพราะภาษาไทยมีรูปแบบการเรียนที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ มีทั้งคำสมาส และคำสนธิ ที่เปลี่ยนรูปคำ ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย อาทิ คำว่า มติครู หากเปลี่ยนจาก เป็นมติประชา ความหมายก็จะเปลี่ยน จึงจำเป็นต้องเรียนแบบสะกด ขณะเดียวกัน จากการที่ได้ตามเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไปเยี่ยมโรงเรียน ซึ่งได้มีการนำนวัตกรรมการสอนแบบแจกลูกสะกดคำมานำเสนอต่อหน้าพระพักตร์ ได้อย่างน่าสนใจ ดังนั้นสพฐ. จะรวบรวมนวัตกรรมเหล่านี้ และนำผลงานที่โดดเด่นในด้านการสอนมาพัฒนาเป็นสื่อการเรียนการสอนต้นแบบให้โรงเรียนต่าง ๆ ต่อไป”นายกมล กล่าว

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre