ศธ.พร้อมทำตามมติ “ซุปเปอร์บอร์ด”

กระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ตนได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ สิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยให้ทุกกระทรวงช่วยกันประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายของผู้บริหาร โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมทั้งการดูงานต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ศธ.โดยตรงคือ การจัดตั้งซุปเปอร์บอร์ด ด้านการศึกษา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าเป็นซุปเปอร์บอร์ดใด แต่ตนคิดว่าน่าจะเป็นซุปเบอร์ดบอร์ดที่มีลักษณะเดียวกับที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอ เพียงแต่นายกฯอาจเห็นว่าหากรอ สปช.ดำเนินการอาจจะช้า เกินไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว จึงอยากตั้งซุปเปอร์บอร์ดก่อน ในส่วนของ ศธ.คงต้องรอนายกฯจัดตั้งซุปเบอร์บอร์ดและนัดประชุม หากมีมติหรือนโยบายใด ศธ.ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม เพื่อให้การจัดการศึกษาในภาพรวมมีคุณภาพ

รมว.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่า ส่วนการปรับโครงสร้างของ ศธ.ที่มีข้อเสนอจะโอนย้ายสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กลับไปขึ้นตรงต่อนายกฯ และมีคณะกรรมการฯที่ต้องทำงานสอดรับซุปเปอร์บอร์ดที่จะตั้งขึ้นนั้น เรื่องนี้เป็นผลจากการประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. ซึ่งตนยังไม่ได้รายงานนายกฯอย่างเป็นทางการ เพราะขณะนี้ก็ยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจนเนื่องจากต้องทำควบคู่ไปกับการดำเนินงานของ สปช.ด้วย ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร โดยเมื่อได้ข้อสรุปก็จะรายงานให้นายกฯ พิจารณาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม เรื่องการปรับโครงสร้างนายกฯย้ำหลายครั้งว่าอาจต้องรอไว้ก่อน เพราะกระทบการดำเนินการในภาพรวมค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องอัตรากำลัง และบุคลากร ดังนั้น ในส่วนของ ศธ.คงต้องหารือเพื่อเตรียมความพร้อม แต่ไม่ใช่จะปรับโครงสร้างแบบปุ๊บปั๊บ.

ที่มา : ไทยรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ลุ้น สนช.แก้กฎหมาย 5 ฉบับ จ่าย 2.29 หมื่นล้าน ขึ้นเงินเดือน ขรก.

Print Friendly

ความเป็น “รัฐราชการ” กำลังถูกออกแบบผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ข้าราชการ-อดีตข้าราชการ เป็นองค์ประกอบสำคัญในโครงสร้างอำนาจ ทั้งในฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ

เพราะทั้งข้าราชการพลเรือน 1.98 ล้านคน และพนักงานรัฐวิสาหกิจอีก 2.68 แสนคน เป็นทั้งภาระและพลังในการขับเคลื่อนประเทศ โดยเฉพาะเวลาที่การบริหารราชการแผ่นดินอยู่ภายใต้อำนาจพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทุกจังหวะก้าวของข้าราชการ 18 กระทรวง กับ 2 สำนัก และรัฐวิสาหกิจ 56 องค์กร ล้วนมีผลต่อการอยู่-ไปของคณะรัฐบาล การบริหารค่าตอบแทน เพิ่มค่าจ้าง สวัสดิการ จึงเป็นพันธะหนึ่งของรัฐบาล

หลังรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ข้าราชการจึงได้รับผลจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ขึ้นเงินเดือน-ค่าจ้าง มาแล้ว 5 กลุ่ม และพนักงานรัฐวิสาหกิจได้รับปรับค่าจ้างแล้ว 1 ครั้ง

กลุ่มแรก มีผล 10 ก.ค. 2557 โดย คสช.อนุมัติเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ชคบ.) สำหรับผู้ที่ได้รับต่ำกว่าเดือนละ 9,000 บาท โดยปรับเพิ่มให้ครบ 9,000 บาท มีข้าราชการได้รับสิทธิ์ 70,000 คน ใช้งบฯ เพิ่มปีละ 151 ล้านบาท

กลุ่มที่สอง 1 ต.ค. 2557 ครม.อนุมัติเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวแก่ข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม ใช้งบฯ 390 ล้านบาท

กลุ่มที่สาม 1 ต.ค. 2557 อนุมัติกระทรวงมหาดไทยปรับโครงสร้างบัญชีเงินเดือนและค่าตอบแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ทั้ง อบจ. อบต. เทศบาล กว่า 1.62 แสนคนทั่วประเทศ

กลุ่มที่สี่ 1 ต.ค. 2557 เพิ่มเงินค่าครองชีพข้าราชการและลูกจ้างชั้นผู้น้อยที่รายได้ต่อเดือนไม่ถึง 9,000 บาท เพิ่มเป็น 10,000 บาท ข้าราชการและลูกจ้างรายได้เกินกว่าเดือนละ 10,000 บาท เพิ่มให้ไม่เกินเดือนละ 13,285 บาท ใช้งบฯ 1,500 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐชั้นผู้น้อย 380,000 คน กลุ่มที่สี่ เดิมจะมีผล 1 เม.ย. 2558 และให้มีผลตกเบิกย้อนหลังถึง 1 ธ.ค. 2557 แต่ล่าสุดต้องเลื่อนออกไปจนกว่า พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นไปตามมติ ครม. 9 ธ.ค. 2557 มีข้าราชการและพนักงานราชการได้รับสิทธิ์ 1.98 ล้านคน ใช้งบ ณ 22,900 ล้านบาท โดยปรับเพิ่มให้ 3 ขั้น หรือ 10% สำหรับบัญชีเงินเดือนแบบช่วง ข้าราชการอีก 6 ประเภท ได้ขึ้นเงินเดือนเพิ่มเติมอีก 1 ขั้น หรือ 4% รวมทั้งปรับเงินเดือนขั้นสูงของอันดับครูผู้ช่วยมากกว่าร้อยละ 10 ให้สอดคล้องกับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุวุฒิปริญญาเอก

กลุ่มที่ห้า อนุมัติตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เมื่อ 26 ม.ค. 2558 ให้ปรับปรุงอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ 35 แห่ง ที่ใช้บัญชีเงินเดือนค่าจ้าง 58 ขั้น ปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยขั้นละ 6.5% จากเดิมอัตราจ้างขั้นต่ำ 5,780-9,040 บาท ปรับเป็น 9,040 บาท อัตราขั้นสูงสุดเดิม 113,520 บาท เพิ่มขั้นอีก 6.5% เป็น 142,830 บาท ทั้งหมดนี้ต้องเสนอ ครม.อีกครั้ง

ภาพ : ประชาชาติธุรกิจ

การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการกลุ่มสี่ ครอบคลุมการปรับเงินเดือนให้ข้าราชการ 6 ประเภท (ดูตารางขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของ สนช. 5 ฉบับ คือ

  1. ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่..) พ.ศ. …
  2. ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร ฯ
  3. ร่าง พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ ฯ
  4. ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ฯ
  5. ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการรัฐสภา ฯ

นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเปิดเผยว่า ที่ ก.พ. มีหนังสือเวียนให้ชะลอการสั่งเลื่อนเงินเดือนตามการประเมินผลงานประจำปี ช่วงเดือน เม.ย. เพื่อรอให้ร่างกฎหมายมีผลใช้บังคับอาจทำให้ข้าราชการแตกตื่นบ้างแต่คงไม่ชะลอนาน

“ขึ้นเงินเดือน4%มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2557 แน่นอน ส่วนการปรับเงินเดือนจากผลงานที่ประเมินประจำปี วันที่ 1 เม.ย. คงไม่ทัน ก.พ.จึงออกหนังสือเวียน แต่ภายในเดือน เม.ย.น่าจะเสร็จ”

นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. … กล่าวว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวใกล้เสร็จในชั้น กมธ.วิสามัญฯแล้ว เหลือการประชุม 2 ครั้ง จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. วาระ 2 พิจารณาเป็นรายมาตรา ตามกระบวนการจะผ่านวาระ 2 และ 3 วันเดียวกัน จากนั้นจะส่งให้นายกฯนำขึ้นทูลเกล้าฯ ไม่เกินกลางเดือน เม.ย. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

“การพิจารณาชั้น กมธ.วิสามัญฯ ไม่ได้พิจารณาเฉพาะร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ แต่มีทั้งหมด 5 ฉบับ ทั้ง 5 ฉบับจะผ่านการพิจารณาจาก สนช.พร้อมกัน เป็นประโยชน์ต่อข้าราชการ 2 ล้านคน ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นช่วงสงกรานต์ จะตกเบิกย้อนหลังตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2557 ข้าราชการจะมีเงินจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น”

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

พื้นฐาน-อาชีวะ พร้อมกันอัตรารับเด็กคุรุทายาท

กระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้มีมติเห็นชอบนำโครงการคุรุทายาทกลับมาดำเนินการใหม่อีกครั้ง หลังศธ.ได้ยุติโครงการไปตั้งแต่ปี 2539 ที่ผ่านมาโดยยังคงยึดตามหลักการเดิม คือ ทุนการศึกษาแก่เด็กที่เรียนดีและอยากเป็นครู ได้เข้าเรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ รับประกันการมีงานทำ เมื่อเรียนจบให้กลับไปบรรจุยังภูมิลำเนาของตนเอง ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เห็นด้วยที่ศธ. จะฟื้นโครงการดังกล่าวเพราะจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครู โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลโดยครูเหล่านี้เมื่อเรียนจบแล้วก็จะต้องกลับไปใช้ทุนในบ้านเกิดของตนเอง ส่วนการกำหนดอัตรากำลังเพื่อรองรับนั้น เบื้องต้นคิดว่าไม่มีปัญหา เพราะแต่ละปีสพฐ. จะได้อัตราเกษียณคืน ประมาณ 15,000 อัตรา หากต้องนำมาใช้สำหรับบรรจุแต่งตั้งครูที่ได้รับทุนจากโครงการคุรุทายาท ก็คิดว่ามีเพียงพอ เพียงแต่ทางโครงการจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า ต้องการอัตรากำลังจำนวนเท่าไร เพื่อที่ สพฐ. จะได้กันอัตราว่างไว้ให้พอสำหรับรองรับครูกลุ่มดังกล่าว

ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีอัตราว่างและเปิดสอบบรรจุทุกปีๆละประมาณ 300-400 อัตรา เพราะฉะนั้นหากศธ. เดินหน้าโครงการคุรุทายาท เมื่อไร สอศ. ก็พร้อมจะกันอัตราว่างไว้ให้ โดยต้องดูว่าเด็กจะเรียนจบในปีใด ก็จะกันอัตราว่างในปีนั้นไว้ให้เพียงพอสำหรับความต้องการ และจะทำบัญชีให้ชัดเจนตามภูมิลำเนาของผู้รับทุน เพราะเมื่อเด็กเรียนจบจะต้องกลับไปเป็นครูในภูมิลำเนาของตนเอง อย่างไรก็ตาม สำหรับรายละเอียดในภาพรวมทั้งหมด ต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งฃ

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

พบเด็กชาติพันธุ์ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เหตุเรียนควบ’ภาษาไทย-พื้นถิ่น’

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหาร ระดับสูงของ ศธ.ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานความคืบหน้าการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งตนได้แนะนำว่าควรรีบดำเนินการ โดยเร็ว หากรอให้แล้วเสร็จพร้อมกันทุกระดับชั้น อาจทำให้ล่าช้า ดังนั้น ที่ประชุมจึงเสนอให้ สพฐ.แบ่งการปรับหลักสูตรเป็นช่วงชั้น เช่น หลักสูตรระดับปฐมวัย หลักสูตรระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 หรือช่วงชั้นที่ 1 จากนั้นค่อยดำเนินการต่อในช่วงชั้นที่ 2 คือ ระดับ ป.4-6 จนครบทุกช่วงชั้น ซึ่งจะทำให้หลักสูตรแกนกลางฉบับใหม่เสร็จเร็วขึ้น

รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวต่อว่า สพฐ.ยังได้รายงานผลการเรียนการสอนระบบทวิภาษา 4×3 MC ซึ่งใช้ในโรงเรียนตามชายแดนและพื้นที่พิเศษ โดยมีโรงเรียนที่เด็กใช้ภาษาท้องถิ่นนอกเหนือจากภาษาไทยจำนวนมาก อาทิ ละหู่ อาข่า กะเหรี่ยง เมียน ไทยใหญ่ จีนฮ่อ ลีซอ ม้ง คะฉิ่น ละว้า มูเซอ อีก้อ ที่ประชุมเห็นว่ารูปแบบนี้อาจทำได้ดีในต่างประเทศ แต่เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยอาจเกิดปัญหา โดยเฉพาะเด็กที่ครอบครัวไม่ได้ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร อาจทำให้เข้าใจภาษาไทยช้าขึ้น โดยผลการสำรวจพบว่ามีนักเรียนชั้น ป.3 อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จำนวนมากนั้นส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบให้ สพฐ.วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของรูปแบบเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันอีกครั้ง

“การให้ทบทวน ไม่ใช่การยกเลิก แต่ให้ไปดูความเหมาะสม ศึกษาข้อดีข้อเสีย หากไม่ทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาไทยได้เร็วและดีขึ้น แต่เรียนรู้ภาษาไทยได้ช้าลง อนาคตก็อาจเป็นไปได้ที่จะยกเลิก และให้เด็กกลุ่มนี้เรียนภาษาไทยเพียงอย่างเดียว โดยหากจะมีการยกเลิกจริง ก็ต้องดำเนินการแบบค่อยเป็น ค่อยไป ไม่ใช่ยกเลิกทันที และยังจำเป็นต้องมีครูพี่เลี้ยงที่เป็นเจ้าของภาษาคอยดูแลนักเรียนด้วย” พล.ร.อ.ณรงค์กล่าว

ที่มา : มติชน

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

′สสวท′ผุดเกมคณิตพิชิตเงินล้านสอน ป.5-6 ดาวน์โหลดได้เลย

สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

Print Friendly

นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท ) เปิดเผยว่า เกมคณิตพิชิตเงินล้าน เป็นเกมที่จัดทำโดย สสวท.เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้ในสาระวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถม 5-6 เรื่องบทประยุกต์ ครอบคลุมองค์ความรู้เรื่อง ร้อยละ เปอร์เซ็นต์ บัญญัติไตรยางค์ ทุน กำไร  ขาดทุน และดอกเบี้ย โดยการผสมผสานทางเทคโนโลยีเกมส์ และการจำลองการเริ่มดำเนินธุรกิจในลักษณะเกมส์ ผลลัพธ์ที่คาดหวังได้คือผู้เล่น จะได้เรียนรู้พื้นฐานของคณิตศาสตร์ที่นำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจได้แม่นยำขึ้นผู้สนใจดาวน์โหลดเกม “คณิตพิชิตเงินล้าน” ได้ที่แอพพลิเคชัน Google play เว็บไซต์ https://play.google.com/store/apps/details?id=th.ac.ipst.MathMillionaire&hl=th

ที่มา : มติชน

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพฐ.เตรียมกระจายงบฯสู่จังหวัด

Print Friendly

สพฐ.เดินหน้ารับแผนกระจายอำนาจให้สถานศึกษาในฐานะเป็นนิติบุคคล เผยการกระจายงบฯ สู่จังหวัดโดยตรง มีสัดส่วน 60-70% ของงบฯ ที่ได้รับ  นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ด้านการศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอจะดำเนินการจะจัดสรรงบประมาณลงสู่จังหวัด และให้อำนาจสถานศึกษาคิดโครงการบริหารจัดการงบฯ ซึ่งในเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับมอบหมายจาก พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ในเรื่องการทำให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล โดยการเพิ่มอำนาจของสถานศึกษาอย่างน้อย 4 เรื่อง คือ

  1. การบริหารจัดการ
  2. การบริหารงบประมาณ
  3. การบริหารบุคคล
  4. การบริหารวิชาการ

ซึ่งขณะนี้ได้มีการทดลองดำเนินการในกลุ่มสำนักงานเขตพื้นที่ฯ 20 เขต ที่อยู่ในโครงการปฏิรูปสู่ภาคปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

นายกมลกล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องของการกระจายงบประมาณไปสู่จังหวัดนั้น เป็นเรื่องที่สามารถดำเนินการได้เลย คือเมื่อได้รับงบฯ มา ทางส่วนกลางก็จะจัดการเคลียร์งบฯ ดังกล่าวว่าจะอยู่ในการดูแลของส่วนกลางเท่าไร ที่เหลือก็จะไปยังจังหวัดต่างๆ ประมาณ 60-70% และในเรื่องนี้ทาง สพฐ.เองก็เริ่มดำเนินการ โดยการกระจายงบฯ ลงไปยังสำนักงานเขตพื้นที่ฯ ต่างๆ เป็นผู้บริหารจัดการเองแล้ว นอกจากนี้ความเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านการศึกษา ที่ผมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ค่อนข้างที่จะมีแนวโน้มสูงว่าจะใช้จังหวัดเป็นฐาน

โดยอาจจะมีการจัดตั้งสภาการศึกษาระดับจังหวัด “สภาการศึกษาระดับจังหวัดจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่หลายๆ อย่าง เช่น การดูแลเรื่องการจัดสรรงบฯ ที่ส่วนกลางกระจายลงไปยังพื้นที่จังหวัด และเรื่องจัดสรรหลักสูตรการเรียนการสอนควบคู่ไปกับหลักสูตรของส่วนกลาง คือยังจะมีหลักสูตรที่ส่วนกลางเป็นผู้จัดในบางวิชา รักษาความเป็นมาตรฐานเดียวกัน ควบคู่ไปกับหลักสูตรที่ทางจังหวัดเป็นผู้จัด ที่จะสอนในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับจังหวัด เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อรองรับความหลากหลายของบริบทในแต่ละพื้นที่ และผู้เรียนยังสามารถนำความรู้ไปใช้ในพื้นที่ด้วย” เลขาฯ กพฐ.กล่าว.

ที่มา : ไทยโพสต์

สพฐ.สั่ง ร.ร. ปรับสอนแบบแจกลูกสะกดคำ สนองพระราชดำรัส “สมเด็จพระเทพฯ”

การศึกษาไทย

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีรับสั่งให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ฟื้นการสอนแบบแจกลูกสะกดคำและพิจารณาหาวิธีการขยายการสอนดังกล่าว เพราะเป็นพื้นฐานที่เป็นประโยชน์เพราะทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้ โดยพระองค์ท่านรับสั่งว่าเคยเรียนด้วยวิธีนี้ แต่ ศธ.ไปยกเลิกทำให้เด็กสะกดคำไม่เป็น ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พร้อมรับสนองพระราชดำรัส ทั้งนี้ โดยกระบวนการ สพฐ. ทราบว่าเด็กมีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ อยู่ 2 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่ไม่มีความพร้อมในการเรียน อาทิ เด็กต่างด้าวที่ย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เด็กชนเผ่าต่าง ๆ รวมถึงเด็กที่มีปัญหายากจน กลุ่มนี้ประมาณ 26,000 คน และกลุ่มที่ 2 เป็นเพราะโรงเรียนเปลี่ยนรูปแบบการสอน จากเดิมที่สอนแบบแบบแจกลูกสะกดคำ มาเป็นสอนอ่านเป็นคำ ๆ เช่นเดียวกันการสอนภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี เป็นต้น ทำให้เด็กไม่สามารถผลสมคำที่แตกต่างออกไปได้ จนเกิดปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ดังปัจจุบัน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สพฐ. ได้ดำเนินการแก้ไข ไปแล้วระดับหนึ่ง โดยได้จัดพิมพ์แบบเรียนเร็วใหม่ ตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ของหลวงดรุณกิจวิทูร และนายฉันท์ ขำวิไล ที่ใช้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 หนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชุดมานะ มานี มานะ ปิติ ชูใจ รวมถึง จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานอ่านออก เขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้ แจกโรงเรียนทั้งประเทศไปแล้ว รวมทั้งประกาศเป็นนโยบายการให้ทุกโรงเรียนปรับรูปแบบการสอน มาเป็นการสอนแบบแจกลูกสะกดคำทั้งหมด ขณะเดียวกันส่งเสริมให้ครูคิดนวัตกรรมการสอนแบบแจกลูกสะกดคำใหม่ ๆ ขึ้นมาปรับประยุคใช้กับการเรียนการสอนอีกทางหนึ่งด้วย

“ข้อดีของการเรียนแบบแจกลูกสะกดคำ จะทำให้เด็กสามารถผสมคำได้หลากหลาย เพราะภาษาไทยมีรูปแบบการเรียนที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ มีทั้งคำสมาส และคำสนธิ ที่เปลี่ยนรูปคำ ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย อาทิ คำว่า มติครู หากเปลี่ยนจาก เป็นมติประชา ความหมายก็จะเปลี่ยน จึงจำเป็นต้องเรียนแบบสะกด ขณะเดียวกัน จากการที่ได้ตามเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไปเยี่ยมโรงเรียน ซึ่งได้มีการนำนวัตกรรมการสอนแบบแจกลูกสะกดคำมานำเสนอต่อหน้าพระพักตร์ ได้อย่างน่าสนใจ ดังนั้นสพฐ. จะรวบรวมนวัตกรรมเหล่านี้ และนำผลงานที่โดดเด่นในด้านการสอนมาพัฒนาเป็นสื่อการเรียนการสอนต้นแบบให้โรงเรียนต่าง ๆ ต่อไป”นายกมล กล่าว

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

นายกฯ กำชับ ศธ.ดูแลคุณภาพชีวิตครู – ครูระยอง

Print Friendly

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการ เนื่องในวันครู ครั้งที่ 58ประจำปี 2558และเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน” พระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “พระผู้ทรงเป็นแม่แห่งแผ่นดิน” และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษาในวันที่ 2 เม.ย.58 และนิทรรศการแสดงผลงานทางวิชาการของสถานศึกษาและครูที่มีผลงานดีเด่น ซึ่งเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมตั้งแต่วันที่ 14-16 ม.ค.นี้ 

พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารัฐบาลและ ศธ.ให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปครู ปฏิรูปการเรียนรู้อย่างมาก เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้มีความรู้ความความสามารถ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองที่จะช่วยเสริมสร้างสังคมคุณธรรม พัฒนาสังคมฐานความรู้และยืนหยัดบนเวทีโลกบนพื้นฐานของความเป็นไทยได้อย่างภาคภูมิ

ทั้งนี้ ในการประชุม ครม. นัดล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำให้ ศธ. ดูแลสวัสดิการสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา ของทุกคน ให้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านวิชาการเพิ่มขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ได้ศึกษาความรู้เพิ่มเติมทั้งจากหน่วยงาน องค์กรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งดูแลเรื่องการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนและการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองด้วย ซึ่ง ศธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พร้อมจะนำไปสู่การปฏิบัติ

ที่มา : สยามรัฐ

“คุรุสภา”เล็งเปิด อบรมมาตรฐาน วิชาชีพครูรอบ2

ครูระยอง-บัณฑิต ครู

Print Friendly

คุรุสภายันไม่ใช่จบสาขาอื่น ทุกสาขาจะขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ เพราะต้องผ่านการอบรมมาตรฐานวิชาชีพครู เผยเล็งเปิดรอบสอง  ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการคุรุสภาได้จัดทำโครงการการฝึกอบรมความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู เพื่อช่วยเหลือครูที่ได้รับหนังสืออนุญาตจากคุรุสภาให้ประกอบวิชาชีพครูที่ยังไม่มีใบอนุญาต สามารถยื่นเรื่องขอรับรองความรู้วิชาชีพครูจากคุรุสภา แต่ครูกลุ่มนี้จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานวิชาชีพครูให้ครบ 9 มาตรฐาน โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเข้ารับการอบรมในสถาบันอุดมศึกษาที่ผ่านการรับรองจากคุรุสภาเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 53 แห่งทั่วประเทศ มีผู้สมัครเข้าร่วมอบรมประมาณ 10,000 คน และกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการดังกล่าวตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558

ประธานคุรุสภากล่าวว่า ที่ผ่านมาเกิดความเข้าใจผิดว่าคุรุสภาเปิดโครงการนี้ให้ผู้ที่จบหลักสูตร 4 ปีในสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่จากคณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์มาอบรมได้ เพื่อจะได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูทันที ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ผู้จบหลักสูตรทางการศึกษาโดยตรง หรือเด็กที่กำลังจะเลือกเข้าเรียนต่อในสาขาวิชาชีพครูเกิดความไม่สบายใจนั้น ขอยืนยันว่าโครงการนี้ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้จบสาขาอื่นได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ทุกคน แต่เปิดเฉพาะครูที่ผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู โดยวิธีการเทียบโอน ทดสอบ หรือฝึกอบรม วิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือหลายวิธีรวมกัน แต่ยังผ่านไม่ครบ 9 มาตรฐาน และต้องอยู่ในระบบการสอนไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา จึงจะมีสิทธิสมัครอบรมได้ ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าครูกลุ่มนี้จะขาดอีกเพียง 1-2 มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย เทคโนโลยี ซึ่งจำเป็นต้องมีที่ปรึกษาให้คำแนะนำเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ใกล้สิ้นสุดโครงการแล้ว คุรุสภากำลังพิจารณาว่าจะเปิดรับอบรมรอบสองหรือไม่ แต่จากการติดตามผลการดำเนินงานรอบนี้ก็พบปัญหา อาทิ สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งไม่สามารถเปิดอบรมได้ เพราะผู้เรียนไม่พอ หรือบางแห่งอยู่ไกลไม่สะดวกต่อการเดินทาง เป็นต้น เพราะฉะนั้น หากจะเปิดรอบสองก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ เช่น ให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้รับสมัครเอง จากเดิมที่ให้สมัครผ่านระบบออนไลน์ทางเว็บไซต์คุรุสภา และคุรุสภาจะส่งรายชื่อไปยังสถาบันอุดมศึกษาที่ในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่ผู้สมัครอาศัยอยู่ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการหารือในที่ประชุมต่อไป.

ที่มา : ไทยโพสต์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ครูต่างชาติต้องรับการอบรมความเป็นไทย

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เปิดเผยถึงการอบรมครูชาวต่างประเทศ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ว่า จากการหารือร่วมกับสมาคมโรงเรียนนานาชาติและผู้เกี่ยวข้อง เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ข้อสรุปว่า เนื่องจากครูต่างชาติที่เข้ามาสอนในประเทศไทยมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่จบการศึกษามาจากประเทศของเขาเองและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมาแล้ว กับอีกกลุ่มที่จบสายอื่นไม่ได้เรียนวิชาชีพครูมา จึงตกลงกันว่ากลุ่มที่เรียนครูมาแล้วให้นำใบประกอบวิชาชีพมาเทียบได้เลย แต่จะต้องมาอบรมเรื่องความเป็นไทยและกฏหมายการศึกษาไทย 21 หน่วย หรือ 21 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้เรียนสายครูมาจะต้องอบรมความเป็นไทย แนวคิดการศึกษาของไทย จิตวิทยาการศึกษาไทย การประเมินผลและกฏหมายไทย ตามกติกาเดิมคืออบรม 42 ชั่วโมง

ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวต่อไปว่า สำหรับกรณีที่คุรุสภาอนุญาตให้มหาวิทยาลัยเพียง 2-3 แห่งฝึกอบรมครูต่างชาติ นั้น ขณะนี้คุรุสภาได้ปรับระเบียบใหม่แล้วว่า จะให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ฝึกอบรมทั้ง 2 หลักสูตร โดยจะเปิดกว้างให้ทุกมหาวิทยาลัยยื่นความจำนงมาที่คุรุสภาเพื่อพิจารณาความพร้อมและเหมาะสมก่อน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยอาจจะจับมือกับสมาคมหรือโรงเรียนในการจัดอบรมก็ได้

“การอบรมครูต่างชาติที่จะเข้ามาสอนในเมืองไทย เป็นข้อกำหนดที่ต้องทำ จะปล่อยให้คนต่างชาติเข้ามาสอนโดยไม่มีการอบรมไม่ได้ เพราะจะเป็นการเสี่ยงเนื่องจากประเพณีและวัฒนธรรมของไทยกับต่างชาติ เป็นคนละเรื่องกัน จึงจำเป็นต้องให้เขามีความรู้เกี่ยวกับประเทศไทยด้วย ซึ่งเราก็จัดให้อย่างพอดีและเหมาะสมอยู่แล้ว”ศ.ดร.ไพฑูรย์กล่าว

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre