การศึกษาในศตวรรษที่ 21 รร.ต้องร่างหลักสูตรให้เด็กเป็นผู้บริหาร

Print Friendly

โอกาสก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 สมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (International School Association of Thailand : ISAT) ได้จัดงานดินเนอร์ ทอล์ค ฉลองครบรอบ 20 ปี ณ รร. เคมปินสกีสยาม โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.หยง เจา นักวิชาการด้านการศึกษาชาวจีน ผู้มีผลงานการศึกษาระดับโลก มาปาฐกถาในหัวข้อ เทรนด์การศึกษาในศตวรรษที่ 21

ดร.หยง เจา กล่าวถึงทรรศนะด้านเด็กของเขาว่า เด็กแต่ละคนมีพรสวรรค์ที่แตกต่างกัน เด็กที่ครูเห็นพรสวรรค์ด้านใดด้านหนึ่ง จะมีความอยากรู้อยากเห็นไม่เหมือนกันและไม่หยุดนิ่ง นั่นคือการต่อยอดของการมีชีวิตรอด จะนำมาซึ่งความเก่ง แต่ทั้งนี้เด็กเก่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ ยกตัวอย่างในบ้านเกิดของเขาที่ประเทศจีนเองคนที่เก่งคือคนที่ขี่ควายได้ ไม่ใช่เรียนหนังสือเก่ง

ดร.หยง เจา ยังบอกอีกว่า การออกแบบหลักสูตรต้องตอบโจทย์ได้ว่าเด็กที่จบมาจะเป็นอย่างไร เพราะปัจจุบันมีสถิติของนศ.จบมาไม่มีงานทำสูงขึ้นทั่วโลก ในประเทศจีนในปี ค.ศ. 2012 มีนศ.ไม่ได้รับการจ้างงาน 570,000 คน เช่นเดียวกันในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2012 มี นศ.จบมหาวิทยาลัยไม่ได้รับการจ้างงาน 50%

อย่างไรก็ตามในโลกยุคต่อไปนี้จะเป็นโลกยุคดิจิตอลใช้อินเทอร์เน็ต การผลิตในภาคอุตสาหกรรมลดแรงงานคนหันมาใช้หุ่นยนต์ในภาคการผลิต เช่น อาชีพทนายความในสหรัฐมีงานน้อยลงเพราะคนเสาะหาข้อมูลข้อกฎหมายทางอินเทอร์เน็ตไปเจรจากับคู่กรณี แทนที่จะว่าจ้างทนายมาสู้คดี เพราะฉะนั้นจึงต้องเตรียมเด็กให้เป็นผู้บริหาร คุณสมบัติที่สำคัญของผู้บริหารคือต้องมีความมุ่งมั่น มีความรู้รอบ มีความคิดสร้างสรรค์ และประเมินความเสี่ยงเป็น ซึ่งต้องย้อนไปที่หลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน

“ที่สุดแล้วโลกไม่มีพรมแดนทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงกัน การศึกษาของโลกตะวันตกและตะวันออกคือการศึกษานานาชาติ ดังนั้นการที่รร.นานาชาติจะนำหลักสูตรของแต่ละประเทศไปใช้ ต้องปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของประเทศของเขาด้วย เพราะเด็กไม่เหมือนกัน”

ดร.หยง เจา ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันความคิดสร้างสรรค์ของเด็กส่วนใหญ่ต่ำลงเมื่อโตขึ้น ในวัย 5 ขวบเด็กมีความคิดสร้างสรรค์ 80% แต่เมื่อโตขึ้น 8 ขวบ ความคิดสร้างสรรค์เหลือ 32% สาเหตุที่ความคิดสร้างสรรค์ลดลงมาจากโรงเรียน เพราะเด็กต้องทำตามคำสั่ง เช่น สั่งให้ทำการบ้าน สั่งให้อย่าคุย หยุดเล่น เมื่อวัดความคิดสร้างสรรค์ระหว่างเด็กเอเชียและเด็กในประเทศตะวันตก ปรากฏว่าเด็กเอเชียมีน้อยกว่า เพราะเด็กเอเชียชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น ไม่คิดว่าตัวเองมีดี

เด็กเอเชียยังขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง แม้จะทำคะแนนด้านวิชาการได้ดีกว่า เช่น การจัดอันดับการทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ปรากฏว่าเด็กเกาหลีทำคะแนนได้อันดับหนึ่ง รองลงมาคือสิงคโปร์ ฮ่องกง เด็กในอเมริกาทำคะแนนอยู่ในลำดับกลาง ๆ และเด็กอเมริกาหางานทำได้มากกว่า เพราะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงกว่า นำเสนอเป็น นำเสนอเก่ง

ดร.หยง เจาแนะวิธีสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก ต้องเริ่มจากผู้ใหญ่ ไม่ควรสั่งให้เด็กทำโน่นทำนี่ ทำได้เพียงชี้แนะแนวทาง ไม่ควรตัดสินใจแทนเด็ก บอกแค่ว่าจุดที่เหมาะสมอยู่ตรงไหน ครูต้องส่งเสริมข้อดีของเด็กด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้นเด็กจะเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองตามมา

อ.อุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (ISAT) กล่าวว่า ดร.หยง เจา เป็นผู้มีผลงานโดดเด่นโดยการออกแบบโรงเรียนที่สามารถสร้าง นร.ที่มีความสามารถระดับโลก พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์สำหรับการศึกษาแนวใหม่ นอกจากนี้ยังมีบทความ ตีพิมพ์แล้วมากกว่า 100 เรื่อง และหนังสือมากกว่า 20 เล่ม ยัง ได้รับรางวัล Early Career Award จาก American Educational Research Association และได้รับการนำเสนอชื่อเป็นหนึ่งใน 10 ผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในแวดวงเทคโนโลยีด้านการศึกษาในปี ค.ศ. 2012 จากนิตยสาร Tech & Learn Magazine

ดร.หยง เจา เกิดในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ จากสถาบัน Sichuan Institue of Foreign Languages ในเมืองฉงชิง ประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ. 1986

ปัจจุบัน ดร.หยง เจา ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการและประธานสถาบัน Global and Online Edaucation College of Education มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐ

โดย : พรประไพ เสือเขียว
ที่มา : moe

“กมล”รับครูใช้รองเท้าลูบหน้านักเรียนไม่เหมาะ – ครูระยอง


“กมล”รับครูใช้รองเท้าลูบหน้านักเรียนไม่เหมาะ

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่มีการเผยแพร่คลิปครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เอารองเท้าลูบหน้าเด็กนักเรียนที่เข้าแถวเพื่อสวัสดี ซึ่งเจ้าของคลิปอ้างว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการอำลา และได้แสดงความไม่พอใจถึงการกระทำดังกล่าว พร้อมทั้งทวงถามหาจรรยาบรรณจากครูในคลิปด้วย ว่า สพฐ. ยอมรับว่าพฤติกรรมดังกล่าวไม่เหมาะสม ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้เรียกครูที่ปรากฎในคลิปไปชี้แจง พร้อมทั้งว่ากล่าวตักเตือนแล้ว ขณะที่ครูคนดังกล่าวก็ยอมรับว่าทำเกินกว่าเหตุ และได้ขอโทษนักเรียนและผู้ปกครองถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่มีใครติดใจเอาเรื่องเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการตกลงร่วมกับระหว่างครูกับนักเรียนเอง อย่างไรก็ตามตนขอฝากไปยังผู้บริหารและครูทุกโรงเรียนให้ระมัดระวังการกระทำพฤติกรรมใดๆก็ตามที่สุ่มเสี่ยงกระทบต่อหลักสิทธิมนุษยชนด้วย เพราะเวลานี้สื่อโซเชียลมีเดียมีการใช้แพร่หลาย และส่งต่อกันไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นการกระทำอะไรก็ตามต้องระวังและคิดให้รอบด้านมากขึ้น.

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

กมธ.ศึกษาฯ ชี้ 84 วันครูหายจากห้องเรียน แนะแก้กลไกพิเศษ

Print Friendly

ผู้สื่อข่าวรายงานในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานา สปช.เป็นประธานการประชุม ได้รับทราบรายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เรื่องยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนามนุษย์

โดยมี นางประภาภัทร นิยม เลขานุการกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชี้แจงว่า จากสภาพการณ์ด้านการศึกษาของไทยที่ผ่านมา พบว่ายังขาดการวางระบบหรือกลไกความรับผิดชอบของผู้สอน และผู้เรียน รวมถึงสถาบันการศึกษา ซึ่งผลการสำรวจของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) ระบุว่า ในจำนวนวันเรียน 200 วัน ครูหายไปทำกิจกรรมอย่างอื่นประมาณ 84 วัน ทำให้ผู้เรียนไม่ได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ ขณะที่ผู้เรียนก็ถูกเน้นให้เป็นผู้ถูกติวมากกว่าทักษะการเรียนอย่างเข้าใจ รวมถึงปัญหาสังคม เช่น ท้องวัยใส ปัญหายาเสพติด

ขณะเดียวกัน ปัญหาการศึกษาอาชีวะของไทยยังถูกมองข้ามไม่ให้ความสำคัญ หรือแม้แต่ผู้ที่จบการศึกษาแล้ว ยังพบว่าขาดทักษะที่เพียงพอต่อการทำงาน รวมไปถึงปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในแวดวงการศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาการศึกษาของไทยในเชิงระบบ

นางประภาภัทร กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาเชิงประเด็น จากการสำรวจของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่าประเทศไทย ใช้งบประมาณเป็นอันดับ 2 เพื่อการศึกษา แต่ไม่เกิดการพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งไทยกำลังเผชิญปัญหาที่ลึกกว่าปรากฎการณ์ในอดีต จึงต้องเร่งแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง ดังนั้น การแก้ปัญหาต้องแก้ไขที่โรงเรียนและห้องเรียนจะต้องไม่แออัด ให้มีจำนวนผู้เรียนแต่ละห้องเรียนที่เหมาะสม การสร้างครูที่มีศักดิ์ศรี มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู และเป็นโรงเรียนบ่มเพาะเด็กเยาวชนได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่การจัดสรรบุคลากร การจัดการเรื่องงบประมาณ และด้านวิชาการ รวมถึงต้องส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ขณะที่แผนยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนต้องรองรับความหลากหลายของอาชีพด้วย ทั้งนี้ความเป็นไปได้การปฏิรูประบบการศึกษาทั้งเชิงระบบและเชิงประเด็นนั้น สามารถทำได้ โดยให้มีกลไกพิเศษอยู่นอกระบบกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายศึกษาขับเคลื่อนมนุษย์ ภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรีแทน

ด้านนายอมรวิชช์ นาครทรรพ กรรมาธิการฯ ชี้แจงว่าองค์กรส่วนท้องถิ่น ต้องมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยลดค่านิยมทางด้านการศึกษา สนับสนุนให้เด็กมาเรียนกับกลุ่มอาชีวะ ซึ่งขณะนี้ได้ตั้งหน่วยงานสภาการศึกษาระดับจังหวัดขึ้นแล้วกว่า 10 จังหวัด เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้เข้มแข็ง ดังนั้น ครอบครัว ชุมชน องค์กรท้องถิ่นต้องมีการเตรียมความพร้อมและมีกลไกการปฏิรูปในระยะยาว เนื่องจากการศึกษาเป็นเรื่องจำเป็นของสังคมไทยและสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้

จากนั้นเปิดให้สมาชิกแสดงความคิดเห็น โดยนายเฉลิมชัย เฟื่องคอน สปช. เห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขปัญหาห้องเรียนและผู้เรียน รวมถึงการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา รวมถึงต้องแก้ปัญหาเรื่องแป๊ะเจี๊ยะ และสนับสนุนงบประมาณการศึกษาเป็นรายหัว ลดการทดสอบ O-NET ให้ทดสอบเฉพาะสมรรถนะหลักของหลักสูตรเท่านั้น และห้ามนำผลงานของเด็กไปประกอบการประมินของผู้บริหาร และต้องให้ผู้เรียนเข้าถึงอุปกรณ์การศึกษามากขึ้น

ส่วนนายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ สปช. เสนอให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการวางยุทธศาสตาร์การศึกษาชาติ เพื่อให้ได้บุคลากรของชาติที่มีคุณค่า และดึงองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านมาช่วยในการสอนมากกว่ารองรับคุณวุฒิศาสตราจารย์ต่างๆ

อย่างไรก็ตาม หลังสมาชิกอภิปรายอย่างกว้างขวาง จึงถือว่าที่ประชุมได้รับทราบรายงานของ กมธ.ปฏิรูปการศึกษาฯ แล้ว และให้ กมธ.ฯ ไปศึกษาเพิ่มเติม เพื่อนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุม สปช.อีกครั้ง จากนั้นปิดประชุมในเวลา 17:35 น.

ที่มา : สยามรัฐ

สำนักงาน ก.พ. ชี้แจง การปรับเงินเดือนข้าราชการ ในวันที่ 1 เมษายน 2558

ครูระยอง - เงินเดือน

Print Friendly

ตามที่ได้มีข่าวเกี่ยวกับการปรับเงินเดือนข้าราชการในวันที่ 1 เมษายน 2558 ระบุว่าสำนักงาน ก.พ. ได้มีหนังสือซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ การประเมินผลการปฎิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญแจ้งกระทรวง กรมและจังหวัด ว่าการปรับบัญชีเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ยังอยู่ในขั้นตอนการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และขอให้ส่วนราชการพิจารณาประเมินผลปฎิบัติราชการไปตามปกติ แต่ชะลอการสั่งเลือนเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน 2558 ไว้ก่อนนั้น

สำนักงาน ก.พ. ขอชี้แจงว่า หนังสือซักซ้อมฉบับดังกล่าว จัดทำขึ้นเพื่อชี้แจงส่วนราชการ ดังนี้

  1. ข้าราชการยังคงได้รับการปรับเงินเดือนร้อยละ 4 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 โดยมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 และกฎหมายการปรับเงินเดือนข้าราชการดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการแก้ไขในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  2. ขอให้ส่วนราชการชะลอการสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการในวันที่ 1 เมษายน 2558 ไปก่อน เนื่องจาก (1) งบประมาณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน 2558 จะเพิ่มขึ้นตามเงินเดือนข้าราชการที่ได้รับการปรับเพิ่มร้อยละ 4 และ (2) ฐานในการคำนวณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน 2558 จะปรับเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งสำนักงาน ก.พ. จะแจ้งฐานในการคำนวณใหม่ให้ทราบโดยเร็วต่อไป

ที่มา : สำนักงาน ก.พ.

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ศธ.เปิดฝึกงาน 7,000 อัตรา หารายได้ช่วงปิดเทอมใหญ่

การศึกษาไทย

Print Friendly

นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังเข้าสู่ช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ซึ่งนักเรียน นักศึกษาจะมีเวลาว่างหลายเดือน โดยเฉพาะนักศึกษาที่จะเปิดภาคเรียนในราวเดือน ส.ค. ดังนั้นศธ.จึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และมีรายได้ โดยการทำงานฝึกประสบการณ์ระหว่างปิดภาคเรียน ซึ่งที่ประชุมองค์กรหลักของ ศธ.ได้เห็นชอบในหลักการแล้ว และอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดขอบข่ายของงาน ส่วนค่าตอบแทนจะเป็นเท่าไหร่ นั้นจะมีการหารือกับกระทรวงการคลัง ซึ่งมีระเบียบค่าตอบแทนการฝึกประสบการณ์ระหว่างเรียนของนักเรียน นักศึกษาอยู่

“รมว.ศึกษาธิการ ได้เน้นย้ำว่างานที่จะให้เด็กทำนั้นต้องให้เด็กได้ฝึกทำงานที่มีความรับผิดชอบ และตรงกับความสนใจ สามารถพัฒนาทักษะการมีส่วนร่วมเพื่อให้รู้จักการทำงานเป็นทีมด้วย ไม่ใช่แค่ให้มานั่งเย็บกระดาษ ซึ่งขณะนี้ทุกองค์กรหลักได้สั่งการไปยังหน่วยงานในสังกัดให้เตรียมภาระงาน และตั้งงบประมาณค่าตอบแทนไว้รองรับแล้ว โดยคาดว่าหน่วยงานในสังกัด ศธ.ทั่วประเทศน่าจะสามารถรับนักเรียน นักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์ได้ไม่ต่ำกว่า 7,000 คน”

ปลัด ศธ.กล่าวและว่า ทั้งนี้คาดว่าจะมีการประกาศรับสมัครนักเรียน นักศึกษาที่สนใจเข้าฝึกประสบการณ์ภายในเดือน มี.ค. เพื่อจะได้เริ่มทำงานพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 เม.ย.58 นี้

ที่มา : สยามรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ผลประชุม ก.ค.ศ. 3/2558 – ครูระยอง

Print Friendly

พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 3/2558 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2558 ที่ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ

  • การนำหลักเกณฑ์และวิธีการได้มา การกำหนดคุณสมบัติอื่น วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของ “อนุกรรมการผู้แทน ก.ค.ศ./อนุกรรมการผู้แทนคุรุสภา/อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ/อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาทบทวนถึงการนำหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาฯ ของอนุกรรมการทั้ง 4 คณะ ที่ได้ใช้ในการดำเนินการสรรหา อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 169 เขต มาใช้ในการสรรหาอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 42 เขต และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

โดยที่ประชุมเห็นว่าควรยึดหลักเกณฑ์เดิม แต่ปรับรายละเอียดบางด้านให้ชัดเจนขึ้น โดยให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ทำหนังสือแจ้งเวียนไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งประกาศลงเว็บไซต์ เพื่อกำชับให้เห็นถึงปัญหาที่พบจากการสรรหาอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่ผ่านมา เช่น ปัญหาการเสนอรายชื่อซ้ำซ้อนกัน หากต่อไปตรวจสอบพบภายหลัง จะให้ถือเป็นโมฆะ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กำหนดวันเลือกตั้งอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 42 เขต และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2558 เวลา 9.00-15.00 น. โดยให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ไปจัดทำปฏิทินการเลือกตั้งโดยเร็ว

  • รับทราบ ผลการดำเนินการให้ได้มาซึ่งอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 169 เขต

จากการประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ 12/2557 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 มีมติให้ชะลอการแต่งตั้งอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภา เนื่องจากมีการร้องเรียน โดยมอบให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 มกราคม 2558

ต่อมาสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้ขอขยายเวลาการแจ้งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงการดำเนินการได้มาของอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภา ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 169 เขต ออกไปอีก 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558

ในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2558 ได้พิจารณาผลการสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง กรณีขาดความไม่โปร่งใสในกระบวนการและขั้นต้นการดำเนินการให้ได้มาซึ่งอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาของคุรุสภา จำนวน 169 เขต แล้ว มีความเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการคัดเลือกผู้แทนคุรุสภาดังกล่าว เป็นไปตามหลักความเป็นกลางตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มีมติดังนี้

  1. ให้ยกเลิกการดำเนินการคัดเลือกผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาของคุรุสภา ตามบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาของคุรุสภา จำนวน 169 เขต และให้ดำเนินการคัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการคุรุสภาและบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดใหม่
  2. มอบหมายให้ นายนิวัตร นาคะเวช และนายเพิ่มสิน เฉยศิริ กรรมการคุรุสภา เป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจฯ แทนนายวินัย เบนสุภา และนายเสรี แสงทองเขียว

ล่าสุด จากการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 ได้มีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 169 เขตแล้ว ดังนั้นสำนักงาน ก.ค.ศ. จะนำรายชื่อเสนอต่อ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจฯ เพื่อพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากเขตพื้นที่การศึกษาละ 4 คน ให้เหลือเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 คน เพื่อเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณาตั้งเป็นอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาต่อไป ในการประชุมนัดพิเศษ วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2558

  • อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ 10 ราย

1) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 ราย
โดยอนุมัติตามหลักเกณฑ์ ว13/2556 จำนวน 8 ราย ได้แก่
– นายอารินทร์ โพธิ์สวรรค์ ผอ.โรงเรียนบ้านวังกระแจะ สพป.กาญจนบุรี เขต 3
– นายประยูร สุธาบูรณ์ ผอ.โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สพม.เขต 8
– นายสมใจ วิเศษทักษิณ ผอ.โรงเรียนจตุรมิตรวิทยาคาร จังหวัดขอนแก่น สพม.เขต 25
– นายเรืองยศ แวดล้อม ผอ.โรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคม จังหวัดขอนแก่น สพม.เขต 25
– นายวีรเดช ซาตา ผอ.โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น สพม.เขต 25
– นายนพรัตน์ รุ่งโรจน์ ผอ.โรงเรียนอนุบาลวัดคลองใหญ่ สพป.ตราด
– นายศุภฤต ดิษฐสุวรรณ ผอ.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ สพม.เขต 2
– นายสุรทิน ทิพย์อักษร ผอ.โรงเรียนบ้านลำหัก สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3
โดยอนุมัติตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 จำนวน 1 ราย ได้แก่
– นางนิตยา พิมพ์โคตร ตำแหน่งครู โรงเรียนบ้านเชียงอาด สพป.หนองคาย เขต 2

2) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 1 ราย
โดยอนุมัติตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ได้แก่ นางจิตราพร กาญจนพิบูลย์ ตำแหน่งครู วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี

  • อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง

1) นายอรรถ เจะบือราเฮง เป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 (นราธิวาส ปัตตานี และยะลา)
2) นายสนิท สนธิพันธ์ เป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

  • อนุมัติตั้งประธาน อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจฯ ประเมิน พ.ต.ก.

ที่ประชุมอนุมัติตั้ง นายกิตติรัตน์ มังคละคีรี เป็นประธานอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับประเมินความรู้ ความสามารถ ของบุคคลเพื่อให้ได้รับ พ.ต.ก. สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แทนนายกิจสุวัฒน์ หงส์เจริญ ประธานอนุกรรมการคนเดิม ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากได้รับคัดเลือกให้เป็นกรรมการใน ก.พ.ค.

  • อนุมัติตั้งกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์ฯ

ที่ประชุมอนุมัติตั้ง นายพันธุ์ศักดิ์ โรจนากาศ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ. เป็นกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และร้องทุกข์ แทนตำแหน่งว่าง ส่วนประธาน อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และร้องทุกข์ จะพิจารณาในการประชุม ก.ค.ศ.ครั้งต่อไป

โดย : ดรุวรรณ บุญมาก, บัลลังก์ โรหิตเสถียร
ที่มา : moe

คุรุสภาเผยร้องเรียนครูคดีชู้สาวมากสุด

Print Friendly

ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เปิดเผยว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้ก่อตั้งครบรอบ 70 ปีแล้ว และขณะนี้มีผู้ให้ความสนใจมาเรียนครูเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการทำงานก้าวต่อไปของคุรุสภาในปี 2558 จะทำงานเชิงรุกมากขึ้น ไม่ใช่คอยตั้งรับปัญหาเหมือนที่ผ่านมา ตลอดจนหารูปแบบวิธีการสอนสำหรับครูยุคใหม่ เพื่อส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กให้ดีขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ตนได้ย้ำกับผู้แทนคุรุสภา ว่า ต้องให้ความสำคัญกับกิจกรรมของครูและเด็ก รวมถึงให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภานำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาวิชาชีพครู

ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวต่อไปว่า คุรุสภาจะดำเนินการเรื่องวินัยและจรรณยาบรรณวิชาชีพครูให้เข้มข้นมากขึ้น ซึ่งในเร็วๆนี้ คุรุสภาจะจัดโครงการคุรุคุณธรรมขึ้น โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคัดเลือกครูมาฝึกอบรมพัฒนายกระดับจรรยาบรรณวิชาชีพ ขณะเดียวกันคุรุสภาจะประมวลเหตุการณ์พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของครูให้เป็นกรณีศึกษาด้วย เช่น คนที่ไม่มีอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่มาทำหน้าที่การสอน โดยไม่แจ้งให้คุรุสภารับทราบ หรือ ผู้บริหารโรงเรียนทำเรื่องทุจริต เป็นต้น เพื่อจะทำให้ครูได้ตระหนักรู้ผิดชอบ ชั่วดี ไม่หลงผิด ไม่ทำให้วิชาชีพของตนเองต้องมัวหมอง

ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า สำหรับผลการพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ในปี 2557 พบว่า มีกรณีพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ของข้าราชการครู 3 เรื่อง ได้แก่ ครูทำร้ายร่างกายนักเรียนด้วยการใช้มือตบบริเวณปาก ไม่มีบาดแผล ให้พักใช้ใบอนุญาตฯ 3 เดือน , ครูทำร้ายร่างกายนักเรียนด้วยการบิดใบหูเป็นรอยแดงช้ำ ให้พักใช้ใบอนุญาตฯ1 เดือน และ ครูใช้ไม้ตีมือนักเรียน จำนวน 79 ที เป็นรอยแดงช้ำ ให้พักใช้ใบอนุญาตฯ3 เดือน และกรณีเพิกถอนใบอนุญาตฯ ข้าราชการครู 2 เรื่อง ได้แก่

  1. ครูชายอนาจารนักเรียนหญิงด้วยการจับอวัยวะเพศ
  2. ครูลักขโมยเงินวัด ในการไปปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงินให้วัดในงานฝังลูกนิมิต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ยังมีเรื่องร้องเรียนตรวจสอบถึงพฤติกรรมข้าราชการครู จำนวน 24 เรื่อง โดยเป็นเรื่องชู้สาว 8 กรณี

  1. ครูมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวและดื่มสุรา
  2. ครูมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวดื่มสุราและทะเลาะวิวาท
  3. ศึกษานิเทศก์ถูกกล่าวโทษกรณีชู้สาวและกู้ยืมเงินไม่ชำระหนี้
  4. ครูบุกรุกเคหะสถาน ใช้คำพูดในทำนองชู้สาว
  5. ครูกระทำอนาจารเด็กนักเรียน
  6. ครูข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น
  7. ครูมีความสัมพันธ์ส่อในทางชู้สาว
  8. ครูมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวและทุจริตต่อหน้าที่ ทั้งนี้ พบพฤติกรรมครูค้ายาเสพติด ชิงทรัพย์ และทำร้ายร่างกายผู้อื่น และฉ้อโกงทรัพย์สินของผู้อื่น

ที่มา : เดลินิวส์

คลิปครูถอดรองเท้าตบหน้านักเรียนเรียงคน เหมาะสมหรือไม่ !!?

Print Friendly

โลกออนไลน์กำลังวิพากษ์วิจารณ์คลิปวิดีโอภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในรั้วโรงเรียนแห่งหนึ่ง คุณครูท่านหนึ่งได้ถอดรองเท้าออก ก่อนจะนำมาใช้ตบใบหน้าเด็กนักเรียน ที่กำลังทยอยเดินออกจากห้องสอบ ที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องความเหมาะสมและจรรยาบรรณ ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนหนึ่งได้โพสต์คลิปวิดีโอเผยแพร่ไปตามเพจเฟซบุ๊กชื่อดังต่างๆ คลิปความยาวไม่กี่วินาที “ไอเดียร์บรรเจิด! ครูเอารองเท้าตบหน้าเด็กเพื่อขออำลา..” แสดงให้เห็นภาพคุณครูท่านหนึ่ง กำลังใช้รองเท้าข้างหนึ่ง ตบเข้าที่ใบหน้าเด็กนักเรียน ระหว่างเดินเรียงแถวออกจากห้องเรียน ที่คาดว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการสอบเสร็จ

ผู้โพสต์คลิปดังกล่าว ยังระบุข้อความว่า “นี่คือครูที่ดีหรือ? ครู—– พ่อแม่เด็กยังไม่เคยเอารองเท้าตบหน้าลูกเลย แล้วครูคือใคร ถึงมาทำกับน้องฉันได้ ครูดังแน่ ไม่จบหรอกพูดเลย ความเป็นครูอยู่ไหนคะ เอารองเท้าตบหน้าเด็ก เพื่อขออำลา อย่าเป็นครูเลยค่ะ เสียจรรยาบรรณครู แม่-ของขึ้น!! ฝากไลค์ฝากแชร์ด้วยนะคะ”

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากคลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก บางส่วนมองว่า ภาพดังกล่าวไม่รู้ความหมายหรือที่มา อาจจะเป็นการทำโทษที่สมเหตุสมผล หรือ วิธีอบรมสั่งสอนให้เด็ก ไม่ควรวิจารณ์ไปต่างๆ นานา หากยังไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง

กระนั้นก็ตามเมื่อดูภาพจากคลิปก็ไม่ได้รุนแรงถึงกับใช้คำว่า”ตบ” ลักษณะแค่ตีเบาๆเท่านั้น แต่การใช้รองเท้าก็ดูไม่เหมาะสมสำหรับความเป็นครู

ขณะที่บางส่วนคิดเห็นว่า การทำโทษเด็กมีหลากหลายวิธี แต่วิธีนี้ดูไม่เหมาะสมและรุนแรงเกินไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมวิชาชีพครู รวมทั้งจรรยาบรรณครู แม้ว่าคุณครูในคลิปดังกล่าวจะเป็นผู้อาวุโสก็ตาม แต่วิธีการทำโทษเด็กเช่นนี้ ดูไม่เหมาะสมและขัดต่อวัฒนธรรมไทยอย่างสิ้นเชิง

ที่มา : มติชน

แยกใบวิชาชีพครูรายวิชา-ระดับชั้น

Print Friendly

ตามที่คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) มีแนวคิดปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู โดยในประเด็นเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีข้อเสนอให้แยกใบประกอบวิชาชีพครูเป็นรายวิชาและแยกเป็นระดับชั้น ซึ่งล่าสุด นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา (บอร์ดคุรุสภา) กล่าวว่า การประชุมบอร์ดคุรุสภา วันที่ 19 มี.ค.58 นี้ ตนจะนำข้อเสนอที่ให้แยกใบอนุญาติประกอบวิชาชีพครูตามระดับการศึกษา เช่นใบอนุญาติประกอบวิชาชีพครูระดับปฐมวัย ใบประกอบวิชาชีพครูระดับประถมศึกษา เป็นต้น เข้าหารือต่อบอร์ดคุรุสภา เพื่อสอบถามความเห็นและหลังจากนั้นจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 1ชุด เพื่อศึกษารายละเอียดในเรื่องดังกล่าว

ประธานบอร์ดคุรุสภา กล่าวต่อไปว่า ที่จริงแล้วเรื่องนี้คุรุสภา เคยศึกษาไว้แล้วแต่ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง เพราะคุรุสภา เองก็รับข้อเสนอแนะนี้มาจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มครูปฐมวัย ซึ่งต้องการให้แยกใบอนุญาติประกอบวิชาชีพของครูปฐมวัยโดยเฉพาะ เพราะเป็นการจัดการศึกษาที่ค่อนข้างมีลักษณะเฉพาะทาง ซึ่งเรื่องนี้ตนก็เห็นด้วยกับการแยกประเภทใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพราะการที่เราตัดเสื้อขนาดเดียว แต่ใช้กับคนทุกขนาดนั้น อาจยังไม่เหมาะสม

“ผมเห็นว่าน่าจะมีการศึกษาเรื่องการออกใบอนุญาติประกอบวิชาชีพเฉพาะวิชา ไปในคราวเดียวกันเลย เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและรับครูตรงตามความต้องการมากขึ้น ทั้งนี้ คุรุสภาจะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกัน ถ้าส่วนใหญ่เห็นอย่างไร คุรุสภาก็พร้อมดำเนินการตาม”

นายไพฑูรย์ กล่าวและว่า คุรุสภาพร้อมจะเป็นตัวกลางระหว่างฝ่ายผลิตและฝ่ายใช้ครู ถ้าทุกฝ่ายเห็นด้วย ก็สามารถประกาศใช้ได้เลย เพราะเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมาย เพราะมีการเปิดช่องให้ดำเนินการได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาจะเกิดในทางปฏิบัติมากกว่า คือถ้าประกาศใช้แล้วการรับครูจะต้องรับให้ตรงประเภท ไม่สามารถใช้ครูข้ามวิชาได้อีก จะเอาครูพละไปสอนวิชาภาษาไทยไม่ได้ นอกจากนั้นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลก็จะมีปัญหาขาดแคลนครูทันที เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จะต้องหารือกันให้รอบครอบก่อนตัดสินใจ

ที่มา : สยามรัฐ

อนุมัติ ผอ.เชี่ยวชาญ-ครูเชี่ยวชาญ 10 ราย

Print Friendly

ก.ค.ศ. อนุมัติผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญ จำนวน 10 รายและเตรียมประกาศรายชื่อครู – บุคลากรที่มีผลงานดีเด่นเชิงประจักษ์ 62 ราย ทางเว็บไซต์ ก.ค.ศ.

นางสุจิตรา พัฒนะภูมิ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.) รักษาราชการแทนเลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยว่า ในการประชุม ก.ค.ศ. เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย ดังนี้ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 8 ราย ดังนี้

  1. นายอารินทร โพธิ์สวรรค์ โรงเรียนบ้านวังกระแจะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) กาญจนบุรี เขต 3
  2. นายประยูร สุธาบูรณ์ โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 8
  3. นายสมใจ วิเศษทักษิณ โรงเรียนจตุรมิตรวิทยาคาร จังหวัดขอนแก่น สพม. เขต 25
  4. นายเรืองยศ แวดล้อม โรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคม จังหวัดขอนแก่น สพม. เขต 25
  5. นายวีระเดช ซาตา โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น สพม. เขต 25
  6. นายนพรัตน์ รุ่งโรจน์ โรงเรียนอนุบาลวัดคลองใหญ่ สพป.ตราด
  7. นายศุภกฤต ดิษฐสุวรรณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ สพม. เขต 2
  8. นายสุรทิน ทิพย์อักษร โรงเรียนบ้านลำหัก สพป. นครศรีธรรมราช เขต 3

นอกจากนี้ ยังอนุมัติครูเชี่ยวชาญ จำนวน 2 ราย ดังนี้ นางนิตยา พิมพ์โคตร โรงเรียนบ้านเชียงอาด สพป. หนองคาย เขต 2 และ นางจิตราพร กาญจนพิบูลย์ วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่น ที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 62 ราย ให้เป็นผู้มีคุณสมบัติเข้ารับการประเมิน จากนั้นสำนักงาน ก.ค.ศ. และจะประกาศรายชื่อและผลงานทางเว็บไซต์ www.otepc.go.th เพื่อเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านคุณสมบัติและหรือผลงาน เป็นระยะเวลา 15 วัน

ที่มา : ผู้จัดการ

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre