“กำหนดการ/ตารางสอบ/เกณฑ์สอบสัมภาษณ์” สอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปีพ.ศ.2558

สอบราชการ - ครูระยอง

Print Friendly

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการเปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ประจำปี 2558 โดยรับสมัครวันที่ 23 – 29 มีนาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ วันที่ 9 เมษายน สอบข้อเขียน ภาค ก ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู วันที่ 23 เมษายน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ภายในวันที่ 28 เมษายน สอบข้อเขียนภาค ข วันที่ 2 พฤษภาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคค สอบสัมภาษณ์ ภายในวันที่ 7 พฤษภาคม สอบสัมภาษณ์ วันที่ 10 พฤษภาคม ประกาศผลการสอบ วันที่ 14 พฤษภาคมนี้

สำหรับปีนี้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)ที่ขอเปิดสอบทั้งหมด 64 เขต รวมสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ตำแหน่งว่าง ประมาณ 1,700 อัตรา ใน 35 กลุ่มวิชา โดยมีกำหนดการ ตารางสอบ และเกณฑ์การสอบสัมภาษณ์ ดังนี้

03-11-58-3 03-11-58-4 03-11-58-5

>> รายละเอียด <<

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

หลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มจร เปิดรับสมัครแล้ว ตั้งแต่บัดนี้้ ถึง 31 มีนาคม

Print Friendly

หลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เปิดรับสมัครแล้ว ตั้งแต่บัดนี้้ ถึง 31 มีนาคม

สนใจสอบถามได้ที่ 095-4519161, 081-6843062, 089-9920079, 087-3304711, 086-1811625

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ที่มา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สสวท.ส่อขยับค่าลิขสิทธิ์หนังสือเรียนลดเหลื่อมล้ำ

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผอ.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือบอร์ด สสวท.มีมติให้เปิดเสรีในการผลิตและจัดจำหน่ายหนังสือเรียนและสื่อหลักอื่นๆของ สสวท.ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 นั้น มติดังกล่าวไม่ได้ปิดกั้นองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ในการยื่นเสนอตัวเพื่อรับพิมพ์หนังสือของ สสวท.องค์การค้าฯยังคงสามารถเข้ามาแข่งขันได้เหมือนเดิม ซึ่งการเปิดเสรีดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับทุกฝ่าย ไม่เฉพาะ สสวท. เพราะที่ผ่านมามีเสียงบ่นมากว่าหาหนังสือไม่ได้ ทั้งที่องค์การค้าฯบอกว่าพิมพ์หนังสือทัน โดยขณะนี้ สสวท.กำลังเตรียมทำรายละเอียดขอบข่ายการจัดจ้าง (ทีโออาร์) อยู่

ผอ.สสวท.กล่าวอีกว่า สำหรับราคาหนังสือที่เกรงว่าจะมีการปรับขึ้น เนื่องจาก สสวท.จะขอปรับค่าลิขสิทธิ์นั้น เรื่องการควบคุมราคาเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องดูถึงความควร หรือไม่ควร และเป็นธรรมกับผู้พิมพ์หรือไม่ แต่ที่ สสวท.ต้องขอปรับค่าลิขสิทธิ์ก็เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับ สสวท.เพราะหนังสือเรียนของ สพฐ.และ สสวท.ต่างก็เป็นสื่อหลักเหมือนกันค่าลิขสิทธิ์ก็ต้องปรับให้เท่าเทียมกัน แต่ที่ผ่านมาค่าลิขสิทธิ์ของ สสวท.จะได้ต่ำมาก ซึ่งเป็นเช่นนี้มา 40 กว่าปีแล้ว.

ที่มา : ไทยรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

วอนรัฐจัดงบฯเพื่อการอ่านโดยเฉพาะ – ครูระยอง

Print Friendly

ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยจัดแถลงข่าวการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 43และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 13 ในวันที่ 26มี.ค.-6 เม.ย.2558 โดยนายจรัญ หอมเทียนทอง นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯกล่าวว่า การจัดงานปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เด็กดี?”และมีการจัดนิทรรศการ “เพราะเด็กดีจึงเจ็บปวด” ด้วย

ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าหนังสือสามารถเปิดโลกทัศน์ให้แก่เด็กได้มากกว่าการฟังจากคำพูดของผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เรื่อง “เทพรัตนจีนปริวรรตปรีชา”  นิทรรศการรางวัลพานแว่นฟ้าเฉลิมพระเกียรติและนิทรรศการวรรณกรรมแห่งชาติ ขณะเดียวกันยังมีกิจกรรมโครงการ 1อ่าน ล้านตื่น เพื่อเชิญชวนให้ผู้ร่วมงานบริจาคเงิน เพื่อเลือกหนังสือบริจาคให้แก่โรงเรียนและเด็กๆที่อยู่ห่างไกลด้วย

นายจรัญ กล่าวด้วยว่า ในเร็วๆ นี้ สมาคมฯจะรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของการอ่านเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการอ่านอย่างจริงจังเช่นเดียวกับที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพราะการอ่านคือวัฒนธรรม  โดยสมาคมฯเสนอว่ารัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณส่งเสริมการอ่านให้เป็นกิจกรรมประจำปีของหน่วยงานต่างๆ เนื่องจากที่ผ่านมางบฯที่รัฐให้แก่หน่วยงานสถานศึกษา เป็นงบฯรวม ทำให้หน่วยงานต่างๆ มีเงินเหลือจัดซื้อหนังสือเพิ่มได้เล็กน้อยจึงอยากให้รัฐบาลจัดสรรงบฯเพื่อการอ่านโดยเฉพาะ.

ที่มา : เดลินิวส์

ปรับเล็กเกณฑ์คัดเลือกเข้ามหา’ลัย ปี 58

Print Friendly

นายประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีมติลดการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เหลือ 5 กลุ่มสาระฯ ตามที่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการเสนอ โดยให้เริ่มในปีการศึกษา2558 ว่า

ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม ทปอ. วันที่ 26 เม.ย.นี้ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เพื่อขอมติจากที่ประชุมว่า ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2559 จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร เพื่อประกาศให้นักเรียนชั้น ม.5 ที่จะขึ้นชั้น ม.6 ในปีการศึกษา 2558 รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบล่วงหน้า

“คงไม่ต้องประกาศให้เด็กทราบล่วงหน้าถึง 3 ปี เพราะถือเป็นการปรับเล็ก อีกทั้งสัดส่วน และองค์ประกอบหลักในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยยังคงใช้เหมือนเดิม ได้แก่ คะแนนผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตร 20% คะแนนการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) 50% และ O-NET 30% แต่รายละเอียดของ O-NET อาจต้องปรับเล็กน้อย” ประธาน ทปอ.กล่าวและว่า

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้คงต้องรอดูผลการวิจัยคะแนน O-NET ของนักเรียน ที่ ทปอ.มอบให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ไปดำเนินการว่าคะแนน O-NET จะมีผลต่อการจบมหาวิทยาลัยหรือไม่ และควรใช้คะแนน 8 กลุ่มสาระฯ หรือ 5 กลุ่มสาระฯ ซึ่งคาดว่าปลายปี 2558 น่าจะได้ข้อสรุป และเสนอที่ประชุม ทปอ. เพื่อพิจารณาต่อไปว่าจะต้องใช้องค์ประกอบใดบ้างในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย โดยครั้งนี้อาจเป็นการปรับใหญ่ก็ได้ ซึ่งต้องประกาศให้เด็กทราบล่วงหน้า 3 ปี

ที่มา : สยามรัฐ

ทปอ.เตรียมถกปรับเล็กแอดมิชชัน ปี 59 หลังสทศ.ปรับลดสอบ O-Net เหลือ 5 วิชา

Print Friendly

ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีมติลดการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เหลือ 5 กลุ่มสาระฯ ตามที่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)เสนอ โดยให้เริ่มในปีการศึกษา 2558 ว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม ทปอ. วันที่ 26 เมษายนนี้ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เพื่อขอมติจากที่ประชุมว่า ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2559 จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร เพื่อประกาศให้นักเรียนชั้น ม.5 ที่จะขึ้นชั้น ม.6 ในปีการศึกษา 2558 รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบล่วงหน้า
“คงไม่ต้องประกาศให้เด็กทราบล่วงหน้าถึง 3 ปีเพราะถือเป็นการปรับเล็ก อีกทั้งสัดส่วน และองค์ประกอบหลักในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยยังคงใช้เหมือนเดิม ได้แก่ คะแนนผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) 20% คะแนนการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) 50% และ O-Net 30% แต่รายละเอียดของ O-Net อาจต้องปรับเล็กน้อย”ศ.ดร.ประสาท กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้คงต้องรอดูผลการวิจัยคะแนน O-Net ของนักเรียน ที่ทปอ.มอบให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) ไปดำเนินการว่าคะแนน O-Net จะมีผลต่อการจบมหาวิทยาลัยหรือไม่ และควรใช้คะแนน O-Net 8 กลุ่มสาระฯ หรือ 5 กลุ่มสาระฯ ซึ่งคาดว่าปลายปี 2558 น่าจะได้ข้อสรุป และเสนอที่ประชุม ทปอ. เพื่อพิจารณาต่อไปว่าจะต้องใช้องค์ประกอบใดบ้างในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย โดยครั้งนี้อาจเป็นการปรับใหญ่ก็ได้ ซึ่งต้องประกาศให้เด็กทราบต่อไป

ที่มา : ผู้จัดการ

คุรุสภากำหนดส่งผลงานคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลคุรุสภาประจำปี 2558

Print Friendly

คุรุสภาโดยมูลนิธิช่วยครูอาวุโส ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกประกาศเรื่อง การขอรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ประกาศนียบัตร และเงินช่วยเหลือครูอาวุโส ประจำปี 2558 สมาชิกคุรุสภาที่ต้องการ ยื่นแบบขอรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติครูอาวุโสและเงินช่วยเหลือ ประจำปี 2558 ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. เป็นสมาชิกคุรุสภาตาม พระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2558
  2. ได้รับเงินเดือน ประจำและมีระยะเวลาประกอบวิชาชีพรวมกันไม่น้อยกว่า 30 ปี กรณี เป็นผู้บริหารการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นต้องเคยเป็นครูหรือ ผู้บริหารสถานศึกษามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 ปี
  3. เป็นครูหรือดำรงตำแหน่งอื่น เกี่ยวกับการให้การศึกษาจนถึงอายุ 60 ปีบริบูรณ์
  4. มีประวัติชีวิตการงานดีตลอดมา

ทั้งนี้ สามารถยื่นแบบคำขอพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา ได้ที่หน่วยงานต้นสังกัดของผู้ยื่นแบบคำขอ ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2558 สำหรับผู้ที่จะขอรับความช่วยเหลือ ทางการเงินต้องแนบแบบขอรับความช่วยเหลือทางการเงินและเอกสาร ที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม

กรณีที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปี 2557 แต่ยังมิได้ขอรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติฯ ให้มีสิทธิยื่นคำขอในปีนี้ได้อีกครั้งหนึ่งแต่ขอรับได้เฉพาะเครื่องหมายเชิดชูเกียรติเท่านั้น สำหรับกำหนดการ เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือผู้แทนพระองค์ ประมาณเดือนสิงหาคม 2559 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม และดาวน์โหลดแบบขอรับเครื่องหมาย เชิดชูเกียรติครูอาวุโสได้ที่เว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th

กำหนดส่งผลงานคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี พ.ศ. 2558 ภายในวันที่ 20 เมษายน 2558

คุรุสภาประกาศคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับ “รางวัลคุรุสภา” ประจำปี พ.ศ. 2558 จำนวน 9 รางวัล ประกอบด้วย ครู 5 รางวัล ผู้บริหารสถานศึกษา 2 รางวัล ผู้บริหารการศึกษา 1 รางวัล ศึกษานิเทศก์ 1 รางวัล เพื่อรับรางวัลในงานวันครู วันที่ 16 มกราคม 2559

คุณสมบัติของผู้ขอรับรางวัล เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติสภาครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตามตำแหน่งที่ขอรับรางวัลเป็นเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี ปฏิบัติงาน และปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และต้องไม่เคยได้รับรางวัลคุรุสภาในประเภทเดียวกันมาก่อน

วิธีการพิจารณาคัดเลือก ประเภทครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ คัดเลือกโดย “คุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษา” และ “หน่วยงานต้นสังกัด” ดังนี้

  1. ผู้เสนอขอรับรางวัลคุรุสภาสังกัด สพฐ. (สพป. และ สพม.) และสังกัดเอกชน ในเขตพื้นที่ให้เสนอผลงานไปยังคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษา
  2. ผู้เสนอขอรับรางวัลคุรุสภาที่อยู่ในสังกัด สอศ. กศน. กทม. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การศึกษาพิเศษ สคบศ. วิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สถาบันการพลศึกษา และ สช. (เฉพาะที่ปฏิบัติงานใน กทม.)

ให้เสนอผลงานไปยังหน่วยงาน ต้นสังกัด ภายในวันที่ 20 เมษายน 2558 เพื่อให้พิจารณาคัดเลือกเสนอ คุรุสภาภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ประเภทละ 1 คน รวม 3 คน

ประเภทผู้บริหารการศึกษา คัดเลือกโดย สังกัด กศน. จำนวน 2 คน สพฐ. จำนวน 5 คน กทม. จำนวน 2 คน ผู้ขอรับรางวัลคุรุสภา ให้เสนอผลงานไปยังต้นสังกัดภายในวันที่ 20 เมษายน 2558 เพื่อให้พิจารณาเสนอคุรุสภาภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2558

จากนั้น คณะอนุกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกรอบแรกจาก เอกสารผลงานที่เสนอให้เหลือจำนวน 27 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 15 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน ผู้บริหาร การศึกษา จำนวน 3 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน เพื่อคัดเลือก รอบตัดสิน โดยคณะอนุกรรมการเดินทางไปประเมินผลงานตาม สภาพจริง ณ สถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับรางวัลคุรุสภา ระดับดีเด่น จำนวน 9 คน ตามประกาศ เพื่อรับรางวัล เข็มทองคำ “คุรุสภาสดุดี” โล่ประกาศเกียรติคุณและเกียรติบัตร และเงินรางวัลตามที่มูลนิธิรางวัลคุรุสภาจะพิจารณาในงานวันครู ประจำปี 2559

ทั้งนี้ ผู้เสนอขอรับรางวัลต้องจัดทำผลงานจำนวน 2 เล่ม ความหนา ไม่เกิน 100 หน้า และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการเสนอขอรับ รางวัลและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksp.or.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพ สำนักยกย่องเชิดชูเกียรติวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โทร.0-2282-3154 และ 0-2281-4843

รายละเอียด : 1, 2, 3, 4

ที่มา : moe

แฉโรงเรียนหมกเม็ดงบฯ จัดซื้อหนังสือเรียน

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) มีหนังสือที่ ศธ 04010/ ว 358 ลงวันที่ 2 มี.ค.58 ที่ผ่านมา ถึง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ทุกเขต แจ้งสถานศึกษาในสังกัดให้พิจารณาจัดซื้อหนังสือเรียนปีการศึกษา2558 ให้เพียงพอแก่นักเรียนทุกคน ทุกชั้น และให้ครบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น  

เมื่อวันที่ 10 มี.ค.58 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผย จากผู้บริหารระดับสูงของสำนักพิมพ์เอกชนรายหนึ่ง ซึ่งผลิตและจำหน่ายหนังสือเรียน ว่าในทางปฏิบัติแต่ละปีจะมีโรงเรียนในสังกัด สพฐ.จำนวนไม่น้อยที่จัดซื้อหนังสือเรียนใหม่ให้กับนักเรียนชั้นเรียนต่างๆไม่ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ ทั้งที่ สพฐ.จัดสรรงบฯ ให้อย่างเพียงพอทุกปีการศึกษาโดยเฉลี่ยหลายโรงเรียนใช้งบฯ ที่ได้รับจัดสรรมาจัดซื้อหนังสือเรียนใหม่ตามรายวิชาและชั้นเรียนต่างๆ เพียง 70% ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 30% ผู้บริหารโรงเรียนจะนำหนังสือเรียนของรุ่นพี่ในปีการศึกษาก่อนหน้านั้น มาแจกแก่นักเรียนแทน

บางโรงเรียนไม่ได้จัดซื้อหนังสือเรียนเพียง 70% ของงบฯที่ สพฐ.จัดให้ แต่กับออกฎีกาเบิกจ่ายงบฯว่าได้จัดซื้อให้กับนักเรียนทุกรายวิชาและทุกชั้นเรียนครบทั้ง 100% ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องให้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย  รมว.ศึกษาธิการ และนายกมล เร่งสั่งการให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะจำนวนงบฯ ที่ต้องจัดซื้อหนังสือเรียนใหม่ 30% ในแต่ละปีที่หายไปนั้นสูงนับร้อยล้านบาท” ผู้บริหารสำนักพิมพ์เอกชน กล่าว

ด้านนายกมล กล่าวว่า หากโรงเรียนกระทำในลักษณะเช่นนั้นจริงก็ถือว่าไม่ถูกต้อง และถือเป็นการทุจริตต่อเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยตนจะสั่งให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.สำรวจว่ามีสถานการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นที่ไหนบ้าง หากผู้บริหารโรงเรียนใดกระทำการในทางทุจริต ก็จะดำเนินการขั้นเด็ดขาด หรือหากใครมีข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตจัดซื้อหนังสือเรียนก็ขอให้ส่งข้อมูลมายัง สพฐ.เพื่อเร่งตรวจสอบต่อไป

วันเดียวกันนางพรพรรณ ไวทยางกูร ผอ.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวยืนยันถึงการเปิดเสรีการพิมพ์หนังสือของ สสวท.ว่า องค์การค้าของ สกสค.ยังเป็นพันธมิตรของ สสวท. และสามารถยื่นแข่งขันการจัดซื้อจัดจ้างได้ตามกติกาเช่นเดียวกันสำนักพิมพ์เอกชนอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ สสวท.กำลังทำรายละเอียดทีโออาร์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมไม่มีการล็อคสเปก อย่างไรก็ตาม สสวท.มีหน้าที่ผลักดันให้หนังสือออกมาทันเปิดเทอม ให้ครูและนักเรียนมีหนังสือที่มีคุณภาพใช้เรียนใช้สอนอย่างทั่วถึง ส่วนใครจะได้เป็นผู้พิมพ์และจัดจำหน่ายขึ้นอยู่กับความพร้อมและศักยภาพ แต่ที่สำคัญคือต้องเข้ามาแข่งขันตามกติกาเท่านั้น

ที่มา : สยามรัฐ

เปิดสอบครูผู้ช่วย 64 เขตพื้นที่ 1,700 อัตรา 35 กลุ่มวิชา

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการเปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ประจำปี 2558 โดยรับสมัครวันที่ 23 – 29 มีนาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ วันที่ 9 เมษายน สอบข้อเขียน ภาค ก ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู วันที่ 23 เมษายน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ภายในวันที่ 28 เมษายน สอบข้อเขียนภาค ข วันที่ 2 พฤษภาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคค สอบสัมภาษณ์ ภายในวันที่ 7 พฤษภาคม สอบสัมภาษณ์ วันที่ 10 พฤษภาคม ประกาศผลการสอบ วันที่ 14 พฤษภาคมนี้

สำหรับปีนี้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)ที่ขอเปิดสอบทั้งหมด 64 เขต รวมสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ตำแหน่งว่าง ประมาณ 1,700 อัตรา ใน 35 กลุ่มวิชา ดังนี้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น พม่าศึกษา วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา สังคมศึกษา สุขศึกษา พลศึกษา ดนตรีศึกษา ดนตรีไทย ดนตรีสากล ดุริยางคศิลป์ ดุริยางคศาสตร์ไทย ศิลปศึกษา ทัศนศิลป์ นาฏศิลป์ คอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมศิลป์ เกษตร คหกรรม ประถมศึกษา ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา จิตวิทยาและการแนะแนว เทคโนโลยีทางการศึกษาและคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ การเงิน /บัญชี การศึกษาพิเศษ กายภาพบำบัด

“สพฐ.จะประกาศรายชื่อผู้ที่สอบได้คะแนนเกิน 60% ขึ้นไปและขึ้นบัญชีไว้ 2 ปี โดยคาดว่าการสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้จะมีผู้สมัครหลายแสนคน รวมถึงผู้ที่พลาดจากการสอบครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ว16,ว17 ก็สามารถสมัครสอบในครั้งนี้ได้อีกรอบ สำหรับอัตราว่างที่เปิดรับจำนวน 1,700 ถือว่าเป็นตัวเลขปกติ เพราะผู้ที่สอบผ่านเกิน 60% ขึ้นไปจะได้รับการขึ้นบัญชีไว้ 2 ปี และในช่วงเดือนตุลาคม ก็จะมีครูเกษียณอายุราชการไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นคน ซึ่งตรงนี้ก็จะเรียกจากผู้ที่สอบผ่านขึ้นบัญชีไว้ทยอยบรรจุจนครบ ”นายกมล กล่าวและว่า ส่วนมาตรการป้องกันการทุจริตการสอบนั้น สพฐ.กำชับให้ทุกเขตพื้นที่ฯ ดูแลการจัดสอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยจะขอความร่วมมือ ผู้เข้าสอบทุกคนให้แต่งกายรัดกุม แต่สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่ามีการนำสิ่งของที่ส่อไปในทางทุจริตพกติดตัวเข้าห้องสอบด้วยหรือไม่

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า สำหรับผลสอบครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ว16,ว17 สามารถประกาศผลได้ตามเวลาที่กำหนดคือวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา ทั้ง 226 เขตและ สศศ. โดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) นครพนม เขต 1 ไม่สามารถประกาศผลการคัดเลือกได้ เนื่องจากอนุกรรมการในคณะอนุกรรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา มีไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ต้องรอให้มีการตั้งอนุกรรมการในอ.ก.ค.ศ. ให้ครบ ตามหลักเกณฑ์ คาดว่าจะสามารถประกาศผลได้ภายในหนึ่งเดือน โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือก จำนวน 8,008 อัตราจากผู้ที่มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกทั้งหมด 25,535 ราย ตำแหน่งที่เปิดรับ 5,430 อัตรา ซึ่งเท่ากับว่าจำนวนผู้สอบผ่านมากกว่า อัตราว่างที่รับ ขณะที่ยังมีบางกลุ่มวิชาในหลายเขตพื้นที่ที่ไม่มีผู้สอบผ่าการคัดเลือก ดังนั้นสพฐ. จะต้องเปิดสอบใหม่อีกครั้งในเขตที่ไม่มีผู้สอบผ่าน ส่วนเขตพื้นที่ที่มีผู้สอบผ่านเกินกว่าอัตราที่เปิดรับ ก็ให้เรียกบรรจุตามอัตราว่าง โดยสพฐ.จะไม่ใช่วิธีเรียกบรรจุข้ามเขตพื้นที่ฯ โดยผู้ที่ไม่ได้รับการบรรจุครั้งนี้ สามารถสอบใหม่ได้ตามเวลาที่กำหนด หรือไปสอบครูผู้ช่วยรอบทั่วไปได้อีกครั้ง

>> รายละเอียด <<

ที่มา : ผู้จัดการ

สปช.ขานรับแผนปฏิรูปการศึกษา

ปฏิรูป นโยบายของการศึกษาไทย

Print Friendly

ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ โฆษกกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้แถลงข่าวเรื่องที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้นำเสนอร่างรายงานยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ ต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อขอรับฟังความคิดเห็นทั่วไปก่อนไปจัดทำรายละเอียดมานำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบต่อไป

ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน รองประธานกรรมาธิการ ได้นำเสนอหลักการของการปฏิรูปการศึกษาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อชีวิตคนทั้งประเทศและต่ออนาคตของสังคมไทย จึงจำเป็นต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ทั้งระบบเพื่อสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพให้แก่ประเทศในอนาคตที่จะมีการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงและต้องสร้างความมั่นคงทางสังคมไปพร้อมกัน โดยวางเป้าหมายการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทยทั้ง70ล้านคน ให้เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในอนาคต จากนั้น รศ.ประภาภัทร นิยม เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอสาระสำคัญการปฏิรูปที่เน้นการแก้ปัญหาที่ต้อตอ คือ ระบบอำนาจแบบรวมศูนย์ของกระทรวงศึกษาธิการที่ขาดทั้งธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา โดยแผนยุทธศาสตร์ที่นำเสนอจะเน้นการกระจายอำนาจเป็นหัวใจควบคู่การปฏิรูปที่เป็นคานงัดสำคัญสามเรื่อง

  1. การปฏิรูประบบการบริหารจัดการที่มุ่งกระจายอำนาจสู่ฐานพื้นที่จังหวัด ท้องถิ่น และสถานศึกษา โดยจะผลักดันให้มีเครือข่ายสมัชชาพลเมืองทุกพื้นที่ร่วมสนับสนุนและตรวจสอบธรรมาภิบาลการจัดการศึกษาทุกระดับ
  2. การปฏิรูประบบการเงินการคลัง ที่มุ่งกระจายงบประมาณการศึกษาลงสู่ผู้เรียนและสถานศึกษาโดยตรงที่จะปูทางไปสู่ระบบการประกันโอกาสการศึกษาเช่นเดียวกับระบบประกันสุขภาพของประเทศ
  3. การปฏิรูประบบการเรียนรู้ที่เน้นทั้งการปฏิรูปหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้จากชีวิตจริงเพื่อการเรียนที่มีความหมายใช้ประโยชน์ได้ในการใช้ชีวิตและการทำงานตามบริบทของพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการปฏิรูประบบการผลิตพัฒนาครูคุณภาพเป็นหัวใจสำคัญ

ดร.อมรวิชช์ กล่าวต่อไปว่า สมาชิกสปช.47 คน ได้ช่วยกันเสนอแนะแนวทางปฏิรูปทั้งในเชิงประเด็นปัญหาเฉพาะและในเชิงโครงสร้างระบบและกลไกที่จะเป็นจุดเปลี่ยนในระยะยาว ทั้งนี้สมาชิกสปช.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดการปฏิรูปที่คณะกรรมาธิการเสนอ โดยเฉพาะเป้าหมายของการจัดการศึกษาตลอดชีวิตแก่คนไทยทุกช่วงวัย เพิ่มความหลากหลายของการเรียนรู้และผู้จัดการศึกษา เน้นความรู้ที่มีความหมายกับชีวิตจริง ไม่ใช่แค่การเรียนแต่วิชาการ พร้อมทั้งต้องเน้นเรื่องการนำหลักศาสนาและคุณธรรมจริยธรรมมาเป็นหลักในการออกแบบการเรียนรู้ใหม่ด้วย นอกจากนี้ยังมีสมาชิก สปช. จำนวนมากเน้นย้ำเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำในโอกาสผ่านวิธีการจัดสรรงบประมาณใหม่แก่ผู้เรียน การพัฒนาครูรุ่นใหม่และครูประจำการให้เป็นครูชั้นยอดที่สามารถทุ่มเทเวลาให้แก่การสอนอย่างเต็มที่ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่แก่ผู้เรียน การแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กในชนบท การพัฒนาเด็กเล็ก ตลอดจนการทุ่มเทพัฒนาการเรียนสายอาชีพร่วมกับเอกชนอย่างจริงจัง

“ ในการอภิปรายยังได้มีการเสนอประเด็นสำคัญเกี่ยวกับระบบและกลไกที่จะเป็นคานงัดการปฏิรูปโดยเฉพาะการมีคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติขึ้นมากำกับกระบวนการปฏิรูปการศึกษา การปรับเปลี่ยนบทบาทและอำนาจรัฐในการกระจายอำนาจและการวางระบบงบประมาณการศึกษาใหม่ ตลอดจนการผลักดันกองทุนสนับสนุนการปฏิรูป และหน่วยงานอิสระหลายหน่วยให้เตรียมพร้อมรับภารกิจต่างๆ ได้แก่ การวิจัยระบบการศึกษา  การพัฒนาเครือข่ายสมัชชาการศึกษาภาคพลเมือง ตลอดจนการหนุนเสริมการทำงานของสภาการศึกษาจังหวัดที่มีองค์กรอย่างเช่น สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) ขับเคลื่อนอยู่แล้ว และกำลังรอการผลักดันร่าง พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) รวมทั้ง  ร่าง พ.ร.บ.สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งจะเป็นกองทุนสำคัญอีกกองทุนหนึ่งด้วย ทั้งนี้คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาฯ จะต้องทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปอีกหลายคณะที่เกี่ยวข้อง เช่น การปกครองท้องถิ่น การเงินการคลัง สื่อ และสาธารณสุข เป็นต้น ก่อนจัดทำรายละเอียดแผนปฏิรูปการศึกษาและมาตรการต่างๆมาเสนอสปช.เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป”ดร.อมรวิชช์ กล่าว

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre