วอนรัฐจัดงบฯเพื่อการอ่านโดยเฉพาะ – ครูระยอง

Print Friendly

ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยจัดแถลงข่าวการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 43และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 13 ในวันที่ 26มี.ค.-6 เม.ย.2558 โดยนายจรัญ หอมเทียนทอง นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯกล่าวว่า การจัดงานปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เด็กดี?”และมีการจัดนิทรรศการ “เพราะเด็กดีจึงเจ็บปวด” ด้วย

ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าหนังสือสามารถเปิดโลกทัศน์ให้แก่เด็กได้มากกว่าการฟังจากคำพูดของผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เรื่อง “เทพรัตนจีนปริวรรตปรีชา”  นิทรรศการรางวัลพานแว่นฟ้าเฉลิมพระเกียรติและนิทรรศการวรรณกรรมแห่งชาติ ขณะเดียวกันยังมีกิจกรรมโครงการ 1อ่าน ล้านตื่น เพื่อเชิญชวนให้ผู้ร่วมงานบริจาคเงิน เพื่อเลือกหนังสือบริจาคให้แก่โรงเรียนและเด็กๆที่อยู่ห่างไกลด้วย

นายจรัญ กล่าวด้วยว่า ในเร็วๆ นี้ สมาคมฯจะรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของการอ่านเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการอ่านอย่างจริงจังเช่นเดียวกับที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพราะการอ่านคือวัฒนธรรม  โดยสมาคมฯเสนอว่ารัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณส่งเสริมการอ่านให้เป็นกิจกรรมประจำปีของหน่วยงานต่างๆ เนื่องจากที่ผ่านมางบฯที่รัฐให้แก่หน่วยงานสถานศึกษา เป็นงบฯรวม ทำให้หน่วยงานต่างๆ มีเงินเหลือจัดซื้อหนังสือเพิ่มได้เล็กน้อยจึงอยากให้รัฐบาลจัดสรรงบฯเพื่อการอ่านโดยเฉพาะ.

ที่มา : เดลินิวส์

ปรับเล็กเกณฑ์คัดเลือกเข้ามหา’ลัย ปี 58

Print Friendly

นายประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีมติลดการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เหลือ 5 กลุ่มสาระฯ ตามที่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการเสนอ โดยให้เริ่มในปีการศึกษา2558 ว่า

ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม ทปอ. วันที่ 26 เม.ย.นี้ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เพื่อขอมติจากที่ประชุมว่า ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2559 จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร เพื่อประกาศให้นักเรียนชั้น ม.5 ที่จะขึ้นชั้น ม.6 ในปีการศึกษา 2558 รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบล่วงหน้า

“คงไม่ต้องประกาศให้เด็กทราบล่วงหน้าถึง 3 ปี เพราะถือเป็นการปรับเล็ก อีกทั้งสัดส่วน และองค์ประกอบหลักในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยยังคงใช้เหมือนเดิม ได้แก่ คะแนนผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตร 20% คะแนนการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) 50% และ O-NET 30% แต่รายละเอียดของ O-NET อาจต้องปรับเล็กน้อย” ประธาน ทปอ.กล่าวและว่า

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้คงต้องรอดูผลการวิจัยคะแนน O-NET ของนักเรียน ที่ ทปอ.มอบให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ไปดำเนินการว่าคะแนน O-NET จะมีผลต่อการจบมหาวิทยาลัยหรือไม่ และควรใช้คะแนน 8 กลุ่มสาระฯ หรือ 5 กลุ่มสาระฯ ซึ่งคาดว่าปลายปี 2558 น่าจะได้ข้อสรุป และเสนอที่ประชุม ทปอ. เพื่อพิจารณาต่อไปว่าจะต้องใช้องค์ประกอบใดบ้างในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย โดยครั้งนี้อาจเป็นการปรับใหญ่ก็ได้ ซึ่งต้องประกาศให้เด็กทราบล่วงหน้า 3 ปี

ที่มา : สยามรัฐ

ทปอ.เตรียมถกปรับเล็กแอดมิชชัน ปี 59 หลังสทศ.ปรับลดสอบ O-Net เหลือ 5 วิชา

Print Friendly

ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีมติลดการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เหลือ 5 กลุ่มสาระฯ ตามที่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)เสนอ โดยให้เริ่มในปีการศึกษา 2558 ว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม ทปอ. วันที่ 26 เมษายนนี้ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เพื่อขอมติจากที่ประชุมว่า ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2559 จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร เพื่อประกาศให้นักเรียนชั้น ม.5 ที่จะขึ้นชั้น ม.6 ในปีการศึกษา 2558 รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบล่วงหน้า
“คงไม่ต้องประกาศให้เด็กทราบล่วงหน้าถึง 3 ปีเพราะถือเป็นการปรับเล็ก อีกทั้งสัดส่วน และองค์ประกอบหลักในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยยังคงใช้เหมือนเดิม ได้แก่ คะแนนผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) 20% คะแนนการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) 50% และ O-Net 30% แต่รายละเอียดของ O-Net อาจต้องปรับเล็กน้อย”ศ.ดร.ประสาท กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้คงต้องรอดูผลการวิจัยคะแนน O-Net ของนักเรียน ที่ทปอ.มอบให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) ไปดำเนินการว่าคะแนน O-Net จะมีผลต่อการจบมหาวิทยาลัยหรือไม่ และควรใช้คะแนน O-Net 8 กลุ่มสาระฯ หรือ 5 กลุ่มสาระฯ ซึ่งคาดว่าปลายปี 2558 น่าจะได้ข้อสรุป และเสนอที่ประชุม ทปอ. เพื่อพิจารณาต่อไปว่าจะต้องใช้องค์ประกอบใดบ้างในการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย โดยครั้งนี้อาจเป็นการปรับใหญ่ก็ได้ ซึ่งต้องประกาศให้เด็กทราบต่อไป

ที่มา : ผู้จัดการ

คุรุสภากำหนดส่งผลงานคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลคุรุสภาประจำปี 2558

Print Friendly

คุรุสภาโดยมูลนิธิช่วยครูอาวุโส ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกประกาศเรื่อง การขอรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ประกาศนียบัตร และเงินช่วยเหลือครูอาวุโส ประจำปี 2558 สมาชิกคุรุสภาที่ต้องการ ยื่นแบบขอรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติครูอาวุโสและเงินช่วยเหลือ ประจำปี 2558 ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. เป็นสมาชิกคุรุสภาตาม พระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2558
  2. ได้รับเงินเดือน ประจำและมีระยะเวลาประกอบวิชาชีพรวมกันไม่น้อยกว่า 30 ปี กรณี เป็นผู้บริหารการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นต้องเคยเป็นครูหรือ ผู้บริหารสถานศึกษามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 ปี
  3. เป็นครูหรือดำรงตำแหน่งอื่น เกี่ยวกับการให้การศึกษาจนถึงอายุ 60 ปีบริบูรณ์
  4. มีประวัติชีวิตการงานดีตลอดมา

ทั้งนี้ สามารถยื่นแบบคำขอพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา ได้ที่หน่วยงานต้นสังกัดของผู้ยื่นแบบคำขอ ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2558 สำหรับผู้ที่จะขอรับความช่วยเหลือ ทางการเงินต้องแนบแบบขอรับความช่วยเหลือทางการเงินและเอกสาร ที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม

กรณีที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปี 2557 แต่ยังมิได้ขอรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติฯ ให้มีสิทธิยื่นคำขอในปีนี้ได้อีกครั้งหนึ่งแต่ขอรับได้เฉพาะเครื่องหมายเชิดชูเกียรติเท่านั้น สำหรับกำหนดการ เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือผู้แทนพระองค์ ประมาณเดือนสิงหาคม 2559 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม และดาวน์โหลดแบบขอรับเครื่องหมาย เชิดชูเกียรติครูอาวุโสได้ที่เว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th

กำหนดส่งผลงานคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี พ.ศ. 2558 ภายในวันที่ 20 เมษายน 2558

คุรุสภาประกาศคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับ “รางวัลคุรุสภา” ประจำปี พ.ศ. 2558 จำนวน 9 รางวัล ประกอบด้วย ครู 5 รางวัล ผู้บริหารสถานศึกษา 2 รางวัล ผู้บริหารการศึกษา 1 รางวัล ศึกษานิเทศก์ 1 รางวัล เพื่อรับรางวัลในงานวันครู วันที่ 16 มกราคม 2559

คุณสมบัติของผู้ขอรับรางวัล เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติสภาครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตามตำแหน่งที่ขอรับรางวัลเป็นเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี ปฏิบัติงาน และปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และต้องไม่เคยได้รับรางวัลคุรุสภาในประเภทเดียวกันมาก่อน

วิธีการพิจารณาคัดเลือก ประเภทครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ คัดเลือกโดย “คุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษา” และ “หน่วยงานต้นสังกัด” ดังนี้

  1. ผู้เสนอขอรับรางวัลคุรุสภาสังกัด สพฐ. (สพป. และ สพม.) และสังกัดเอกชน ในเขตพื้นที่ให้เสนอผลงานไปยังคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษา
  2. ผู้เสนอขอรับรางวัลคุรุสภาที่อยู่ในสังกัด สอศ. กศน. กทม. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การศึกษาพิเศษ สคบศ. วิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สถาบันการพลศึกษา และ สช. (เฉพาะที่ปฏิบัติงานใน กทม.)

ให้เสนอผลงานไปยังหน่วยงาน ต้นสังกัด ภายในวันที่ 20 เมษายน 2558 เพื่อให้พิจารณาคัดเลือกเสนอ คุรุสภาภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ประเภทละ 1 คน รวม 3 คน

ประเภทผู้บริหารการศึกษา คัดเลือกโดย สังกัด กศน. จำนวน 2 คน สพฐ. จำนวน 5 คน กทม. จำนวน 2 คน ผู้ขอรับรางวัลคุรุสภา ให้เสนอผลงานไปยังต้นสังกัดภายในวันที่ 20 เมษายน 2558 เพื่อให้พิจารณาเสนอคุรุสภาภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2558

จากนั้น คณะอนุกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกรอบแรกจาก เอกสารผลงานที่เสนอให้เหลือจำนวน 27 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 15 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน ผู้บริหาร การศึกษา จำนวน 3 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน เพื่อคัดเลือก รอบตัดสิน โดยคณะอนุกรรมการเดินทางไปประเมินผลงานตาม สภาพจริง ณ สถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับรางวัลคุรุสภา ระดับดีเด่น จำนวน 9 คน ตามประกาศ เพื่อรับรางวัล เข็มทองคำ “คุรุสภาสดุดี” โล่ประกาศเกียรติคุณและเกียรติบัตร และเงินรางวัลตามที่มูลนิธิรางวัลคุรุสภาจะพิจารณาในงานวันครู ประจำปี 2559

ทั้งนี้ ผู้เสนอขอรับรางวัลต้องจัดทำผลงานจำนวน 2 เล่ม ความหนา ไม่เกิน 100 หน้า และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการเสนอขอรับ รางวัลและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksp.or.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพ สำนักยกย่องเชิดชูเกียรติวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โทร.0-2282-3154 และ 0-2281-4843

รายละเอียด : 1, 2, 3, 4

ที่มา : moe

แฉโรงเรียนหมกเม็ดงบฯ จัดซื้อหนังสือเรียน

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) มีหนังสือที่ ศธ 04010/ ว 358 ลงวันที่ 2 มี.ค.58 ที่ผ่านมา ถึง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ทุกเขต แจ้งสถานศึกษาในสังกัดให้พิจารณาจัดซื้อหนังสือเรียนปีการศึกษา2558 ให้เพียงพอแก่นักเรียนทุกคน ทุกชั้น และให้ครบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น  

เมื่อวันที่ 10 มี.ค.58 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผย จากผู้บริหารระดับสูงของสำนักพิมพ์เอกชนรายหนึ่ง ซึ่งผลิตและจำหน่ายหนังสือเรียน ว่าในทางปฏิบัติแต่ละปีจะมีโรงเรียนในสังกัด สพฐ.จำนวนไม่น้อยที่จัดซื้อหนังสือเรียนใหม่ให้กับนักเรียนชั้นเรียนต่างๆไม่ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ ทั้งที่ สพฐ.จัดสรรงบฯ ให้อย่างเพียงพอทุกปีการศึกษาโดยเฉลี่ยหลายโรงเรียนใช้งบฯ ที่ได้รับจัดสรรมาจัดซื้อหนังสือเรียนใหม่ตามรายวิชาและชั้นเรียนต่างๆ เพียง 70% ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 30% ผู้บริหารโรงเรียนจะนำหนังสือเรียนของรุ่นพี่ในปีการศึกษาก่อนหน้านั้น มาแจกแก่นักเรียนแทน

บางโรงเรียนไม่ได้จัดซื้อหนังสือเรียนเพียง 70% ของงบฯที่ สพฐ.จัดให้ แต่กับออกฎีกาเบิกจ่ายงบฯว่าได้จัดซื้อให้กับนักเรียนทุกรายวิชาและทุกชั้นเรียนครบทั้ง 100% ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องให้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย  รมว.ศึกษาธิการ และนายกมล เร่งสั่งการให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะจำนวนงบฯ ที่ต้องจัดซื้อหนังสือเรียนใหม่ 30% ในแต่ละปีที่หายไปนั้นสูงนับร้อยล้านบาท” ผู้บริหารสำนักพิมพ์เอกชน กล่าว

ด้านนายกมล กล่าวว่า หากโรงเรียนกระทำในลักษณะเช่นนั้นจริงก็ถือว่าไม่ถูกต้อง และถือเป็นการทุจริตต่อเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยตนจะสั่งให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.สำรวจว่ามีสถานการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นที่ไหนบ้าง หากผู้บริหารโรงเรียนใดกระทำการในทางทุจริต ก็จะดำเนินการขั้นเด็ดขาด หรือหากใครมีข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตจัดซื้อหนังสือเรียนก็ขอให้ส่งข้อมูลมายัง สพฐ.เพื่อเร่งตรวจสอบต่อไป

วันเดียวกันนางพรพรรณ ไวทยางกูร ผอ.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวยืนยันถึงการเปิดเสรีการพิมพ์หนังสือของ สสวท.ว่า องค์การค้าของ สกสค.ยังเป็นพันธมิตรของ สสวท. และสามารถยื่นแข่งขันการจัดซื้อจัดจ้างได้ตามกติกาเช่นเดียวกันสำนักพิมพ์เอกชนอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ สสวท.กำลังทำรายละเอียดทีโออาร์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมไม่มีการล็อคสเปก อย่างไรก็ตาม สสวท.มีหน้าที่ผลักดันให้หนังสือออกมาทันเปิดเทอม ให้ครูและนักเรียนมีหนังสือที่มีคุณภาพใช้เรียนใช้สอนอย่างทั่วถึง ส่วนใครจะได้เป็นผู้พิมพ์และจัดจำหน่ายขึ้นอยู่กับความพร้อมและศักยภาพ แต่ที่สำคัญคือต้องเข้ามาแข่งขันตามกติกาเท่านั้น

ที่มา : สยามรัฐ

เปิดสอบครูผู้ช่วย 64 เขตพื้นที่ 1,700 อัตรา 35 กลุ่มวิชา

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการเปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ประจำปี 2558 โดยรับสมัครวันที่ 23 – 29 มีนาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ วันที่ 9 เมษายน สอบข้อเขียน ภาค ก ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู วันที่ 23 เมษายน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ภายในวันที่ 28 เมษายน สอบข้อเขียนภาค ข วันที่ 2 พฤษภาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคค สอบสัมภาษณ์ ภายในวันที่ 7 พฤษภาคม สอบสัมภาษณ์ วันที่ 10 พฤษภาคม ประกาศผลการสอบ วันที่ 14 พฤษภาคมนี้

สำหรับปีนี้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)ที่ขอเปิดสอบทั้งหมด 64 เขต รวมสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ตำแหน่งว่าง ประมาณ 1,700 อัตรา ใน 35 กลุ่มวิชา ดังนี้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น พม่าศึกษา วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา สังคมศึกษา สุขศึกษา พลศึกษา ดนตรีศึกษา ดนตรีไทย ดนตรีสากล ดุริยางคศิลป์ ดุริยางคศาสตร์ไทย ศิลปศึกษา ทัศนศิลป์ นาฏศิลป์ คอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมศิลป์ เกษตร คหกรรม ประถมศึกษา ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา จิตวิทยาและการแนะแนว เทคโนโลยีทางการศึกษาและคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ การเงิน /บัญชี การศึกษาพิเศษ กายภาพบำบัด

“สพฐ.จะประกาศรายชื่อผู้ที่สอบได้คะแนนเกิน 60% ขึ้นไปและขึ้นบัญชีไว้ 2 ปี โดยคาดว่าการสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้จะมีผู้สมัครหลายแสนคน รวมถึงผู้ที่พลาดจากการสอบครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ว16,ว17 ก็สามารถสมัครสอบในครั้งนี้ได้อีกรอบ สำหรับอัตราว่างที่เปิดรับจำนวน 1,700 ถือว่าเป็นตัวเลขปกติ เพราะผู้ที่สอบผ่านเกิน 60% ขึ้นไปจะได้รับการขึ้นบัญชีไว้ 2 ปี และในช่วงเดือนตุลาคม ก็จะมีครูเกษียณอายุราชการไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นคน ซึ่งตรงนี้ก็จะเรียกจากผู้ที่สอบผ่านขึ้นบัญชีไว้ทยอยบรรจุจนครบ ”นายกมล กล่าวและว่า ส่วนมาตรการป้องกันการทุจริตการสอบนั้น สพฐ.กำชับให้ทุกเขตพื้นที่ฯ ดูแลการจัดสอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยจะขอความร่วมมือ ผู้เข้าสอบทุกคนให้แต่งกายรัดกุม แต่สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่ามีการนำสิ่งของที่ส่อไปในทางทุจริตพกติดตัวเข้าห้องสอบด้วยหรือไม่

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า สำหรับผลสอบครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ว16,ว17 สามารถประกาศผลได้ตามเวลาที่กำหนดคือวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา ทั้ง 226 เขตและ สศศ. โดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) นครพนม เขต 1 ไม่สามารถประกาศผลการคัดเลือกได้ เนื่องจากอนุกรรมการในคณะอนุกรรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา มีไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ต้องรอให้มีการตั้งอนุกรรมการในอ.ก.ค.ศ. ให้ครบ ตามหลักเกณฑ์ คาดว่าจะสามารถประกาศผลได้ภายในหนึ่งเดือน โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือก จำนวน 8,008 อัตราจากผู้ที่มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกทั้งหมด 25,535 ราย ตำแหน่งที่เปิดรับ 5,430 อัตรา ซึ่งเท่ากับว่าจำนวนผู้สอบผ่านมากกว่า อัตราว่างที่รับ ขณะที่ยังมีบางกลุ่มวิชาในหลายเขตพื้นที่ที่ไม่มีผู้สอบผ่าการคัดเลือก ดังนั้นสพฐ. จะต้องเปิดสอบใหม่อีกครั้งในเขตที่ไม่มีผู้สอบผ่าน ส่วนเขตพื้นที่ที่มีผู้สอบผ่านเกินกว่าอัตราที่เปิดรับ ก็ให้เรียกบรรจุตามอัตราว่าง โดยสพฐ.จะไม่ใช่วิธีเรียกบรรจุข้ามเขตพื้นที่ฯ โดยผู้ที่ไม่ได้รับการบรรจุครั้งนี้ สามารถสอบใหม่ได้ตามเวลาที่กำหนด หรือไปสอบครูผู้ช่วยรอบทั่วไปได้อีกครั้ง

>> รายละเอียด <<

ที่มา : ผู้จัดการ

สปช.ขานรับแผนปฏิรูปการศึกษา

ปฏิรูป นโยบายของการศึกษาไทย

Print Friendly

ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ โฆษกกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้แถลงข่าวเรื่องที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้นำเสนอร่างรายงานยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ ต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อขอรับฟังความคิดเห็นทั่วไปก่อนไปจัดทำรายละเอียดมานำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบต่อไป

ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน รองประธานกรรมาธิการ ได้นำเสนอหลักการของการปฏิรูปการศึกษาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อชีวิตคนทั้งประเทศและต่ออนาคตของสังคมไทย จึงจำเป็นต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ทั้งระบบเพื่อสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพให้แก่ประเทศในอนาคตที่จะมีการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงและต้องสร้างความมั่นคงทางสังคมไปพร้อมกัน โดยวางเป้าหมายการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทยทั้ง70ล้านคน ให้เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในอนาคต จากนั้น รศ.ประภาภัทร นิยม เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอสาระสำคัญการปฏิรูปที่เน้นการแก้ปัญหาที่ต้อตอ คือ ระบบอำนาจแบบรวมศูนย์ของกระทรวงศึกษาธิการที่ขาดทั้งธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา โดยแผนยุทธศาสตร์ที่นำเสนอจะเน้นการกระจายอำนาจเป็นหัวใจควบคู่การปฏิรูปที่เป็นคานงัดสำคัญสามเรื่อง

  1. การปฏิรูประบบการบริหารจัดการที่มุ่งกระจายอำนาจสู่ฐานพื้นที่จังหวัด ท้องถิ่น และสถานศึกษา โดยจะผลักดันให้มีเครือข่ายสมัชชาพลเมืองทุกพื้นที่ร่วมสนับสนุนและตรวจสอบธรรมาภิบาลการจัดการศึกษาทุกระดับ
  2. การปฏิรูประบบการเงินการคลัง ที่มุ่งกระจายงบประมาณการศึกษาลงสู่ผู้เรียนและสถานศึกษาโดยตรงที่จะปูทางไปสู่ระบบการประกันโอกาสการศึกษาเช่นเดียวกับระบบประกันสุขภาพของประเทศ
  3. การปฏิรูประบบการเรียนรู้ที่เน้นทั้งการปฏิรูปหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้จากชีวิตจริงเพื่อการเรียนที่มีความหมายใช้ประโยชน์ได้ในการใช้ชีวิตและการทำงานตามบริบทของพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการปฏิรูประบบการผลิตพัฒนาครูคุณภาพเป็นหัวใจสำคัญ

ดร.อมรวิชช์ กล่าวต่อไปว่า สมาชิกสปช.47 คน ได้ช่วยกันเสนอแนะแนวทางปฏิรูปทั้งในเชิงประเด็นปัญหาเฉพาะและในเชิงโครงสร้างระบบและกลไกที่จะเป็นจุดเปลี่ยนในระยะยาว ทั้งนี้สมาชิกสปช.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดการปฏิรูปที่คณะกรรมาธิการเสนอ โดยเฉพาะเป้าหมายของการจัดการศึกษาตลอดชีวิตแก่คนไทยทุกช่วงวัย เพิ่มความหลากหลายของการเรียนรู้และผู้จัดการศึกษา เน้นความรู้ที่มีความหมายกับชีวิตจริง ไม่ใช่แค่การเรียนแต่วิชาการ พร้อมทั้งต้องเน้นเรื่องการนำหลักศาสนาและคุณธรรมจริยธรรมมาเป็นหลักในการออกแบบการเรียนรู้ใหม่ด้วย นอกจากนี้ยังมีสมาชิก สปช. จำนวนมากเน้นย้ำเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำในโอกาสผ่านวิธีการจัดสรรงบประมาณใหม่แก่ผู้เรียน การพัฒนาครูรุ่นใหม่และครูประจำการให้เป็นครูชั้นยอดที่สามารถทุ่มเทเวลาให้แก่การสอนอย่างเต็มที่ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่แก่ผู้เรียน การแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กในชนบท การพัฒนาเด็กเล็ก ตลอดจนการทุ่มเทพัฒนาการเรียนสายอาชีพร่วมกับเอกชนอย่างจริงจัง

“ ในการอภิปรายยังได้มีการเสนอประเด็นสำคัญเกี่ยวกับระบบและกลไกที่จะเป็นคานงัดการปฏิรูปโดยเฉพาะการมีคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติขึ้นมากำกับกระบวนการปฏิรูปการศึกษา การปรับเปลี่ยนบทบาทและอำนาจรัฐในการกระจายอำนาจและการวางระบบงบประมาณการศึกษาใหม่ ตลอดจนการผลักดันกองทุนสนับสนุนการปฏิรูป และหน่วยงานอิสระหลายหน่วยให้เตรียมพร้อมรับภารกิจต่างๆ ได้แก่ การวิจัยระบบการศึกษา  การพัฒนาเครือข่ายสมัชชาการศึกษาภาคพลเมือง ตลอดจนการหนุนเสริมการทำงานของสภาการศึกษาจังหวัดที่มีองค์กรอย่างเช่น สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) ขับเคลื่อนอยู่แล้ว และกำลังรอการผลักดันร่าง พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) รวมทั้ง  ร่าง พ.ร.บ.สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งจะเป็นกองทุนสำคัญอีกกองทุนหนึ่งด้วย ทั้งนี้คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาฯ จะต้องทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปอีกหลายคณะที่เกี่ยวข้อง เช่น การปกครองท้องถิ่น การเงินการคลัง สื่อ และสาธารณสุข เป็นต้น ก่อนจัดทำรายละเอียดแผนปฏิรูปการศึกษาและมาตรการต่างๆมาเสนอสปช.เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป”ดร.อมรวิชช์ กล่าว

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ปรับเป้าแก้เด็กอ่าน-เขียนไม่ได้จาก ป.3 เหลือ ป.1 – ครูระยอง

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติว่าจะนั่งเป็นประธานซุปเปอร์บอร์ดด้านการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และได้มอบนโยบายเร่งด่วน 6 เรื่องให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไปดำเนินการ ซึ่งหลายเรื่องเกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่ง สพฐ.พร้อมรับและจะปรับการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายนายกฯ โดยเรื่องแรก นายกฯ ระบุว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องอ่านออกเขียนได้ ซึ่ง เดิมนั้น สพฐ. กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่แต่ตั้งเป้าหมายไว้กับนักเรียนในระดับ ป.3 อย่างไรก็ตาม จากนี้จะปรับเป้าหมายการทำงานใหม่เริ่มตั้งแต่ระดับ ป.1 และกำหนดให้ 80% ต้องอ่านเขียนได้ตามมาตรฐานการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ ส่วนอีก 20% นั้นจะเป็นกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่อง เช่น ออทิสติก สมาธิสั้น และอีกครึ่งเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ เด็กต่างด้าว ค่อนข้างเป็นเรื่องยากที่จะทำให้อ่านออกเขียนได้เร็วเท่าเด็กปกติ

อย่างไรก็ตาม สพฐ. จะนำนวัตกรรมใหม่ที่แก้ไขปัญหาอ่านออกเขียนได้มาใช้และแจกไปยังโรงเรียนต่างๆ อาทิ การสอนแบบแจกลูกสะกดคำ รวมทั้งจะมีการอบรมพัฒนาครูด้วย ทั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่าปกติแล้วเด็กระดับ ป.1 สามารถอ่านออกเขียนได้ภายใน 60 วัน แต่เป็นการอ่านออกเขียนได้ตามมาตรฐานของเด็ก ป.1 เพราะในแต่ละระดับจะกำหนดมาตรฐานไม่เหมือนกัน แต่ยืนยันว่า สพฐ.จะไม่เร่งรัดการสอนเด็ก ป.1 จนเกินไป

นายกมล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ นายกฯ อยากให้ส่งเสริมการเรียนการสอนสายอาชีพให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อไม่ให้เด็กมุ่งแต่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยและเพื่อให้เด็กไทยมีความรู้ในทักษะวิชาชีพด้วย โดยเรื่องดังกล่าว สพฐ. และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้วางแนวทางการทำงานร่วมกันไว้ 2 แนวทาง คือ

  1. สพฐ. เป็นเครือข่ายบ่มเพาะนักเรียนสายอาชีพระดับ ม.ต้น โดยคาดหวังว่าเด็กกลุ่มนี้เรียนจบจะเข้าเรียนต่อสายอาชีพ
  2. ผู้เรียนในโรงเรียน สพฐ. เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเรียนรายวิชาเพิ่มเติมจากรายวิชาชีพตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เมื่อจบหลักสูตรแล้วผู้เรียนได้รับ 2 วุฒิโดยมีเป้าหมายในกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบล โรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์

อย่างไรก็ตาม นายกฯ มีความเป็นห่วงใยเรื่องการพูดภาษาอังกฤษของเด็กไทย จึงอยากให้ ศธ. เร่งปลูกฝังในเรื่องนี้อย่างจริงจัง และเชื่อว่าในอนาคตรัฐบาลจะต้องประกาศนโยบายให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง เพราะเป็นภาษาสากลที่ทุกคนต้องเรียนและใช้เพื่อการสื่อสารแล้ว โดยนายกฯ ให้ข้อเสนอแนะว่าเด็กไทยควรได้เรียนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษาโดยตรงเพื่อให้คุ้นกับสำเนียงของเจ้าของภาษา ซึ่งในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของ สพฐ.นั้นก็มีการนำแนวทางของบริติซ เคานซิล จากประเทศอังกฤษมาใช้ และทราบว่ามา รมว.ศึกษาธิการ กำลังหารือกับรัฐบาลประเทศอังกฤษ เพื่อขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และบริติช เคานซิล ให้มาช่วยวางระบบการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในประเทศไทยทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียนด้วย เพราะประเทศไทยมีจุดอ่อนในเรื่องนี้ ตนคิดว่าหากวางระบบการเรียนภาษาอังกฤษอย่างจริงจังจะพลิกโฉมการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กไทยได้อย่างแน่นอน

ที่มา : ผู้จัดการ

‘บิ๊กน้อย’ติดปีกพัฒนาคุณภาพครูไทยเสริมด้วยระบบ TEPE online – ครูระยอง

Print Friendly

รมช.ศธ. เตรียมติดปีกบุคลากร”แม่พิมพ์”ของชาติ ด้วยการเสริมระบบ TEPE online พัฒนาคุณภาพครู โดยลงไปกำกับดูแลใกล้ชิด ด้วยการมอบนโยบายการพัฒนาครู เน้นการสอนให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน และเสริมวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่ได้รับการยกย่อง เสริมด้วยการยกคุณภาพชีวิตให้ครูสอดคล้องกับเศรษฐกิจ…

ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานมอบนโยบายการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยยึดถือภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นฐาน ด้วยระบบ TEPE online โดยมี ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) นางสุจิตรา พัฒนะภูมิ รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา รศ.ดร. บัญชา ชลาภิรมย์ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1และ ข้าราชการกระทรวงศึกษาฯเข้าร่วมพิธี

พล.อ.สุรเชษฐ์ เปิดเผยว่า รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายเร่งด่วนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ รวมทั้งปลูกฝังในเรื่องค่านิยมหลัก 12 ประการ มีความสามารถรอบด้านทั้งทางร่างกายและสังคม ซึ่งในส่วนนี้ยังเล็งเห็นเพิ่มเติมว่า จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมให้วิชาชีพครู เป็นวิชาชีพชั้นสูงในสังคม เป็นบุคลากรที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม มีภูมิความรู้และทักษะในการสื่อสารถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสม ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีสอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ การจะเลื่อน วิทยฐานะของข้าราชการครู จึงเป็นทางเลือกสำคัญ ที่จะช่วยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีโอกาสพัฒนาต่ออย่างมั่นคง ทั้งทางหน้าที่การงานและรายได้ โดยเฉพาะการที่ กคศ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธิการในการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะใหม่ ที่เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งวิธีเป็นทางเลือก ที่เรียกว่าหลักเกณฑ์ในการทำข้อตกลงการพัฒนางาน

พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า ครู 90กว่าเปอร์เซ็นต์ ส่งผลงานแล้วก็ตก เพราะว่าครูสพฐ.หรือครูระดับประถมและมัธยมของเราไม่มีความถนัดในการทำผลงานรูปแบบของงานวิจัยและพัฒนาแต่ถนัดที่จะทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานได้แก่ โรงเรียนและเขตพื้นที่มากกว่า กคศ.จึงกำหนดหลักเกณฑ์นี้มาให้โอกาสครูทำข้อตกลงการพัฒนางานของตนเอง ทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานของตนเอง ประเมินในพื้นที่ปฏิบัติงานของตนเอง และที่สำคัญประเมินที่ความสำเร็จและคุณภาพที่เกิดกับนักเรียนในความรับผิดชอบของตนเอง เชื่อมั่นว่าครูของเราทำได้และทำได้ดี ตลอดจนเกิดประโยชน์กับนักเรียนโดยตรงอย่างแน่นอน แต่การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์และวิธีการใหม่นี้ กคศ.ได้กำหนดให้ครูที่จะขอทำข้อตกลงการพัฒนางานจะต้องผ่านการพัฒนาตามที่ส่วนราชการ (สพฐ) กำหนด 2 ส่วนก่อน ได้แก่ O ส่วนที่1 การพัฒนาความรู้ความสามารถเชิงทฤษฎี O ส่วนที่2 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดหลักสูตรในการพัฒนาความรู้ความสามารถเชิงทฤษฎีมาไว้ในระบบ TEPE Online โดยครูทั่วประเทศสามารถเข้าสู่ระบบการพัฒนาได้ โดยไม่ต้องไปอบรมในสถานที่อื่นๆนอกพื้นที่การปฏิบัติงาน เป็นการพัฒนาที่สามารถพัฒนาตนเองได้ทุกคน ทุกสถานที่และทุกเวลา ไม่ต้องจ่ายเงินลงทะเบียนใดๆ ทั้งสิ้น

“ที่สำคัญไม่ต้องละทิ้งห้องเรียน และครูยังมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นตามภารกิจที่ตนเองรับผิดชอบอีกด้วย จึงเป็นการคืนความสุขให้ครู คืนความสุขให้นักเรียน ประชาชนและสังคมอย่างแท้จริง และเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของการเดินหน้าประเทศไทยในด้านการจัดการศึกษาของรัฐบาล”พล.อ.สุรเชษฐ์กล่าว

ด้านดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า คุณภาพการศึกษาระดับประเทศอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา และเมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ย้อนหลังพบว่า คุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีเหตุปัจจัยของปัญหาที่สำคัญคือ ครูไม่มีโอกาสจัดการเรียนการสอนได้เต็มเวลา เต็มหลักสูตร เนื่องจากข้าราชการครูต้องเข้าสู่กระบวนการพัฒนาศักยภาพตามระบบ เช่น เมื่อครูทำงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและนำผลงานนั้นไปนำเสนอขอตำแหน่งใหม่ เมื่อผ่านการประเมินแล้วก่อนเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ต้องเข้ารับการพัฒนาด้วยการประชุมอบรมก่อนแต่งตั้งจำนวน 5–6 วัน และเมื่อมีข้าราชการครูสอบเปลี่ยนตำแหน่งสายงานใหม่ จากครูผู้สอนไปสู่ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา ต้องเข้ารับการอบรมก่อนเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ จำนวน 23 วันทำการ และการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาของข้าราชการครู เมื่อสอบผ่านก่อนได้รับการบรรจุแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง ต้องเข้ารับการอบรมปฏิบัติการเป็นเวลา จำนวน 45 วัน ซึ่งนอกจากจะเสียเวลา และละทิ้งภาระงานประจำไปเข้ารับการอบรมปฏิบัติการทางตรงแล้ว รัฐบาลยังเสียงบประมาณเพื่อการนี้อีกจำนวนไม่น้อยในแต่ละปีงบประมาณ ดังนั้น เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของทางราชการ และคืนเวลาปฏิบัติราชการในหน้าที่ให้กับข้าราชการครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ.จึงได้วางแผนปรับเปลี่ยนรูปการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในรูปแบบใหม่เป็น

“การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยยึดภารกิจและพื้นที่การปฏิบัติงานเป็นฐานด้วยระบบ TEPE Online (Teahers and Educational Personnels Enhancement Based on Mission and Funtional Areas as Major) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาครู และบุคลาการทางการศึกษาที่มีระบบ และกระบวนการที่เน้นให้ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาตนเองผ่านระบบออนไลน์ ที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา”นายกมลกล่าว และว่าโดยระบบ TEPE Online ประกอบด้วยส่วนของการพัฒนาตนเอง และส่วนการรับรองความรู้ โดยเริ่มจากความต้องการในการพัฒนาตนเองตามวัตถุประสงค์การพัฒนา เลือกหลักสูตรเพื่อศึกษาเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การพัฒนาที่มีอย่างหลากหลายสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ และองค์ความรู้สำคัญที่จำเป็น ดำเนินการศึกษาผ่านระบบ TEPE Online ตรวจสอบผลการพัฒนา และเข้าสู่การทดสอบเพื่อรับรองความรู้จากศูนย์สอบจังหวัดที่มีอยู่ในทุกจังหวัด ด้วยกระบวนการที่ไม่ยุ่งย่าก ซับซ้อน ตลอดจนยังไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางเข้ารับการอบรมตามกระบวนการเดิมอีกด้วย

“สพฐ.เล็งเห็นว่า TEPE Online จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการทุกสถานที่ทุกเวลาตามที่ต้องการด้วยตนเอง ทุกสถานที่ตามความพร้อม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างมีประสิทธิผล สู่การพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น”เลขาฯสพฐกล่าว.

ที่มา : ไทยรัฐ

ครูอังกฤษหนาว!วัดระดับสุดเข้มต้องได้คะแนนสูงกว่าช่วงชั้นที่สอน

Print Friendly

สพฐ.เผยประเมินครูภาษาอังกฤษต้องได้คะแนนในระดับสูงกว่าที่สอน ใช้โรงเรียนเป็นสนามสอบและมีผู้คุมสอบเพื่อป้องกันโกง โดยให้เวลาทำแค่ 1 ชั่วโมง ยันผลที่ได้ไม่เกี่ยววิทยฐานะ ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ต้องเข้าอบรม

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวถึงการวัดผลประเมินครูภาษอังกฤษที่จะมีการจัดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ ว่า โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษา หรือ Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) ซึ่งแบบทดสอบนี้จะเน้นทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ฟัง อ่าน พูด เขียน โดยตัวแบบทดสอบจะกำหนดสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมทดสอบได้ตอบคำถาม เช่น การฟังจะมีการทดสอบการฟังบทสนทนาต่างๆ, การฟังการอ่านบทความ เป็นต้น เนื่องจากข้อสอบดังกล่าวเป็นระบบที่ปฏิบัติการแบบออนไลน์ ทำให้ข้อสอบของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน และขณะที่ครูทำข้อสอบก็จะมีการประเมินอยู่ตลอด เช่น หากครูทำข้อสอบในระดับง่ายได้อย่างรวดเร็ว ระบบก็จะส่งข้อสอบที่มีระดับสูงขึ้นมาให้ครูทดลองทำ เป็นต้น

ทั้งนี้ ระดับการวัดความสามารถในการทดสอบครั้งนี้มีทั้งหมด 6 ระดับคือ

  • A1 สามารถเทียบกับความรู้ด้านภาษาอังกฤษของเด็กระดับประถมศึกษา หรือเทียบคะแนน TOEIC 0-110 คะแนน
  • A2 สามารถเทียบกับความรู้ด้านภาษาอังกฤษของเด็กระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบคะแนน TOEIC 110-250 คะแนน
  • B1 สามารถเทียบกับความรู้ด้านภาษาอังกฤษของเด็กระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบคะแนน TOEIC 255-400 คะแนน
  • B2 สามารถเทียบกับความรู้ด้านภาษาอังกฤษของเด็กในระดับอุดมศึกษา หรือเทียบคะแนน TOEIC 405-600 คะแนน
  • C1 สามารถเทียบกับความรู้ด้านภาษาอังกฤษที่มีเกือบจะเทียบเท่าเจ้าของภาษา หรือเทียบคะแนน TOEIC 605-780 คะแนน
  • C2 สามารถเทียบกับความรู้ด้านภาษาอังกฤษเทียบเท่ากับเจ้าของภาษา หรือเทียบคะแนน TOEIC 785-990 คะแนน

อย่างไรก็ตาม ในการทดสอบสอบครั้งนี้ตนได้มอบหมายให้เขตพื้นที่ฯ ที่เข้าร่วมการประเมินจัดหาโรงเรียนที่มีความพร้อมทางด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นสนามในการจัดการทดสอบ และแต่ละห้องสอบจะมีผู้คุมสอบอยู่ด้วย เนื่องจากตัวแบบทดสอบเป็นลักษณะออนไลน์ที่มีเวลาในการทำเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น และตัวแบบทดสอบซึ่งเป็นโปรแกรมจะส่งข้อสอบระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ เข้ามาทดสอบครู หากมีการทำมั่ว หรือทำผิดซ้ำๆ แบบทดสอบจะส่งข้อสอบในระดับเดิมซ้ำๆ จนหมดชั่วโมง จะไม่มีการเลื่อนไปในระดับที่ยากขึ้น แต่ถ้าหากทำข้อสอบได้ โปรแกรมก็จะส่งข้อสอบระดับที่ยากขึ้นมาให้ทำอีกเรื่อยๆ จนหมดชั่วโมง ซึ่งผลการทดสอบที่ได้ โปรแกรมจะทำหน้าที่ประมวลผลเอง

สำหรับเกณฑ์การพิจารณา นายกมลกล่าวว่า ครูที่ผ่านเกณฑ์ควรจะมีครูที่ทำการประเมินที่จะได้ระดับความสามารถมากกว่าระดับที่ตนสอนอยู่ในปัจจุบัน เช่น หากสอนระดับประถมก็ควรจะได้ระดับการสอนระดับมัธยม เป็นต้น แต่หากได้ผลประเมินน้อยกว่าก็จะต้องมีการเข้าอบรมและพัฒนาอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม การทดสอบในครั้งนี้จะไม่มีผลต่อการปฏิบัติงานหรือวิทยฐานะของครูแต่อย่างใด เพราะเป็นการประเมินเพื่อจับกลุ่มและวัดระดับความสามารถของครูเท่านั้น และหากจะนำมาใช้เพื่อกำหนดวิทยฐานะของครูแล้ว ลักษณะข้อสอบจะต้องมีความละเอียด มีระดับที่ยาก และต้องมีเวลาทำแบบทดสอบอย่างน้อย 4-5 ชั่วโมง

ที่มา : moe

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre