สพฐ.ย้ำแนวปฏิบัติงดดูงานเมืองนอก

สพฐ

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ทำหนังสือเรื่อง การเดินทางไปศึกษาดูงาน ประชุม สัมมนา อบรม ในต่างประเทศ แจ้งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) ทุกเขตฯ ให้ถือเป็นแนวปฎิบัติ ดังนี้

  1. งดเว้นการเดินทางไปศึกษาดูงาน ประชุม สัมมนา อบรม ณ ต่างประเทศ แม้จะมีหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานต่างประเทศ ยกเว้นกรณี สพฐ.มอบหมาย
  2. การเดินทางตามโครงการค่ายเยาวชนระหว่างประเทศ หรือ โครงการแลกเปลี่ยนครู นักเรียน ผู้บริหาร ระหว่างรัฐบาล กระทรวง หรือหน่วยงานต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง หรือมีข้อตกลงความร่วมมือกันมาก่อน ไม่เป็นการเดินทางไปลงนามในข้อตกลงใหม่
  3. การเดินทางเพื่อพานักเรียนไปร่วมประกวดแข่งขันนานาชาติ ที่จัดโดยองค์กรที่เป็นที่รู้จักจัดเป็นประจำต่อเนื่อง ต้องมีหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการ
  4. หากมีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีการศึกษาดูงาน อบรม สัมมนา ให้ปรับเปลี่ยนเป็นการศึกษาดูงานภายในประเทศแทน โดยเฉพาะการศึกษาดูงานที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการตามแนวพระราชดำริ หรือ ให้พิจารณาเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาบรรยาย

ทั้งนี้ หากไม่เป็นไปตามแนวปฎิบัติให้ทำเรื่องเสนอขออนุมัติจาก รมว.ศึกษาธิการ เป็นรายกรณี สำหรับโครงการประกวดวงโยธวาทิตในต่างประเทศ ของโรงเรียนต่างๆ ก็ห้ามไปประกวดที่ต่างประเทศเช่นกัน

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สช.เตรียมออกประกาศพัฒนาการคิดวิเคราะห์เด็ก – ครูระยอง


สช.เตรียมออกประกาศพัฒนาการคิดวิเคราะห์เด็ก

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

Print Friendly

ดร.บัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ประกาศนโยบายให้การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จึงได้ยกร่างประกาศ สช.เรื่องนโยบาย “ปีการศึกษา 2558 ปีแห่งการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด” เพื่อให้โรงเรียนเอกชน และหน่วยงานที่ส่งเสริมการศึกษาเอกชนทุกแห่งร่วมพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนเอกชน และผลักดันให้นโยบายดังกล่าวเกิดผลเป็นรูปธรรม

เลขาธิการ กช. กล่าวต่อไปว่า ร่างประกาศดังกล่าวได้กำหนดจุดเน้นให้สถานศึกษาเอกชนร่วมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณ คิดเป็นระบบเหมาะสมตามระดับชั้น และประเภทของการศึกษา มีค่านิยมในการทำความดี มีจิตสำนึกต่อสังคมและความเป็นพลเมือง พร้อมกันนี้ได้กำหนดตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการประเมินผลด้วย เช่น นักเรียน ชั้น ป.4 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถเขียนแผนที่ความคิดของตนเองได้ ชั้น ม.3 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80สามารถคิดสังเคราะห์และคิดสร้างสรรค์ได้ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. 3 สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการอาชีพตามเกณฑ์ที่ สช.กำหนดได้ ขณะที่โรงเรียนทุกโรง หรือ 100% ต้องจัดโครงการ/กิจกรรมเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรรมให้แก่นักเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนทำความดีเพื่อสาธารณประโยชน์ด้วย เป็นต้น อย่างไรก็ตามขณะนี้ สช. อยู่ระหว่างนำร่างประกาศดังกล่าวสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน หากไม่มีการปรับแก้ไขตัวชี้วัด หรือเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ในเร็วๆ นี้ตนจะลงนามในประกาศต่อไป

ที่มา : เอกชน

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

รัฐมนตรีศึกษาธิการ จี้ สพฐ. หาต้นตอโอเน็ตต่ำ!

โอเน็ต

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงกรณีผลคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนในแต่ละวิชาส่วนใหญ่ไม่ถึง 50%โดยเฉพาะวิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ว่า เรื่องนี้คงต้องมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการวิเคราะห์ผลคะแนนอย่างละเอียดในทุกรายวิชา ทั้ง ป.6 และ ม.3 ว่ามีวิชาใดบ้างที่คะแนนลดลง และการลดลงนั้นเกิดจากสาเหตุใด นอกจากนี้ต้องพิจารณาเจาะลึกลงไปด้วยว่า คะแนนที่ลดลงนั้นส่วนใหญ่เกิดจากโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ใด ซึ่งหากเราสามารถหาต้นตอได้ ก็จะทำให้เราแก้ปัญหาได้ถูกจุดมากขึ้น

“ทั้งนี้เมื่อผลคะแนนโอเน็ตของเด็กออกมาระบุว่าต่ำลง เราก็ต้องเข้าไปเข้มงวดกวดขันมากขึ้น และเพิ่มมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยทำให้คะแนนของเด็กเพิ่มสูงขึ้น แต่เวลานี้เป็นช่วงปิดภาคเรียนคงทำอะไรลำบาก แม้จะมีหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรม หรือค่ายความรู้ต่างๆ แต่ก็ครอบคลุมไม่ทั่วถึงเด็กทุกคน ดังนั้นคงต้องรอให้เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ก่อน ถึงจะเริ่มดำเนินการเข้มงวดอย่างจริงจังได้ ทั้งในเรื่องของการเรียนการสอนด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม รวมทั้งการพัฒนาการเรียนการสอนของครู และนักเรียน”รัฐมนตรีว่าการศธ. กล่าว กล่าวและว่า ส่วนกรณีที่หลายคนมองว่าคะแนนที่ลดลงน่าจะเกิดจาก การเรียนการสอนกับการออกข้อสอบไม่เหมือนกัน เพราะการสอนมักเน้นท่องจำ แต่ข้อสอบเป็นการคิดวิเคราะห์นั้น คงต้องรอดูผลการวิเคราะห์จาก สพฐ. ก่อน หากพบว่าเป็นไปตามนี้จริง ก็ต้องปรับการสอนของครู

ที่มา : มติชน

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จ่อชงบอร์ดปฏิรูป ศธ.ฟื้น “กรมวิชาการ” แยกตัวจาก สพฐ.ดูแลหลักสูตรภาพรวมประเทศ – ครูระยอง

Print Friendly

นางสิริกร มณีรินทร์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ ในคณะอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน กล่าวว่า ในการประชุมคณะอำนวยการปฏิรูปฯ ในพุธที่ 18 มี.ค. นี้ คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ เตรียมเสนอให้ฟื้นกรมวิชาการขึ้นมาอีกครั้ง เพราะหลังจากที่ยุบกรมวิชาการเดิมไปเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)แล้ว ทำให้ไม่สามารถบริหารงานการจัดการหลักสูตรได้ครบวงจร อีกทั้ง ไม่สามารถดูแลเรื่องวิชาการและหลักสูตรให้สถานศึกษาสังกัดอื่นๆ นอกจาก สพฐ.ด้วย

“ก่อนปี 2549 ที่จะมีการปรับโครงสร้าง ศธ.ใหม่นั้น กรมวิชาการมีฐานะเป็นกรมดูแลเรื่องวิชาการ หลักสูตรในภาพรวมของทั้งประเทศ มีบุคลากรกว่า 200 คน แต่หลังจากประกาศใช้โครงสร้างกระทรวงใหม่ กรมวิชาการถูกยุบเป็นสำนักภายใต้ สพฐ. มีบุคคลากรประมาณ 160 คน แต่มีบุคลลากรที่ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาหลักสูตรโดยตรงแค่ 8 คนซึ่ง กำลังคนเท่านี้ ไม่เพียงพอจะจัดระบบบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสากล โดยปกติจะครอบคลุมงาน 4 ด้านหลัก คือ

  • วิจัยและพัฒนาหลักสูตร , พัฒนาครูประจำการให้พร้อมสำหรับหลักสูตร , ศึกษา วิจัย ติดตามผลนำหลักสูตรไปใช้ ผู้เรียนได้ตามสมรรถนะตามที่กำหนดในหลักสูตรหรือ และสร้างแบบทดสอบขึ้นมาประเมินผลหลักสูตรที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อปรับปรุงหลักสูตรเป็นระยะทุกวันนี้ ของบ้านเราทำแค่เรื่องการเขียนหลักสูตรเป็นหลักเท่านั้น เพราะกรมวิชาการหายไป”นางสิริกร กล่าว

นางสิริกร กล่าวต่อว่า การฟื้นกรมวิชาการขึ้นมาใหม่ จะทำให้มีหน่วยงานดูแลเรื่องหลักสูตรในภาพรวมอย่างครบวงจร และจะโยกให้กรมวิชาการไปขึ้นอยู่กับสถาบันวิจัยระบบการศึกษา ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ขององค์กรใหม่ที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ คือ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือ ซุปเปอร์บอร์ด , สำนักงานหลักประกันการศึกษาแห่งชาติ (สปสช.ด้านการศึกษา ) และสถาบันวิจัยฯ เมื่อกรมวิชาการไปอยู่ภายใต้กำกับของสถาบันวิจัยการศึกษาแล้ว จะทำให้การดูแลเรื่องหลักสูตรครบวงจรทั้งการพัฒนา วิจัยและประเมินผลของหลักสูตร

“ความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา คือ การไปยุบกรมวิชาการ เพียงสำนักใน สพฐ.ไม่มีบทบาท อำนาจหน้าที่จะไปดูแลโรงเรียนอื่นๆ นอกสังกัด สพฐ.ได้ อีกทั้ง ยังมีความจำเป็นต้องมีหน่วยงานวิจัยหลักสูตรอย่างครบวงจรและเป็นระบบ ให้ได้เกิดผลที่เกิดกับผู้เรียนที่ชั้นเรียน แต่พอมันขาดวงจรตรงนี้ นี่คือเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้การปฏิรูปการเรียนรู้ไม่อาจเกิดผลที่โรงเรียนได้ เพราะไม่มีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบด้านการวิจัยและพัฒนาคุณภาพวิชาการ”นางสิริกร กล่าวและว่า ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ยังเตรียมเสนอปรับแก้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหมวด 4 มาตราที่ 2 โยกอำนาจหน้าที่ในการกำหนดหลักสูตรแกนกลางออกจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)ไปอยู่ที่ซุปเปอร์บอร์ด และสถาบันวิจัยการศึกษาด้วย เพื่อจะได้ดูแลงานวิชาการของทั้งประเทศ

ที่มา : ผู้จัดการ

สมศ.เผยผ่านประเมินดีมากทั้ง 3รอบมีแค่1%

Print Friendly

ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า จากการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา 3 รอบที่ผ่านมาในรอบ 15 ปี ซึ่งมีสถานศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทั่วประเทศเข้ารับประเมินฯ 32,099 แห่ง พบว่า มีสถานศึกษาที่ได้รับผลประเมินระดับดีมากทั้ง 3 รอบเพียง 354 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.10 แบ่งเป็น สถานศึกษาขนาดเล็ก 127 จาก 22,985 แห่ง สถานศึกษาขนาดกลาง 79 แห่ง จาก 7,042 แห่ง และสถานศึกษาขนาดใหญ่-ใหญ่พิเศษ 148 แห่ง จาก 2,072 แห่ง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามีโรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีครูผู้สอนเพียง 5-10 คน แต่สามารถได้รับผลการประเมินระดับดีมากติดต่อกันทั้ง 3 รอบ ดังนั้นคุณภาพของสถานศึกษาจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าโรงเรียนจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ แต่ขึ้นอยู่กับระบบการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมากกว่า 

นายนิคม พรหมอนันต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหล่ายาว จังหวัดลำพูน กล่าวว่า โรงเรียนบ้านเหล่ายาวเป็นโรงเรียนขนาดเล็กแห่งเดียวของจังหวัดลำพูนที่ได้รับผลการประเมินจาก สมศ. ระดับดีมากทั้ง 3 รอบ ซึ่งผลสำเร็จทั้งหมดเกิดจากการตื่นตัวของครูในโรงเรียนที่มีต่อการประกันคุณภาพภายใน โดยจะเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครู และบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ  เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามเราต้องรู้จักทำงานให้เป็นประจำวัน ซึ่งจะทำให้การเตรียมตัวรับการประเมินจาก สมศ. ไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องเร่งทำในช่วงเวลาที่โรงเรียนใกล้จะถูกประเมิน

“การประเมินเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติย้อนดูว่า สิ่งที่ทำนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ และต้องแก้ไขอย่างไร  ซึ่งแม้โรงเรียนบ้านเหล่ายาวจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีครูเพียง 11 คน แต่ครูทุกคนตื่นตัวต่อการประเมิน และนำข้อเสนอแนะของ สมศ. มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ในการพัฒนาการเรียนการสอนของครูในโรงเรียน ตลอดจนอาศัยการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง กรรมการ ผู้นำหมู่บ้าน และชาวบ้านในพื้นที่ จึงทำให้โรงเรียนใกล้ชิดกับชุมชน ครูมีความสุขในการสอน จึงสอนได้อย่างมีคุณภาพ” นายนิคม กล่าว.

ที่มา : เดลินิวส์

ชง13 ร่าง กม.ปฏิรูปการศึกษา หวังขับเคลื่อนทั้งระบบ

Print Friendly

นายศรีราชา วงศารยางกูร ผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เชิญคลังสมองด้านการศึกษา มาร่วมกันหาแนวทางและข้อเสนอแนะประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา โดยครอบคลุมทั้งเรื่องของการปรับปรุงกฎหมาย โครงสร้างหน่วยงานทางการศึกษา หลักสูตรการสอน การบริหารบุคคล การถ่ายโอนอำนาจให้สถานศึกษา และจากการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงอย่างต่อเนื่อง ทำให้พบว่าเกิดปัญหาทั้งระบบ อาทิ ปัญหาด้านงบประมาณที่ได้รับสูงแต่สวนทางกับประสิทธิภาพการใช้เงิน ด้านบุคลากรมีปริมาณมากกว่างานและมีกระบวนการทำงานที่ล่าช้า ด้านคุณภาพครูที่เร่งผลิตผลงานวิชาการแต่คุณภาพนักเรียนลดลง สถานศึกษาหลายแห่งยังขาดแคลนบุคลากรครู และมีสื่อการสอนที่ไม่ทันสมัย ครูและผู้บริหารละทิ้งโรงเรียน การบริหารงานบุคคลไม่ยุติธรรมโปร่งใส

ขณะที่การศึกษานอกระบบ ยังไม่ทำให้ผู้จบการศึกษามีคุณภาพในด้านการแสวงหาความรู้ และทักษะต่างๆ ที่ตอบสนองตลาดแรงงาน ส่วนระดับอาชีวศึกษายังขาดแคลนผู้เรียนในหลายสาขา ขาดการฝึกงานจริงในสถานประกอบการที่มีเครื่องมือทันสมัย และมีแนวโน้มอยากปรับเป็นอุดมศึกษา สำหรับระดับอุดมศึกษามีการเปิดหลักสูตรจำนวนมากที่ไม่สนองต่อทิศทางการพัฒนาประเทศและวัฒนธรรมไทย เป็นต้น

นายศรีราชา กล่าวต่อไปว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกระดับ ทุกประเภทการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานตั้งแต่ส่วนกลางถึงสถานศึกษา ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงจัดตั้งคณะทำงานการปฏิรูปการศึกษาชาติทั้งระบบ เพื่อเสนอแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาชาติทั้งระบบ ด้วยการเสนอร่างกฎหมายที่ปรับทั้งโครงสร้างการบริหารจัดการ การกระจายอำนาจ การจัดการเรื่องการสอน และตัวบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งสิ้นจำนวน 12 ฉบับ ดังนี้

(1) ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ว่าด้วยสภานโยบายและพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.(…) โดยให้มีสภานโยบายและพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ (Super Board) ที่ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ที่จำเป็นการกำหนดนโยบายและการจัดการศึกษากรรมการ ผู้แทนขององค์กรภาคเอกชนผู้เกี่ยวข้องการการค้าและการลงทุน และกรรมการผู้แทนภาคประชาสังคมและภาคเอกชน ซึ่งปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง โดยมีอำนาจในการกำหนดนโยบายการศึกษาของชาติทั้งระบบ ทุกระดับและทุกประเภทการ ให้ความเห็นชอบ และตรวจสอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ระดับสูงใน ศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของชาติ ติดตามตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายการศึกษาของชาติการกำกับ ดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงานสภานโยบายและพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ รวมทั้งการจัดตั้งสำนักงานสภานโยบายและพัฒนาการศึกษาแห่งชาติให้มีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองที่เป็นอิสระ

(2) ร่าง พ.ร.บ.การวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษา พ.ศ.(…) เป็นร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาแห่งชาติให้เป็นองค์การมหาชน โดยให้มีอำนาจในการศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบการศึกษาและนโยบายการศึกษาของชาติในทุกระดับ ให้ทุนอุดหนุนศึกษาและวิจัยแก่บุคคลหรือคณะบุคคลในอำนาจหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาแห่งชาติ

(3) ร่าง พ.ร.บ.การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการศึกษา พ.ศ.(…) เป็นร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ ให้เป็นองค์การมหาชน โดยให้มีอำนาจศึกษา วิจัย พัฒนา และจัดทำหลักสูตรและแนวทางการจัดการเรียนการสอนของการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท เสนอการจัดทำหลักสูตรมาตรฐานในทุกประเภทและทุกระดับต่อสภานโยบายและพัฒนาการศึกษาแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 (4) ร่าง พ.ร.บ.สถาบันครุศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.(…) เป็นร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันครุศึกษาแห่งชาติให้เป็นองค์การมหาชน โดยให้มีอำนาจกำหนดทิศทางในการผลิตครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้บริหารการศึกษาของโรงเรียนและสถานศึกษาในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา และจัดให้มีการอบรมการจัดการเรียนการสอนให้คณาจารย์และผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้ด้านครุศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนอย่างเต็มศักยภาพ

 (5) ร่าง พ.ร.บ.การรับรองมาตรฐานการศึกษา พ.ศ.(…) เป็นร่างกฎหมายจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติให้เป็นองค์การมหาชน โดยให้มีอำนาจในการทดสอบทางการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษาในทุกระดับจัดให้มีการรับรองและไม่รับรองคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และการพิจารณาเสนอการพักใช้หรือปิดโรงเรียน สถานศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน

     (6) ร่าง พ.ร.บ.การรับรองคุณวุฒิการศึกษา พ.ศ.(…) เป็นร่างกฎหมายจัดตั้งสำนักงานรับรองคุณวุฒิการศึกษาแห่งชาติให้เป็นองค์การมหาชน โดยให้มีอำนาจในการทดสอบและรับรองคุณวุฒิวิชาชีพครูและผู้บริหารการศึกษา การพักใช้และเพิกถอนการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพครู เป็นศูนย์ข้อมูลคุณวุฒิการศึกษาของผู้สำเร็จการศึกษาในทุกระดับและทุกประเภท ตรวจสอบและรับรองการสำเร็จการศึกษาและคุณวุฒิการศึกษาของผู้สำเร็จการศึกษาในทุกระดับและทุกประเภท ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     (7) ร่าง พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา พ.ศ.(…) เป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาตามนโยบายการศึกษาแห่งชาติ การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระหว่างสถาบันการศึกษาของรัฐกับภาคเอกชนผู้ใช้แรงงานในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อผลิตผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะตอบสนองต่อการประกอบการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมอย่างแท้จริง

(8) ร่าง พ.ร.บ.กรจัดการและบริหารการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.(…) เป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเต็มรูปแบบ กำหนดระยะเวลาในการถ่ายโอนอำนาจการจัดการศึกษาไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกำหนดระดับและประเภทของการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารโรงเรียนและสถานศึกษาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาแห่งชาติ และการอุดหนุนงบประมาณและทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้แก่โรงเรียนและสถานศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

   (9) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา พ.ศ.(…) เป็นร่างกฎหมายจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาให้เป็นองค์การมหาชน โดยให้มีอำนาจการศึกษา วิจัย และผลิตนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อใช้ในการเรียนการสอนที่คุณภาพและมาตรฐาน กำหนดการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาที่เหมาะสมกับระบบการศึกษาของชาติในทุกระดับและทุกประเภท

นอกจากนี้กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสื่อการสอนทุกระดับที่ทันสมัยและเหมาะสมกับการจัดการศึกษาจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แก่การจัดการศึกษาในทุกระดับ รวมทั้งการประสานความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษากับผู้ประกอบการเอกชน

     (10) ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.(…) เป็นร่างกฎหมายที่จะให้อำนาจในการสร้างระบบงานการบริหารบุคคลเป็นของคณะกรรมการที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาในระดับต่างๆ การบรรจุ การแต่งตั้ง การโอน โยกย้าย การพัฒนา การเลื่อนระดับ การดำเนินการทางวินัย และการลงโทษ ที่เป็นไปตามระบบคุณธรรมทางวิชาชีพ

 (11) ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.(…) เป็นร่างกฎหมายที่ปรับปรุงจัดระเบียบการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ที่ประกอบด้วยสำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นปฐมวัยและประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการมัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภายใน ซึ่งต้องสอดคล้องกับนโยบายการศึกษาแห่งชาติ และหลักการการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาอย่างสมบูรณ์ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน และสถานศึกษา

     (12) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการพิทักษ์ระบบคุณธรรมการศึกษา พ.ศ.(…) เป็นร่างกฎหมายจัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมการศึกษา ที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในระดับต่างๆ และด้านอื่นที่จำเป็น มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานของรัฐที่จัดการศึกษาในทุกระดับและทุกประเภท การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับการพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาตของสถานศึกษา และการไม่รับรองคุณวุฒิการศึกษา

อย่างไรก็ตาม การเสนอร่างกฎหมายทั้ง 12 ฉบับ จะมีผลกระทบต่อ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จึงเห็นสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติด้วย โดยเสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.(…) ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ ขึ้นอีกหนึ่งฉบับ รวมเป็นการเสนอร่างกฎหมายทั้งหมด 13 ฉบับ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการพัฒนาการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน 

     “ขณะนี้ได้จัดทำร่างกฎหมายแล้วเสร็จ 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.(…) และร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยสภานโยบายและพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.(…) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการจัดตั้งซูเปอร์บอร์ดการศึกษา เพื่อดูแลการศึกษา ซึ่งเป็นมติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 3 มี.ค.58 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งส่งร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ ไปยังประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช..) คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กรรมาธิการการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ รองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ ยุทธวงศ์) รมว.ศึกษาธิการ คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา และอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ เพื่อพิจารณาผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาชาติทั้งระบบ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเตรียมส่งร่างกฎหมายอีก 11 ฉบับโดยเร็ว”นายศรีราชา กล่าว

  สำหรับรายละเอียดร่างกฎหมายที่แล้วเสร็จทั้ง 2 ฉบับ สามารถติดตามได้ทาง www.ombudsman.go.th และ http://www.ombudsman.go.th

ที่มา : สยามรัฐ

คุรุสภาเปิดช่องขอรับใบอนุญาตฯ กรณีเร่งด่วน! เพื่อใช้ในการสอบครูผู้ช่วย สพฐ.

Print Friendly

การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู กรณีเร่งด่วน เพื่อใช้ในการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู กรณีเร่งด่วน ให้แก่ผู้ประสงค์จะนำใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูไปใช้สมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ระหว่างวันที่ 10 – 29 มีนาคม 2558 ยกเว้นวันหยุดราชการ (เปิดให้บริการเฉพาะวันเสาร์ที่ 28 และวันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2558)

ณ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ทั้งนี้ผู้ยื่นคำขอจะต้องมีคุณสมบัติและเอกสารประกอบการขอที่ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยจะให้แก่ผู้ที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและผู้ที่มาขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

ผู้ที่ได้รับหนังสือรับรองสิทธิไปแล้ว และต้องการนำใบอนุญาตฯ ไปใช้เพื่อการดังกล่าว ให้มาติดต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ โดยผู้ยื่นคำขอจะได้รับใบอนุญาตฯ ภายในวันที่มายื่นขอและหากไม่สามารถมายื่นคำขอได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมายื่นแทนได้ โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบด้วย

ที่มา : คุรุสภา

“กำหนดการ/ตารางสอบ/เกณฑ์สอบสัมภาษณ์” สอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปีพ.ศ.2558

สอบราชการ - ครูระยอง

Print Friendly

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการเปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ประจำปี 2558 โดยรับสมัครวันที่ 23 – 29 มีนาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ วันที่ 9 เมษายน สอบข้อเขียน ภาค ก ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู วันที่ 23 เมษายน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ภายในวันที่ 28 เมษายน สอบข้อเขียนภาค ข วันที่ 2 พฤษภาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคค สอบสัมภาษณ์ ภายในวันที่ 7 พฤษภาคม สอบสัมภาษณ์ วันที่ 10 พฤษภาคม ประกาศผลการสอบ วันที่ 14 พฤษภาคมนี้

สำหรับปีนี้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)ที่ขอเปิดสอบทั้งหมด 64 เขต รวมสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ตำแหน่งว่าง ประมาณ 1,700 อัตรา ใน 35 กลุ่มวิชา โดยมีกำหนดการ ตารางสอบ และเกณฑ์การสอบสัมภาษณ์ ดังนี้

03-11-58-3 03-11-58-4 03-11-58-5

>> รายละเอียด <<

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

หลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มจร เปิดรับสมัครแล้ว ตั้งแต่บัดนี้้ ถึง 31 มีนาคม

Print Friendly

หลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เปิดรับสมัครแล้ว ตั้งแต่บัดนี้้ ถึง 31 มีนาคม

สนใจสอบถามได้ที่ 095-4519161, 081-6843062, 089-9920079, 087-3304711, 086-1811625

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ที่มา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สสวท.ส่อขยับค่าลิขสิทธิ์หนังสือเรียนลดเหลื่อมล้ำ

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผอ.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือบอร์ด สสวท.มีมติให้เปิดเสรีในการผลิตและจัดจำหน่ายหนังสือเรียนและสื่อหลักอื่นๆของ สสวท.ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 นั้น มติดังกล่าวไม่ได้ปิดกั้นองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ในการยื่นเสนอตัวเพื่อรับพิมพ์หนังสือของ สสวท.องค์การค้าฯยังคงสามารถเข้ามาแข่งขันได้เหมือนเดิม ซึ่งการเปิดเสรีดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับทุกฝ่าย ไม่เฉพาะ สสวท. เพราะที่ผ่านมามีเสียงบ่นมากว่าหาหนังสือไม่ได้ ทั้งที่องค์การค้าฯบอกว่าพิมพ์หนังสือทัน โดยขณะนี้ สสวท.กำลังเตรียมทำรายละเอียดขอบข่ายการจัดจ้าง (ทีโออาร์) อยู่

ผอ.สสวท.กล่าวอีกว่า สำหรับราคาหนังสือที่เกรงว่าจะมีการปรับขึ้น เนื่องจาก สสวท.จะขอปรับค่าลิขสิทธิ์นั้น เรื่องการควบคุมราคาเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องดูถึงความควร หรือไม่ควร และเป็นธรรมกับผู้พิมพ์หรือไม่ แต่ที่ สสวท.ต้องขอปรับค่าลิขสิทธิ์ก็เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับ สสวท.เพราะหนังสือเรียนของ สพฐ.และ สสวท.ต่างก็เป็นสื่อหลักเหมือนกันค่าลิขสิทธิ์ก็ต้องปรับให้เท่าเทียมกัน แต่ที่ผ่านมาค่าลิขสิทธิ์ของ สสวท.จะได้ต่ำมาก ซึ่งเป็นเช่นนี้มา 40 กว่าปีแล้ว.

ที่มา : ไทยรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre