สพฐ.พร้อมวิเคราะห์ลงลึกผลสอบโอเน็ต – ครูระยอง


สพฐ.พร้อมวิเคราะห์ลงลึกผลสอบโอเน็ต

โอเน็ต

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน อดีตผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) ออกมาระบุว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) อาจจะไม่เอาจริงเอาจังในการออกข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต 3 กลุ่มสาระการเรียน ที่ สทศ.ไม่ได้จัดสอบ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความไม่โปร่งใสและนักวิชาการที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาก็มีจำนวนน้อยนั้น  

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) มั่นใจว่า เขตพื้นที่ฯจะออกข้อสอบโอเน็ต 3 กลุ่มสาระฯได้อย่างโปร่งใสและมีมาตรฐาน ตนจะไม่ปล่อยให้เขตพื้นที่ฯออกข้อสอบเองโดยไม่มีการวางกรอบการทำงาน เพราะจะทำให้เกิดความลักลั่นได้ โดยในเร็ว ๆ นี้ สพบ.จะประชุมวางแผนเรื่องดังกล่าว เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการออกข้อสอบของเขตพื้นที่ฯ ก็จะดึงนักวิชาการและมหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมวางมาตรฐานด้วย อีกทั้ง สพฐ.เองก็มีสำนักทดสอบทางการศึกษาและยังเป็นผู้จัดสอบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ National Test (NT) ของนักเรียน ชั้น ป.3 ด้วย ดังนั้นขอให้มั่นใจได้ว่า สพฐ.จะวางระบบที่มีมาตรฐานแน่นอน

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่ รมว.ศึกษาธิการ ต้องการให้ สพฐ.เร่งวิเคราะห์ผลคะแนนโอเน็ตอย่างละเอียดทุกรายวิชา ทั้ง ป.6 และ ม.3 ว่า มีวิชาใดบ้างที่คะแนนลดลง และการลดลงนั้นเกิดจากสาเหตุใดนั้น ขณะนี้ สพฐ.ได้ทำการวิเคราะห์ผลคะแนนรายวิชาของ ชั้น ป.6 ไปบ้างแล้ว เพียงแต่รอผลคะแนนของ ชั้น ม.6 ให้ครบก่อน จากนั้นจึงจะเริ่มวิเคราะห์ลงลึกรายวิชาภาพรวมของทุกช่วงชั้นว่า แต่ละระดับเด็กอ่อนวิชาอะไร อยู่ในเขตพื้นที่ไหน และเป็นโรงเรียนประเภทใดมากที่สุด  เพื่อส่งข้อมูลให้เขตพื้นที่ฯรับไปปฎิบัติและพัฒนาโรงเรียนเหล่านั้นต่อไป  อย่างไรก็ตามในวันที่ 17 เม.ย.นี้ สพฐ.จะเรียกประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับผลคะแนนโอเน็ตให้มีคุณภาพต่อไป

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพฐ.ชงเพิ่ม’4 กรม’แทนยุบ ผอ.ร.ร.-เขตพื้นที่ฯ หนุนแยกประถม-มัธยม

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ในสัปดาห์นี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างภายใน สพฐ.ต่อคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. โดยขอตั้งหน่วยงานระดับกรมเพิ่มขึ้น 4 หน่วยงาน คือ กรมประถมศึกษา กรมมัธยมศึกษา กรมวิชาการ และกรมการศึกษาพิเศษ เพื่อให้การทำงานมีความชัดเจน และการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ มีความคล่องตัว หากมีปัญหาเกี่ยวข้องกับแต่ละกรมเกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขได้ทันที ไม่ต้องรอให้เป็นอำนาจของเลขาธิการ กพฐ.อย่างทุกวันนี้ การเสนอปรับโครงสร้างภายใน สพฐ.ครั้งนี้ ไม่ถือเป็นการเพิ่มภาระเรื่องงบประมาณ เพราะไม่ได้เพิ่มบุคลากร หรือต้องจัดสรรงบเพิ่มขึ้น เพียงแต่กระจายงาน และผู้ที่จะมาทำหน้าที่กำกับดูแลการทำงานของแต่ละกรม คือรองเลขาธิการ กพฐ. ไม่ได้เพิ่มตำแหน่งใดๆ ส่วนเลขาธิการ กพฐ.จะดูภาพรวมเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาต่างๆ ทั้งการพัฒนาครู บุคลากร รวมถึงงบประมาณ จะได้มีเวลาคิดการทำงานเดินไปข้างหน้า ไม่ใช่จัดการปัญหารายวันเช่นทุกวันนี้

ค้านไอเดียผู้ตรวจชงยุบสพฐ.
นายกมลกล่าวว่า กรณีสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอโมเดลโครงสร้าง ศธ.ภายหลังการปฏิรูป ให้เน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและสถานศึกษา โดยคงสำนักงานปลัด ศธ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แต่ให้ยุบ สพฐ.โดยตั้งเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาปฐมวัย และประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการมัธยมศึกษา และตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ขึ้น รวมทั้งยุบสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และจัดตั้งสำนักงานสภานโยบายและพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ให้มีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองอิสระ ภายในการกำกับดูแลของสภานโยบายฯนั้น ไม่แน่ใจว่าสำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดินใช้อำนาจใดมานำเสนอ และจะเสนอใครพิจารณา ที่ผ่านมาแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาจะมาจาก 2 ส่วนหลักๆ คือสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีแนวคิดให้จัดตั้งซุปเปอร์บอร์ดเข้ามากำกับดูแลด้านการศึกษาในภาพรวม ส่วนเรื่องโครงสร้าง ทาง สปช.ยังไม่ได้ดำเนินการ เข้าใจว่าให้ ศธ.ไปทบทวน โดยดูความเหมาะสมในเรื่องของการทำงานให้มีความคล่องตัว โดยที่ผ่านมาคณะกรรมการอำนวยการก็มีมติเห็นชอบจะโอนย้าย สกศ.ให้ไปขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนองค์กรหลักอื่นๆ ก็ขอให้ปรับในเรื่องการทำงานให้คล่องตัว เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มี นโยบายว่าช่วงนี้ยังไม่อยากให้แต่ละกระทรวงเดินหน้าเรื่องการปรับโครงสร้าง อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะนำความคิดเห็น รวมถึงข้อเสนอจากหลายๆ ภาคส่วนมาพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อสรุป และสามารถพัฒนางานด้านการศึกษาได้อย่างแท้จริง

ผอ.ร.ร.สุโขทัยเห็นด้วยยุบสพฐ.
นายธีรศักดิ์ คงเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จ.สุโขทัย กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วย และสนับสนุนให้แยกการบริหารจัดการการศึกษาระดับปฐมวัย และประถมศึกษา และมัธยมศึกษาออกจาก สพฐ. โดยยกขึ้นมาเป็น 2 แท่ง ตามที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอ ไม่มองว่าเป็นการถอยหลังเข้าคลอง ตรงกันข้ามเชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ดี ก่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ลดปัญหาความอุ้ยอ้าย ความเทอะทะ และทำให้จัดการศึกษาเฉพาะกลุ่ม และเฉพาะทางมากขึ้น ส่วนจะทำให้การศึกษาพัฒนาแบบก้าวกระโดดหรือไม่นั้น เชื่อว่าการมีซุปเปอร์บอร์ดโดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเอง หากวางนโยบายดีๆ จะทำให้การศึกษาก้าวกระโดดได้ เนื่องจากการพัฒนาการศึกษา จะต้องเชื่อมโยงกับหลายกระทรวงที่ต้องมาบูรณาการการทำงานร่วมกัน การมี นายกฯมานั่งเป็นประธาน จะทำให้กระทรวงต่างๆ ทำงานร่วมกับ ศธ.ดีขึ้น แต่ไม่เห็นด้วยที่จะรวบอำนาจ หรือรวมศูนย์ด้านการบริหารงานบุคคลไว้ที่ซุปเปอร์บอร์ด โดยซุปเปอร์บอร์ดควรคุมเฉพาะนโยบายเท่านั้น แต่ไม่ควรดูแลเรื่องการบริหารงานบุคคล จะทำให้ขาดความคล่องตัว

ผอ.สพม.เขต1หนุนซุปเปอร์บอร์ด
ว่าที่ร้อยตรี อานนท์ สุขภาคกิจ ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 1 กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการผ่าทางตันปัญหาของ ศธ. เนื่องจาก ศธ.เป็นกระทรวงใหญ่ ประกอบด้วยข้าราชการกว่า 5 แสนคน มีหลายประเภท ทั้งนักบริหารระดับสูง นักบริหารระดับต้น เป็นข้าราชการพลเรือน ขณะที่ระดับโรงเรียน มีข้าราชการครู พนักงานราชการและลูกจ้าง ดังนั้น การแยกออกเป็นแท่งต่างๆ ทั้งระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา พร้อมกับมีซุปเปอร์บอร์ดด้านการศึกษาโดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ก็น่าจะช่วยสร้างเอกภาพทางด้านการจัดการศึกษาได้ โดยส่วนตัวเห็นด้วยให้ซุปเปอร์บอร์ดดูแลเรื่องนโยบายการศึกษา แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้ดูแลเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย เนื่องจากซุปเปอร์บอร์ดอาจจะแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญไม่เหมาะสมกับภารกิจของแต่ละองค์กรหลักได้ ส่วนปัญหาการวิ่งเต้นโยกย้ายที่หลายฝ่ายหวั่นว่าอาจจะวิ่งเข้าหาซุปเปอร์บอร์ดชุดนั้น คนที่ได้รับการแต่งตั้งมาเป็นซุปเปอร์บอร์ด คงต้องผ่านการคัดสรรแล้วว่าเป็นคนดี ห่วงเรื่องการ แต่งตั้ง อาจได้บุคคลไม่เหมาะสมกับงานมากกว่า คงต้องขอศึกษารายละเอียดขององค์ประกอบ และที่มาของซุปเปอร์บอร์ดก่อน

เลขาฯกศน.พร้อมขึ้นเป็นกรม
นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการ กศน. กล่าวว่า ยังไม่ทราบข้อเสนอของสำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่การปรับโครงสร้างต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ใหญ่ หากเห็นว่าควรยกฐานะ กศน.ให้เป็นองค์กรหลักของ ศธ.ก็พร้อมจะทำงาน ที่ผ่านมาในส่วนของสำนักงานปลัด (สป.) ได้หารือถึงการปรับการบริหารจัดการภายใน เพื่อให้การทำงานในแต่ละหน่วยงานมีความคล่องตัว เบื้องต้นขอปรับเปลี่ยน 3 หน่วยงาน คือ กศน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มาเป็นกรมที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ทั้งวิชาการ งบและบุคลากร ได้จบภายในตัวเอง สป.ได้มอบหมายให้ทั้ง 3 หน่วยงานไปยกร่างกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานตามที่เสนอ โดยมีทีมกฎหมายของรัฐมนตรีว่าการ ศธ.คอยดูแลให้คำปรึกษา ก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปฯ เชื่อว่าหากทุกฝ่ายให้ความเห็นชอบ จะทำให้การบริหารงานมีความคล่องตัว แต่ละหน่วยงานสามารถขับเคลื่อนงานการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น

‘สิริกร’ชงฟื้นกรมวิชาการ
นางสิริกร มณีรินทร์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ ในคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ศธ. กล่าวว่า คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้เตรียมเสนอคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาวันที่ 18 มีนาคม ให้ฟื้นกรมวิชาการขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากถูกยุบไปเป็นหน่วยงานภายใต้ สพฐ. ทำให้ไม่สามารถบริหารงานการจัดการหลักสูตรไปได้ครบวงจร ไม่สามารถดูแลเรื่องวิชาการและหลักสูตรให้สถานศึกษาสังกัดอื่นๆ นอกจาก สพฐ.ได้ ปี 2549 มีฐานะเป็นกรม ดูแลเรื่องวิชาการหลักสูตรในภาพรวมของทั้งประเทศ มีบุคลากรกว่า 200 คน แต่หลังใช้โครงสร้างใหม่ถูกยุบเป็นสำนักภายใต้ สพฐ. มีบุคลากร 160 คน แต่มีบุคลากรทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาหลักสูตรโดยตรงแค่ 8 คน ไม่เพียงพอจะจัดระบบบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสากล โดยปกติจะครอบคลุมงาน 4 ด้านหลัก คือ วิจัยและพัฒนาหลักสูตร พัฒนาครูประจำการให้พร้อมสำหรับหลักสูตร ศึกษาวิจัยติดตามผลนำหลักสูตรไปใช้ และสร้างแบบทดสอบขึ้นมาประเมินผลหลักสูตร ทุกวันนี้บ้านเราทำแค่เรื่องเขียนหลักสูตรเป็นหลักเท่านั้น เพราะกรมวิชาการหายไป

“จะเสนอโยกกรมวิชาการไปขึ้นอยู่กับสถาบันวิจัยระบบการศึกษา เป็น 1 ใน 3 ขององค์กรใหม่ตามรัฐธรรมนูญคือ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือซุปเปอร์บอร์ด สำนักงานหลักประกันการศึกษาแห่งชาติ (สปสช.ด้านการศึกษา) และสถาบันวิจัยฯ เมื่อกรมวิชาการไปอยู่ภายใต้กำกับของสถาบันวิจัยการศึกษาแล้ว จะทำให้การดูแลเรื่องหลักสูตรครบวงจรทั้งการพัฒนา วิจัยและประเมินผลของหลักสูตร ความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาคือการยุบกรมวิชาการ เป็นเพียงสำนักใน สพฐ. ไม่มีบทบาท อำนาจหน้าที่จะไปดูแลโรงเรียนอื่นๆ นอกสังกัด สพฐ.ได้ พอขาดวงจรตรงนี้ทำให้การปฏิรูปการเรียนรู้ไม่อาจเกิดผลที่โรงเรียนได้ นอกจากนั้นยังเตรียมเสนอปรับแก้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยเฉพาะหมวด 4 มาตรา 2 โยกอำนาจหน้าที่ในการกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานออกจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ไปอยู่ในการดูแลของซุปเปอร์บอร์ดและสถาบันวิจัยการศึกษาด้วย เพื่อจะได้ดูแลงานวิชาการของทั้งประเทศ” นางสิริกรกล่าว

ที่มา : moe

ศธ.ชง’อังกฤษ’ภาษาที่ 2 เพิ่มชั่วโมงเรียนดึงบริติชเคานซิลวางระบบใหม่ส่งครูช่วยสอน

Print Friendly

รมว.ศธ.เห็นชอบในหลักการประกาศนโยบายตั้งภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 เล็งดึงบริติช เคานซิล วางระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษใหม่ รวมทั้งเพิ่มชั่วโมงเรียน จัดค่ายฝึกฟังพูด 800 ค่ายทั่วประเทศ

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำลังเตรียมเสนอ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ให้ประกาศนโยบายเรื่องการนำภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 ในการศึกษา เพราะทุกวันนี้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่มีความสำคัญมาก ซึ่งหากมองในหลักการแล้ว การที่ สพฐ.เสนอเช่นนี้เพื่อแสดงถึงความต้องการที่จะจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง และตนได้มีการเสนอหลักการในที่ประชุมองค์กรหลักของ ศธ.ที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้แล้ว ทาง รมว.ศธ.ก็เห็นชอบในหลักการ จากนั้นทาง

สพฐ.จะต้องจัดทำรูปแบบพัฒนาการเรียนการสอน คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน เพื่อเสนอต่อ รมว.ศธ.อีกครั้ง เพราะ สพฐ.ถือว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ ในอนาคตประเทศไทยจะต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษ อาทิ เอกสารราชการต่างๆ หรือตามป้ายรถเมล์ ป้ายจราจร ควบคู่กันไปกับภาษาไทย และทาง ศธ.เองกำลังดำเนินการหารือกับกระทรวงศึกษาธิการของประเทศอังกฤษ เพื่อที่จะเชิญสถาบันบริติช เคานซิล ของประเทศอังกฤษมาวางระบบหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของประเทศไทยใหม่ และทางบริติช เคานซิล จะส่งครูต่างชาติมาช่วยสอนในไทย ซึ่งจะเป็นครูอาสาสมัครที่มาจากหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เป็นต้น และยังมีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยของบริติช เคานซิล ตามมาด้วย

“แน่นอนว่าหลังจากนี้สิ่งที่จะต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอนคือ เรื่องของหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่านอกจากเรื่องเหล่านี้แล้ว เราจำเป็นที่จะต้องสร้างบรรยากาศให้สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กมีภาษาอังกฤษเข้ามาเป็นส่วนประกอบ เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของเด็ก และคงจะต้องมีการเพิ่มชั่วโมงของการเรียนภาษาอังกฤษด้วย ต้องยอมรับว่าภาษาอังกฤษไม่ได้ยาก ต้องมีการฝึกฝนและนำมาใช้เพื่อที่จะได้เกิดความจำและความเข้าใจ แต่จะเพิ่มมากน้อยเพียงใดนั้นจะต้องมีการทำวิจัยถึงความเหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงชั้นด้วย” เลขาฯ กพฐ.กล่าว

นายกมลกล่าวต่อว่า ในตอนนี้ สพฐ.เองก็ได้ดำเนินการเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาอังกฤษควบคู่กันไปด้วยคือ การปรับการเรียนการสอนที่เน้นหลักไวยากรณ์เพียงอย่างเดียว เป็นการเพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทั้งยังเสริมด้วยสื่อการเรียนการสอนต่างๆ ที่สอดรับกับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีการจัดสรรงบเพื่อจ้างครูต่างชาติเข้ามาสอนในวิชาภาษาอังกฤษด้วย และ สพฐ.ยังนำกรอบของ Common European Framework of Reference for Languages หรือ CEFR มาใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอนที่จะเน้นการสื่อสาร ด้านการฟัง พูด เป็นหลัก ซึ่งเมื่อจบการเรียนการสอนก็จะต้องมีการทดสอบระดับความสามารถของเด็ก และเด็กสามารถนำผลการทดสอบนี้ใช้ประกอบการเข้าศึกษาต่อในต่างประเทศได้

“นอกจากจะเน้นเรื่องระบบการเรียนการสอนแล้ว สพฐ.เองยังมีการจัดกิจกรรมพิเศษ อาทิ การเปิดห้องเรียนพิเศษที่เน้นภาษาอังกฤษเฉพาะ อย่างห้อง English Program และจัดค่ายภาษาอังกฤษกว่า 800 ค่ายทั่วประเทศ เพื่อที่จะฝึกเด็กให้มีการหัดพูดและใช้ภาษาอังกฤษเป็นเวลา 3 อาทิตย์ และยังมีการจัดการประกวดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ รวมถึงการอบรมครู ส่งครูและเด็กไปศึกษางานที่ต่างประเทศด้วย” เลขาฯ กพฐ.กล่าว

ที่มา : moe

ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษา

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

คลอดแล้วสำหรับร่างยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ ที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พร้อมส่งให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้พิจารณา เพื่อขอรับฟังความคิดเห็นทั่วไปก่อนไปจัดทำรายละเอียดขอความเห็นชอบต่อไป โดยหัวใจสำคัญของร่างเน้น 3 ประเด็นหลัก คือ

  1. ปฏิรูประบบบริหารกระจายอำนาจสู่พื้นที่ท้องถิ่น มีเครือข่ายสมัชชาร่วมจัดการศึกษา
  2. ปฏิรูประบบกระจายงบประมาณสู่ผู้เรียนและสถานศึกษาโดยตรง พร้อมมีระบบประกันโอกาสการศึกษา
  3. ปฏิรูปหลักสูตรกระบวนการการเรียนรู้จากชีวิตจริงและตามบริบทของพื้นที่ พัฒนาคุณภาพครู เห็นกันอย่างนี้แล้วชาวอุดมศึกษาคิดเห็นเช่นไร

เริ่มที่น้องมิ้นต์ หรือ มนัสนันท์ มาก้อน นักศึกษาชั้นปี ที่ 2 คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า คาดหวังต่อการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้มาก ซึ่งหากทำได้จริงจะสร้างประโยชน์ให้แก่การศึกษาไทย โดยเฉพาะหลักสูตรการเรียนการสอน ที่มีความจำเป็นจะต้องให้นักเรียน นักศึกษา ได้ปฏิบัติจริงมากขึ้น และผู้เรียนต้องนำมาใช้ประกอบอาชีพได้ด้วย เชื่อว่าหลายหลักสูตรการศึกษาในประเทศไทยเป็นหลักสูตรที่ดี แต่หากปรับให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก็จะทำให้เด็กไทยมีศักยภาพมากขึ้นและแข่งขันในเวทีโลกได้ด้วย
อำนาจ มงคลสืบสกุล หรือ ต้า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ บอกว่า  การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ ถือว่าเป็นการปรับใหญ่ทั้งระบบและเป็นเรื่องยาก แต่ก็จำเป็นต้องทำ โดยเฉพาะการ กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ที่สำคัญควรมีการวางมาตรฐานให้มหาวิทยาลัยไทยทั่วประเทศมีคุณภาพ เท่าเทียมกัน ไม่แบ่งว่านี่มหาวิทยาลัยราชภัฏ นี่จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำนี้ได้ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จะทำให้เด็กรุ่นใหม่ ได้อยู่กับท้องถิ่นไม่ต้องเข้ามาเรียนในเมืองหลวงเท่านั้น

ผศ.ประทีป หมวกสกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ บอกว่า เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยเฉพาะการกระจายอำนาจสู่พื้นที่ โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หากให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ร่วมกันกำหนดหลักสูตรให้บุตรหลานของเขา จะเกิดประโยชน์มาก เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังขาดความเชื่อมั่นในระบบการศึกษาของรัฐที่มีเพียงหลักสูตรเดียว จึงนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนโรงเรียนสอนศาสนา เพราะตรงกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ อย่างไรก็ตามหากปฏิรูปการศึกษาได้จริง เชื่อว่าคนในพื้นที่จะเชื่อมั่นในระบบการศึกษาของทางราชการมากขึ้นแน่นอน

ที่มา : moe

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ชงเปิดสอบครูผู้ช่วย(สอศ.) คัดจากคนใน 100%

Print Friendly

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เปิดให้ข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัด สอศ. ยื่นคำร้องขอย้ายสถานศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1- 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่า มีข้าราชการครูขอย้ายทั้งหมด 800 คน มีตำแหน่งว่าง 243 อัตรา ส่วนตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษานั้น อยู่ระหว่างเปิดให้ยื่นแสดงความจำนงขอย้าย โดยมีสถานศึกษาที่มีตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาว่างอยู่ 21 วิทยาลัย ซึ่งรอบนี้ สอศ. จะพิจารณาโดยยึดประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก โดยจะเรียกตามลำดับบัญชีผู้สอบผอ.สถานศึกษา จะพิจารณาโยกย้ายตำแหน่งรอง ผอ.สถานศึกษา ซึ่งว่างอยู่ 81 อัตรา ซึ่งจะเรียกจากบัญชีผู้สอบผ่าน ทั้งนี้ สอศ. จะดำเนินการโยกย้ายตำแหน่ง ผอ.สถานศึกษา และรอง ผอ.สถานศึกษา ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

“ครูสังกัด สอศ. ที่ขอย้าย ส่วนใหญ่จะขอย้ายกลับไปภูมิลำเนา แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ สอศ. กำหนด คือ ต้องได้รับการบรรจุเป็นครูสังกัด สอศ. แล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และวิทยาลัยที่ขอย้ายต้องมีอัตราว่างรองรับ ซึ่งหากวิทยาลัยที่ขอย้ายไม่มีอัตรารอบรับก็สามารถขอย้ายได้ในรอบถัดไป ส่วนอัตราว่างที่เหลือสอศ. จะเปิดสอบสอบคัดเลือกบุคลากรเข้ารับราชการตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สอศ. ” เลขาธิการ กอศ. กล่าว

นายชัยพฤกษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการสอบครูผู้ช่วย สังกัด สอศ. ประจำปี 2558 นี้ สอศ. จะเสนอต่อคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ขอเปิดสอบบรรจุกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ว 16, 17 ทั้งหมด 100% โดยไม่เปิดสอบกรณีทั่วไป เนื่องจากวิทยาลัยในสังกัด สอศ. แทบทุกแห่งมีบุคคลกรที่ปฏิบัติหน้าที่สอน ซึ่งมีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญในการสอนสายอาชีพอยู่แล้ว ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน ดังนั้น จึงอยากเปิดโอกาสให้กลุ่มนี้ก่อน โดยคาดว่าจะสามารถรับสมัครได้ภายในเดือนเมษายน และสิ้นสุดกระบวนการบรรจุก่อนเปิดภาคการศึกษา 2558

ที่มา : ผู้จัดการ

ชงปรับโฉมเขตพื้นที่ฯ “จิ๋วแต่แจ๋ว”

สพฐ

Print Friendly

นายจำเริญ พรหมมาศ นายกสมาคมรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ประเทศไทย) เปิดเผยว่า จากการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การบริการทางการศึกษาที่ใกล้ชิดประชาชน เมื่อกลางเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เสนอขยายเขตพื้นที่การศึกษาในรูปแบบจิ๋วแต่แจ๋วใกล้ชิดประชาชน และจัดส่งแบบสอบถามเรื่องดังกล่าวไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 25 ก.พ.- 15 มี.ค.ที่ผ่านมา พบว่า

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลกระทบการจัดการศึกษาในปัจจุบันส่วนใหญ่ เห็นว่าสภาพเขตพื้นที่การศึกษาในปัจจุบันห่างไกลประชาชน ขาดความใกล้ชิดสถานศึกษาควรมีการยุบเลิกและเพิ่มสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)ให้เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีขนาดเล็กลง โดยใช้การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นฐานในการจัดการการศึกษาระดับจังหวัดและอำเภอ และ ควรเพิ่มสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.)ให้เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีขนาดเล็กลง โดยใช้การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นฐานในการจัดการการศึกษาระดับจังหวัด

“ในการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่นี้ สมาคมฯ เห็นว่าโครงสร้างใหม่ ในระดับพื้นที่ฯ ควรมี สพป.จังหวัด สพป.อำเภอ ที่ดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา และ มี สพม.จังหวัดที่ดูแลระดับมัธยมศึกษา นอกจากนี้ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ควรเพิ่มสำนักนิเทศการศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนกลาง และสำนักนิเทศการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัด เพื่อดูแลงานวิชาการสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานทุกสังกัด” นายจำเริญ กล่าวและว่า ทั้งนี้ตนได้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวต่อ รมว.ศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ด้วย

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ชงกฏหมายซุปเปอร์บอร์ด

ปฏิรูป นโยบายของการศึกษาไทย

Print Friendly

ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯได้เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งชาติ หรือ ซุปเปอร์บอร์ด ต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ โดยจะมีด้วยกัน 2 ร่าง คือ ร่างคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายฯ และร่างของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ที่จัดทำขึ้นตามแนวทางของสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ซึ่งทั้ง 2 ฉบับจะแตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบองค์กร โดยร่างของคณะอนุกรรมการฯเสนอให้ซุปเปอร์บอร์ดเป็นหน่วยงานอิสระ ไม่เป็นส่วนราชการ แต่อยู่ในกำกับของนายกรัฐมนตรี ขณะที่ร่างของ สกศ.ให้เป็นส่วนราชการระดับกรมอยู่ในบังคับบัญชาของนายกฯ ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบ มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน จึงต้องเสนอให้คณะอำนวยการปฏิรูปการศึกษาเป็นผู้ตัดสินใจ 

ด้าน ดร.สิริกร มณีรินทร์ กรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าฐานะของซุปเปอร์บอร์ด ควรเป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่เป็นส่วนราชการ  เพื่อให้เป็นอิสระ ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ นอกจากนี้เห็นว่าควรสรรหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากทุกกระทรวงมาเป็นกรรมการ เพื่อให้การทำงานของซุปเปอร์บอร์ดมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากระบบราชการทั่วไป  มิฉะนั้นจะไม่สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

คุรุสภาจับมือทรูพัฒนาแอพพลิเคชั่น “PuenKru”

คุรุสภา

Print Friendly

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ร่วมกับบริษัท ทรูคอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตครู เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 โดยมีวัตถุประสงค์จะร่วมมือกัน เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยกำหนดระยะเวลาความร่วมมือตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บริษัท ทรูคอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการโครงการเพื่อ(น)ครู ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ร่วมกับบริษัท ทรูคอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน)ดังกล่าว เพื่อมอบสิทธิพิเศษสำหรับครู หรือบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นสมาชิกคุรุสภา และผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา โดยจัดกิจกรรม/สิทธิพิเศษของโครงการเพื่อ(น)ครู ประกอบด้วย

  1. สิทธิพิเศษจากโครงการเพื่อ(น)ครู
    มอบสิทธิพิเศษอีกมากมาย ที่เป็นประโยชน์กับครูและบุคลากรทีมีอยู่ทั่วประเทศภายใต้โครงการเพื่อ(น)ครู อาทิ การคัดเลือกครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเข้าร่วมการอบรมและสัมมนาของคุรุสภาร่วมกับบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) การมอบสิทธิพิเศษแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆของของบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้แก่ โปรโมชั่นเคเบิลทีวีราคาพิเศษ เครื่องโทรศัพท์/มือถือราคาพิเศษ เป็นต้น
  2. แอพพลิเคชั่น PuenKru
    เป็นสื่อสังคมออนไลน์ระดับประเทศที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นสมาชิกของคุรุสภา รวมถึงผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารรูปแบบใหม่ไปยังสมาชิกในกลุ่มการศึกษาด้วยกัน พร้อมเป็นแหล่งความรู้และช่องทางในการรับข่าวสารด้านต่างๆ จากคุรุสภาและอื่นๆ รวมทั้ง การแนะนำเทคนิคการเรียนการสอน โดยแชร์ภาพถ่ายหรือวีดีโอที่ประทับใจและรับชมรายการทีวี หรือเพลงที่ชื่นชอบ
  3. ร้านเพื่อ(น)ครู by True
    เปิดเพื่อให้บริการรับสมัครสิทธิพิเศษสำหรับครู หรือบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นสมาชิกคุรุสภา และผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ตามโครงการเพื่อ(น)ครู ประกอบด้วย
    1) true coffee ราคาพิเศษ
    2) true visions ราคาพิเศษ
    3) truemove H โปรโมชั่นพิเศษ /Smart device ราคาพิเศษ

>> Google play << >> App Store <<

ที่มา : คุรุสภา

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โรงเรียนบ้านด่าน (ราษฎรบำรุง) – ครูระยอง

Print Friendly

โรงเรียนบ้านด่าน (ราษฎรบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการ เอกคอมพิวเตอร์
วันที่รับสมัคร : 17-20 มีนาคม 2558

สั่งปรับลดกิจกรรม นร.หลังพบเบียดเวลาเรียน 82 วันจาก 200 วัน

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมปรับลดกิจกรรมนักเรียนลง หลังมีผลศึกษาพบว่า เวลาเรียนซึ่งมีอยู่ปีละ 200 วันนั้น นักเรียนต้องไปทำกิจกรรมอื่นๆ ถึง 82 วัน เพราะแต่ละปีมีกิจกรรมมจากหน่วยงานต่างๆ ให้นักเรียนร่วมถึง 67 กิจกรรม อย่างไรก็ตาม โดยหลักวิชาการแล้ว นักเรียนไม่ควรใช้เวลาเรียนไปทำกิจกรรมอื่นๆ เกินร้อยละ 10 ของเวลาเรียนทั้งหมด หรือ คิดเป็น 40 วัน และนี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลการเรียนของเด็กไม่สูงตามที่เราตาดหวัง สพฐ. จึงต้องการลดทอนกิจกรรมเหล่านี้ลงเพื่อคืนเวลาเรียนให้เด็ก

สำหรับกิจกรรมที่นักเรียนต้องเข้าร่วมในแต่ละปีนั้น จะแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ

  • ประเภทแรก เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับนักเรียนโดยตรงหรือเกี่ยวข้องกับวิชาเรียน อาทิ กิจกรรมสร้างเสริมสุขอนามัย รณรงค์ส่งเสริมคุณธรรม กิจกรรมปลูกป่าพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ค่ายวิทยาศาสตร์
  • ประเภทที่ 2 เป็นกิจกรรมช่วยงานหน่วยงานภายนอก เช่น รณรงค์เลือกตั้ง กิจกรรมประจำปีของจังหวัด ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเรียนของเด็ก หรือการเกณฑ์เด็กไปร่วมกิจกรรมการจัดงานต่างๆ เพราะให้ดูเหมือนมีคนไปร่วมงานจำนวนมาก
  • ประเภทที่ 3 เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการประเมินต่างๆ ซึ่งกำหนดไว้ว่า จะใช้เวลาไม่เกิน 9 วัน แต่ในทางปฏิบัติต้องมีการเตรียมความพร้อมรับการประเมินเป็นเดือน กระทบต่อเวลาเรียนของเด็ก

“ปลายเดือน มี.ค. นี้ สพฐ. จะเชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้ง 67 โครงการ มาประชุมหารือร่วมกัน เพื่อหาทางปรับลดเวลาการทำกิจกรรมเหล่านี้ให้เหลือไม่เกิน ร้อยละ 10 เพื่อที่เด็กจะได้มีเวลาเรียนเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่ว่า สพฐ. จะเลิกกิจกรรมเหล่านี้ทั้งหมด เพราะส่วนใหญ่ก็เป็นกิจกรรมที่ดี แค่จัดระบบใหม่ แบ่งหมวดหมู่ให้ชัด เช่น หมวดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ หมวดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม แล้วบูรณาการกิจกรรมประเภทเดียวกันจากหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ถ้าทำอย่างนี้จะช่วยลดเวลาทำกิจกรรมไปได้มาก แต่ทุกวันนี้หน่วยงานเจ้าของกิจกรรมไม่ค่อยคุยกัน ต่างคนต่างมา อาทิ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หน่วยงานภายในมีกิจกรรมที่หลากหลายมาก ถ้าเป็นไปได้อยากให้บูรณาการกิจกรรมเข้าด้วยกัน หรือกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ก็มีโครงการทำนองนี้จากหลายหน่วยงาน ทั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ตรวจการรัฐสภา ทุกหน่วยงานก็อยากเอาเด็กเป็นเป้าหมาย แต่ไม่ได้นึกว่าจะทำให้เด็กเสียเวลาเรียน ซึ่งจริงๆ ทุกกิจกรรมก็พาเด็กไปทำเรื่องดีๆ แต่ถ้ามากเกินไปก็ทำให้เด็กเสียเวลาเรียน” นายกมล กล่าวและว่า กิจกรรมบางประเภท เช่น การแข่งกีฬา อาจจะให้จัดในช่วงปิดภาคเรียนแทน ที่สำคัญในช่วงเดือนที่นักเรียนสอบ จะไม่ให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ทั้งสิ้น

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre