การบริหารงานบุคคลของบุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค.(2) – ครูระยอง

Print Friendly

พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 4/2558 เมื่อวันพุธที่ 8 เมษายน 2558 ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการบริหารงานบุคคลของบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) จำนวน 3 ฉบับ

1. ร่างหลักเกณฑ์ฯ และวิธีการการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าในการจัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ เพื่อใช้ในการสรรหาบุคลากรทางการศึกษาอื่นในหน่วยงานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ โดยคำนึงถึงการให้โอกาสแก่ผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา การรณรงค์ให้คนเก่งและคนดีได้มีโอกาสสมัครสอบ ส่วนราชการได้บรรจุบุคคลตรงตามความต้องการ มีสาระสำคัญดังนี้

ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสอบ หรือรวมเขตพื้นที่การศึกษาในภูมิภาคเดียวกัน โดยระบุเขตพื้นที่การศึกษา แล้วมอบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาใดเขตหนึ่ง เป็นผู้จัดสอบทั้งภาค ก ภาค ข และภาค ค หรือ จะจัดสอบเฉพาะ ภาค ข และภาค ค โดยเปิดรับสมัครจากผู้สอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. ก็ได้

สำหรับหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน ได้กำหนดไว้ ดังนี้

  • ภาค ก ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (200 คะแนน) ได้แก่ วิชาความสามารถทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  • ภาค ข ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (200 คะแนน)
  • ภาค ค ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (100 คะแนน)

ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. จะนำ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว ให้ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญที่เกี่ยวข้อง และ ก.ค.ศ. ได้พิจารณาต่อไป

2. ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการฯ นิติกร ให้ได้รับเงินเพิ่ม พ.ต.ก.

สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกฯ บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) สายงานนิติการ กรณีรับโอนหรือย้ายจากข้าราชการประเภทอื่น ซึ่งเคยได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งนิติกร ตามกฎหมาย ระเบียบอื่นอยู่เดิม ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) โดยคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ที่ยื่นคำขอรับการคัดเลือก 5 ประการ มีดังนี้

  • เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ที่รับโอนหรือย้ายจากข้าราชการประเภทอื่น และเคยได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งนิติกรตามกฎหมาย ระเบียบอื่นอยู่เดิม
  • ได้รับประกาศนียบัตรการอบรมหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่า
  • ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ จากหน่วยงานอยู่ก่อนโอนหรือย้าย
  • เป็นผู้ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถตามประกาศ ก.ค.ศ. และมีผลงาน/ผลสำเร็จของงานด้านกฎหมายดีเด่น หรือการปรับปรุง/พัฒนางานด้านกฎหมายที่สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบในปัจจุบัน
  • เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย ขณะดำรงตำแหน่งในหน่วยงานการศึกษาปัจจุบัน ตามมาตรฐานตำแหน่งนิติการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของงานที่ได้รับมอบหมายทั้งหมด

ทั้งนี้ ให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ จำนวน 3 คน โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานด้านกฎหมายหรือด้านบริหารงานบุคคลเป็นประธาน โดยมีผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น และผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล เป็นกรรมการ

3. ร่างกฎ ก.ค.ศ. ในการจัดประเภทตำแหน่งของข้าราชการฯ ใน 19 สถาบันการอาชีวศึกษา

ที่ประชุมรับทราบ สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รายงานการจัดทำ (ร่าง) กฎ ก.ค.ศ. การจัดประเภทตำแหน่ง ระดับตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. และ (ร่าง) มาตรฐานตำแหน่งฯ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ สำหรับการกำหนดตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ตามโครงสร้างของสถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 19 แห่ง ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ขณะนี้ได้นำไปพิจารณากลั่นกรอง เพื่อนำเสนอให้ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญที่เกี่ยวข้อง และ ก.ค.ศ. ได้พิจารณาต่อไป

ที่มา : moe

วธ.หนุนประชาชนเรียนรู้วัฒนธรรมอาเซียน – ครูระยอง


วธ.หนุนประชาชนเรียนรู้วัฒนธรรมอาเซียน

อาเซียน

Print Friendly

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวตอนหนึ่งในพิธีเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ”ความเชื่อ ศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ในอาเซียน”จัดโดยกรมการศาสนา(ศน.)ว่า ปลายปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยเฉพาะเรื่องศิลปวัฒนธรรมอาเซียนที่มีความหลากหลาย แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันในอัตลักษณ์ เช่น ศิลปะการแสดงรามเกียรติ์ วัฒนธรรมข้าว ประเพณีสงกรานต์ หนังตะลุง หนังใหญ่ ภาษาไทย เป็นต้น


” ประวัติศาสตร์ไทยมีความสง่างามมาก เห็นได้จากมีพัฒนาการด้านการพัฒนาประเทศ และศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องในทุกยุคทุกสมัย ขณะที่ประเทศอื่นๆในอาเซียนก็มีพัฒนาการด้านศิลปวัฒนธรรมเช่นกัน ตนเชื่อว่าวัฒนธรรมและศาสนาเป็นสิ่งที่จะเชื่อมร้อยประชาคมอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ด้งนั้นถึงเวลาแล้วที่เราต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงแบบไร้พรหมแดนใน10ประเทศอาเซียน โดยประชาชนต้องมีความเข้าใจในเรื่องศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และการดำเนินวิถีชีวิตของประเทศต่างๆ อย่างดี ขณะเดียวกันเราต้องรักษาไว้ซึ่งสิ่งดีงามในศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างเหนียวแน่นต่อไป” รมว.วัฒนธรรม กล่าว

ด้าน พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ในยุคนี้เป็นยุคที่มีการต่อสู้กัน ซึ่งเป็นการต่อสู้โดยใช้สังคมนิยมมีเรื่องวัฒนธรรมและศาสนาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยมีเครื่องมีขับเคลื่อนที่สำคัญคือ โซเชียลต่างๆ เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ก เป็นต้น ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วและน่าตื่นตระหนก เพราะสังคมไทยมีคนเล่นสื่อโซเชียลมากถึง 2ใน3ของจำนวนประชากร ถ้าหากไม่มีการเรียนรู้รากฐานชีวิตศิลปวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียนที่ดีแล้วอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตได้

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ประกาศผลสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2/2558 แล้ว

Print Friendly

รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ สทศ. ได้จัดการทดสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ หรือ PAT ครั้งที่ 2/2558 สอบเมื่อวันที่ 7 – 10 มีนาคม 2558 นั้น ขณะนี้ สทศ. ได้ทำการประมวลผล และประกาศผลสอบเรียบร้อยแล้วผ่านทาง www.niets.or.th ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิม คือ วันที่ 10 เมษายน ทั้งนี้ สทศ. ได้วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน คะแนนสอบดังนี้

GAT ผู้เข้าสอบ 147,560 คน

  • คะแนนเต็ม 300 คะแนน เฉลี่ย 147.72 คะแนน
  • ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 295 คะแนน

GAT ตอน 1 ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ผู้เข้าสอบ 147,483 คน

  • คะแนนเต็ม 150 เฉลี่ย 96 คะแนน
  • ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 150 คะแนน

GAT ตอน 2 ความถนัดด้านภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 147,554 คน

  • คะแนนเต็ม 150 เฉลี่ย 51.78 คะแนน
  • ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 150 คะแนน

PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 1.1,695 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 55.34 คะแนน
  • ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 300 คะแนน

PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 87,541 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 104.72 คะแนน
  • ต่ำสุด 6 คะแนน สูงสุด 237 คะแนน

PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 23,957 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 98.84 คะแนน
  • ต่ำสุด 8 คะแนน สูงสุด 266 คะแนน

PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 5,935 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 104.41 คะแนน
  • ต่ำสุด 9 คะแนน สูงสุด 262 คะแนน

PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู ผู้เข้าสอบ 54,857 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 154.96 คะแนน
  • ต่ำสุด 27.50 คะแนน สูงสุด 257.50 คะแนน

PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 5,773 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 141.11 คะแนน
  • ต่ำสุด 42.00 คะแนน สูงสุด 246.50 คะแนน

PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส ผู้เข้าสอบ 5,704

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 91.88 คะแนน
  • ต่ำสุด 21 คะแนน สูงสุด 291 คะแนน

PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน ผู้เข้าสอบ 2,383 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 85.05 คะแนน
  • ต่ำสุด 36 คะแนน สูงสุด 270คะแนน

PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น ผู้เข้าสอบ 3,954 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 100.43 คะแนน
  • ต่ำสุด 30 คะแนน สูงสุด 294 คะแนน

PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน ผู้เข้าสอบ 6,593 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 87.70 คะแนน
  • ต่ำสุด 33 คะแนน สูงสุด 288 คะแนน

PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ ผู้เข้าสอบ 415 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 88.37 คะแนน
  • ต่ำสุด 48 คะแนน สูงสุด 276 คะแนน

PAT 7.6 ความถนัดทางภาษา บาลี ผู้เข้าสอบ 4,094 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 92.52 คะแนน
  • ต่ำสุด 27 คะแนน สูงสุด 300 คะแนน

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการยื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบ สามารถยื่นคำร้องได้ตั้งแต่วันที่ 16 – 18 เมษายน โดย สทศ.จะให้บริการดูกระดาษคำตอบในวันที่ 25 เมษายน

“ภาพรวมผลสอบในครั้งนี้ใกล้เคียงกับการสอบครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งข้อสอบ GAT/PAT เป็นข้อสอบคัดเลือกเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงค่อนข้างมีความยาก โดยครั้งนี้มีวิชาที่ทำคะแนนได้เต็ม 3 วิชาคือ GAT 1/GAT2 และ PAT7.6 ส่วนผู้ที่ทำได้คะแนน 0 ก็มีไม่มาก โดยวิชาที่มีผู้ได้ 0 มากที่สุดคือ GAT1 จำนวน 946 คน แต่ก็ยังน้อยกว่าครั้งที่ผ่านมา อาจเพราะจำนวนผู้เข้าสอบน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม วิชาที่น่าห่วง และควรต้องเร่งปรับปรุงคือ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเด็กได้คะแนนค่อนข้างน้อย”รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าว

ที่มา : ผู้จัดการ

เล็งประกาศโครงสร้างเวลาเรียนประถมใหม่ ยืดหยุ่นตามเหมาะสม

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่าที่ประชุมเห็นชอบร่างแนวปฏิบัติในการจัดโครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นการปรับโครงสร้างเวลาเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม และเกณฑ์การจบหลักสูตร เพื่อให้สถานศึกษานำไปปรับใช้ให้เกิดความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอน

ทั้งนี้ โครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางกรศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 นั้นกำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนรวมสำหรับระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี ดังนี้ รายวิชาพื้นฐาน 840 ชั่วโมงต่อ ปี แบ่งเป็น

  • ภาษาไทย ป.1-3 จำนวน 200 ชั่วโมงต่อปี ป.4-6 จำนวน 160 ชั่วโมงต่อปี
  • คณิตศาสตร์ ป.1-3 จำนวน 200 ชั่วโมงต่อปี ป.4-6 จำนวน 160 ชั่วโมงต่อปี
  • วิทยาศาสตร์ ป.1-6 จำนวน 80 ชั่วโมงต่อปี
  • สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.1-6 จำนวน 120 ต่อปี
  • สุขศึกษาและพลศึกษา ป.1-6 จำนวน 80 ชั่วโมงต่อปี
  • ศิลปะ ป.1-6 จำนวน 80 ชั่วโมงต่อปี
  • การงานอาชีพและเทคโนโลยี ป.1-3 จำนวน 40 ชั่วโมงต่อปี ป.4-6 จำนวน 80 ชั่วโมงต่อปี
  • ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ป.1-3 จำนวน 40 ชั่วโมงต่อปี ป.4-6 จำนวน 80 ชั่วโมงต่อปี
  • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 ชั่วโมงต่อปี รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อปี

“กรอบเวลาที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียน เป็นตัวเลขที่นักเรียนสามารถเรียนและบรรลุการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ แต่ต่อไปหากสถานศึกษาใดมีความจำเป็น ต้องการปรับลด หรือเพิ่มเวลาเรียนในวิชาพื้นฐานแต่ละกลุ่มสาระฯ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ก็สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เรียนจะต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานหรือตัวชี้วัดที่แต่ละกลุ่มสาระกำหนด นอกจากนั้น ยังสามารถบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ ในแต่ละกลุ่มสาระฯ ที่สอดคล้องกันมาจัดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา ลดภาระงานและเวลาเรียนของผู้เรียน”นายกมล กล่าว อย่างไรก็ตาม จากนี้ สพฐ.จะไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมและรายงานให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้รับทราบ ก่อนประกาศเป็นแนวปฏิบัติฯ เพื่อให้สถานศึกษานำไปใช้ตั้งแต่เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 นี้

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ผลการพิจารณาคุณสมบัติฯผู้ขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 51 ราย

กระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

ผลการพิจารณาคุณสมบัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 51 ราย ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน 2558

ผู้ใดมีความประสงค์คัดค้านด้านคุณสมบัติ และหรือผลงานของผู้ได้รับการคัดเลือก ให้คัดค้านภายในเวลา 15 วัน
ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน 2558

>> แบบฟอร์มเพื่อคัดค้านผู้ได้รับการคัดเลือก <<

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

คุรุทายาทรุ่นใหม่ต้องเข้มจริง – ครูระยอง

Print Friendly

รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ธัญบุรี ฐานะกรรมการในคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์การผลิตครูว่า คณะอนุกรรมการฯ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ได้ยกร่างโครงการคุรุทายาท(พัฒนาชีวิตด้วยการเรียนรู้)ระยะ 15 ปี (พ.ศ.2558-2572) เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีเป้าหมายผลิตคุรุทายาทจำนวน 58,000 คน ทั้งประเภทให้ทุนพร้อมประกันการมีงานทำ และประกันการมีงานทำอย่างเดียว และครูที่ผลิตจะมีทั้งครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูสายวิชาชีพหรืออาชีวศึกษา ซึ่งจะมีการบรรจุคุรุทายาทสายวิชาชีพโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ที่มีการเรียนการสอนสายอาชีพด้วย

รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ส่วนครูอาชีวะที่จะบรรจุเป็นข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) มีหลักเกณฑ์ ว่า ผู้ที่จะเข้าโครงการคุรุทายาทในส่วนนี้ ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่จะบรรจุ และต้องผ่านการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)มาก่อน เพื่อให้มีพื้นความรู้สายอาชีพ และได้ครูที่มีทักษะของการปฏิบัติจริงกลับไปเป็นครูอาชีวะ โดยจะเริ่มคัดเลือกนักศึกษาเข้าโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 โดยจะมีการเสนอโครงการนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในเร็ว ๆ นี้.

ที่มา : เดลินิวส์

‘คุรุทายาท’ ยั่งยืน แก้ครูขาดแคลน-ครูขอย้าย

Print Friendly

เฟ้นหา “คนเก่ง คนดี มีความตั้งใจอยากเป็นครู เรียนจบแล้ว กลับไปเป็นครูที่บ้านเกิด”… นี่คือคอนเซ็ปต์ผู้ได้รับทุน “คุรุทายาท” เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ไฟเขียวให้ “ฟื้นโครงการคุรุทายาท” ขึ้นมาอีกครั้ง หลังจาก “พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อาศัยมติที่ประชุม “5 เสือ ศธ.” เห็นชอบและมอบหมายให้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ยุค “รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล” เลขาธิการ สกศ. เป็นเจ้าภาพไปศึกษาและเขียนรายละเอียดโครงการให้เสร็จ เพื่อนำเสนอ ครม.

ก่อนจะเปิดรับสมัครนักเรียนทุนคุรุทายาทรุ่นแรก ในปีการศึกษา 2558 สกศ. ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และเครือข่ายคุรุทายาท 4 ภูมิภาค ร่วมกันสะท้อนภาพปัญหาครูขาดแคลน และปัญหาครูขอย้ายออกนอกพื้นที่ ผ่านหัวข้อ “คุรุทายาท voice” โดย “ศุภโชค ปิยะสันต์” ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยไร่สามัคคี จ.เชียงราย ในฐานะแกนนำเครือข่ายคุรุทายาท 4 ภูมิภาค

ศุภโชค เปิดประเด็นว่า สถานการณ์ในปัจจุบัน พบว่า มีครูขอโยกย้ายออกนอกพื้นที่ อย่างเช่น พื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) เชียงใหม่เขต 5 มีอัตราการขอโยกย้าย ร้อยละ 10 หรือพื้นที่ สพป.เชียงราย เขต 3 มีอัตราการโยกย้ายราวร้อยละ 15 ดังนั้นเครือข่ายคุรุทายาทตั้งแต่รุ่นที่ 1-12 ประมาณ 5,000 คน มีข้อเสนอเกี่ยวกับโครงการคุรุทายาทที่ไม่ต้องการให้มุ่งเพียงการแก้ปัญหาครูขาดแคลนในพื้นที่ห่างไกลเท่านั้น แต่ต้องแก้ปัญหาการขอโยกย้ายออกจากพื้นที่ด้วย

“ข้อเสนอเกี่ยวกับโครงการคุรุทายาท 4 ประเด็น ได้แก่

  1. ควรมุ่งที่ครูในพื้นที่ยากลำบากห่างไกล เพื่อแก้ปัญหาอัตราการไหลเข้าออกในแต่ละฤดูกาลการจัดสรรบรรจุครู จึงไม่ใช่การแก้ปัญหาการบรรจุครูในภาพใหญ่ แต่มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ครูที่บรรจุแล้วสามารถทำงานระยะยาวในพื้นที่
  2. ต้องมีการทำฐานข้อมูลจำนวนครูในปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่ประเมินอัตราครูที่ต้องการทั้งระบบ แต่ต้องดูจำนวนครูที่ต้องการในพื้นที่ขาดแคลน
  3. ต้องทำงานร่วมกับสถาบันผลิตครู เพื่อสร้างหลักประกันว่า เมื่อจบแล้ว ครูเหล่านี้ต้องมีคุณภาพและคุณสมบัติพร้อม ซึ่งจะเชื่อมโยงกับงบประมาณต่อหัวที่สูงขึ้น และการอนุมัติงบประมาณต่อหัวต้องทำให้เพียงพอ จากการประมาณการค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ต่อหัวประมาณ 150,000- 200,000 บาท การผลิตราว 1,000 คนต่อรุ่น จะใช้งบประมาณราว 1,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี หากงบประมาณไม่เพียงพอก็ไม่ควรตั้งเป้าสูง
  4. ต้องมีการบริหารจัดการที่คล่องตัว และมีความเป็นวิชาการ หากใช้ระบบปกติอาจจะมีความเสี่ยงสูง จึงควรมีสำนักงานเฉพาะที่ดูแลโครงการนี้อย่างต่อเนื่องในลักษณะวิจัยและพัฒนา และต้องมีการสร้างเครือข่ายคนทำงาน เข้ามาช่วยสนับสนุนงานในเชิงวิชาการเพื่อให้เกิดการพัฒนาเป็นระยะ สามารถแก้ปัญหาขาดแคลนครูในพื้นที่ห่างไกลอย่างยั่งยืน

“นักเรียนที่ได้รับทุนคุรุทายาทจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ นักเรียนที่จะได้รับการประกันการมีงานทำและนักเรียนที่ได้รับทุนและประกันการมีงานทำ จะเน้นในพื้นที่ขาดแคลนยิ่งยวด เช่น ถิ่นทุรกันดาร และมีความเสี่ยงสูง อย่าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนการใช้ทุนคืน ต้องอย่างน้อย 5 ปี จึงจะมีสิทธิ์ขอย้าย” รศ.ดร.พินิติ ฉายภาพทุนคุรุทายา

ส่วนกระบวนการผลิตนั้น รศ.ดร.พินิติ สะท้อนว่า การเรียนการสอนต้องเพิ่มหลักสูตรในการพัฒนาสมรรถภาพ เพื่อให้มีจิตวิญญาณที่ดีในการเป็นครู คือ ดูแลลูกศิษย์เหมือนลูก ทั้งนี้การดำเนินการจะไม่มีการตั้งสำนักงานใหม่ขึ้นมาดูแล แต่จะดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการ ซึ่งมี 2 ชุด คือ

  1. คณะกรรมการอำนวยการ ซึ่งประธานคณะกรรมการจะต้องไม่ใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่เป็นฝ่ายการเมือง เนื่องจากเมื่อมีการเปลี่ยนฝ่ายการเมือง นโยบายเปลี่ยนบ่อย ทำให้การดำเนินโครงการไม่ต่อเนื่อง จะต้องให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาเป็นประธาน
  2. คณะกรรมการคัดเลือกและรับนักศึกษา

“จะต้องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการคุรุทายาทระยะยาว คือ 10 ปี เพื่อให้โครงการต่อเนื่องและยั่งยืน” รศ.ดร.พินิติ กล่าวสรุปในที่สุด

โดย : พวงชมพู ประเสริฐ
ที่มา : คมชัดลึก

วันแรก2.6หมื่น สมัครครูผู้ช่วย เอกคอมฯเยอะสุด ไร้เงากายภาพบำบัด – ครูระยอง

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ประจำปี 2558 รับสมัครวันที่ 23 – 29 มีนาคม


สอบข้อเขียน ภาคก ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู วันที่ 23 เมษายน สอบข้อเขียนภาค ข ภาคข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง วันที่ 2 พฤษภาคม สอบภาค ค สอบสัมภาษณ์ วันที่ 10 พฤษภาคม ประกาศผลการสอบ วันที่ 14 พฤษภาคม ปีนี้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่ขอเปิดสอบ ทั้งหมด 66 เขต รวมสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ตำแหน่งว่าง ประมาณ 1,700 อัตรา ใน 35 กลุ่มวิชา

สำหรับยอดผู้สมัครวันแรก 23 มีนาคม มีผู้สมัคร 26,312 คน แบ่งเป็น ภาษาไทย 1,970 คน คณิตศาสตร์ 2,388 คน ภาษาอังกฤษ 2,915 คน ภาษาจีน 128 คน ภาษาเกาหลี 1 คน ภาษาญี่ปุ่น 49 คน พม่าศึกษา 3 คน วิทยาศาสตร์ 3,451 คน วิทยาศาสตร์ทั่วไป 580 คน ฟิสิกส์ 345 คน เคมี 211 คน ชีววิทยา 347 คน

สังคมศึกษา 3,009 คน สุขศึกษา 39 คนพลศึกษา 1,285 คน ดนตรีศึกษา 117 คน ดนตรีไทย 45 คน ดนตรีสากล 41 คน ดุริยางคศิลป์ 15 คน ศิลปศึกษา 242 คน ทัศนศิลป์ 10 คน นาฏศิลป์ 288 คน คอมพิวเตอร์ 3,366 คน อุตสาหกรรมศิลป์ 292 คน เกษตร 401 คน คหกรรม 160 คน

ประถมศึกษา 558 คน ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 3192 คน จิตวิทยาและการแนะแนว 143 คน เทคโนโลยีทางการศึกษาและคอมพิวเตอร์ 121 คน บรรณารักษ์ 72 คน การเงิน /บัญชี 315 คน การศึกษาพิเศษ 128 คน กายภาพบำบัด 0 คน ดนตรี 75 คน

เลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่า ในภาพรวมการรับสมัครครูผู้ช่วยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่พบปัญหาในการสมัคร อาทิ ครูการศึกษาพิเศษบางส่วนที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และไม่มีใบอนุญาตฯชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถสมัครได้ อีกกรณีคือผู้ที่จบคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ บางมหาวิทยาลัยไม่สามารถสมัครสอบได้ เนื่องจากชื่อวุฒิการศึกษาที่จบ ไม่ตรงกับวุฒิฯที่ทางสำนักงานเลขาธิการคุรุสภากำหนด ซึ่งบางเขตก็รับสมัครบางเขตก็ไม่รับสมัคร

ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวตนจึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่รวบรวมชื่อวุฒิการศึกษาที่ไม่ตรงกับวุฒิฯที่คุรุสภากำหนด แล้วแจ้งไปยังคุรุสภาขอให้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้ผู้ที่จบในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์สามารถสมัครได้
ส่วนจำนวนผู้สมัครวันแรกถือว่าค่อนข้างมาก ถือว่าเป็นปกติคาดว่าจะมียอดผู้สมัครไม่ต่ำกว่าแสนคน

ที่มา : มติชน

ระบบใหม่จัดสรรงบตรงสู่รร.-ครูแค่ลูกจ้าง

Print Friendly

สปสช.การศึกษาวางแผนจัดสรรงบสู่โรงเรียนโดยตรงหวังระบบใหม่ดึงเม็ดเงินสู่ตัวเด็กมากขึ้น จากปัจจุบันงบส่วนใหญ่ 80% ไปกระจุกที่เงินเดือนข้าราชการ เผยแผนกระจายอำนาจให้โรงเรียน อนาคตครูจะเป็นเพียงพนักงานที่โรงเรียนว่าจ้าง ส่วนเงินอุดหนุนให้โรงเรียนรัฐ-เอกชนมีจำนวนใกล้เคียงกัน

นางประภาภัทร นิยม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ที่ปรึกษา รมว.ศธ.) กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของสำนักงานหลักประกันการศึกษาแห่งชาติ (สปสช.การศึกษา) ที่เป็น 1 ใน 4 องค์กรที่ตั้งใหม่ตามแผนการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2558 ว่าสำนักงานหลักประกันการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่จะเข้ามาวางแผนวิเคราะห์ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมุ่งตรงสู่โรงเรียนมากขึ้น โดยจะเป็นผู้ทำนโยบายการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรด้านการศึกษาให้กับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

เนื่องจากปัจจุบันงบประมาณด้านการศึกษาถูกแบ่งออกเป็นเงินเดือนข้าราชการสูงถึง 80% ส่วนอีก 20% แบ่งเป็นงบลงทุนงบอุดหนุนรายหัวนักเรียน และงบพัฒนาการศึกษา ซึ่งงบพัฒนาการศึกษาโรงเรียนจะได้รับต่อเมื่อผ่านการพิจารณาจากส่วนกลาง ทำให้โรงเรียนไม่สามารถบริหารจัดการเรื่องดังกล่าวได้เอง ซึ่งปัญหาดังกล่าวจึงอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การศึกษาไทยไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในเรื่องการพัฒนาคุณภาพ

“ทั้งนี้ ในส่วนของวิธีการการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรด้านการศึกษาก็มีได้ในหลายวิธี อาทิ การจัดสรรงบเงินเดือนครูให้ลงไปสู่โรงเรียนไม่ใช่สั่งจ่ายจากส่วนกลาง เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถจ้างครูที่มีความรู้ความสามารถได้ เป็นต้น” ที่ปรึกษา รมว.ศธ.กล่าว
ด้านนายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ที่อยู่ภายใต้คณะอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. กล่าวว่า ขณะนี้ทางคณะอนุฯ ได้มีการร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับสำนักงานหลักประกันการศึกษาแห่งชาติ โดยเบื้องต้นสำนักงานหลักประกันการศึกษาแห่งชาติจะต้องมีการศึกษาถึงค่าใช้จ่ายรายหัวออกมาอย่างชัดเจน ทั้งในโรงเรียนของรัฐและเอกชน ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 และพยายามทำให้โรงเรียนของรัฐและเอกชนได้รับงบอุดหนุนรายหัวอย่างใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เงินสนับสนุนในส่วนของโรงเรียนรัฐบาลมีจำนวนมาก แต่เงินรายหัวได้น้อย เนื่องจากแบ่งไปเป็นเงินเดือนครูเกินกว่าครึ่ง ทั้งนี้รัฐจะต้องจัดสรรเงินลงสู่โรงเรียน ให้โรงเรียนสามารถจ้างครูได้เอง

“จากความเห็นของผมในเรื่องดังกล่าว หากสามารถดำเนินการได้ โรงเรียนก็อาจจะไม่จ้างครูที่เกษียณอายุแล้วให้สอนต่อเนื่อง เงินในการจ้างครูดังกล่าวมีจำนวนสูง สามารถแจ้งครูรุ่นใหม่ได้ถึง 2 คน ซึ่งผมคาดว่าภายใน 5 ปี ครูเกษียณอายุราชการจะหายไปกว่าครึ่ง ซึ่งสามารถคืนเงินให้รัฐได้จำนวนหนึ่ง และจะทำให้เงินรายหัวของเด็กมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นได้พอสมควร และในอนาคตครูที่จะเข้ามาสอนในโรงเรียนอาจจะเป็นแค่พนักงานครูที่โรงเรียนเป็นผู้จ้าง มีการบริหารจัดการรูปแบบคล้ายมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม ครูก็ยังจะต้องผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพเพื่อวัดมาตรฐานอยู่ดี แต่ยอมรับว่าเรื่องนี้ต้องใช้เวลาและเป็นเรื่องที่ไปได้ยากพอสมควร” ประธานอนุฯ ด้านกฎหมายกล่าว.

ที่มา : ไทยโพสต์

บอร์ดอำนวยการปฏิรูป ศธ.ตีกลับร่าง กม.ซูเปอร์บอร์ด สปช.แนะยึดเนื้องาน-อำนาจหน้าที่ – ครูระยอง


บอร์ดอำนวยการปฏิรูป ศธ.ตีกลับร่าง กม.ซูเปอร์บอร์ด สปช.แนะยึดเนื้องาน-อำนาจหน้าที่

กระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอำนวยปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า คณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาด้านกฎหมาย ของคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปฯ ได้นำร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ หรือ ซูเปอร์บอร์ดของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม แต่ยังไม่มีข้อยุติเพราะมีหลายประเด็นที่กรรมการทักท้วง และให้ข้อเสนอแนะ

โดยเฉพาะในเรื่ององค์ประกอบและเรื่องอำนาจหน้าที่ เพราะในกฎหมายกำหนดอำนาจซูเปอร์บอร์ดไว้ค่อนข้างจะมีเยอะพอควร อาทิ อำนาจในการปรับย้ายข้าราชการระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ อำนาจในการให้ความเห็นชอบในตั้งงบประมาณการศึกษา ฯลฯ เพราะฉะนั้น ที่ประชุมจึงให้คณะอนุกรรมการนำร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวกลับไปปรับแก้ ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว กำหนดให้โครงสร้างของซูเปอร์บอร์ด มีนายกฯเป็นประธาน หรือนายกฯอาจมอบให้คนใดคนหนึ่งเป็นประธาน และมีกรรมการประมาณ 20 – 30 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนโดยตำแหน่งจากหน่วยงานต่างๆ และผู้ทรงคุณวุฒิ ถือว่า เป็นกรรมการชุดใหญ่

“ประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดคุย คณะกรรมการให้ข้อคิดเห็นกันมากแต่ยังไม่มีข้อยุติ สุดท้าย จึงมีมติให้คณะอนุกรรมการไปทบทวนร่างกฎหมายมาใหม่ ตั้งหลักใหม่โดยเอางาน อำนาจหน้าที่เป็นตัวตั้งก่อน แล้วมาพิจารณาองค์ประกอบ ซึ่งการที่คณะอนุกรรมการนำร่างซูเปอร์บอร์ดของ สปช. มาพิจารณาในบอร์ดอำนวยการ เพราะต้องการข้อคิดเห็น หากเห็นว่าประเด็นไม่ถูกต้อง ต้องปรับแก้ไข จะได้บอกไป อีกทั้งภายในคณะกรรมการอำนวยการก็มีกรรมการบางรายมีบทบาทอยู่ใน สปช. และ สนช. ด้วย ดังนั้น จึงเป็นการทำงานคู่ขนานกันระหว่าง ศธ. สปช. และ สนช.” รมว.ศธ. กล่าวและว่า ทั้งนี้ ซูเปอร์บอร์ดตามร่างกฎหมายนี้ จะไม่ซ้ำซ้อนกับซูเปอร์บอร์ดที่นายกฯตั้งขึ้น และเข้าใจว่า เมื่อซูเปอร์บอร์ดตามกฎหมายเกิดขึ้นแล้ว ซูเปอร์บอร์ดชุดที่นายกฯตั้งขึ้นก็อาจต้องยกเลิกไป เพราะถึงเวลาก็ต้องเหลือแค่ซูเปอร์บอร์ดเดียว แต่คงอีกนานกว่าจะมีการตั้งซูเปอร์บอร์ตามกฎหมาย เพราะยังเหลือการดำเนินการอีกหลายขั้นตอน

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre