เล็งประกาศโครงสร้างเวลาเรียนประถมใหม่ ยืดหยุ่นตามเหมาะสม

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่าที่ประชุมเห็นชอบร่างแนวปฏิบัติในการจัดโครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นการปรับโครงสร้างเวลาเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม และเกณฑ์การจบหลักสูตร เพื่อให้สถานศึกษานำไปปรับใช้ให้เกิดความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอน

ทั้งนี้ โครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางกรศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 นั้นกำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนรวมสำหรับระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี ดังนี้ รายวิชาพื้นฐาน 840 ชั่วโมงต่อ ปี แบ่งเป็น

  • ภาษาไทย ป.1-3 จำนวน 200 ชั่วโมงต่อปี ป.4-6 จำนวน 160 ชั่วโมงต่อปี
  • คณิตศาสตร์ ป.1-3 จำนวน 200 ชั่วโมงต่อปี ป.4-6 จำนวน 160 ชั่วโมงต่อปี
  • วิทยาศาสตร์ ป.1-6 จำนวน 80 ชั่วโมงต่อปี
  • สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.1-6 จำนวน 120 ต่อปี
  • สุขศึกษาและพลศึกษา ป.1-6 จำนวน 80 ชั่วโมงต่อปี
  • ศิลปะ ป.1-6 จำนวน 80 ชั่วโมงต่อปี
  • การงานอาชีพและเทคโนโลยี ป.1-3 จำนวน 40 ชั่วโมงต่อปี ป.4-6 จำนวน 80 ชั่วโมงต่อปี
  • ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ป.1-3 จำนวน 40 ชั่วโมงต่อปี ป.4-6 จำนวน 80 ชั่วโมงต่อปี
  • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 ชั่วโมงต่อปี รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อปี

“กรอบเวลาที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียน เป็นตัวเลขที่นักเรียนสามารถเรียนและบรรลุการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ แต่ต่อไปหากสถานศึกษาใดมีความจำเป็น ต้องการปรับลด หรือเพิ่มเวลาเรียนในวิชาพื้นฐานแต่ละกลุ่มสาระฯ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ก็สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เรียนจะต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานหรือตัวชี้วัดที่แต่ละกลุ่มสาระกำหนด นอกจากนั้น ยังสามารถบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ ในแต่ละกลุ่มสาระฯ ที่สอดคล้องกันมาจัดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา ลดภาระงานและเวลาเรียนของผู้เรียน”นายกมล กล่าว อย่างไรก็ตาม จากนี้ สพฐ.จะไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมและรายงานให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้รับทราบ ก่อนประกาศเป็นแนวปฏิบัติฯ เพื่อให้สถานศึกษานำไปใช้ตั้งแต่เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 นี้

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ผลการพิจารณาคุณสมบัติฯผู้ขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 51 ราย

กระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

ผลการพิจารณาคุณสมบัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 51 ราย ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน 2558

ผู้ใดมีความประสงค์คัดค้านด้านคุณสมบัติ และหรือผลงานของผู้ได้รับการคัดเลือก ให้คัดค้านภายในเวลา 15 วัน
ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน 2558

>> แบบฟอร์มเพื่อคัดค้านผู้ได้รับการคัดเลือก <<

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

คุรุทายาทรุ่นใหม่ต้องเข้มจริง – ครูระยอง

Print Friendly

รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ธัญบุรี ฐานะกรรมการในคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์การผลิตครูว่า คณะอนุกรรมการฯ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ได้ยกร่างโครงการคุรุทายาท(พัฒนาชีวิตด้วยการเรียนรู้)ระยะ 15 ปี (พ.ศ.2558-2572) เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีเป้าหมายผลิตคุรุทายาทจำนวน 58,000 คน ทั้งประเภทให้ทุนพร้อมประกันการมีงานทำ และประกันการมีงานทำอย่างเดียว และครูที่ผลิตจะมีทั้งครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูสายวิชาชีพหรืออาชีวศึกษา ซึ่งจะมีการบรรจุคุรุทายาทสายวิชาชีพโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ที่มีการเรียนการสอนสายอาชีพด้วย

รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ส่วนครูอาชีวะที่จะบรรจุเป็นข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) มีหลักเกณฑ์ ว่า ผู้ที่จะเข้าโครงการคุรุทายาทในส่วนนี้ ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่จะบรรจุ และต้องผ่านการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)มาก่อน เพื่อให้มีพื้นความรู้สายอาชีพ และได้ครูที่มีทักษะของการปฏิบัติจริงกลับไปเป็นครูอาชีวะ โดยจะเริ่มคัดเลือกนักศึกษาเข้าโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 โดยจะมีการเสนอโครงการนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในเร็ว ๆ นี้.

ที่มา : เดลินิวส์

‘คุรุทายาท’ ยั่งยืน แก้ครูขาดแคลน-ครูขอย้าย

Print Friendly

เฟ้นหา “คนเก่ง คนดี มีความตั้งใจอยากเป็นครู เรียนจบแล้ว กลับไปเป็นครูที่บ้านเกิด”… นี่คือคอนเซ็ปต์ผู้ได้รับทุน “คุรุทายาท” เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ไฟเขียวให้ “ฟื้นโครงการคุรุทายาท” ขึ้นมาอีกครั้ง หลังจาก “พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อาศัยมติที่ประชุม “5 เสือ ศธ.” เห็นชอบและมอบหมายให้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ยุค “รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล” เลขาธิการ สกศ. เป็นเจ้าภาพไปศึกษาและเขียนรายละเอียดโครงการให้เสร็จ เพื่อนำเสนอ ครม.

ก่อนจะเปิดรับสมัครนักเรียนทุนคุรุทายาทรุ่นแรก ในปีการศึกษา 2558 สกศ. ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และเครือข่ายคุรุทายาท 4 ภูมิภาค ร่วมกันสะท้อนภาพปัญหาครูขาดแคลน และปัญหาครูขอย้ายออกนอกพื้นที่ ผ่านหัวข้อ “คุรุทายาท voice” โดย “ศุภโชค ปิยะสันต์” ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยไร่สามัคคี จ.เชียงราย ในฐานะแกนนำเครือข่ายคุรุทายาท 4 ภูมิภาค

ศุภโชค เปิดประเด็นว่า สถานการณ์ในปัจจุบัน พบว่า มีครูขอโยกย้ายออกนอกพื้นที่ อย่างเช่น พื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) เชียงใหม่เขต 5 มีอัตราการขอโยกย้าย ร้อยละ 10 หรือพื้นที่ สพป.เชียงราย เขต 3 มีอัตราการโยกย้ายราวร้อยละ 15 ดังนั้นเครือข่ายคุรุทายาทตั้งแต่รุ่นที่ 1-12 ประมาณ 5,000 คน มีข้อเสนอเกี่ยวกับโครงการคุรุทายาทที่ไม่ต้องการให้มุ่งเพียงการแก้ปัญหาครูขาดแคลนในพื้นที่ห่างไกลเท่านั้น แต่ต้องแก้ปัญหาการขอโยกย้ายออกจากพื้นที่ด้วย

“ข้อเสนอเกี่ยวกับโครงการคุรุทายาท 4 ประเด็น ได้แก่

  1. ควรมุ่งที่ครูในพื้นที่ยากลำบากห่างไกล เพื่อแก้ปัญหาอัตราการไหลเข้าออกในแต่ละฤดูกาลการจัดสรรบรรจุครู จึงไม่ใช่การแก้ปัญหาการบรรจุครูในภาพใหญ่ แต่มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ครูที่บรรจุแล้วสามารถทำงานระยะยาวในพื้นที่
  2. ต้องมีการทำฐานข้อมูลจำนวนครูในปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่ประเมินอัตราครูที่ต้องการทั้งระบบ แต่ต้องดูจำนวนครูที่ต้องการในพื้นที่ขาดแคลน
  3. ต้องทำงานร่วมกับสถาบันผลิตครู เพื่อสร้างหลักประกันว่า เมื่อจบแล้ว ครูเหล่านี้ต้องมีคุณภาพและคุณสมบัติพร้อม ซึ่งจะเชื่อมโยงกับงบประมาณต่อหัวที่สูงขึ้น และการอนุมัติงบประมาณต่อหัวต้องทำให้เพียงพอ จากการประมาณการค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ต่อหัวประมาณ 150,000- 200,000 บาท การผลิตราว 1,000 คนต่อรุ่น จะใช้งบประมาณราว 1,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี หากงบประมาณไม่เพียงพอก็ไม่ควรตั้งเป้าสูง
  4. ต้องมีการบริหารจัดการที่คล่องตัว และมีความเป็นวิชาการ หากใช้ระบบปกติอาจจะมีความเสี่ยงสูง จึงควรมีสำนักงานเฉพาะที่ดูแลโครงการนี้อย่างต่อเนื่องในลักษณะวิจัยและพัฒนา และต้องมีการสร้างเครือข่ายคนทำงาน เข้ามาช่วยสนับสนุนงานในเชิงวิชาการเพื่อให้เกิดการพัฒนาเป็นระยะ สามารถแก้ปัญหาขาดแคลนครูในพื้นที่ห่างไกลอย่างยั่งยืน

“นักเรียนที่ได้รับทุนคุรุทายาทจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ นักเรียนที่จะได้รับการประกันการมีงานทำและนักเรียนที่ได้รับทุนและประกันการมีงานทำ จะเน้นในพื้นที่ขาดแคลนยิ่งยวด เช่น ถิ่นทุรกันดาร และมีความเสี่ยงสูง อย่าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนการใช้ทุนคืน ต้องอย่างน้อย 5 ปี จึงจะมีสิทธิ์ขอย้าย” รศ.ดร.พินิติ ฉายภาพทุนคุรุทายา

ส่วนกระบวนการผลิตนั้น รศ.ดร.พินิติ สะท้อนว่า การเรียนการสอนต้องเพิ่มหลักสูตรในการพัฒนาสมรรถภาพ เพื่อให้มีจิตวิญญาณที่ดีในการเป็นครู คือ ดูแลลูกศิษย์เหมือนลูก ทั้งนี้การดำเนินการจะไม่มีการตั้งสำนักงานใหม่ขึ้นมาดูแล แต่จะดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการ ซึ่งมี 2 ชุด คือ

  1. คณะกรรมการอำนวยการ ซึ่งประธานคณะกรรมการจะต้องไม่ใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่เป็นฝ่ายการเมือง เนื่องจากเมื่อมีการเปลี่ยนฝ่ายการเมือง นโยบายเปลี่ยนบ่อย ทำให้การดำเนินโครงการไม่ต่อเนื่อง จะต้องให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาเป็นประธาน
  2. คณะกรรมการคัดเลือกและรับนักศึกษา

“จะต้องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการคุรุทายาทระยะยาว คือ 10 ปี เพื่อให้โครงการต่อเนื่องและยั่งยืน” รศ.ดร.พินิติ กล่าวสรุปในที่สุด

โดย : พวงชมพู ประเสริฐ
ที่มา : คมชัดลึก

วันแรก2.6หมื่น สมัครครูผู้ช่วย เอกคอมฯเยอะสุด ไร้เงากายภาพบำบัด – ครูระยอง

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ประจำปี 2558 รับสมัครวันที่ 23 – 29 มีนาคม


สอบข้อเขียน ภาคก ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู วันที่ 23 เมษายน สอบข้อเขียนภาค ข ภาคข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง วันที่ 2 พฤษภาคม สอบภาค ค สอบสัมภาษณ์ วันที่ 10 พฤษภาคม ประกาศผลการสอบ วันที่ 14 พฤษภาคม ปีนี้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่ขอเปิดสอบ ทั้งหมด 66 เขต รวมสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ตำแหน่งว่าง ประมาณ 1,700 อัตรา ใน 35 กลุ่มวิชา

สำหรับยอดผู้สมัครวันแรก 23 มีนาคม มีผู้สมัคร 26,312 คน แบ่งเป็น ภาษาไทย 1,970 คน คณิตศาสตร์ 2,388 คน ภาษาอังกฤษ 2,915 คน ภาษาจีน 128 คน ภาษาเกาหลี 1 คน ภาษาญี่ปุ่น 49 คน พม่าศึกษา 3 คน วิทยาศาสตร์ 3,451 คน วิทยาศาสตร์ทั่วไป 580 คน ฟิสิกส์ 345 คน เคมี 211 คน ชีววิทยา 347 คน

สังคมศึกษา 3,009 คน สุขศึกษา 39 คนพลศึกษา 1,285 คน ดนตรีศึกษา 117 คน ดนตรีไทย 45 คน ดนตรีสากล 41 คน ดุริยางคศิลป์ 15 คน ศิลปศึกษา 242 คน ทัศนศิลป์ 10 คน นาฏศิลป์ 288 คน คอมพิวเตอร์ 3,366 คน อุตสาหกรรมศิลป์ 292 คน เกษตร 401 คน คหกรรม 160 คน

ประถมศึกษา 558 คน ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 3192 คน จิตวิทยาและการแนะแนว 143 คน เทคโนโลยีทางการศึกษาและคอมพิวเตอร์ 121 คน บรรณารักษ์ 72 คน การเงิน /บัญชี 315 คน การศึกษาพิเศษ 128 คน กายภาพบำบัด 0 คน ดนตรี 75 คน

เลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่า ในภาพรวมการรับสมัครครูผู้ช่วยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่พบปัญหาในการสมัคร อาทิ ครูการศึกษาพิเศษบางส่วนที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และไม่มีใบอนุญาตฯชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถสมัครได้ อีกกรณีคือผู้ที่จบคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ บางมหาวิทยาลัยไม่สามารถสมัครสอบได้ เนื่องจากชื่อวุฒิการศึกษาที่จบ ไม่ตรงกับวุฒิฯที่ทางสำนักงานเลขาธิการคุรุสภากำหนด ซึ่งบางเขตก็รับสมัครบางเขตก็ไม่รับสมัคร

ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวตนจึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่รวบรวมชื่อวุฒิการศึกษาที่ไม่ตรงกับวุฒิฯที่คุรุสภากำหนด แล้วแจ้งไปยังคุรุสภาขอให้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้ผู้ที่จบในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์สามารถสมัครได้
ส่วนจำนวนผู้สมัครวันแรกถือว่าค่อนข้างมาก ถือว่าเป็นปกติคาดว่าจะมียอดผู้สมัครไม่ต่ำกว่าแสนคน

ที่มา : มติชน

ระบบใหม่จัดสรรงบตรงสู่รร.-ครูแค่ลูกจ้าง

Print Friendly

สปสช.การศึกษาวางแผนจัดสรรงบสู่โรงเรียนโดยตรงหวังระบบใหม่ดึงเม็ดเงินสู่ตัวเด็กมากขึ้น จากปัจจุบันงบส่วนใหญ่ 80% ไปกระจุกที่เงินเดือนข้าราชการ เผยแผนกระจายอำนาจให้โรงเรียน อนาคตครูจะเป็นเพียงพนักงานที่โรงเรียนว่าจ้าง ส่วนเงินอุดหนุนให้โรงเรียนรัฐ-เอกชนมีจำนวนใกล้เคียงกัน

นางประภาภัทร นิยม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ที่ปรึกษา รมว.ศธ.) กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของสำนักงานหลักประกันการศึกษาแห่งชาติ (สปสช.การศึกษา) ที่เป็น 1 ใน 4 องค์กรที่ตั้งใหม่ตามแผนการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2558 ว่าสำนักงานหลักประกันการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่จะเข้ามาวางแผนวิเคราะห์ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมุ่งตรงสู่โรงเรียนมากขึ้น โดยจะเป็นผู้ทำนโยบายการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรด้านการศึกษาให้กับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

เนื่องจากปัจจุบันงบประมาณด้านการศึกษาถูกแบ่งออกเป็นเงินเดือนข้าราชการสูงถึง 80% ส่วนอีก 20% แบ่งเป็นงบลงทุนงบอุดหนุนรายหัวนักเรียน และงบพัฒนาการศึกษา ซึ่งงบพัฒนาการศึกษาโรงเรียนจะได้รับต่อเมื่อผ่านการพิจารณาจากส่วนกลาง ทำให้โรงเรียนไม่สามารถบริหารจัดการเรื่องดังกล่าวได้เอง ซึ่งปัญหาดังกล่าวจึงอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การศึกษาไทยไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในเรื่องการพัฒนาคุณภาพ

“ทั้งนี้ ในส่วนของวิธีการการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรด้านการศึกษาก็มีได้ในหลายวิธี อาทิ การจัดสรรงบเงินเดือนครูให้ลงไปสู่โรงเรียนไม่ใช่สั่งจ่ายจากส่วนกลาง เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถจ้างครูที่มีความรู้ความสามารถได้ เป็นต้น” ที่ปรึกษา รมว.ศธ.กล่าว
ด้านนายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ที่อยู่ภายใต้คณะอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. กล่าวว่า ขณะนี้ทางคณะอนุฯ ได้มีการร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับสำนักงานหลักประกันการศึกษาแห่งชาติ โดยเบื้องต้นสำนักงานหลักประกันการศึกษาแห่งชาติจะต้องมีการศึกษาถึงค่าใช้จ่ายรายหัวออกมาอย่างชัดเจน ทั้งในโรงเรียนของรัฐและเอกชน ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 และพยายามทำให้โรงเรียนของรัฐและเอกชนได้รับงบอุดหนุนรายหัวอย่างใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เงินสนับสนุนในส่วนของโรงเรียนรัฐบาลมีจำนวนมาก แต่เงินรายหัวได้น้อย เนื่องจากแบ่งไปเป็นเงินเดือนครูเกินกว่าครึ่ง ทั้งนี้รัฐจะต้องจัดสรรเงินลงสู่โรงเรียน ให้โรงเรียนสามารถจ้างครูได้เอง

“จากความเห็นของผมในเรื่องดังกล่าว หากสามารถดำเนินการได้ โรงเรียนก็อาจจะไม่จ้างครูที่เกษียณอายุแล้วให้สอนต่อเนื่อง เงินในการจ้างครูดังกล่าวมีจำนวนสูง สามารถแจ้งครูรุ่นใหม่ได้ถึง 2 คน ซึ่งผมคาดว่าภายใน 5 ปี ครูเกษียณอายุราชการจะหายไปกว่าครึ่ง ซึ่งสามารถคืนเงินให้รัฐได้จำนวนหนึ่ง และจะทำให้เงินรายหัวของเด็กมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นได้พอสมควร และในอนาคตครูที่จะเข้ามาสอนในโรงเรียนอาจจะเป็นแค่พนักงานครูที่โรงเรียนเป็นผู้จ้าง มีการบริหารจัดการรูปแบบคล้ายมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม ครูก็ยังจะต้องผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพเพื่อวัดมาตรฐานอยู่ดี แต่ยอมรับว่าเรื่องนี้ต้องใช้เวลาและเป็นเรื่องที่ไปได้ยากพอสมควร” ประธานอนุฯ ด้านกฎหมายกล่าว.

ที่มา : ไทยโพสต์

บอร์ดอำนวยการปฏิรูป ศธ.ตีกลับร่าง กม.ซูเปอร์บอร์ด สปช.แนะยึดเนื้องาน-อำนาจหน้าที่ – ครูระยอง


บอร์ดอำนวยการปฏิรูป ศธ.ตีกลับร่าง กม.ซูเปอร์บอร์ด สปช.แนะยึดเนื้องาน-อำนาจหน้าที่

กระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอำนวยปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า คณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาด้านกฎหมาย ของคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปฯ ได้นำร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ หรือ ซูเปอร์บอร์ดของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม แต่ยังไม่มีข้อยุติเพราะมีหลายประเด็นที่กรรมการทักท้วง และให้ข้อเสนอแนะ

โดยเฉพาะในเรื่ององค์ประกอบและเรื่องอำนาจหน้าที่ เพราะในกฎหมายกำหนดอำนาจซูเปอร์บอร์ดไว้ค่อนข้างจะมีเยอะพอควร อาทิ อำนาจในการปรับย้ายข้าราชการระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ อำนาจในการให้ความเห็นชอบในตั้งงบประมาณการศึกษา ฯลฯ เพราะฉะนั้น ที่ประชุมจึงให้คณะอนุกรรมการนำร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวกลับไปปรับแก้ ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว กำหนดให้โครงสร้างของซูเปอร์บอร์ด มีนายกฯเป็นประธาน หรือนายกฯอาจมอบให้คนใดคนหนึ่งเป็นประธาน และมีกรรมการประมาณ 20 – 30 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนโดยตำแหน่งจากหน่วยงานต่างๆ และผู้ทรงคุณวุฒิ ถือว่า เป็นกรรมการชุดใหญ่

“ประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดคุย คณะกรรมการให้ข้อคิดเห็นกันมากแต่ยังไม่มีข้อยุติ สุดท้าย จึงมีมติให้คณะอนุกรรมการไปทบทวนร่างกฎหมายมาใหม่ ตั้งหลักใหม่โดยเอางาน อำนาจหน้าที่เป็นตัวตั้งก่อน แล้วมาพิจารณาองค์ประกอบ ซึ่งการที่คณะอนุกรรมการนำร่างซูเปอร์บอร์ดของ สปช. มาพิจารณาในบอร์ดอำนวยการ เพราะต้องการข้อคิดเห็น หากเห็นว่าประเด็นไม่ถูกต้อง ต้องปรับแก้ไข จะได้บอกไป อีกทั้งภายในคณะกรรมการอำนวยการก็มีกรรมการบางรายมีบทบาทอยู่ใน สปช. และ สนช. ด้วย ดังนั้น จึงเป็นการทำงานคู่ขนานกันระหว่าง ศธ. สปช. และ สนช.” รมว.ศธ. กล่าวและว่า ทั้งนี้ ซูเปอร์บอร์ดตามร่างกฎหมายนี้ จะไม่ซ้ำซ้อนกับซูเปอร์บอร์ดที่นายกฯตั้งขึ้น และเข้าใจว่า เมื่อซูเปอร์บอร์ดตามกฎหมายเกิดขึ้นแล้ว ซูเปอร์บอร์ดชุดที่นายกฯตั้งขึ้นก็อาจต้องยกเลิกไป เพราะถึงเวลาก็ต้องเหลือแค่ซูเปอร์บอร์ดเดียว แต่คงอีกนานกว่าจะมีการตั้งซูเปอร์บอร์ตามกฎหมาย เพราะยังเหลือการดำเนินการอีกหลายขั้นตอน

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ขรก.เฮ สนช. ฉลุย ผ่านกม.ขึ้นเงินเดือน พร้อมเห็นชอบพิธีสาร 2 ฉบับ ผ่อนปรนหลักเกณฑ์บริการด้านการค้า การเงิน ของประเทศอาเซียน – ครูระยอง

Print Friendly

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.ทำหน้าที่ประธาน โดยได้แจ้งให้สมาชิกว่า เนื่องจากการประชุมในวันนี้ (19มี.ค.) มีวาระการพิจารณากฎหมายและเรื่องอื่นๆจำนวนมาก จึงขอเลื่อนการรายงานความคืบหน้าการยกร่างรัฐธรรมนูญออกไปเป็นสัปดาห์หน้า

นอกจากนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งรายงานการชี้มูลความผิดของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

เพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่งเนื่องจากมีพฤติการณ์ว่ากระทำผิดตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยส่อว่าทุจริต ส่อว่าใช้อำนาจหน้าที่ไม่ชอบปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติทำให้เกิดความเสียหาย จากกรณีการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งตนได้นัดประชุมนัดแรกในวันที่ 2 เมษายน เพื่อนัดวันแถลงเปิดคดี และเปิดโอกาสให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้เสนอพยานหลักฐานเพิ่มเติม และตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมเป็นต้นไปเพื่อให้สมาชิกรับเอกสารประกอบการพิจารณาได้ ซึ่งมีทั้งหมด 2 ชุด ประกอบด้วยชุดที่ 1จำนวน 479 หน้า และชุดที่ 58,000 หน้า ส่วนสมาชิกคนใดต้องการยื่นญัตติซักถาม ก็สามารถยื่นได้ก่อนการประชุมครั้งที่ 2 ซึ่งจะได้การนัดประชุมต่อไป

จากนั้น เข้าสู่วาระพิจารณาเรื่องด่วน ได้แก่

  • ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่…) พ.ศ….
  • ร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่….) พ.ศ….
  • ร่างพ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่….) พ.ศ… และ
  • ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ … ) พ.ศ…

ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างพ.ร.บ.ทั้ง 4 ฉบับ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับบัญชีเงินเดือน การปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสมเป็นธรรม และได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนไป และเพื่อแก้ไขปัญหาบางประเด็นอย่างเร่งด่วน โดยไม่เกี่ยวกับระยะยาวที่อาจต้องปรับทั้งระบบ

อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.ทั้ง 4 ฉบับ ไม่มีมีสมาชิกคนใดอภิปราย ที่ประชุมจึงได้ลงมติเห็นชอบในวาระ 3 ด้วยเอกฉันท์ ประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในฐานะสมาชิก สนช. เปิดเผยภายหลังการประชุม สนช. ว่าเมื่อ พ.ร.บ.ทั้ง 5 ฉบับมีผลบังคับใช้ จะมีทำให้มีการปรับขึ้นเงินเดือน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ตำรวจ และข้าราชการรัฐสภา อีก 1 ขั้น หรือประมาณ 4% โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 ซึ่งจะครอบคลุมข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างประจำ โดยในส่วนของข้าราชการพลเรือนนั้น คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) สามารถดำเนินการปรับเพิ่มเงินเดือนให้สอดคล้องกับกฎหมายเฉพาะดังกล่าวได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องยกร่างกฎหมายใหม่มาประกอบ ส่วนพนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างประจำนั้น ทางมหาวิทยาลัยจะต้องประสานสำนักงบประมาณ เพื่อขอให้จัดสรรงบสนับสนุนให้พนักงานได้ปรับเพิ่มเช่นเดียวกับข้าราชการ

“การเพิ่มเงินเดือนดังกล่าว ข้าราชการชั้นผู้น้อยตั้งแต่ระดับชำนาญการ ชำนาญงาน หรือระดับ 7 ลงมาจะได้รับการปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 4% ของอัตราเงินเดือนปัจจุบัน ส่วนข้าราชการระดับสูง จะได้รับประโยชน์ในส่วนของการเปิดขั้นสูงของเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีก 10% ทำให้คนที่เคยเงินเดือนตันจะได้เงินเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ เมื่อได้รับอัตราเงินเดือนใหม่ จะทำให้ได้รับบำเหน็จบำนาญเพิ่มขึ้นตามฐานเงินเดือนใหม่ด้วย” อธิการบดีมศว กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังให้ความเห็นชอบพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินรอบที่ 6ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียนและตารางข้อผูกพันเฉพาะสำหรับการค้าบริการด้านการเงินภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน

โดยพิธีสารฉบับนี้มีสาระสำคัญคือขยายความร่วมมือด้านการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิก โดยลด/ยกเลิกข้อจำกัดที่เป็น อุปสรรคต่อการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียนให้มากกว่าที่เปิดเสรีตามกรอบองค์การการค้าโลก ซึ่งได้ปรับปรุงตารางข้อผูกพันเฉพาะ (Schedule of Specific Commitments: SOC) ใน 2 สาขา ได้แก่ สาขาประกันภัย และสาขาการธนาคาร

โดยในสาขาประกันภัยได้ปรับเพิ่มสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติของบริการนายหน้าและตัวแทน ใน Mode 3 (การจัดตั้งธุรกิจ) จากเดิมที่จำกัดไว้ไม่เกินร้อยละ ๒๕ ของทุนจดทะเบียน เป็นร้อยละ ๔๙ ของทุนจดทะเบียน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและแนวปฏิบัติในปัจจุบัน ส่วนสาขาการธนาคารปรับปรุงตารางข้อผูกพัน สาขาย่อยธนาคารพาณิชย์ใน Mode 3 ให้สอดคล้อง กับกฎหมายและแนวปฏิบัติในปัจจุบัน ยกเลิกข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรสำหรับบุคคลสัญชาติอาเซียน (Mode 4) โดยให้เป็นไปตามแผนของธุรกิจ แต่ยังต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา : มติชน

เผยผลการประเมินของสมศ.ในรอบ15ปี ร.ร.ขนาดเล็ก ยืนยันมีคุณภาพเท่าเทียมกัน

Print Friendly

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เผยผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา โดยมีสถานศึกษาที่ได้รับผลประเมินดีมากทั้ง 3 รอบ จำนวนเพียง 354 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.10 แบ่งเป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก ได้ผลประเมินดีมากทั้ง 3 รอบ 127 แห่ง จากจำนวน 22,985 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 0.55 และสถานศึกษาขนาดใหญ่-ใหญ่พิเศษ ได้รับผลประเมินดีมากทั้ง 3 รอบ จำนวน 148 จากทั้งหมด 2,072 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.14 ซึ่งผลการประเมินสะท้อนให้เห็นว่าสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่ตื่นตัวต่อการประเมินของ สมศ.

สะท้อนคำถามที่ว่าเหตุใดการศึกษาไทยจึงยังไม่พัฒนา ดังนั้น สถานศึกษา จึงควรนำผลกระเมินไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบัน เพื่อการพัฒนามาตรฐานการศึกษาไทย ทั้งนี้ โรงเรียนขนาดเล็กหรือใหญ่สามารถมีคุณภาพเท่าเทียบกันได้ ขึ้นอยู่กับความใส่ใจของบุคลากร และวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ดังเช่นโรงเรียนบ้านเหล่ายาว จ. ลำพูน ซึ่งเป็นโรงเรียนเล็กในชุมชน เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่ได้รับการประเมินดีมากทั้ง 3 รอบ เนื่องจากคุณครูให้ความสำคัญ ชุมชนให้ความร่วมมือ ขณะที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ของภาคเหนือก็ได้ผลประเมินดีมาก 3 รอบเช่นกันจากตัวชี้วัดเดียวกันจะเห็นได้ว่า แม้ว่าจะเล็กหรือใหญ่หากให้ความสำคัญกับการประเมินและนำไปปรับใช้ ก็สามารถพัฒนาโรงเรียน ให้มีคุณภาพ และสร้างอนาคตของชาติที่มีคุณภาพได้เช่นกัน

นาย นิคม พรหมอนันต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหล่ายาว กล่าวว่า กล่าวว่า โรงเรียนบ้านเหล่ายาวเป็นโรงเรียนในชุมชมที่นักเรียนส่วนมากเป็นชาวยอง ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของจังหวัดลำพูน ปัจจุบันมีนักเรียนจำนวน 135 คน เปิดสอนตั้งแต่เตรียมอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งโรงเรียนบ้านเหล่ายาวถือเป็นโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนเดียวของจังหวัดลำพูนที่ได้รับการประเมินจาก สมศ. ดีมากทั้ง 3 รอบ ซึ่งผลสำเร็จทั้งหมดเกิดจากการตื่นตัวของครูในโรงเรียนที่มีต่อการประกันคุณภาพภายใน

โดยจะมีการเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา จะต้องมีการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ และเวลาความสำเร็จของทุกกิจกรรมทั้งในด้านวิชาการ และด้านการเรียน ทุกอย่างต้องมีความเป็นกระบวนการ และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเน้นการจัดการของผู้บริหารให้มีระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพโดยที่บุคลากรและครูทุกระดับชั้นต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่ทุกโรงเรียนควรทำ อีกสิ่งสำคัญคือต้องรู้จักทำงานให้เป็นประจำวัน ซึ่งจะทำให้การเตรียมตัวรับการประเมินจาก สมศ. ไม่ยุ่งยากอย่างที่เป็นอยู่

ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ที่ว่าคนยังไม่เข้าใจถึงข้อดีของการประเมิน และไม่มีการเตรียมความพร้อมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่มาเร่งทำในช่วงเวลาที่โรงเรียนใกล้จะถูกประเมินแล้ว เพราะการประเมินเป็นเหมือนตัวกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติย้อนดูว่า สิ่งที่ทำนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ แล้วเราควรต้องแก้ไขอย่างไร ซึ่งความสำเร็จของโรงเรียนบ้านเหล่ายาว ถึงแม้บ้านเหล่ายาวจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กและมีครูเพียงแค่ 11 คน แต่ครูทุกคนล้วน ตื่นตัวต่อการประเมิน ด้วยการอาศัยตัวชี้วัด ทั้ง 12 ข้อ และนำข้อแนะนำของ สมศ. มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ในการพัฒนาการเรียนการสอนของครูในโรงเรียน ตลอดจนอาศัยความมีส่วนร่วมตั้งแต่ ครู ผู้ปกครอง กรรมการ ผู้นำหมู่บ้าน และชาวบ้านในพื้นที่ จึงทำให้โรงเรียนมีความใกล้ชิดกับชุมชน คุณครูมีความสุขในการสอน จึงสอนได้อย่างมีคุณภาพ

ที่มา : moe

เดินหน้าสอบต่อทุจริตบรรจุครู

ทุจริต ผิดวินัย ไม่เหมาะ

Print Friendly

นายอภิชาติ จีระวุฒิ ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานสอบสวนวินัยร้ายแรง ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กรณีทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีมีเหตุจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ตามที่ รมว.ศึกษาธิการได้มีคำสั่งแต่งตั้งสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง จำนวน 2 คดี ซึ่งมีตนเป็นประธานทั้ง 2 คณะ

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เห็นชอบให้รวมทั้ง 2 คดีเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ ได้สั่งการให้คณะกรรมการสอบสวนฯดำเนินการให้เสร็จภายในวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถทำได้แล้วเสร็จ เพราะคดีนี้เป็นคดีใหญ่มีพยานจำนวนเป็นร้อยคน ส่วนใหญ่อยู่ต่างจังหวัด แต่ก็จะเดินหน้าสอบสวนต่อ ซึ่งจากการสอบสวนฯมีพยานปากสำคัญอยู่ 1 ปาก ที่คณะกรรมการสอบสวนฯได้สอบปากคำและมีความเห็นว่าน่าจะต้องดำเนินการทางวินัยเพิ่มเติมอีกจึงจะสมบูรณ์ ซึ่งได้ทำหนังสือชี้แจงให้รมว.ศึกษาธิการรับทราบแล้ว

นายอภิชาติกล่าวต่อว่า เนื่องจากมีการสอบวินัยร้ายแรงไว้ก่อนที่ ดร.ชินภัทรจะเกษียณอายุราชการ ผลสอบวินัยยังมีอยู่ หากลงโทษไม่ร้ายแรง เช่น ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ก็ลงโทษไม่ได้เนื่องจากพ้นราชการไปแล้วไม่มีเงินเดือนให้หัก แต่ถ้าลงโทษร้ายแรงคือ ปลดออก หรือไล่ออก กรณีนี้จะมีผลเฉพาะถูกไล่ออก บำเหน็จบำนาญ และสิทธิประโยชน์ ที่รับไปแล้วต้องนำมาคืนหลวง แต่ถ้าถูกปลดออกจะได้รับบำเหน็จบำนาญต่อไป

ที่มา : ไทยรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre