เชิญร่วมแก้ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูฯ ด่วน..!

ครูระยอง-บทความ

Print Friendly

โปรดช่วยกันยกร่างและเสนอ การยกร่างรายมาตรา ในนามคณะทำงานยกร่างพร้อมนำไปพิจารณา ครับ

ให้พิจารณาแก้ไข โดยยึดหลักการสำคัญ ของ พ.ร.บ. เพื่อให้การบริหารงานบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บริสุทธิ์ สุจริต และยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใสตรวจสอบได้ ดังนี้

  1. องค์คณะบุคคล ได้แก่ ก.ค.ศ. อ.ก.ค.ศ และกรรมการสถานศึกษา ควรมีองค์ประกอบที่กระชับ เหมาะสม เป็นไตรภาคี ถ่วงดุลอำนาจ มีคุณสมบัติ ที่มีวุฒิภาวะโดยเฉพาะความทรงคุณวุฒิ และให้มาจากการสรรหาจากคนดีมีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรม
  2. กำหนดหน้าที่ของคณะบุคคล หน่วยงาน และผู้บริหาร ได้แก่ ก.ค.ศ. อ.ก.ค.ศ กรรมการสถานศึกษา สนง.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ สถานศึกษา เลขาธิการ ก.ค.ศ. เลขาธิการหน่วยงาน ผอ.เขต ผอ.สถานศึกษา โดยต้องให้มีการกระจายอำนาจไปยัง สถานศึกษาให้มากที่สุด รองลงมาคือ อ.ก.ค.ศ.
  3. ให้บุคลากรทุกคนในกระทรวงศึกษาธิการเป็นข้าราชการครู และมีความมีเส้นทางก้าวหน้า เท่าเท่ยม ไม่เหลื่อมล้ำ ทั้งนี้ อาจมีทั้งข้าราชการที่เป็นตำแหน่งทางวิชาการ (ARC) มีวิทยฐานะ และตำแหน่งที่ขึ้นอยู่กับภาระงาน (PC)
  4. ให้มี อ.ก.ค.ศ.ในทุกส่วนราชการ เช่น สพฐ. จะต้องมี อ.ก.ค.ศ.สพฐ. เป็นต้น

ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นการปฏิรูปการศึกษา กับ คณบดี สุรวาท ทองบุ ที่ปรึกษา กมธ.กศ. และคณะทำงานยกร่างปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการศึกษา สนช.

ที่มา : ครูบ้านนอก

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ครูต้องรู้! จะยื่นขอประเมินวิทยฐานะ ′ตามเกณฑ์ PA′ ได้เมื่อใด – ครูระยอง

Print Friendly

ตามที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้มีหนังสือแจ้งเวียนหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement) ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว7 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2558 และได้เผยแพร่หลักเกณฑ์ดังกล่าวในเว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ. อีกช่องทางหนึ่งนั้น

ปรากฏว่ามีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้สอบถามมายังสำนักงาน ก.ค.ศ. ซึ่งเป็นข้อคำถามที่น่าสนใจ สำนักงาน ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน จึงนำคำถามมาตอบผ่านคอลัมน์นี้ ดังนี้

คำถาม เมื่อได้มีการประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการนี้ โดยมีหนังสือแจ้งเวียนไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบและถือปฏิบัติแล้วนั้นสามารถยื่นคำขอได้ทันทีใช่หรือไม่

ตอบ ยังไม่สามารถยื่นขอรับการประเมินได้ทันที จนกว่าจะได้ผ่านการทดสอบความรู้ ความสามารถเชิงทฤษฎีและการประเมินประสบการณ์วิชาชีพจากส่วนราชการต้นสังกัดเสียก่อน

ซึ่งส่วนราชการต้นสังกัดจะต้องกำหนดรายละเอียดการทดสอบและการประเมินตามกรอบ แนวทางที่ ก.ค.ศ. กำหนด ส่งมายังสำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการทดสอบและประเมิน และเมื่อ ก.ค.ศ. ให้ความเห็นชอบแล้ว ส่วนราชการต้นสังกัดจึงจะดำเนินการทดสอบความรู้ ความสามารถเชิงทฤษฎีและการประเมินประสบการณ์วิชาชีพ และประกาศผล เมื่อได้ทราบผลการทดสอบและประเมินแล้วจึงจะยื่นขอรับการประเมินได้

คำถาม ได้จัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อยื่นขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ไว้แล้ว ขณะนี้ดำเนินการมาได้ 70-80% แล้ว หากไปยื่นคำขอตามหลักเกณฑ์ใหม่นี้ รู้สึกเสียดายสิ่งที่ได้เตรียมการมา จะทำอย่างไรดี

ตอบ หลักเกณฑ์ ว17/2552 มิได้ถูกยกเลิก ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถทำผลงานตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปได้

คำถาม ได้เตรียมพร้อมเพื่อการขอรับการประเมินวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ ว13/2556 หลักเกณฑ์นี้ถูกยกเลิกแล้วใช่หรือไม่

ตอบ ขณะนี้ ก.ค.ศ. ยังไม่ได้ยกเลิกหลักเกณฑ์ ว13/2558 และกำหนดให้ยื่นขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว13/2556 ในเดือนธันวาคม 2558 เป็นครั้งสุดท้าย

หวังว่าข้อคำถามที่นำมาตอบในสัปดาห์นี้ จะเป็นประโยชน์กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านนะคะ แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้า

โดย : จารุนันท์ แก้วทองนาค นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ
ที่มา : แนวหน้า

คุรุสภาเผยรายชื่อ 48 สถาบัน เปิดสอน ป.บัณฑิตวิชาชีพครู

ครูระยอง-บัณฑิต ครู

Print Friendly

ข้อมูลการรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรทางการศึกษา ประจำปี 2558 เพื่อพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในสังกัดต่างๆ ที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

คณะกรรมการคุรุสภาพิจารณาให้การรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรทางการศึกษาของสถาบัน 48 แห่ง 53 หลักสูตร โดยกำหนดเงื่อนไขในการรับรองดังนี้

  1. ให้จัดการเรียนการสอนในที่ตั้ง
  2. จัดการเรียนการสอนได้ในปีการศึกษา 2558
  3. กำหนดค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร ภายในวงเงิน ไม่เกิน 35,000 บาท
  4. หลักสูตรนานาชาติ ของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา กำหนดค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร ภายในวงเงิน ไม่เกิน 70,000 บาท
  5. การรับนักศึกษา รับนักศึกษาได้ปีละ 1 ครั้ง ตามจำนวนที่คุรุสภาให้การรับรอง
  6. จำนวนนักศึกษาที่สามารถรับได้ และคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรทางการศึกษาประจำปี 2558 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในแนวปฏิบัติของสถาบันการผลิตในการรับผู้เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรทางการศึกษา

ดังรายละเอียดตามไฟล์แนบด้านล่าง

  1. แนวปฏิบัติของสถาบันการผลิตในการรับผู้เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรทางการศึกษา
  2. รายชื่อสถาบันที่ได้รับการรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรทางการศึกษา จำนวน 48 แห่ง 53 หลักสูตร
  3. แบบฟอร์มทะเบียนรายชื่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและประสงค์จะพัฒนาให้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการศึกษา

>> รายละเอียด <<
ที่มา : คุรุสภา

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพฐ.สั่งโยกผอ.สพม.เขต2และเขต6

Print Friendly

สั่งโยก ผอ.สพม.เขต 2 และ ผอ.สพม.เขต 6 คาดเกี่ยวเนื่อง รร.มีปัญหา เลขาฯ ก.ค.ศ.เผยทำตามที่ สพฐ.เสนอ พร้อมปรับหลักเกณฑ์คัดเลือกผู้แทนคุรุสภาจากเสนอชื่อเป็นสมัครคัดเลือกแทน แก้ปัญหาเรียกร้องผลประโยชน์

นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (เลขาฯ ก.ค.ศ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ก.ค.ศ. ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมอนุมัติแต่งตั้งและโยกย้ายผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอจำนวน 4 ราย ได้แก่ นายสัจจา ศรีเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 2 กทม. เป็น ผอ.สพม.เขต 13 (ตรัง-กระบี่), นายไพรัช แสงทอง ผอ.สพม.เขต 13 เป็น ผอ.สพม.เขต 2 กทม., นายยงยุทธ ทรัพย์เจริญ ผอ.สพม.เขต 6 เป็น ผอ.สพม.เขต 3 (นนทบุรี-อยุธยา) และนายนพพร พิพิธจันทร์ ผอ.สพม.เขต 3 เป็น ผอ.สพม.เขต 6 (ฉะเชิงเทรา-สมุทรปราการ) โดยการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้เป็นไปตามความเหมาะสมในการทำงาน

“สำหรับการสั่งย้ายนายสัจจาจะเกี่ยวข้องกับปัญหาที้เกิดในพื้นที่หรือไม่นั้น ต้องไปถามทางต้นสังกัดคือ สพฐ.ซึ่งเป็นผู้เสนอมา” เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา สพม.เขต 2 มีปัญหาเกิดขึ้นหลายเรื่อง อาทิ เรื่องการสอบสวนอดีต ผอ.รร.สตรีวิทยา 2 ล่าช้า และยังไม่ได้ข้อสิ้นสุด ส่วน สพม.เขต 6 ก็มีปัญหาเรื่องการร้องเรียนว่า ผอ.โรงเรียนนวมินทราชินูมิศ สวนกุหลาบ สมุทรปราการ กรณีปลอมลายเซ็นประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ในเอกสารให้ความเห็นประกอบการพิจารณาขอย้ายตัวเองไปเป็น ผอ.โรงเรียนขนาดเดียวกันใน จ.ฉะเชิงเทรา และเรื่องที่มีการร้องเรียนว่า ผอ.ดังกล่าวทุจริตการเช่าเครื่องปรับอากาศติดในห้องเรียน 59 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 3 แสนบาท รวมมูลค่ากว่า 18 ล้านบาท ระยะเวลาเช่า 5 ปี

นางรัตนากล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกและผ่านการพัฒนา ก่อนการแต่งตั้งนายอภิชัย ทำมาน รอง ผอ.สพป.นครพนม เขต 1 เป็น ผอ.สพป.กาญจนบุรี เขต 2 ที่ประชุมอนุมัติจัดสรรอัตราข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณอายุอายุเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2557 จำนวน 13,458 อัตรา โดยถือเป็นการคืนอัตราให้หน่วยงานต้นสังกัดเดิมจำนวน 100% ดังนี้ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 10 อัตรา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จำนวน 1 อัตรา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน 3 อัตรา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จำนวน 71 อัตรา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 489 อัตรา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 12,884 อัตรา

นางรัตนากล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบ (ร่าง) แก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภา ในคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา เรื่องจากองค์ประกอบความเปลี่ยนแปลงไปตามคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้คณะกรรมการคุรุสภาชุดเดิมพ้นจากหน้าที่ ทำให้ไม่มีผู้แทนข้าราชการครู ดังนั้น ก.ค.ศ.จึงได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา โดยให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาประกาศรับสมัครบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด และตั้งคณะกรรมการซึ่งไม่มีส่วนได้-ส่วนเสียในการพิจารณาจำนวน 7 คน โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เป็นประธานคัดเลือกผู้สมัครให้เหลือเขตละ 2 คน และให้ส่งให้ ก.ค.ศพิจารณา ขณะเดียวเขตพื้นที่ฯ ตั้งคณะกรรมการคัดเลือกจำนวน 7 คน โดยกำหนดผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเป็นประธานการคัดเลือกให้เหลือเขตพื้นที่การศึกษาละ 2 คน ส่งรายชื่อให้ ก.ค.ศ.พิจารณา เพื่อให้ อ.ก.ค.ศ.เฉพาะกิจพิจารณารายชื่อที่ได้รับจากทั้งสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และเขตพื้นที่ฯ จำนวน 4 คน คัดเลือกให้เหลือ 2 คน เพื่อเสนอ ก.ค.ศ.พิจารณาตั้งเป็นอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภาต่อไป

“การปรับแก้หลักเกณฑ์ครั้งนี้จะต่างจากเดิมที่ใช้เขตพื้นที่ฯ และผู้แทนข้าราชการครูในคุรุสภาเสนอชื่อ มาเป็นให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสมัครเข้ารับการคัดเลือกแทน ซึ่งนอกจากเหตุผลในเรื่ององค์ประกอบที่มีความเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการเรียกรับผลประโยชน์ ซึ่งเป็นข้อร้องเรียนในการดำเนินการสรรหาผู้แทนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในอนุกรรมการ ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ครั้งที่ผ่านมา โดยจะเริ่มใช้หลักเกณฑ์นี้ในการคัดเลือกผู้แทนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในอนุกรรมการ ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) จำนวน 42 เขต ซึ่งครบวาระไปแล้ว และ อ.ก.ค.ศ.สพป.ที่กำลังจากครบวาระอีกเร็วๆ นี้” เลขาฯ ก.ค.ศ.กล่าว.

ที่มา : ไทยโพสต์

ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)

Print Friendly

คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนเป็นวิทยฐานะ “ชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ” ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement) ส่วนผู้ต้องการยื่นคำขอตามเกณฑ์เดิม ว13 ยังคงสามารถยื่นคำขอประเมินได้ภายในเดือนธันวาคม 2558 เท่านั้น

นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แถลงผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีพลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ว่า ก.ค.ศ.ได้เห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : P.A.) ซึ่งได้ปรับปรุงตามข้อสังเกตของที่ประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558

ทั้งนี้ ผู้ที่จะยื่นคำขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ หากได้ยื่นคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์อื่นไว้แล้ว และสมัครใจเข้ารับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ให้ยกเลิกคำขอเดิมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนก่อน จึงจะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ได้

นอกจากนี้ ได้เห็นชอบกรอบแนวทางในการให้ส่วนราชการต้นสังกัด เป็นผู้กำหนดรายละเอียดการทดสอบความรู้ ความสามารถเชิงทฤษฎี และการประเมินประสบการณ์วิชาชีพ และเมื่อส่วนราชการนั้นๆ ได้ดำเนินการแล้ว ต้องแจ้งให้ ก.ค.ศ.พิจารณาเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้น เมื่อได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะใหม่นี้แล้ว จึงให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะเดิม ตาม ว 13/2556 แต่หากผู้ที่ต้องการจะยื่นการประเมินวิทยฐานะตาม ว13 ก็ยังคงสามารถยื่นคำขอประเมินได้ภายในเดือนธันวาคม 2558 เท่านั้น

โดย : ดรุวรรณ บุญมาก, บัลลังก์ โรหิตเสถียร
ที่มา : moe

สอบครูผู้ช่วยราบรื่น “กมล” ชี้สอบเร็วขึ้นหวังบรรจุครูได้ทันก่อนเปิดเทอม

สอบราชการ - ครูระยอง

Print Friendly

ที่โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ กรุงเทพมหานคร นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังติดตามตรวจสนามสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชกาคเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย พ.ศ. 2558 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า การสอบแข่งขันครั้งนี้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) เปิดสอบรวม 65 เขต มีกลุ่มวิชาที่เปิดสอบ 35 กลุ่มวิชา ตำแหน่งที่ว่างประกาศสอบ 715 อัตรา มีผู้มาสมัครสอบ 135,136 คน มีผู้มีสิทธิ์สอบ 134,776 คน แต่มีผู้เข้าสอบประมาณ 131,000 คน ส่วนสาเหตุที่มีผู้มาเข้าสอบน้อยกว่าจำนวนผู้มีสิทธิ์สอบในครั้งนี้นั้น คาดว่าผู้มีสิทธิ์สอบบางคนอาจเห็นว่าอัตราการแข่งขันสูงจึงตัดสินใจถอนตัว ขณะที่บางคนก็ได้ยื่นสมัครสอบไว้หลายเขตพื้นที่ฯ แต่เลือกจะไปสอบในสนามสอบที่มีอัตราการแข่งขันน้อย

ทั้งนี้ ภาพรวมการจัดสอบตั้งแต่ช่วงเช้าเป็นต้นมา ยังไม่พบปัญหาการทุจริตสอบแต่อย่างใด จะมีเพียงปัญหาเล็กๆน้อยๆในทางธุรการ เช่น ในพื้นที่ภาคเหนือมีการส่งข้อสอบผิดชุด แต่ก็ได้มีการแก้ไขปัญหาจัดส่งข้อสอบชุดที่ถูกต้องไปให้แล้วขยายเวลาสอบออกไป ขณะที่ในบางพื้นที่ เช่นในกรุงเทพฯมีฝนตกในช่วงเช้าทำให้การจราจรค่อนข้างติดขัดทำให้มีผู้มาเข้าสอบบางส่วนมาไม่ทันสอบ ซึ่งทางกรรมการผู้ควบคุมสอบก็ต้องเน้นย้ำปฎิบัติตามกฏระเบียบเป็นหลัก ซึ่งการสอบในวันนี้เป็นการสอบภาค ก หลังจากสอบในวิชาสุดท้ายเสร็จจะส่งกระดาษคำตอบให้สถาบันอุดมศึกษาไปตรวจและประเมินผลให้แล้วเสร็จภายใน 5 วันก่อนจะให้แต่ละ สพท.ประกาศผลผู้ที่ผ่านการสอบภาค ก ในวันที่ 27 เมษายน และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธ์สอบภาค ข ในวันที่ 28 เมษายน ต่อไป

“เชื่อว่าการสอบครูผู้ช่วยในครั้งนี้จะไม่มีปัญหาในเรื่องของการทุจริต เนื่องจากมีการวางมาตรการในการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด ทั้งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เครื่องตรวจโลหะและอุปกรณ์สื่อสารตรวจสอบทุกคนก่อนเข้าสอบ พร้อมทั้งตรวจดูบัตรประจำตัวอย่างละเอียด ทั้งลายมือชื่อ การพิมพ์ลายนิ้วมือ และรูปภาพ เพื่อป้องกันการเข้าสอบแทนกัน นอกจากนี้ สพฐ. ยังได้นำระบบการตรวจสอบรายชื่อเข้ามาตรวจสอบผู้เข้าสอบในครั้งนี้ด้วย หากพบมีรายชื่อผู้เข้าสอบพร้อมกันในหลายสนามสอบก็จะสามารถตรวจจับได้ทันที อย่างไรก็ตาม สพฐ. จัดสอบครูผู้ช่วยฯในครั้งนี้เร็วกว่าทุกๆ ปี เพราะต้องการบรรจุครูให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนก่อนเปิดเทอมปีการศึกษา 2558 ขณะที่โรงเรียนเอกชนก็จะได้เตรียมตัวได้ถูกในกรณีที่อาจจะมีครูโรงเรียนเอกชนสามารถสอบบรรจุได้” นายกมล กล่าว

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

“ณรงค์” แจงโยกผู้บริหารเพื่อความเหมาะสม-พร้อมนั่งหัวโต๊ะคุม 3 บอร์ดเอง – ครูระยอง


“ณรงค์” แจงโยกผู้บริหารเพื่อความเหมาะสม-พร้อมนั่งหัวโต๊ะคุม 3 บอร์ดเอง

คณกรรมกระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงกรณีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้โยกย้ายผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.ว่า เหตุผลของการโยกย้ายเป็นไปตามที่ระบุ เพื่อความเหมาะสมไม่มีเหตุผลอื่น หรือมีเรื่องไม่เหมาะสม และไม่เกี่ยวข้องกับกรณีข้าราชการ 100 รายชื่อที่มีปัญหาการทุจริต โดยทั้ง 3 ท่านเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ อาทิ นางสุทธศรี วงษ์สมาน เลขาธิการสภาการศึกษา เคยทำงานที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) มาตลอด เช่นเดียวกับ รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) ที่เดิมก็เคยทำงานที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มานานเช่นกัน ดังนั้นช่วงเวลา 5 เดือนก่อนที่ทั้ง 2 ท่านจะเกษียณอายุราชการจึงต้องการไปวางระบบการทำงานในหน่วยงาน ส่วน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี อดีตเลขาธิการ กกอ.มาเป็นปลัด ศธ.นั้น ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้มาช่วยดูแลปัญหาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) องค์การค้าของ สกสค.ด้วย

“คำสั่งโยกย้ายผู้บริหาร อาจจะมีผลเชื่อมโยง แต่ไม่มีผลต่อกัน เพราะผู้บริหารทั้งหมดก็มีตำแหน่งเป็นกรรมการอยู่ใน สกสค.ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับที่มีคำสั่งให้คณะกรรมการ สกสค., คณะกรรมการบริหารองค์การค้าฯ และคณะกรรมการคุรุสภาพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบอร์ด สกสค.และบอร์ดบริหารองค์การค้าฯ มีปัญหาการร้องเรียน ความไม่โปร่งใสมายาวนาน อีกทั้งบอร์ดทั้งสองชุดก็มีความเกี่ยวโยงกัน โดยจะเห็นว่ากรรมการในบอร์ด สกสค.กับกรรมการในบอร์ดบริหารองค์การค้าฯ เกือบจะเป็นชุดเดียวกันทั้งหมด และหน่วยงานเหล่านี้เป็นหน่วยงานที่มีผลประโยชน์จำนวนมาก ดังนั้น คสช.จึงเห็นว่ากฎหมายปกติอาจจะไม่สามารถเข้าไปดำเนินการอะไรได้ จึงต้องใช้อำนาจของ คสช.ในการดำเนินการ ขณะเดียวกันยังให้มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ซึ่งถ้าไม่ผิดก็ไม่มีปัญหา” พล.ร.อ.ณรงค์กล่าว

รมว.ศึกษาธิการกล่าวต่อว่า ส่วนกรณีมีคำสั่งให้ เลขาธิการคุรุสภา เลขาธิการ สกสค.และผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ยุติการปฏิบัติหน้าที่นั้น เนื่องจากทั้ง 3 ตำแหน่งมาจากการสรรหาของบอร์ดในแต่ละหน่วยงาน เพราะฉะนั้นการจ้างงานต่อหรือไม่ รวมถึงโครงการต่างๆที่ดำเนินการไว้จะดำเนินการอย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบอร์ดชุดใหม่ ซึ่งแม้ตนไม่สามารถตัดสินใจคนเดียวได้ ต้องหารือที่ประชุมและผู้เกี่ยวข้อง เบื้องต้นตนจะนั่งเป็นประธานบอร์ดทั้ง 3 ชุดเพื่อจะเร่งแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด และเร็วๆ นี้จะมีการแต่งตั้งข้าราชการในระดับเดียวกันเข้าไปรักษาราชการในตำแหน่งเลขาธิการทั้งสามตำแหน่งก่อน อย่างไรก็ตาม ตนตั้งใจเข้าไปสะสางปัญหาต่างๆ ให้ได้เท่าที่ทำได้ทั้งหมด เชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคงไม่ลึกเกินกว่าที่จะเข้าไปตรวจสอบ นอกจากนั้นยังมี คตร.ที่เข้าไปช่วยตรวจสอบเบื้องต้นให้ จากนี้คงจะดูรายละเอียดในหลายๆ รวมถึงตรวจสอบข้อเท็จจริงในการกระทำผิด ซึ่งหากมีความจำเป็นก็อาจจะต้องทบทวนโครงสร้างองค์กร องค์ประกอบ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลแถลงผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในรอบ 6 เดือน – ครูระยอง

Print Friendly

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลด้านการศึกษา ว่ากระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ มีองค์กรหลักถึง 5 แท่ง ซึ่งจะต้องทำงานให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งในส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยพัฒนาการศึกษาและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ชายขอบ บนเขาบนดอย เช่น โครงการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่ช่วยสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ การจัดรายการติวเข้มเติมเต็มความรู้ โดยนำครูและติวเตอร์ที่เก่งๆ เช่น ครูอุ๊ ที่สอนได้ดีและเข้าใจง่าย มาช่วยสอนช่วยติวให้กับนักเรียนทั่วประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับจัดทำรายการติวเข้มเติมเต็มความรู้ในรูปแบบดีวีดี เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพิ่มเติมในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการควรหาวิธีการเรียนการสอนที่ทำให้เด็กมีความเก่งขึ้น เช่น การคิดเลขในใจ ที่พบเห็นได้จากสื่อออนไลน์ มีความสามารถในการคิดเลขจำนวนหลายหลักได้อย่างรวดเร็ว การอ่านเอาเรื่องและการย่อความ เพื่อให้เด็กสามารถเขียนหนังสือเป็น มีความกระชับ ได้ใจความ เข้าใจง่ายและต่อเนื่อง ซึ่งการย่อความเป็นการฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างหนึ่ง หากเด็กย่อความได้ก็จะทำให้เด็กคิดเป็นและเขียนเป็น

1) ผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในรอบ 6 เดือน (12 กันยายน 2557 – 12 มีนาคม 2558)

ตามเอกสารผลงานรัฐบาลรอบ 6 เดือน จัดทำโดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า จากการที่รัฐบาลโดยการนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 19 ที่ระบุให้รัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ พร้อมทั้งได้เร่งแก้ไขปัญหาในทุกด้านที่เป็นอุปสรรคเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าได้

โดยมีผลงานการดำเนินการตามแนวนโยบายรัฐบาล 11 ด้าน ได้แก่

  1. การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
  2. การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
  3. การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ
  4. การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
  5. การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน
  6. การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
  7. การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
  8. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม
  9. การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  10. การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
  11. การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

2) ผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ด้านการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะที่มีภารกิจในการจัดและส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการนำพาประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน โดยมีบทบาทหลักดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในข้อที่ 4 นโยบายการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม มีผลการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้

  • การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการศึกษาตามแนวนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการปรับหลักสูตร การพัฒนาคุณภาพครูและผู้เรียน การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การใช้จ่ายงบประมาณ และการกระจายอำนาจ โดยมุ่งเน้น 3 ภารกิจหลัก คือ 1) การดำเนินงานตามภารกิจประจำ 2) การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล 3) การวางรากฐานเพื่อส่งต่อไปยังรัฐบาลต่อไป
  • การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยได้จัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน เช่น ค่ายปิดภาคเรียนฤดูร้อน “MOE Summer Camp 2015” โดยกระทรวงศึกษาธิการได้บูรณาการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ
  • การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอาชีวศึกษา โดยได้จัดการอบรมและเปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ เช่น จัดอบรมติวเข้มหลักสูตรเร่งรัด 2 เดือน การเปิดสอนหลักสูตร English Program อย่างเต็มรูปแบบในทุกวิชา ยกเว้นวิชาภาษาไทย จำนวน 6 แห่ง รวมทั้งหลักสูตร Mini English Program ใน 4 วิชา ในสถานศึกษา 141 แห่ง ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมประมาณ 4,000 คน
  • การดำเนินโครงการ “อาชีวะสร้างผู้ประกอบการใหม่แบบครบวงจร” และปรับภาพลักษณ์นักเรียนอาชีวศึกษา โดยการให้บริการและดูแลประชาชนผ่านกิจกรรมศูนย์อาชีวะอาสาและโครงการซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center)
  • การอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ โครงการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาปราชญ์แผ่นดินศิลปินแห่งชาติ โดยมีกิจกรรม “สอนศิลป์ ถิ่นกวี ขับกล่อมดนตรีพื้นบ้าน ร่วมสานงานศิลปวัฒนธรรม”
  • การสนับสนุนการเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านและวัฒนธรรมสากล โดยการนำคณะทูตานุทูตและคู่สมรสจาก 27 ประเทศ ผู้บริหารองค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนสื่อมวลชน เยี่ยมชมแหล่งมรดกโลก แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงและอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี และการจัดแสดงเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยภายใต้โครงการนำความเป็นไทยสู่สากล ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศส

3) ผลการดำเนินงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

  • นโยบายที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ มีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การเร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคง โดยจัดหางานแก่ประชาชนกว่า 4 แสนราย การดูแลผู้สูงอายุ เด็ก สตรี คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส เช่น การให้เงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็ก และด้านกระบวนการยุติธรรม เช่น การจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชน 312 ศูนย์นำร่อง ใน 18 จังหวัด มีกองทุนยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการประกันตัว ค่าจ้างทนายความ ค่าธรรมเนียมศาลและตรวจพิสูจน์แก่ประชาชน 573 ราย รวมเป็นเงิน 83 ล้านบาท
  • นโยบายที่ 7 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน  มีคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำหน้าที่ติดตามความคืบหน้าในการเตรียมการ ซึ่งพบว่าหน่วยงานของไทยมีความพร้อมที่จะสามารถเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้ทันตามเวลาที่กำหนด
  • นโยบายที่ 8 การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม มีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การสนับสนุนการพัฒนากำลังคนด้านวิจัยและพัฒนา โดยการปลดเงื่อนไขให้นักวิจัยและนักเรียนทุนในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐ ให้สามารถไปปฏิบัติงานในภาคเอกชนได้ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากภาครัฐสู่ภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนถึงการเร่งพัฒนาคนเพื่อรองรับการพัฒนาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ในส่วนของการดำเนินงานด้านระบบขนส่งทางราง ได้นำร่องจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ รวมทั้งส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้เยาวชนหันมาสนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น

โดย : นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร
ที่มา : moe

สพฐ.เตรียมขึ้นบัญชีครู-บุคลากร กระทำผิดต่อเด็ก – ครูระยอง

Print Friendly

นายธีร์ ภวังคนันท์ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน (ฉก.ชน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า เนื่องจากที่ผ่านมา สพฐ.จะได้รับการร้องเรียนกรณีเกิดเหตุอันไม่เหมาะสมระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษาที่กระทำต่อนักเรียน โดย ฉก.ชน.ซึ่งมีหน้าที่การคุ้มครอง ดูแลนักเรียนจะต้องลงไปติดตาม ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือเยียวยานักเรียนในทุกกรณี อาทิ ครูลงโทษเกินกว่าเหตุ การล่วงละเมิดทางเพศ กระทำอนาจาร เป็นต้น

โดยในอนาคตเพื่อให้การทำงานคล่องตัวและรวดเร็วขึ้น ตนกำลังเตรียมจัดทำระบบฐานข้อมูลการคุ้มครองนักเรียน โดยระบบดังกล่าวจะรวบรวมข้อมูลของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมต่อนักเรียนในทุกกรณีที่ได้รับการร้องเรียน หรือตัดสินความผิดแล้ว เบื้องต้นระบบดังกล่าวจะใช้เป็นข้อมูลภายในโรงเรียนในสังกัด สพฐ. เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของครูที่สงสัยว่าอาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่หากสถานศึกษาสังกัดอื่น ๆ อาทิ โรงเรียนเอกชน ที่อยากจะตรวจสอบประวัติครูที่ไปสมัครเป็นอาจารย์สอนก็สามารถทำเรื่องแจ้งมาขอตรวจสอบกับ ฉก.ชน.ได้

“ที่ผ่านมาเราก็เก็บข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาที่กระทำผิดไว้ทั้งหมด เพียงแต่ยังไม่ได้จัดระบบฐานข้อมูลที่ดีพอ แต่ระบบดังกล่าวคงไม่สามารถทำเป็นระบบเปิดให้ทุกคนมาดูข้อมูลได้อย่างเสรี เพราะต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายและสิทธิของบุคคลนั้นด้วย แต่หากใครต้องการจะตรวจสอบก็ประสานมาที่เราได้ อีกทั้งครูบางคนแม้จะกระทำผิดในเรื่องที่รุนแรง แต่บางครั้งโทษที่ได้รับอาจไม่รุนแรง เช่น ครูลงโทษเด็กรุนแรงเกินกว่าเหตุ แต่เมื่อสอบสวนผลออกมาอาจถูกลงโทษแค่ว่ากล่าวตักเตือน หรือให้ออกจากราชการ เป็นต้น เพราะฉะนั้น การทำประวัติไว้เพื่อไว้เป็นข้อมูลตรวจสอบ และเพื่อให้ครูที่เคยกระทำผิดปรับปรุงตัวไม่กล้ากระทำความผิดซ้ำสอง หรือคิดว่าไม่มีใครรู้ตัวเองว่าเคยทำผิดอะไรมาก่อน“นายธีร์ กล่าว

ที่มา : สยามรัฐ

ศธ. เคาะดึงหัวกะทิปั้นคุรุทายาทรุ่นแรก 5,000 ทุน

ครูระยอง-บัณฑิต ครู

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการคุรุทายาท (พัฒนาชีวิตด้วยการเรียนรู้) ซึ่งเป็นโครงการระยะยาว ปี 2558-2572 ว่า สพฐ.ได้เสนอตัวเลขการผลิตครูอัตราว่างและปีที่บรรจุไว้รองรับใน 2 รูปแบบ ดังนี้

  • รูปแบบที่ 1 ให้ทุนการศึกษาระหว่างเรียนและประกันการมีงานทำเมื่อสำเร็จการศึกษาในสาขาและพื้นที่ขาดแคลน โดยต้องทำงานในภูมิลำเนา หรือพื้นที่ใกล้เคียงภูมิลำเนา ในหลักสูตรครูระดับปริญญาตรี 5 ปี จำนวน 3,000 ทุน แบ่งเป็น สพฐ. 2,250 ทุน และ สอศ. 750 ทุน เริ่มบรรจุปีการศึกษา 2563-2572 ให้ทุนรายละ 69,000 บาทต่อคนต่อปี
  • รูปแบบที่ 2 ประกันการมีงานทำเมื่อสำเร็จการศึกษาในสาขาและพื้นที่ที่ขาดแคลน โดยรับผู้สำเร็จการ ศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา เข้าศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (1 ปี) จำนวน 2,000 ทุน แบ่งเป็น สพฐ. 1,900 ทุน และ สอศ. 100 ทุน เริ่มบรรจุปีการศึกษา 2558-2562 ให้ทุนรายละ 100,000 บาทต่อคนต่อปี

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ทั้งนี้จำนวนทุนดังกล่าวเป็นเพียงทุนรุ่นแรก ซึ่ง สพฐ.พร้อมกันอัตราว่างบรรจุเท่าจำนวนที่โครงการกำหนด โดยในปีการศึกษา 2558 สพฐ.ได้กันอัตราว่างรองรับการบรรจุนักศึกษาโครงการคุรุทายาทรูปแบบที่ 2 จำนวน 1,900 อัตรา ทั้งนี้ สภาการศึกษากำลังจัดทำรายละเอียดเสนอ รมว.ศึกษาธิการก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติโครงการและผูกพันงบประมาณต่อไป.

ที่มา : ไทยรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre