สพฐ.สั่งโยกผอ.สพม.เขต2และเขต6

Print Friendly

สั่งโยก ผอ.สพม.เขต 2 และ ผอ.สพม.เขต 6 คาดเกี่ยวเนื่อง รร.มีปัญหา เลขาฯ ก.ค.ศ.เผยทำตามที่ สพฐ.เสนอ พร้อมปรับหลักเกณฑ์คัดเลือกผู้แทนคุรุสภาจากเสนอชื่อเป็นสมัครคัดเลือกแทน แก้ปัญหาเรียกร้องผลประโยชน์

นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (เลขาฯ ก.ค.ศ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ก.ค.ศ. ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมอนุมัติแต่งตั้งและโยกย้ายผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอจำนวน 4 ราย ได้แก่ นายสัจจา ศรีเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 2 กทม. เป็น ผอ.สพม.เขต 13 (ตรัง-กระบี่), นายไพรัช แสงทอง ผอ.สพม.เขต 13 เป็น ผอ.สพม.เขต 2 กทม., นายยงยุทธ ทรัพย์เจริญ ผอ.สพม.เขต 6 เป็น ผอ.สพม.เขต 3 (นนทบุรี-อยุธยา) และนายนพพร พิพิธจันทร์ ผอ.สพม.เขต 3 เป็น ผอ.สพม.เขต 6 (ฉะเชิงเทรา-สมุทรปราการ) โดยการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้เป็นไปตามความเหมาะสมในการทำงาน

“สำหรับการสั่งย้ายนายสัจจาจะเกี่ยวข้องกับปัญหาที้เกิดในพื้นที่หรือไม่นั้น ต้องไปถามทางต้นสังกัดคือ สพฐ.ซึ่งเป็นผู้เสนอมา” เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา สพม.เขต 2 มีปัญหาเกิดขึ้นหลายเรื่อง อาทิ เรื่องการสอบสวนอดีต ผอ.รร.สตรีวิทยา 2 ล่าช้า และยังไม่ได้ข้อสิ้นสุด ส่วน สพม.เขต 6 ก็มีปัญหาเรื่องการร้องเรียนว่า ผอ.โรงเรียนนวมินทราชินูมิศ สวนกุหลาบ สมุทรปราการ กรณีปลอมลายเซ็นประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ในเอกสารให้ความเห็นประกอบการพิจารณาขอย้ายตัวเองไปเป็น ผอ.โรงเรียนขนาดเดียวกันใน จ.ฉะเชิงเทรา และเรื่องที่มีการร้องเรียนว่า ผอ.ดังกล่าวทุจริตการเช่าเครื่องปรับอากาศติดในห้องเรียน 59 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 3 แสนบาท รวมมูลค่ากว่า 18 ล้านบาท ระยะเวลาเช่า 5 ปี

นางรัตนากล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกและผ่านการพัฒนา ก่อนการแต่งตั้งนายอภิชัย ทำมาน รอง ผอ.สพป.นครพนม เขต 1 เป็น ผอ.สพป.กาญจนบุรี เขต 2 ที่ประชุมอนุมัติจัดสรรอัตราข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณอายุอายุเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2557 จำนวน 13,458 อัตรา โดยถือเป็นการคืนอัตราให้หน่วยงานต้นสังกัดเดิมจำนวน 100% ดังนี้ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 10 อัตรา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จำนวน 1 อัตรา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน 3 อัตรา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จำนวน 71 อัตรา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 489 อัตรา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 12,884 อัตรา

นางรัตนากล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบ (ร่าง) แก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภา ในคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา เรื่องจากองค์ประกอบความเปลี่ยนแปลงไปตามคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้คณะกรรมการคุรุสภาชุดเดิมพ้นจากหน้าที่ ทำให้ไม่มีผู้แทนข้าราชการครู ดังนั้น ก.ค.ศ.จึงได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา โดยให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาประกาศรับสมัครบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด และตั้งคณะกรรมการซึ่งไม่มีส่วนได้-ส่วนเสียในการพิจารณาจำนวน 7 คน โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เป็นประธานคัดเลือกผู้สมัครให้เหลือเขตละ 2 คน และให้ส่งให้ ก.ค.ศพิจารณา ขณะเดียวเขตพื้นที่ฯ ตั้งคณะกรรมการคัดเลือกจำนวน 7 คน โดยกำหนดผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเป็นประธานการคัดเลือกให้เหลือเขตพื้นที่การศึกษาละ 2 คน ส่งรายชื่อให้ ก.ค.ศ.พิจารณา เพื่อให้ อ.ก.ค.ศ.เฉพาะกิจพิจารณารายชื่อที่ได้รับจากทั้งสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และเขตพื้นที่ฯ จำนวน 4 คน คัดเลือกให้เหลือ 2 คน เพื่อเสนอ ก.ค.ศ.พิจารณาตั้งเป็นอนุกรรมการผู้แทนคุรุสภาต่อไป

“การปรับแก้หลักเกณฑ์ครั้งนี้จะต่างจากเดิมที่ใช้เขตพื้นที่ฯ และผู้แทนข้าราชการครูในคุรุสภาเสนอชื่อ มาเป็นให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสมัครเข้ารับการคัดเลือกแทน ซึ่งนอกจากเหตุผลในเรื่ององค์ประกอบที่มีความเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการเรียกรับผลประโยชน์ ซึ่งเป็นข้อร้องเรียนในการดำเนินการสรรหาผู้แทนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในอนุกรรมการ ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ครั้งที่ผ่านมา โดยจะเริ่มใช้หลักเกณฑ์นี้ในการคัดเลือกผู้แทนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในอนุกรรมการ ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) จำนวน 42 เขต ซึ่งครบวาระไปแล้ว และ อ.ก.ค.ศ.สพป.ที่กำลังจากครบวาระอีกเร็วๆ นี้” เลขาฯ ก.ค.ศ.กล่าว.

ที่มา : ไทยโพสต์

ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)

Print Friendly

คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนเป็นวิทยฐานะ “ชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ” ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement) ส่วนผู้ต้องการยื่นคำขอตามเกณฑ์เดิม ว13 ยังคงสามารถยื่นคำขอประเมินได้ภายในเดือนธันวาคม 2558 เท่านั้น

นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แถลงผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีพลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ว่า ก.ค.ศ.ได้เห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : P.A.) ซึ่งได้ปรับปรุงตามข้อสังเกตของที่ประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558

ทั้งนี้ ผู้ที่จะยื่นคำขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ หากได้ยื่นคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์อื่นไว้แล้ว และสมัครใจเข้ารับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ให้ยกเลิกคำขอเดิมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนก่อน จึงจะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ได้

นอกจากนี้ ได้เห็นชอบกรอบแนวทางในการให้ส่วนราชการต้นสังกัด เป็นผู้กำหนดรายละเอียดการทดสอบความรู้ ความสามารถเชิงทฤษฎี และการประเมินประสบการณ์วิชาชีพ และเมื่อส่วนราชการนั้นๆ ได้ดำเนินการแล้ว ต้องแจ้งให้ ก.ค.ศ.พิจารณาเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้น เมื่อได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะใหม่นี้แล้ว จึงให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะเดิม ตาม ว 13/2556 แต่หากผู้ที่ต้องการจะยื่นการประเมินวิทยฐานะตาม ว13 ก็ยังคงสามารถยื่นคำขอประเมินได้ภายในเดือนธันวาคม 2558 เท่านั้น

โดย : ดรุวรรณ บุญมาก, บัลลังก์ โรหิตเสถียร
ที่มา : moe

สอบครูผู้ช่วยราบรื่น “กมล” ชี้สอบเร็วขึ้นหวังบรรจุครูได้ทันก่อนเปิดเทอม

สอบราชการ - ครูระยอง

Print Friendly

ที่โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ กรุงเทพมหานคร นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังติดตามตรวจสนามสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชกาคเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย พ.ศ. 2558 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า การสอบแข่งขันครั้งนี้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) เปิดสอบรวม 65 เขต มีกลุ่มวิชาที่เปิดสอบ 35 กลุ่มวิชา ตำแหน่งที่ว่างประกาศสอบ 715 อัตรา มีผู้มาสมัครสอบ 135,136 คน มีผู้มีสิทธิ์สอบ 134,776 คน แต่มีผู้เข้าสอบประมาณ 131,000 คน ส่วนสาเหตุที่มีผู้มาเข้าสอบน้อยกว่าจำนวนผู้มีสิทธิ์สอบในครั้งนี้นั้น คาดว่าผู้มีสิทธิ์สอบบางคนอาจเห็นว่าอัตราการแข่งขันสูงจึงตัดสินใจถอนตัว ขณะที่บางคนก็ได้ยื่นสมัครสอบไว้หลายเขตพื้นที่ฯ แต่เลือกจะไปสอบในสนามสอบที่มีอัตราการแข่งขันน้อย

ทั้งนี้ ภาพรวมการจัดสอบตั้งแต่ช่วงเช้าเป็นต้นมา ยังไม่พบปัญหาการทุจริตสอบแต่อย่างใด จะมีเพียงปัญหาเล็กๆน้อยๆในทางธุรการ เช่น ในพื้นที่ภาคเหนือมีการส่งข้อสอบผิดชุด แต่ก็ได้มีการแก้ไขปัญหาจัดส่งข้อสอบชุดที่ถูกต้องไปให้แล้วขยายเวลาสอบออกไป ขณะที่ในบางพื้นที่ เช่นในกรุงเทพฯมีฝนตกในช่วงเช้าทำให้การจราจรค่อนข้างติดขัดทำให้มีผู้มาเข้าสอบบางส่วนมาไม่ทันสอบ ซึ่งทางกรรมการผู้ควบคุมสอบก็ต้องเน้นย้ำปฎิบัติตามกฏระเบียบเป็นหลัก ซึ่งการสอบในวันนี้เป็นการสอบภาค ก หลังจากสอบในวิชาสุดท้ายเสร็จจะส่งกระดาษคำตอบให้สถาบันอุดมศึกษาไปตรวจและประเมินผลให้แล้วเสร็จภายใน 5 วันก่อนจะให้แต่ละ สพท.ประกาศผลผู้ที่ผ่านการสอบภาค ก ในวันที่ 27 เมษายน และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธ์สอบภาค ข ในวันที่ 28 เมษายน ต่อไป

“เชื่อว่าการสอบครูผู้ช่วยในครั้งนี้จะไม่มีปัญหาในเรื่องของการทุจริต เนื่องจากมีการวางมาตรการในการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด ทั้งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เครื่องตรวจโลหะและอุปกรณ์สื่อสารตรวจสอบทุกคนก่อนเข้าสอบ พร้อมทั้งตรวจดูบัตรประจำตัวอย่างละเอียด ทั้งลายมือชื่อ การพิมพ์ลายนิ้วมือ และรูปภาพ เพื่อป้องกันการเข้าสอบแทนกัน นอกจากนี้ สพฐ. ยังได้นำระบบการตรวจสอบรายชื่อเข้ามาตรวจสอบผู้เข้าสอบในครั้งนี้ด้วย หากพบมีรายชื่อผู้เข้าสอบพร้อมกันในหลายสนามสอบก็จะสามารถตรวจจับได้ทันที อย่างไรก็ตาม สพฐ. จัดสอบครูผู้ช่วยฯในครั้งนี้เร็วกว่าทุกๆ ปี เพราะต้องการบรรจุครูให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนก่อนเปิดเทอมปีการศึกษา 2558 ขณะที่โรงเรียนเอกชนก็จะได้เตรียมตัวได้ถูกในกรณีที่อาจจะมีครูโรงเรียนเอกชนสามารถสอบบรรจุได้” นายกมล กล่าว

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

“ณรงค์” แจงโยกผู้บริหารเพื่อความเหมาะสม-พร้อมนั่งหัวโต๊ะคุม 3 บอร์ดเอง – ครูระยอง


“ณรงค์” แจงโยกผู้บริหารเพื่อความเหมาะสม-พร้อมนั่งหัวโต๊ะคุม 3 บอร์ดเอง

คณกรรมกระทรวงศึกษาธิการ

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงกรณีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้โยกย้ายผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.ว่า เหตุผลของการโยกย้ายเป็นไปตามที่ระบุ เพื่อความเหมาะสมไม่มีเหตุผลอื่น หรือมีเรื่องไม่เหมาะสม และไม่เกี่ยวข้องกับกรณีข้าราชการ 100 รายชื่อที่มีปัญหาการทุจริต โดยทั้ง 3 ท่านเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ อาทิ นางสุทธศรี วงษ์สมาน เลขาธิการสภาการศึกษา เคยทำงานที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) มาตลอด เช่นเดียวกับ รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) ที่เดิมก็เคยทำงานที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มานานเช่นกัน ดังนั้นช่วงเวลา 5 เดือนก่อนที่ทั้ง 2 ท่านจะเกษียณอายุราชการจึงต้องการไปวางระบบการทำงานในหน่วยงาน ส่วน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี อดีตเลขาธิการ กกอ.มาเป็นปลัด ศธ.นั้น ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้มาช่วยดูแลปัญหาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) องค์การค้าของ สกสค.ด้วย

“คำสั่งโยกย้ายผู้บริหาร อาจจะมีผลเชื่อมโยง แต่ไม่มีผลต่อกัน เพราะผู้บริหารทั้งหมดก็มีตำแหน่งเป็นกรรมการอยู่ใน สกสค.ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับที่มีคำสั่งให้คณะกรรมการ สกสค., คณะกรรมการบริหารองค์การค้าฯ และคณะกรรมการคุรุสภาพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบอร์ด สกสค.และบอร์ดบริหารองค์การค้าฯ มีปัญหาการร้องเรียน ความไม่โปร่งใสมายาวนาน อีกทั้งบอร์ดทั้งสองชุดก็มีความเกี่ยวโยงกัน โดยจะเห็นว่ากรรมการในบอร์ด สกสค.กับกรรมการในบอร์ดบริหารองค์การค้าฯ เกือบจะเป็นชุดเดียวกันทั้งหมด และหน่วยงานเหล่านี้เป็นหน่วยงานที่มีผลประโยชน์จำนวนมาก ดังนั้น คสช.จึงเห็นว่ากฎหมายปกติอาจจะไม่สามารถเข้าไปดำเนินการอะไรได้ จึงต้องใช้อำนาจของ คสช.ในการดำเนินการ ขณะเดียวกันยังให้มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ซึ่งถ้าไม่ผิดก็ไม่มีปัญหา” พล.ร.อ.ณรงค์กล่าว

รมว.ศึกษาธิการกล่าวต่อว่า ส่วนกรณีมีคำสั่งให้ เลขาธิการคุรุสภา เลขาธิการ สกสค.และผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ยุติการปฏิบัติหน้าที่นั้น เนื่องจากทั้ง 3 ตำแหน่งมาจากการสรรหาของบอร์ดในแต่ละหน่วยงาน เพราะฉะนั้นการจ้างงานต่อหรือไม่ รวมถึงโครงการต่างๆที่ดำเนินการไว้จะดำเนินการอย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบอร์ดชุดใหม่ ซึ่งแม้ตนไม่สามารถตัดสินใจคนเดียวได้ ต้องหารือที่ประชุมและผู้เกี่ยวข้อง เบื้องต้นตนจะนั่งเป็นประธานบอร์ดทั้ง 3 ชุดเพื่อจะเร่งแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด และเร็วๆ นี้จะมีการแต่งตั้งข้าราชการในระดับเดียวกันเข้าไปรักษาราชการในตำแหน่งเลขาธิการทั้งสามตำแหน่งก่อน อย่างไรก็ตาม ตนตั้งใจเข้าไปสะสางปัญหาต่างๆ ให้ได้เท่าที่ทำได้ทั้งหมด เชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคงไม่ลึกเกินกว่าที่จะเข้าไปตรวจสอบ นอกจากนั้นยังมี คตร.ที่เข้าไปช่วยตรวจสอบเบื้องต้นให้ จากนี้คงจะดูรายละเอียดในหลายๆ รวมถึงตรวจสอบข้อเท็จจริงในการกระทำผิด ซึ่งหากมีความจำเป็นก็อาจจะต้องทบทวนโครงสร้างองค์กร องค์ประกอบ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลแถลงผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในรอบ 6 เดือน – ครูระยอง

Print Friendly

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลด้านการศึกษา ว่ากระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ มีองค์กรหลักถึง 5 แท่ง ซึ่งจะต้องทำงานให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งในส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยพัฒนาการศึกษาและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ชายขอบ บนเขาบนดอย เช่น โครงการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่ช่วยสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ การจัดรายการติวเข้มเติมเต็มความรู้ โดยนำครูและติวเตอร์ที่เก่งๆ เช่น ครูอุ๊ ที่สอนได้ดีและเข้าใจง่าย มาช่วยสอนช่วยติวให้กับนักเรียนทั่วประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับจัดทำรายการติวเข้มเติมเต็มความรู้ในรูปแบบดีวีดี เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพิ่มเติมในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการควรหาวิธีการเรียนการสอนที่ทำให้เด็กมีความเก่งขึ้น เช่น การคิดเลขในใจ ที่พบเห็นได้จากสื่อออนไลน์ มีความสามารถในการคิดเลขจำนวนหลายหลักได้อย่างรวดเร็ว การอ่านเอาเรื่องและการย่อความ เพื่อให้เด็กสามารถเขียนหนังสือเป็น มีความกระชับ ได้ใจความ เข้าใจง่ายและต่อเนื่อง ซึ่งการย่อความเป็นการฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างหนึ่ง หากเด็กย่อความได้ก็จะทำให้เด็กคิดเป็นและเขียนเป็น

1) ผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในรอบ 6 เดือน (12 กันยายน 2557 – 12 มีนาคม 2558)

ตามเอกสารผลงานรัฐบาลรอบ 6 เดือน จัดทำโดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า จากการที่รัฐบาลโดยการนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 19 ที่ระบุให้รัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ พร้อมทั้งได้เร่งแก้ไขปัญหาในทุกด้านที่เป็นอุปสรรคเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าได้

โดยมีผลงานการดำเนินการตามแนวนโยบายรัฐบาล 11 ด้าน ได้แก่

  1. การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
  2. การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
  3. การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ
  4. การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
  5. การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน
  6. การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
  7. การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
  8. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม
  9. การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  10. การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
  11. การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

2) ผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ด้านการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะที่มีภารกิจในการจัดและส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการนำพาประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน โดยมีบทบาทหลักดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในข้อที่ 4 นโยบายการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม มีผลการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้

  • การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการศึกษาตามแนวนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการปรับหลักสูตร การพัฒนาคุณภาพครูและผู้เรียน การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การใช้จ่ายงบประมาณ และการกระจายอำนาจ โดยมุ่งเน้น 3 ภารกิจหลัก คือ 1) การดำเนินงานตามภารกิจประจำ 2) การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล 3) การวางรากฐานเพื่อส่งต่อไปยังรัฐบาลต่อไป
  • การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยได้จัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน เช่น ค่ายปิดภาคเรียนฤดูร้อน “MOE Summer Camp 2015” โดยกระทรวงศึกษาธิการได้บูรณาการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ
  • การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอาชีวศึกษา โดยได้จัดการอบรมและเปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ เช่น จัดอบรมติวเข้มหลักสูตรเร่งรัด 2 เดือน การเปิดสอนหลักสูตร English Program อย่างเต็มรูปแบบในทุกวิชา ยกเว้นวิชาภาษาไทย จำนวน 6 แห่ง รวมทั้งหลักสูตร Mini English Program ใน 4 วิชา ในสถานศึกษา 141 แห่ง ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมประมาณ 4,000 คน
  • การดำเนินโครงการ “อาชีวะสร้างผู้ประกอบการใหม่แบบครบวงจร” และปรับภาพลักษณ์นักเรียนอาชีวศึกษา โดยการให้บริการและดูแลประชาชนผ่านกิจกรรมศูนย์อาชีวะอาสาและโครงการซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center)
  • การอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ โครงการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาปราชญ์แผ่นดินศิลปินแห่งชาติ โดยมีกิจกรรม “สอนศิลป์ ถิ่นกวี ขับกล่อมดนตรีพื้นบ้าน ร่วมสานงานศิลปวัฒนธรรม”
  • การสนับสนุนการเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านและวัฒนธรรมสากล โดยการนำคณะทูตานุทูตและคู่สมรสจาก 27 ประเทศ ผู้บริหารองค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนสื่อมวลชน เยี่ยมชมแหล่งมรดกโลก แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงและอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี และการจัดแสดงเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยภายใต้โครงการนำความเป็นไทยสู่สากล ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศส

3) ผลการดำเนินงาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

  • นโยบายที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ มีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การเร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคง โดยจัดหางานแก่ประชาชนกว่า 4 แสนราย การดูแลผู้สูงอายุ เด็ก สตรี คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส เช่น การให้เงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็ก และด้านกระบวนการยุติธรรม เช่น การจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชน 312 ศูนย์นำร่อง ใน 18 จังหวัด มีกองทุนยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการประกันตัว ค่าจ้างทนายความ ค่าธรรมเนียมศาลและตรวจพิสูจน์แก่ประชาชน 573 ราย รวมเป็นเงิน 83 ล้านบาท
  • นโยบายที่ 7 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน  มีคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำหน้าที่ติดตามความคืบหน้าในการเตรียมการ ซึ่งพบว่าหน่วยงานของไทยมีความพร้อมที่จะสามารถเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้ทันตามเวลาที่กำหนด
  • นโยบายที่ 8 การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม มีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การสนับสนุนการพัฒนากำลังคนด้านวิจัยและพัฒนา โดยการปลดเงื่อนไขให้นักวิจัยและนักเรียนทุนในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐ ให้สามารถไปปฏิบัติงานในภาคเอกชนได้ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากภาครัฐสู่ภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนถึงการเร่งพัฒนาคนเพื่อรองรับการพัฒนาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ในส่วนของการดำเนินงานด้านระบบขนส่งทางราง ได้นำร่องจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ รวมทั้งส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้เยาวชนหันมาสนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น

โดย : นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร
ที่มา : moe

สพฐ.เตรียมขึ้นบัญชีครู-บุคลากร กระทำผิดต่อเด็ก – ครูระยอง

Print Friendly

นายธีร์ ภวังคนันท์ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน (ฉก.ชน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า เนื่องจากที่ผ่านมา สพฐ.จะได้รับการร้องเรียนกรณีเกิดเหตุอันไม่เหมาะสมระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษาที่กระทำต่อนักเรียน โดย ฉก.ชน.ซึ่งมีหน้าที่การคุ้มครอง ดูแลนักเรียนจะต้องลงไปติดตาม ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือเยียวยานักเรียนในทุกกรณี อาทิ ครูลงโทษเกินกว่าเหตุ การล่วงละเมิดทางเพศ กระทำอนาจาร เป็นต้น

โดยในอนาคตเพื่อให้การทำงานคล่องตัวและรวดเร็วขึ้น ตนกำลังเตรียมจัดทำระบบฐานข้อมูลการคุ้มครองนักเรียน โดยระบบดังกล่าวจะรวบรวมข้อมูลของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมต่อนักเรียนในทุกกรณีที่ได้รับการร้องเรียน หรือตัดสินความผิดแล้ว เบื้องต้นระบบดังกล่าวจะใช้เป็นข้อมูลภายในโรงเรียนในสังกัด สพฐ. เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของครูที่สงสัยว่าอาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่หากสถานศึกษาสังกัดอื่น ๆ อาทิ โรงเรียนเอกชน ที่อยากจะตรวจสอบประวัติครูที่ไปสมัครเป็นอาจารย์สอนก็สามารถทำเรื่องแจ้งมาขอตรวจสอบกับ ฉก.ชน.ได้

“ที่ผ่านมาเราก็เก็บข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาที่กระทำผิดไว้ทั้งหมด เพียงแต่ยังไม่ได้จัดระบบฐานข้อมูลที่ดีพอ แต่ระบบดังกล่าวคงไม่สามารถทำเป็นระบบเปิดให้ทุกคนมาดูข้อมูลได้อย่างเสรี เพราะต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายและสิทธิของบุคคลนั้นด้วย แต่หากใครต้องการจะตรวจสอบก็ประสานมาที่เราได้ อีกทั้งครูบางคนแม้จะกระทำผิดในเรื่องที่รุนแรง แต่บางครั้งโทษที่ได้รับอาจไม่รุนแรง เช่น ครูลงโทษเด็กรุนแรงเกินกว่าเหตุ แต่เมื่อสอบสวนผลออกมาอาจถูกลงโทษแค่ว่ากล่าวตักเตือน หรือให้ออกจากราชการ เป็นต้น เพราะฉะนั้น การทำประวัติไว้เพื่อไว้เป็นข้อมูลตรวจสอบ และเพื่อให้ครูที่เคยกระทำผิดปรับปรุงตัวไม่กล้ากระทำความผิดซ้ำสอง หรือคิดว่าไม่มีใครรู้ตัวเองว่าเคยทำผิดอะไรมาก่อน“นายธีร์ กล่าว

ที่มา : สยามรัฐ

ศธ. เคาะดึงหัวกะทิปั้นคุรุทายาทรุ่นแรก 5,000 ทุน

ครูระยอง-บัณฑิต ครู

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการคุรุทายาท (พัฒนาชีวิตด้วยการเรียนรู้) ซึ่งเป็นโครงการระยะยาว ปี 2558-2572 ว่า สพฐ.ได้เสนอตัวเลขการผลิตครูอัตราว่างและปีที่บรรจุไว้รองรับใน 2 รูปแบบ ดังนี้

  • รูปแบบที่ 1 ให้ทุนการศึกษาระหว่างเรียนและประกันการมีงานทำเมื่อสำเร็จการศึกษาในสาขาและพื้นที่ขาดแคลน โดยต้องทำงานในภูมิลำเนา หรือพื้นที่ใกล้เคียงภูมิลำเนา ในหลักสูตรครูระดับปริญญาตรี 5 ปี จำนวน 3,000 ทุน แบ่งเป็น สพฐ. 2,250 ทุน และ สอศ. 750 ทุน เริ่มบรรจุปีการศึกษา 2563-2572 ให้ทุนรายละ 69,000 บาทต่อคนต่อปี
  • รูปแบบที่ 2 ประกันการมีงานทำเมื่อสำเร็จการศึกษาในสาขาและพื้นที่ที่ขาดแคลน โดยรับผู้สำเร็จการ ศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา เข้าศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (1 ปี) จำนวน 2,000 ทุน แบ่งเป็น สพฐ. 1,900 ทุน และ สอศ. 100 ทุน เริ่มบรรจุปีการศึกษา 2558-2562 ให้ทุนรายละ 100,000 บาทต่อคนต่อปี

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ทั้งนี้จำนวนทุนดังกล่าวเป็นเพียงทุนรุ่นแรก ซึ่ง สพฐ.พร้อมกันอัตราว่างบรรจุเท่าจำนวนที่โครงการกำหนด โดยในปีการศึกษา 2558 สพฐ.ได้กันอัตราว่างรองรับการบรรจุนักศึกษาโครงการคุรุทายาทรูปแบบที่ 2 จำนวน 1,900 อัตรา ทั้งนี้ สภาการศึกษากำลังจัดทำรายละเอียดเสนอ รมว.ศึกษาธิการก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติโครงการและผูกพันงบประมาณต่อไป.

ที่มา : ไทยรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

การบริหารงานบุคคลของบุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค.(2) – ครูระยอง

Print Friendly

พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 4/2558 เมื่อวันพุธที่ 8 เมษายน 2558 ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการบริหารงานบุคคลของบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) จำนวน 3 ฉบับ

1. ร่างหลักเกณฑ์ฯ และวิธีการการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าในการจัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ เพื่อใช้ในการสรรหาบุคลากรทางการศึกษาอื่นในหน่วยงานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ โดยคำนึงถึงการให้โอกาสแก่ผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา การรณรงค์ให้คนเก่งและคนดีได้มีโอกาสสมัครสอบ ส่วนราชการได้บรรจุบุคคลตรงตามความต้องการ มีสาระสำคัญดังนี้

ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสอบ หรือรวมเขตพื้นที่การศึกษาในภูมิภาคเดียวกัน โดยระบุเขตพื้นที่การศึกษา แล้วมอบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาใดเขตหนึ่ง เป็นผู้จัดสอบทั้งภาค ก ภาค ข และภาค ค หรือ จะจัดสอบเฉพาะ ภาค ข และภาค ค โดยเปิดรับสมัครจากผู้สอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. ก็ได้

สำหรับหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน ได้กำหนดไว้ ดังนี้

  • ภาค ก ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (200 คะแนน) ได้แก่ วิชาความสามารถทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  • ภาค ข ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (200 คะแนน)
  • ภาค ค ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (100 คะแนน)

ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. จะนำ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว ให้ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญที่เกี่ยวข้อง และ ก.ค.ศ. ได้พิจารณาต่อไป

2. ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการฯ นิติกร ให้ได้รับเงินเพิ่ม พ.ต.ก.

สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกฯ บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) สายงานนิติการ กรณีรับโอนหรือย้ายจากข้าราชการประเภทอื่น ซึ่งเคยได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งนิติกร ตามกฎหมาย ระเบียบอื่นอยู่เดิม ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) โดยคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ที่ยื่นคำขอรับการคัดเลือก 5 ประการ มีดังนี้

  • เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ที่รับโอนหรือย้ายจากข้าราชการประเภทอื่น และเคยได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งนิติกรตามกฎหมาย ระเบียบอื่นอยู่เดิม
  • ได้รับประกาศนียบัตรการอบรมหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่า
  • ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ จากหน่วยงานอยู่ก่อนโอนหรือย้าย
  • เป็นผู้ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถตามประกาศ ก.ค.ศ. และมีผลงาน/ผลสำเร็จของงานด้านกฎหมายดีเด่น หรือการปรับปรุง/พัฒนางานด้านกฎหมายที่สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบในปัจจุบัน
  • เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย ขณะดำรงตำแหน่งในหน่วยงานการศึกษาปัจจุบัน ตามมาตรฐานตำแหน่งนิติการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของงานที่ได้รับมอบหมายทั้งหมด

ทั้งนี้ ให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ จำนวน 3 คน โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานด้านกฎหมายหรือด้านบริหารงานบุคคลเป็นประธาน โดยมีผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น และผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล เป็นกรรมการ

3. ร่างกฎ ก.ค.ศ. ในการจัดประเภทตำแหน่งของข้าราชการฯ ใน 19 สถาบันการอาชีวศึกษา

ที่ประชุมรับทราบ สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รายงานการจัดทำ (ร่าง) กฎ ก.ค.ศ. การจัดประเภทตำแหน่ง ระดับตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. และ (ร่าง) มาตรฐานตำแหน่งฯ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ สำหรับการกำหนดตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ตามโครงสร้างของสถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 19 แห่ง ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ขณะนี้ได้นำไปพิจารณากลั่นกรอง เพื่อนำเสนอให้ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญที่เกี่ยวข้อง และ ก.ค.ศ. ได้พิจารณาต่อไป

ที่มา : moe

วธ.หนุนประชาชนเรียนรู้วัฒนธรรมอาเซียน – ครูระยอง


วธ.หนุนประชาชนเรียนรู้วัฒนธรรมอาเซียน

อาเซียน

Print Friendly

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวตอนหนึ่งในพิธีเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ”ความเชื่อ ศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ในอาเซียน”จัดโดยกรมการศาสนา(ศน.)ว่า ปลายปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยเฉพาะเรื่องศิลปวัฒนธรรมอาเซียนที่มีความหลากหลาย แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันในอัตลักษณ์ เช่น ศิลปะการแสดงรามเกียรติ์ วัฒนธรรมข้าว ประเพณีสงกรานต์ หนังตะลุง หนังใหญ่ ภาษาไทย เป็นต้น


” ประวัติศาสตร์ไทยมีความสง่างามมาก เห็นได้จากมีพัฒนาการด้านการพัฒนาประเทศ และศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องในทุกยุคทุกสมัย ขณะที่ประเทศอื่นๆในอาเซียนก็มีพัฒนาการด้านศิลปวัฒนธรรมเช่นกัน ตนเชื่อว่าวัฒนธรรมและศาสนาเป็นสิ่งที่จะเชื่อมร้อยประชาคมอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ด้งนั้นถึงเวลาแล้วที่เราต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงแบบไร้พรหมแดนใน10ประเทศอาเซียน โดยประชาชนต้องมีความเข้าใจในเรื่องศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และการดำเนินวิถีชีวิตของประเทศต่างๆ อย่างดี ขณะเดียวกันเราต้องรักษาไว้ซึ่งสิ่งดีงามในศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างเหนียวแน่นต่อไป” รมว.วัฒนธรรม กล่าว

ด้าน พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ในยุคนี้เป็นยุคที่มีการต่อสู้กัน ซึ่งเป็นการต่อสู้โดยใช้สังคมนิยมมีเรื่องวัฒนธรรมและศาสนาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยมีเครื่องมีขับเคลื่อนที่สำคัญคือ โซเชียลต่างๆ เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ก เป็นต้น ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วและน่าตื่นตระหนก เพราะสังคมไทยมีคนเล่นสื่อโซเชียลมากถึง 2ใน3ของจำนวนประชากร ถ้าหากไม่มีการเรียนรู้รากฐานชีวิตศิลปวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียนที่ดีแล้วอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตได้

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ประกาศผลสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2/2558 แล้ว

Print Friendly

รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ สทศ. ได้จัดการทดสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ หรือ PAT ครั้งที่ 2/2558 สอบเมื่อวันที่ 7 – 10 มีนาคม 2558 นั้น ขณะนี้ สทศ. ได้ทำการประมวลผล และประกาศผลสอบเรียบร้อยแล้วผ่านทาง www.niets.or.th ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิม คือ วันที่ 10 เมษายน ทั้งนี้ สทศ. ได้วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน คะแนนสอบดังนี้

GAT ผู้เข้าสอบ 147,560 คน

  • คะแนนเต็ม 300 คะแนน เฉลี่ย 147.72 คะแนน
  • ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 295 คะแนน

GAT ตอน 1 ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ผู้เข้าสอบ 147,483 คน

  • คะแนนเต็ม 150 เฉลี่ย 96 คะแนน
  • ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 150 คะแนน

GAT ตอน 2 ความถนัดด้านภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 147,554 คน

  • คะแนนเต็ม 150 เฉลี่ย 51.78 คะแนน
  • ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 150 คะแนน

PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 1.1,695 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 55.34 คะแนน
  • ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 300 คะแนน

PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 87,541 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 104.72 คะแนน
  • ต่ำสุด 6 คะแนน สูงสุด 237 คะแนน

PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 23,957 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 98.84 คะแนน
  • ต่ำสุด 8 คะแนน สูงสุด 266 คะแนน

PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 5,935 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 104.41 คะแนน
  • ต่ำสุด 9 คะแนน สูงสุด 262 คะแนน

PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู ผู้เข้าสอบ 54,857 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 154.96 คะแนน
  • ต่ำสุด 27.50 คะแนน สูงสุด 257.50 คะแนน

PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 5,773 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 141.11 คะแนน
  • ต่ำสุด 42.00 คะแนน สูงสุด 246.50 คะแนน

PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส ผู้เข้าสอบ 5,704

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 91.88 คะแนน
  • ต่ำสุด 21 คะแนน สูงสุด 291 คะแนน

PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน ผู้เข้าสอบ 2,383 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 85.05 คะแนน
  • ต่ำสุด 36 คะแนน สูงสุด 270คะแนน

PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น ผู้เข้าสอบ 3,954 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 100.43 คะแนน
  • ต่ำสุด 30 คะแนน สูงสุด 294 คะแนน

PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน ผู้เข้าสอบ 6,593 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 87.70 คะแนน
  • ต่ำสุด 33 คะแนน สูงสุด 288 คะแนน

PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ ผู้เข้าสอบ 415 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 88.37 คะแนน
  • ต่ำสุด 48 คะแนน สูงสุด 276 คะแนน

PAT 7.6 ความถนัดทางภาษา บาลี ผู้เข้าสอบ 4,094 คน

  • คะแนนเต็ม 300 เฉลี่ย 92.52 คะแนน
  • ต่ำสุด 27 คะแนน สูงสุด 300 คะแนน

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการยื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบ สามารถยื่นคำร้องได้ตั้งแต่วันที่ 16 – 18 เมษายน โดย สทศ.จะให้บริการดูกระดาษคำตอบในวันที่ 25 เมษายน

“ภาพรวมผลสอบในครั้งนี้ใกล้เคียงกับการสอบครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งข้อสอบ GAT/PAT เป็นข้อสอบคัดเลือกเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงค่อนข้างมีความยาก โดยครั้งนี้มีวิชาที่ทำคะแนนได้เต็ม 3 วิชาคือ GAT 1/GAT2 และ PAT7.6 ส่วนผู้ที่ทำได้คะแนน 0 ก็มีไม่มาก โดยวิชาที่มีผู้ได้ 0 มากที่สุดคือ GAT1 จำนวน 946 คน แต่ก็ยังน้อยกว่าครั้งที่ผ่านมา อาจเพราะจำนวนผู้เข้าสอบน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม วิชาที่น่าห่วง และควรต้องเร่งปรับปรุงคือ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเด็กได้คะแนนค่อนข้างน้อย”รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าว

ที่มา : ผู้จัดการ

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre