ชี้บัณฑิตศตวรรษที่ 21 ต้องมีทักษะสำคัญ 7 ประการ

ครูระยอง-บัณฑิต ครู

Print Friendly

นายสุภัทร จำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในการบรรยาย บทบาทการอุดมศึกษาไทย และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโครงการสัมมนาผู้บริหาร มก.หลักสูตรการบริหารภาควิชาสู่ความเป็นเลิศ ว่า ทิศทางอุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 จะมุ่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน ปรับปรุง และยกระดับมาตรฐานหลักสูตรทางไกล อีเลิร์นนิ่ง พัตนาหลักสูตรการเรียนอินเตอร์

เพื่อก้าวสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก ใช้ความสามารถของมหาวิทยาลัยพัฒนาอุตสาหกรรม และเน้นความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ตอบโจทย์การสร้างความรู้ และนวัตกรรมพัฒนาประเทศ ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บัณฑิตในยุคนี้ต้องมีทักษะสำคัญ 7 ประการ คือ

  1. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. ทักษะความอยากรู้อยากเห็นและจินตนาการ
  3. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
  4. ทักษะการเป็นผู้สร้างและรู้จักต่อยอดความคิด
  5. ทักษะการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน
  6. ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
  7. เข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างและมีความรู้เกี่ยวกับโลก

ที่มา : มติชน

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลพอใจนโยบายพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยครูตู้

Print Friendly

พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากนโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DCTV) หรือ ที่เรียกกันว่าครูตู้ พบว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการเมื่อปี 2557 สามารถขยายการให้บริการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแก่โรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณครูไม่ครบชั้น ได้ครบทุกโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 15,369 โรง จากเดิมที่เคยมีระบบ DCTV เพียงแค่ 6,628 โรงเท่านั้น และช่วยให้นักเรียน 1,015,974 คนได้ศึกษาครบทุกกลุ่มสาระวิชา จากเดิมที่มีคุณครูไม่เพียงพอไม่ครบชั้น ทำให้การเรียนทำได้ไม่เต็มที่

“ผลการประเมินค่าการพัฒนาของนักเรียน ที่มีโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเข้าไปช่วยสนับสนุนพบว่า มีการพัฒนาดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยวั�

“ณรงค์” ชี้องค์กรครูฟ้องศาลปกครอง เพราะไม่พอใจมติบอร์ดคุรุสภาเปิดทาง130 คนที่ไม่มีตั๋วครูได้รับบรรจุครูผู้ช่วย ยืนยันไตร่ตรองเหตุผลรอบด้านแล้ว

ทุจริต ผิดวินัย ไม่เหมาะ

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่สมาพันธ์สมาคมครูจังหวัดอุดรธานี เตรียมจะฟ้องศาลปกครองให้ดำเนินการกับคณะกรรมการคุรุสภาชุดใหม่ที่มีมติให้ บรรจุแต่งตั้งบุคคลที่จบปริญญาตรีสาขาอื่นและไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จำนวน 130 คน เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่าเป็นมติที่ไม่ชอบนั้น หากองค์กรครูรู้สึกว่าไม่พอใจก็เป็นสิทธิที่จะยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ แต่ตนไม่แน่ใจว่ามีการฟ้องร้องศาลปกครองไปแล้วหรือยัง และหากยื่นไปแล้วคงต้องรอดูว่าศาลปกครองจะมีคำวินิจฉัยออกมาเช่นไร ทั้งนี้ ตนยืนยันว่าในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาที่ผ่านมา ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วยดูเหตุผลอย่างรอบด้านแล้วจึงมีมติ อนุมัติและมอบให้นายกมล ศิริบรรณ รองปลัด ศธ.ในฐานะปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา ไปดำเนินการในรายละเอียดต่อไป

“ทุกคนมีสิทธิฟ้องร้อง ไม่มีปัญหาอะไร เพราะการอำนาจการบรรจุแต่งตั้งก็เป็นมติของบอร์ดคุรุสภาในการอนุมัติ จากนี้กระบวนการบรรจุและแต่งตั้งเป็นหน้าที่ของคุรุสภาที่ต้องดำเนินการตามมติดังกล่าวต่อไป หากจะฟ้องต่อศาลปกครองก็ให้ฟ้องร้องไปตามกระบวนการ ซึ่งยืนยันว่าการดำเนินการที่ผ่านมาเราพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลอย่างรอบคอบ ส่วนใครจะไม่เห็นด้วยนั้นก็ให้ว่าไปตามกระบวนการ ทั้งนี้ผมยังไม่ทราบเหตุผลและรายละเอียดที่จะมีการฟ้องร้อง แค่ทราบเบื้องต้นว่าเกี่ยวข้องกับการรักษาศักดิ์ศรีของครู เพียงแต่ศักดิ์ศรีเขียนไว้ในกฎหมายด้วยหรือเปล่าไม่รู้”รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

ที่มา :  ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

แนะไทยเดินตามรอยสิงคโปร์เร่งปรับตัวพัฒนาคุณภาพครู

Print Friendly

“ความสำเร็จในการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ในทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการทำงานหนักของรัฐบาลทุกชุด โดยมุ่งเน้นพลเมืองที่มีคุณภาพ ทำให้สิงคโปร์ให้น้ำหนักการพัฒนาครูตลอดสาย ไม่ใช่แค่การฝึกหัดครู เตรียมความพร้อมกับครูใหม่ แต่มีการติดตามครู ที่สำคัญครูของสิงคโปร์อยู่กับการสอนและพัฒนาตลอดเวลา ไม่มีภาระงานธุรการและมีโอกาสไปเสาะแสวงหาตักตวงความรู้ในเวทีวิชาการต่างๆ เพราะกระบวนการเรียนรู้ของครูมีผลโดยตรงต่อนักเรียน” ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงมุมมองการศึกษาของสิงคโปร์ ในการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “บทเรียนจากสัมมนานานาชาติการออกแบบการสอนใหม่ของสิงคโปร์ : เพื่อสร้างผู้นำ ค่านิยม และความเป็นพลเมืองในการศึกษาศตวรรษที่ 21” (Redesigning Pedagogy…Leader Values and Citizenship in21st Century Education) จัดโดยบริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เมื่อเร็วๆ นี้

              ผศ.อรรถพล เล่าว่า ได้มีโอกาสร่วมงานประชุมนานาชาติ “การออกแบบการสอนใหม่ของสิงคโปร์ เพื่อสร้างผู้นำ ค่านิยมและความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21” ของสถาบันครุศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ หรือ เอ็นไออี ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจัดประชุมทุก 2 ปี หัวข้อจะเปลี่ยนไปตามกระแสสังคมช่วงเวลานั้น โดยเวทีนี้ได้รวบรวมนักปฏิบัติ นักวิจัย นักวิชาการ ผู้นำการศึกษาทั้งของสิงคโปร์ และหลายชาติ ทั้งยุโรป เอเชียแปซิฟิก และอเมริกา เข้าร่วมกว่ามากกว่า 2,000 คน

             มีวิทยากรระดับโลกมาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาครู บทบาทของตัวผู้บริหารที่ต้องเปลี่ยนแปลงและรับมือกับสถานการณ์ของศตวรรษที่ 21 และที่น่าสนใจคือ เวทีนี้ไม่ได้จำกัดวงแค่นักวิชาการ แต่พบว่ามีครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสิงคโปร์จากหลากหลายวิชา ไม่ว่าจะเป็น พลศึกษา ดนตรี มาร่วมงานจำนวนมาก ซึ่งช่วยกระตุ้นบรรยากาศเชิงวิชาการให้มีความหลากหลาย

             สิงคโปร์ ถือเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำเรื่องการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งความสำเร็จในการศึกษาต้องยอมรับว่า เป็นผลมาจากการทำงานหนักของรัฐบาลทุกชุดที่มุ่งเน้นพลเมืองที่มีคุณภาพ โดยจะให้ความสำคัญในการพัฒนาครู มีสถาบันครุศึกษาแห่งชาติ หรือ National Institute of Education (NIE) เป็นสถาบันผลิตครูนักวิจัย (Teacher Researcher) ที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่การกำหนดนโยบายไปจนถึงการปฏิบัติในโรงเรียน ร่วมกันทำวิจัยเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและสร้างการศึกษาที่มีคุณภาพแก่นักเรียนทุกคน โดยเอ็นไออีจะทำงานเคียงข้างทั้งโรงเรียนและกระทรวงศึกษาธิการ เป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมและประสานความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน

             “ครูเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งสิงคโปร์ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของครู และไม่ใช่เพียงการฝึกหัดครูเท่านั้น แต่เตรียมความพร้อมกับครูใหม่ มีการติดตามครู รวมถึงให้ครูอยู่กับการสอนและพัฒนาตลอดเวลา ไม่มีภาระงานธุรการ ครูต้องหาโอกาสให้ตัวเองได้ไปเสาะแสวงหา ตักตวงความรู้ในเวทีวิชาการต่างๆ เพราะกระบวนการเรียนรู้ของครูมีผลโดยตรงต่อนักเรียน อีกทั้งการจัดการศึกษาของสิงคโปร์มีความต่อเนื่อง จริงจังและเชื่อมโยงทั้งระบบ ครูไม่ถูกแทรกแซงด้วยนโยบายระหว่างทำงาน และไม่ถูกสั่งการ แตกต่างจากการศึกษาของไทยที่ยังคงเป็นการสั่งการจากระดับบนไปสู่ผู้ปฏิบัติ และการพัฒนาครูของไทยยังขาดการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและโรงเรียน” ผศ.อรรถพล กล่าว

             ผศ.อรรถพล กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังให้ความสำคัญในเรื่องของการฝึกหักครูน้อย เนื่องจากมองว่านิสิต นักศึกษาครูเดินเข้าโรงเรียนสามารถสอนได้ ทั้งที่ความจริงนิสิตนักศึกษาครูเพิ่งจบชั่วโมงบินและทักษะการฝึกปฏิบัติยังไม่มาก เมื่อไปเจอประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกไม่ดีอาจส่งผลต่อความหมดศรัทธาในวิชาชีพครูได้ ดังนั้นตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงเร่งผลักดันการจัดทำระบบพี่เลี้ยงให้เข้มแข็ง เช่น จุฬาฯ โดยได้ร่วมมือกับโรงเรียนเครือข่ายกว่า 30 แห่ง ในการพัฒนาคุณภาพครูเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพเด็ก

             อย่างไรก็ตาม การสอนที่จะสร้างสรรค์ความเป็นผู้นำ ค่านิยม และสร้างความเป็นพลเมืองให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ นักการศึกษาทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันผลิตครู คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ผู้บริหารโรงเรียน และครูเอง ต้องร่วมมือกันพัฒนาการศึกษา ซึ่งอาจจะนำบทเรียน การออกแบบการสอนใหม่ของสิงคโปร์มาใช้ เพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

โดย : เกศกาญจน์ บุญเพ็ญ
ที่มา : คมชัดลึก

ศธ.เล็งลดวงเงินกู้แก้ปัญหาหนี้ครู 1 ล้านล้านบาท – ครูระยอง

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารออมสินและกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมออกมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ว่า มาตรการดังกล่าวมุ่งเน้นเรื่องการสร้างความรู้และสร้างวินัยทางการเงิน ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนด้วย เพราะประเด็นปัญหาหนี้สินครูไม่ได้เกิดจากการประกอบอาชีพครู แต่เป็นเพราะครูมีโอกาสกู้ยืมเงินได้ง่ายและได้เงินก้อนใหญ่ เช่น โครงการสวัสดิการเงินกู้ฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลาการทางการ ศึกษา (ช.พ.ค.) ที่ให้วงเงินกู้สูงสุดถึง 3 ล้านบาท โดยเฉพาะครูใหม่ที่เพิ่งรับราชการก็มีโอกาสกู้ด้วยทั้งที่เงินเดือนยังไม่มากเป็นการสร้างหนี้ให้ครูแต่ต้น และเมื่อกู้ง่ายครูก็นำเงินก้อนนี้ไปลงทุนทำธุรกิจอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับอาชีพครู อาจจะประสบปัญหาขาดทุนไม่มีเงินผ่อนชำระหนี้สิน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุคือหาวิธีการควบคุมการกู้เงิน

“ต้องหาวิธีควบคุมการกู้เงิน โดยให้พิจารณาความสามารถในการจ่ายคืน ไม่ปล่อยให้เป็นหนี้พอกหางหมู และทำให้หนี้สินครูสูงกว่าราชการในหน่วยงานอื่นๆทั้งที่เงินเดือนใกล้เคียงกันหรืออาจสูงกว่าด้วยซ้ำ ขณะเดียวกันต้องมีเงินเหลือพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วย ที่ผ่านมาในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ก็ได้มีการหารือเพื่อลดวงเงินกู้ลงมา รวมถึงจะต้องลดโครงการสวัสดิการอื่นๆ ที่ทำให้ครูมีหนี้ได้ง่ายขึ้น”พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว

รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ. กล่าวว่า สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีข้อสรุปว่า จะต้องแบ่งลูกหนี้ ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มลูกหนี้วิกฤตรุนแรง กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้ใกล้วิกฤต กลุ่มที่ 3 ลูกหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 12 งวดติดต่อกันนับถึงวันที่ 1 มิ.ย. 2558 ให้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามมาตรการของธนาคาร และกลุ่มสุดท้ายลูกหนี้ปกติ คือ ลูกหนี้ที่ยังไม่ผิดนัดชำระ ให้พักชำระเงินต้นไม่เกิน 2 ปี แต่ให้ชำระดอกเบี้ย โดยได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ทำหนังสือแจ้งเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ

สำหรับขั้นตอนในการเข้าร่วมมาตรการระยะแรก คือ ลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงข้าราชการบำนาญสังกัด ศธ. จะต้องไปลงทะเบียนที่ธนาคารออมสิน และแจ้งหน่วยงานต้นสังกัดให้รับรอง ภายในวันที่ 31 ก.ค.2558 อย่างไรก็ตาม จากข้อมูล พบว่ามีครูที่อยู่ในกลุ่มลูกหนี้วิกฤตรุนแรง ซึ่งได้ไปร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี ประมาณ 1,700คน ส่วนกลุ่มที่ 2 คือลูกใกล้วิกฤตมีจำนวนหลายหมื่นคน ส่วนกลุ่มอื่นยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ส่วนมูลค่าหนี้ทั้งหมดอยู่ประมาณ 1 ล้านล้านบาท

ที่มา : ผู้จัดการ

ศธ.เตรียมประกาศ ออกกฎกระทรวง คุมครูกวดวิชา – ครูระยอง


ศธ.เตรียมประกาศ ออกกฎกระทรวง คุมครูกวดวิชา

การศึกษาไทย

Print Friendly

นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในโอกาสเดินทางไปพบปะและมอบนโยบายผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ที่อาคารสำนักงาน สช.ชั่วคราว โรงเรียนโยนออฟอาร์คบริหารธุรกิจ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ขอให้ผู้บริหาร สช.ยึดหลัก 4 S ในการทำงาน

  • S ที่ 1 Service Mind การมีจิตใจในการให้บริหาร
  • S ที่ 2 Speed การทำงานที่รวดเร็ว
  • S ที่ 3 Smart การมีความน่าเชื่อถือ ในภาพลักษณ์ของบุคลากรในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง และเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้น
  • S ที่ 4 Systematically การทำงานอย่างเป็นระบบ การวางมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้งานเกิดการพัฒนาและมีคุณภาพ ต้องเริ่มจากการทำงานที่เป็นระบบและมีแบบแผน ผู้ที่วางระบบที่ดี จะทำให้องค์กรสามารถเดินหน้าได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งขอเน้นย้ำการปฏิบัติงานต้องไม่มีการทุจริตและคอร์รัปชัน

“ผมขอฝากให้ สช.ดูแลตามนโยบายว่า จะมีการดำเนินการอย่างไร ไม่ให้มีการเก็บค่าเล่าเรียนเกินกว่าที่ทางกฎหมายโรงเรียนเอกชนกำหนด และในส่วนของโรงเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะที่มีข้อครหาว่าครูไม่สอนในชั้นเรียนให้เต็มที่ ทำให้ต้องมีการออกมาเปิดโรงเรียนกวดวิชา ก็จะมีการออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครูที่ทำการเปิดสอนโรงเรียนกวดวิชา ทำการสอนในช่วงเวลาเรียนให้เต็มที่” ปลัด ศธ.กล่าว.

ที่มา : ไทยโพสต์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ร่างพ.ร.บ.ซูเปอร์บอร์ดยังไม่ลงตัว

Print Friendly

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการการประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ที่ประชุมได้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ ซึ่งหลังการพิจารณาที่ประชุมได้ขอให้อนุกรรมการฝ่ายกฎหมายนำไปหารือเพื่อให้ได้ข้อยุติในแนวทางเดียวกับร่าง พ.ร.บ.ของ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการยกร่าง เนื่องจากยังมีบางประเด็นที่ยังขัดแย้ง อาทิ ความเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง โดยร่างของ ศธ.ให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรมว.ศึกษาธิการเป็นรองประธาน ในขณะที่ร่างของ สปช.ต้องการให้ปลอดจากการเมืองโดยให้คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานและรองประธานแทน ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่เพราะเห็นว่าหากไม่มีนายกฯและรัฐมนตรีฝ่ายปฏิบัติ งานอาจจะไม่เชื่อมโยง จึงให้ไปหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อยุติเหลือเพียงร่างเดียว นำเสนอให้ที่ประชุมเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังได้เห็นชอบในหลักการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้สถานศึกษามีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารจัดการตนเองตามแนวทางการบริหารจัดการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ซึ่งหลักการที่สำคัญ คือ รัฐต้องการส่งเสริมให้มีการแข่งขันระหว่างสถานศึกษาทุกประเภท โดยมีการจัดหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้ไปได้ไกลที่สุดเท่าที่ความสามารถแต่ละบุคคลพึงมี ทั้งยังต้องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการระดมทุนและสนองทุนเพื่อการศึกษาให้มีบริการการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพ รวมถึงเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาด้วย โดยที่ประชุมได้มอบให้คณะอนุกรรมการปฏิรูประบบทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษา นำความเห็นจากที่ประชุมไปพิจารณากำหนดเป็นแนวทางดำเนินการ ซึ่งอาจทำเป็นรูปแบบหรือวิธีการนำร่องที่มีความเหมาะสม เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาต่อไป

ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการของแนวทางการส่งเสริมความเป็นอิสระของสถานศึกษา ตามที่คณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการกระจายอำนาจเสนอ เพื่อต้องการให้สถานศึกษาสามารถขับเคลื่อนภารกิจที่ได้รับจากการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาจากส่วนกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยยึดหลักการที่สำคัญ 9 ข้อ คือ

  1. หลักความเป็นอิสระ
  2. หลักความยืดหยุ่นของการบริหารจัดการ
  3. หลักการเสริมพลัง
  4. หลักความเชื่อถือและไว้วางใจ
  5. หลักการมีส่วนร่วม
  6. หลักการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
  7. หลักการบริหารจัดการที่ดี
  8. หลักความรับผิดชอบ
  9. หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล

นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการปรับปรุงพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เพื่อแก้ไขพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2545) และครั้งที่ 3 (พ.ศ.2553) โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานอนุกรรมการ.

ที่มา : เดลินิวส์

นายกฯสั่งวธ.-ศธ.ทำหนังสือประวัติชาติไทย ให้เด็ก-เยาวชน-ประชาชนเรียนรูวัติศาสตร์

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า จากกรณีที่ กระทรวงวัฒนธรรม มอบหนังสือนามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย 20 เล่ม ให้นายกรัฐมนตรี โดยหนังสือดังกล่าวกระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมกับ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) จัดพิมพ์หนังสือดังกล่าว ขึ้น เพื่อเผยแพร่ พระราชประวัติพระเกียรติคุณและ พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ นั้น

นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมกันจัดทำคู่มือประวัติศาสตร์ชาติไทยสำหรับเด็กๆ ในระดับประถม ระดับมัธยม ระดับอุดมศึกษา นักศึกษาต่างประเทศและประชาชนทั่วไป โดยให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์ไทยในทุกพระองค์ ทรงทำคุณประโยชน์ใดไว้ในแผ่นดิน ตั้งแต่สร้างชาติ สู้รบและสู้ความยากจน ความเป็นมาของประเทศไทย วัฒนธรรมประเพณีของไทย

นายวีระกล่าวว่า ในส่วนของกระทรวง วัฒนธรรม มอบหมายให้กรมศิลปากร ไปดำเนินการเรื่องดังกล่าว โดยหลังจากนี้ ต้องไปหารือกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ถึงแนวทางและการดำเนินการ เรื่องดังกล่าวร่วมกันในการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทยให้เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งการดำเนินการ เรื่องนี้ทั้งสองกระทรวงจะต้องร่วมมือกัน อาจจะต้องจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อให้ การดำเนินการเรื่องนี้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว และ การจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทยในส่วนของเด็ก และเยาวชน ก็จะต้องใช้วิธีการเขียนที่อ่านแล้วสนุก น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ รวมถึง มีภาพประกอบสวยงาม ที่สำคัญ ในส่วนของระดับประถมศึกษาอาจจะจัดทำหนังสือในรูปแบบการ์ตูน เพื่อดึงดูดความน่าสนใจจากเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกระทรวง ได้ประชุมหารือกับกรมศิลปากรไปแล้วได้ข้อสรุปว่า การจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทยจะต้องเป็นหนังสือที่น่าสนใจ อ่านง่าย ที่สำคัญเด็กๆ ทั้งในระดับประถม ระดับมัธยม ระดับอุดมศึกษา นักศึกษาต่างประเทศและประชาชนทั่วไป อ่านแล้วเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์มากขึ้น

ที่มา : moe

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สะกิดครูสอนเต็มที่อย่ากั๊กเพื่อกวดวิชา

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในโอกาสเดินทางไปพบปะและมอบนโยบายผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ว่า ขอให้ผู้บริหาร สช.ยึดหลัก 4 S ในการทำงาน S ที่ 1 Service Mind S ที่ 2 Speed S ที่ 3 Smart และ S ที่ 4 Systematically เพื่อให้งานเกิดการพัฒนาและมีคุณภาพ ทั้งขอเน้นย้ำการปฏิบัติงานต้องไม่มีการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเด็ดขาด

ส่วนโรงเรียนเอกชนที่มีค่าเล่าเรียนค่อนข้างสูง ขอฝากให้ สช.ดูแลตามนโยบาย ไม่ให้มีการเก็บค่าเล่าเรียนเกินกว่าที่กฎหมายโรงเรียนเอกชนกำหนด เช่นเดียวกับในส่วนของโรงเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะที่มีข้อครหาว่าครูไม่ทำการสอนในชั้นเรียนให้เต็มที่ แล้วออกมาเปิดโรงเรียนกวดวิชา จะมีการออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครูที่ทำการเปิดสอนโรงเรียนกวดวิชา ทำการสอนในช่วงเวลาเรียนให้เต็มที่ ส่วนปัญหาเด็กทะเลาะวิวาทจนเสียชีวิต ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่นั้นก็ต้องมีการช่วยกันดูแล และเชื่อว่าในอนาคตหากทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยดูแลจะสามารถแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทได้

“ขณะนี้ผมมีแนวคิดในการดึงจุดเด่นของอาชีวศึกษาออกมา โดยพยายามสร้างอาชีวะสีขาว คือ มีการจัดเด็กเป็นกลุ่มๆ เพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนอาชีวศึกษา แล้วให้สถานประกอบการเข้ามาช่วยดูแล ในขณะที่โรงเรียนและ สช.จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้ ซึ่งเด็กเหล่านี้จะได้เรียนอย่างจริงจังและได้ลงมือปฏิบัติจริง เมื่อจบออกไปทำงานในสถานประกอบการจะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเราดำเนินการในจุดนี้ได้ก็จะมีเด็กเข้ามาเรียนอาชีวะเพิ่มมากขึ้น เพราะจบแล้วได้งานทำทันที การดำเนินการในลักษณะนี้จะเป็นเกราะคุ้มกันไม่ให้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทขึ้นได้” ปลัด ศธ.กล่าวและว่า สำหรับการรวมอาชีวศึกษาเอกชนกับอาชีวศึกษาของรัฐเพื่อพัฒนาไปสู่ระบบและมาตรฐานเดียวกันนั้น ในหลักการผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นชอบตรงกันแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียด.

ที่มา : ไทยรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre