วธ. ทยอยส่งหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ห้องสมุดโรงเรียนทั่วประเทศ ระบุ ครม. พรุ่งนี้ โชว์ตัวอย่างปีรณรงค์ความเป็นไทย – ครูระยอง

Print Friendly

วธ. ทยอยส่งหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ห้องสมุดโรงเรียนทั่วประเทศ ระบุ ครม. พรุ่งนี้ โชว์ตัวอย่างปีรณรงค์ความเป็นไทย

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กรมศิลปากร จัดพิมพ์หนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย ฉบับภาษาไทย เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ความเป็นมาของชาติ ตลอดจนความเสียสละของบูรพมหากษัตริยาธิราชและบรรพบุรุษไทยที่ได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ เลือดเนื้อ และชีวิตปกป้องผืนแผ่นดินไทยนั้น ขณะนี้ กรมศิลปากร ได้จัดพิมพ์หนังสือฉบับภาษาไทย จำนวน 10,000 เล่ม สำหรับฉบับภาษาอังกฤษอยู่ระหว่างการจัดทำโดยจะนำฉบับนี้ไปเผยแพร่แก่ชาวต่างชาติ รวมถึงหนังสือพระบรมราชานุสรณ์ สัตตบูรพกษัตริยาธิราช อุทยานราชภักดิ์ อีก 1,000 เล่ม

อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นทยอยส่งมอบให้กับห้องสมุดโรงเรียนนำร่องกว่า 100 แห่ง และส่งมอบให้กับหอสมุดแห่งชาติ 17 แห่งทั่วประเทศ หอสมุดประชาชน และห้องสมุดในโรงเรียน มหาวิทยาลัย เพื่อให้ประชาชน และเยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างถูกต้อง

นายวีระ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ วธ. เร่งรวบรวมเนื้อหาประวัติศาสตร์ชาติไทย และจัดทำเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทยฉบับพกพาเพิ่มเติมตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ทั้งในรูปแบบภาษาไทยสำหรับเยาวชน และผู้สนใจทั่วไป และฉบับภาษาอังกฤษ โดยจะเปิดตัวในงานหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 20 ในวันที่ 21 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งผู้ร่วมงานจะได้รับหนังสือที่มีลายมือชื่อของนายกรัฐมนตรีด้วย อีกทั้งจะมีการจัดสัมมนาประวัติศาสตร์ชาติไทยในเดือนพฤศจิกายน ที่โรงละครแห่งชาติอีกด้วย

“วธ. เตรียมหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย และกิจกรรมการรณรงค์ความเป็นไทยไปเปิดตัวอย่างเป็นทางการก่อนการประชุม ครม.(วันที่ 20 ต.ค.) โดยจะนำเครือข่ายทางวัฒนธรรมทั้งสายการบิน ธนาคาร สถานศึกษา ผู้สร้างและนักแสดงภาพยนตร์ ตลอดจนการแสดงทางวัฒนธรรมภายใต้วิถีถิ่น วิถีไทย วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมอาเซียน และมรดกไทย มรดกโลก นำการสาธิตแม่ไม้มวยไทย อาหารไทย และภาพยนตร์ไทยไปเปิดตัวให้คนไทยและทุกภาคส่วนตื่นตัวและร่วมสืบสานความเป็นไทยให้คงอยู่ต่อไป”

นายวีระ กล่าว

ที่มา : ผู้จัดการ

สพฐ.ไฟเขียวขอบัญชีบรรจุข้ามเขต/ระบุข้อสอบจาก8มหา’ลัยความยาก-ง่ายระดับกลาง – ครูระยอง

Print Friendly

นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2558 ใน 111 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) จำนวน 44 กลุ่มวิชา โดยมีอัตราว่าง 1,611 อัตรา นั้น ขณะนี้ได้ประกาศผลการสอบครบทุกเขตพื้นที่ฯ แล้ว โดยภาพรวมการสอบครั้งนี้

  • มีผู้สมัครสอบทั้งสิ้น 111,428 คน
  • มีสิทธิสอบ 111,179 คน เ
  • ข้าสอบ 104,265 คน
  • มีผู้สอบได้ 19,940 คน
  • คิดเป็นร้อยละ 19,12 ของผู้เข้าสอบ

โดยกลุ่มสาขาวิชาที่มีผู้สอบได้มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

  1. คณิตศาสตร์ 2,549 คน
  2. สังคมศึกษา 2,463 คน
  3. คอมพิวเตอร์ 2,071 คน
  4. ประถมศึกษาและอนุบาล 1,895 คน
  5. ภาษาอังกฤษ 1,852 คน

ส่วนสาขาที่มีผู้สอบได้น้อยที่สุด 5 อันดับ คือ

  1. กายภาพบำบัด 1 คน
  2. กิจกรรมบำบัด 2 คน
  3. จิตวิทยา 3 คน
  4. ดุริยางคศิลป์ 4 คน และ
  5. ช่างยนต์ 5 คน

ขณะที่กลุ่มสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ซึ่งมีอัตราว่าง 1 อัตรา เปิดสอบโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.) 2 ซึ่งมีผู้เข้าสอบ 3 คน แต่ไม่มีผู้สอบผ่าน

ทั้งนี้ หากคิดเป็นเปอร์เซนต์เขตพื้นที่ฯ ที่มีผู้สอบได้มากที่สุด คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) สุราษฏร์ธานี เขต1 และเขตพื้นที่ฯ ที่สอบได้น้อยที่สุดคือ สพป.นราธิวาส เขต1 สอบผ่าน 1 คน ส่วน สพป.นราธิวาสเขต 2 ไม่มีผู้สอบผ่าน
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า จากผลการสอบดังกล่าวพบว่าบางเขตพื้นที่ฯ มีผู้สอบได้เกินจำนวนอัตราว่างที่มีอยู่ ขณะที่บางเขตพื้นที่ฯมีผู้สอบได้บางกลุ่มสาขาวิชาไม่ครบตามจำนวน หรือไม่มีผู้สอบได้ ดังนั้น สพฐ.จะทำหนังสือแจ้งไปยังเขตพื้นที่ฯ ให้สามารถขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) กำหนดนำรายชื่อผูสอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่ง ไปเป็นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น ในตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามหนังสือที่ ศธ.0206,6/ว.15 ลงวันที่ 24 ก.ค.58 แต่ทั้งนี้ ต้องผ่านความเห็นชอบจาก อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ที่มีบัญชีอยู่ว่า จะยอมปล่อยบัญชีหรือผู้รับยินดีรับหรือไม่

ดูจากตัวเลขผู้สอบได้กับอัตราว่างแล้ว เชื่อว่าสามารถบรรจุครูผู้ช่วยได้ครบตามจำนวนที่ว่าง เพราะสามารถเรียกบัญชีข้ามเขตได้ ยกเว้นกลุ่มวิชาภาษาเยอรมันที่ต้องมีการสอบใหม่ ส่วนจำนวนผู้สอบได้ทั้งหมดในภาพรวม ซึ่งสอบได้ถึงร้อยละ 19.12 นั้น ถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อยและสูงเกินที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งที่เหลือจากการเรียกบรรจุจะขึ้นบัญชีไว้ 2 ปี อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูผลการสอบของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) จะมีผู้สอบได้ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น ดังนั้น ผลการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย ของ สพฐ.จึงไม่ถือว่าผิดปกติ ส่วนที่บางเขตพื้นที่ฯ มีผู้สอบได้น้อยจะต้องมาวิเคราะห์หาสาเหตุกันต่อไป แต่โดยส่วนตัวคิดว่าข้อสอบที่ออกโดยมหาวิทยาลัย 8 แห่ง ก็มีเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน และครอบคลุมเนื้อหาหลักสูตร ส่วนความยากง่าย ก็ถือว่าอยู่ระดับกลาง ไม่ยากหรือง่ายเกินไป

นายการุณ กล่าวและว่า ต้องขอขอบคุณทีมงาน สพฐ.ทุกคนทั้ง ผอ.เขตพื้นที่ฯ และบุคลากร ที่ระดมพลังดำเนินการจัดการสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยยึดมั่นในความสุจริต โปร่งใส เป็นธรรม

ที่มา : สยามรัฐ

สพฐ.รับครูผู้ช่วย “ว16” 2,616อัตรา เปิดรับ2-8พ.ย. – ครูระยอง

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้กำหนดการสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษ ว16 ครั้งที่ 2/2558

โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) รับสมัคร 226 เขต รวมสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) กลุ่มวิชาที่เปิดสอบ 53 กลุ่มวิชา รวมอัตราว่าง 2,616 อัตรา แบ่งเป็น อัตราว่างที่เหลือจากการสอบครูผู้ช่วยครั้งที่ 1 ประจำปี 2558 จำนวน 1,780 อัตรา อัตราที่ได้รับจัดสรรจากการคืนจากอัตราเกษียณ ปีงบประมาณ 2556 จำนวน 315 อัตรา และอัตราที่ได้รับจัดสรรจากการคืนอัตราเกษียณ ปีงบ 2557 จำนวน 485 อัตรา สำหรับปฏิทินการสมัครมีดังนี้

  • ประกาศรับสมัคร วันที่ 26 ตุลาคม
  • รับสมัคร วันที่ 2-8 พฤศจิกายน
  • ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วันที่ 13 พฤศจิกายน
  • สอบข้อเขียน ภาค ก ความรอบรู้ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู และภาค ข ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษา และความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาเอก วันที่ 28 พฤศจิกายน
  • สอบสัมภาษณ์ ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ วันที่ 29 พฤศจิกายน
  • ประกาศผลการสอบภายในวันที่ 4 ธันวาคม

นายกมลกล่าวอีกว่า สำหรับการรับสมัครครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ครั้ง 2 ประจำปี 2558 ซึ่งเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 14-20 กันยายน มี สพท.และ สศศ.รับสมัครรวม 111 เขต ใน 44 กลุ่มวิชา 1,611 อัตรานั้น ข้อมูล ณ วันที่ 19 กันยายน มีจำนวนผู้สมัครรวม 98,778 คน สาขาวิชาที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

  1. คอมพิวเตอร์ 12,878 คน
  2. สังคมศึกษา 12,236 คน
  3. ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 11,392 คน
  4. วิทยาศาสตร์ 10,524 คน
  5. ภาษาอังกฤษ 9,532 คน

ที่มา : ครูบ้านนอก

“ดาว์พงษ์” รอดูผลลดเวลาเรียนก่อนปรับหลักสูตร – ครูระยอง

Print Friendly

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า สมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ ได้เข้าพบตนเพื่อนำเสนอการแก้ไขปัญหาการศึกษาชาติในหลายเรื่อง อาทิ การเรียนการสอนที่มากไป และใช้วิธีท่องจำ สอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่ ศธ.ทำอยู่พราะต้องการให้เด็กมีเวลาเรียนรู้ ค้นคว้า คิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง ต้องการสอนให้เด็กคิดเป็นจะเริ่มดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558

ส่วนการจัดการเรียนการสอนที่อยากให้เด็กมีภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ศธ.กำลังมอง และวางแผนอยู่ รวมถึงการปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการพอสมควร เพราะการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากทุกภาคส่วนมาช่วยระดมความคิดเห็น หากนโยบายลดเวลาเรียนฯ ประสบความสำเร็จ อาจไม่ต้องปรับหลักสูตรก็เป็นได้

ที่มา : มติชน

8 วิธีปรับโฉม “โรงเรียน” ใหม่…จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ – ครูระยอง

Print Friendly

นิตยสารไทม์ฉบับประจำเดือนกันยายน 2558 โดยอเล็กซานดร้า ซิฟเฟอร์ลีน คอลัมนิสต์ได้ประมวล “วิธีการปรับโฉมโรงเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อให้เด็กเยาวชนมีความสุขมากขึ้น” โดยได้รวบรวมบทเรียนที่น่าสนใจจากโรงเรียนทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา และนโยบายของรัฐบาลกลางที่เป็นกรอบการพัฒนาให้โรงเรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้น

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จึงขอประมวลประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “ 8วิธีการปรับโฉมโรงเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อให้เด็กเยาวชนมีความสุขมากขึ้น” โดยอเล็กซานดร้า ซิฟเฟอร์ลีน คอลัมนิสต์ของนิตยสารไทม์ ได้รวบรวมบทเรียนที่น่าสนใจจากโรงเรียนทั่วสหรัฐอเมริกา และนโยบายของรัฐบาลกลางที่เป็นกรอบการพัฒนาให้โรงเรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้น

“เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของเด็กในอเมริกา อย่างน้อยก็ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่พวกเขาต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีเวลาเล่นมีน้อย กองการบ้านเริ่มกองสูงท่วมหัว อัตราโรคอ้วนเริ่มทะยานสูงเสียดฟ้า แถมยังหาเวลานอนอย่างมีคุณภาพแทบไม่ได้”

อเล็กซานดร้า ท้าวความถึงในอดีต ที่ทั้งผู้กำหนดนโยบาย และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ได้หาหนทางแก้ปัญหาร่วมกันโดยการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ถึงความสำคัญของดูแลสุขภาพการกิน และการสนับหนุนให้พวกเขาจำกัดเวลาลูกๆ จากหน้าจอทีวี แต่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญต่างพยายามหาหนทางทีจะทำให้เกิดผลในเชิงนโยบายเพื่อเปลี่ยน“สภาพแวดล้อม” ที่เด็กได้เรียนรู้ในโรงเรียนแต่ละวันแทน

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนในสหรัฐอเมริกาพยายาม “ทดลอง” ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียนเพื่อให้เด็กนักเรียนมีความสุขมากขึ้น สุขภาพดีขึ้น และสามารถเตรียมความพร้อมให้พวกเขาทำงานและอยู่ร่วมกับนักเรียนที่มาจากหลายหลากภูมิหลัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อถูกจำกัดโดยงบประมาณที่ลดลง

แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงกันในกลุ่มสมาพันธ์สหภาพครู และมาตรฐานกลางเพื่อดึงความสนใจในระหว่างที่การเลือกตั้งในปี 2016 ที่ใกล้จะมาถึง นักนวัตกรรมจึงพยายามหยิบแง่มุมใหม่ๆ ขึ้น เพื่อเริ่มตามติด หรือยกระดับการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนในอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย 8 ประเด็นที่น่าจับตามอง ได้แก่

  1. การปรับโฉม “การบ้าน” ยุคใหม่: วิจัยล่าสุดพบว่า นักเรียนในระดับประถมศึกษาไม่ได้รับประโยชน์จากการทำการบ้านหลังเลิกเรียนกับผู้ปกครอง โดยมีโรงเรียนหลายแห่ง เช่น Gaithers-burg ในรัฐแมรีแลนด์ ปรับเปลี่ยนการบ้านเป็นให้นักเรียนเลือกอ่านหนังสือที่ชอบเป็นเวลา 30 นาทีทุกวันแทน โดยครูใหญ่ได้กล่าวว่า นักเรียนของเธอดูมีความสนอกสนใจบทเรียนมากขึ้น ตั้งแต่โรงเรียนเริ่มปรับเปลี่ยนการบ้านตั้งแต่ปี 2011 โดยมีเด็กหลายคนที่มีพัฒนาการที่สูงขึ้นมากกว่าเด็กที่ยังได้รับการบ้านในแบบเดิม
  2. การปรับลดการเรียนในห้อง และเพิ่มการเรียนรู้นอกห้อง: ในปัจจุบันเด็กวัยรุ่นประสบปัญหา “โรคอ้วน” สูงกว่าเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ถึง 4 เท่า ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ถึงเวลาที่เราต้องลดเวลาเรียน ไม่ใช่แค่การหยุดพัก เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กได้ขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง ซึ่งจะลงผลดีแก่ร่างกายและจิตใจ โดยนักกุมารเวชศาสตร์ได้ให้คำแนะนำว่า กิจกรรมที่เอื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวนั้นจะช่วยเพิ่มพลังให้สมองเด็ก หลังจากต้องเรียนถึง 7 ชม.ต่อวัน ซึ่งในเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา มีโรงเรียนในอเมริกาประมาณ 40% ที่ลดช่วงเวลาดังกล่าวไปเพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมในการสอบ หรือการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามโรงเรียนในย่าน Bronx เพิ่มชั่วโมงฟิตเนสเข้าเป็นเวลาเรียนในทุกวัน
  3. การเฝ้าระวังการป่วยทางจิต: แม้ว่านักเรียนในระดับประถมศึกษาเกือบทั้งหมดจะถูกจับตามองและรับฟังเสียงสะท้อนต่างๆ อยู่เป็นปกติ แต่ยังขาดเครื่องมือในการตรวจวัดความผิดปกติด้านสภาพจิตใจ เช่น สภาพความหดหู่ หรือความวิตกกังวล เป็นต้น ซึ่งการรักษาที่ล่าช้า จะทำให้อาการแย่ลง โดยโรงเรียนบอสตันมีระบบที่พยายามป้องกันอาการดังกล่าวด้วยการตรวจสภาพทางด้านจิตใจ อารมณ์และพฤติกรรมเด็กปีละ 2 ครั้ง
  4. จัดโรงอาหารให้เอื้อต่อสุขภาพการกินที่ดี: แม้ว่าโรงเรียนในอเมริกาจะจัดให้มีอาหารที่ถูกหลักสุขภาพในโรงอาหาร แต่การชักชวนให้เด็กหันมาเลือกรับประทานกลับเป็นเรื่องยากลำบาก โดยมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ บูมเมอร์ สคูล ออฟ พับลิค เฮลธ์ ค้นพบงานวิจัยที่ชี้ว่า มีนักเรียนเพียงครึ่งเดียวที่เลือกซื้อผักและผลไม้เป็นอาหารกลางวัน และเด็กจำนวนน้อยที่เลือกกินผักผลไม้ และเพื่อจะแก้ปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบักกิ่งแฮม คันทรี่ K-5 ในเดลวิลล์ เวอร์จิเนีย ปรับเปลี่ยนห้องครัวในโรงอาหารใหม่ เพื่อให้นักเรียนได้เห็นอาหารสดใหม่ที่กำลังถูกเตรียมพร้อม และโรงเรียนยังสนับสนุนให้นักเรียนผลิตวัตถุดิบเองในสวนของโรงเรียน เพื่อที่จะทำให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและส่งต่อการส่งเสริมการกินอย่างมีคุณภาพ
  5. การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในความแตกต่าง: ผลวิจัยพบว่า การเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ร่วมกันทั้งคนผิวขาว และผิวสีนั้นจะนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงกว่า และเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กสู่โลกแห่งการทำงานจริง โดยมีโรงเรียนในหลายรัฐที่พยายามสร้างให้เกิดสภาพการเรียนรู้ของเด็กที่มาจากพื้นฐานทางครอบครัวที่ต่างกัน และหลากชาติพันธุ์ร่วมกัน โดยในปี 2012-2013 พบว่า ในห้องเรียนประกอบด้วย เด็กผิวขาว 30.2 % เด็กผิวดำ 31.4% เด็กละติน 30.5% และเด็กเอเชีย 4.4% ซึ่งมีค่าเฉลี่ยด้านความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศ
  6. เปลี่ยนการจัดระเบียบ ‘วินัย’ ให้เป็น ‘ข้อตกลงร่วม’: การลงโทษ จำพวก ‘กักบริเวณ’ หรือ ‘การพบครูใหญ่’ เพื่อแก้ปัญหา แทนที่จะให้นักเรียนเรียนรู้ว่าทำผิดนั้น คุณครูในโรงเรียนเดอแรม คอมมูนิตี้ ในรัฐเมนกลับเลือกใช้ “ข้อตกลงร่วม” แทน “ระเบียบวินัย” เช่น ถ้านักเรียนกระโดดโลดเต้นระหว่างชั่วโมงเรียน ครูจะถามนักเรียนว่า เขามีความคิดอย่างไรในการทำแก้พฤติกรรมที่รบกวนระหว่างเรียน อาทิ ยืนนั่ง 10 นาทีในห้องเรียน ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยพัฒนาพฤติกรรม โดยรอสส์ กรีนี นักจิตวิทยาในปี 2011 พบกว่า ระหว่างปี 2012-2013 มีการก่อกวนชั้นเรียนเพียง 8 ครั้งเท่านั้น ซึ่งลดลงจากเดิม 103 ครั้งหลังจากที่นำวิธีการนี้มาปรับใช้
  7. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดตารางการเรียนรู้: เด็กเรียนรู้ได้ดีเมื่อพวกเขาสนใจ ซึ่งปัจจุบันคอมพิวเตอร์กลายเป็นความสนใจร่วม ซึ่งสร้างให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดี โดยหนึ่งในเครื่องมือที่ประสบผลสำเร็จในอเมริกาขณะนี้คือ อุปกรณ์ที่เรียกว่า “Knewton” ซึ่งเป็นช่องทางการเรียนรู้เสมือนจริงที่สามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เช่น ใครที่ติดขัดในการคำนวณ Knewton จะให้คำแนะนำการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ และเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ได้ตรงจุด เป็นต้น
  8. เริ่มชั้นเรียนหลัง 8.30 น.: วัยรุ่นต้องการการพักผ่อนอย่างน้อย 8 ชม.เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และหากพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะเป็นสาเหตุนำไปสู่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ขาดสมาธิ ศักยภาพการเรียนรู้ที่ลดลง ซึ่งขัดแย้งกับสภาพร่างกายของวัยรุ่นที่สามารถตื่นได้ถึงเที่ยงคืน จึงเป็นสาเหตุให้รัฐบาลกลางและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เรียกร้องให้โรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเริ่มเรียนหลังจาก 8.30 น. (แม้ว่าจะมีโรงเรียนน้อยกว่า 1 ใน 5 ในอเมริกาที่ให้ความร่วมมือ) โดยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมินิโซตาพบว่า นักเรียน 60 % จะได้พักผ่อนอย่างน้อย 8 ชม. ซึ่งถือเป็นความพยายามในการปรับเปลี่ยนตารางชีวิตของวัยรุ่นที่เห็นได้ชัด

โดย : กนกวรรณ กลินณศักดิ์ นักวิชาการสื่อสาร สสค
ที่มา : สสค.

ความคืบหน้าการปรับขึ้นเงินเดือน 8% ให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ – ครูระยอง

Print Friendly

ศาสตราจารย์ อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ ประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) พร้อมด้วยรองประธาน และตัวแทนสภาคณาจารย์จาก ปอมท. จำนวน 13 คน จากทั้งหมด 28 สถาบัน เข้าแสดงความยินดีและหารือกับพลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมี ม.ล.ปริยดา ดิศกุล ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมประชุมหารือ

การหารือครั้งนี้ ตัวแทน ปอมท. ได้แสดงความคิดเห็นใน 5 ประเด็น โดยสรุปดังนี้

  • ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณานั้น พบว่ามีหลายข้อขัดแย้งกันเอง และหากประกาศใช้จะกระทบกับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด จึงขอให้มีการปรับปรุงแก้ไข
  • ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะใช้บังคับกับมหาวิทยาลัยของรัฐนั้น มีบางมาตราไปเกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จึงขอให้เพิ่มสัดส่วนของ ปอมท.เข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย
  • การประเมินกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF HEd) ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ เห็นด้วยที่จะให้มีการประเมินตาม มคอ. 1-2 แต่ มคอ.3-7 ควรให้มหาวิทยาลัยดำเนินการเองตามบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัย
  • การปรับขึ้นเงินเดือน 8% ให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ เนื่องจากเมื่อปี 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 8% ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ปรับให้อาจารย์มหาวิทยาลัย
  • การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จะต้องไม่ขึ้นค่าเทอมให้สูงขึ้น และการที่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีอิสระมากขึ้น ควรคำนึงถึงการนำงบประมาณรายได้ไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรนำไปใช้เพื่อการอื่น ทั้งยังขอให้มีตัวแทนคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยที่มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การหารือในครั้งนี้ทำให้รู้จักคณาจารย์หลายท่านใน ปอมท. และได้รับฟังความคิดเห็นจาก ปอมท. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอุดมศึกษา โดยได้ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับความคิดเห็นและข้อเสนอไปพิจารณา พร้อมทั้งขอให้ ปอมท.มีส่วนร่วมในการดูแลแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยบางแห่ง โดยให้กลับไปรวบรวมข้อเสนอและแนวทางแก้ปัญหาให้เป็นข้อมูลรับทราบต่อไป

นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวถึงประเด็นการพิจารณาดำเนินการปรับขึ้นเงินเดือน 8% ให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการว่า จะได้มีการหารือร่วมกับผู้บริหาร สกอ. ในวันที่ 18 กันยายนนี้ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ สกอ.เท่านั้น แต่เกี่ยวพันกับหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงบประมาณ ฯลฯ

ที่มา : moe

ร้องทุกข์เกณฑ์การย้ายครูแบบใหม่ – ครูระยอง


ร้องทุกข์เกณฑ์การย้ายครูแบบใหม่

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

รายการร้องทุกข์ลงป้ายนี้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้นำเสนอข้อร้องทุกข์ของครูผู้ช่วยเรื่อง ร้องทุกข์เกณฑ์การย้ายครูแบบใหม่ ซึ่งเป็นกรณีที่ครูผู้ช่วยเรียกร้องให้เกณฑ์ย้ายครูแบบใหม่ ไม่มีผลย้อนหลังกับครูผู้ช่วยที่กำลังจะผ่านการประเมินอย่างเข้ม และเตรียมตัวที่จะเขียนย้ายกลับไปภูมิลำเนา เนื่องจากครูผู้ช่วยหลายๆ คนที่สอบบรรจุได้ ส่วนใหญ่จะบรรจุในโรงเรียนที่ไม่ใช่ภูมิลำเนาของตนเอง เมื่อครบสองปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นครู ก็อยากจะมีสิทธิ์ได้เขียนย้ายกลับภูมิลำเนาของตนเพื่ออยู่กับครอบครัว

ทั้งนี้ มีสมาชิกหลายท่านได้โพสต์แสดงความคิดเห็นมากมากมาย เช่น “ครู มีหน้าที่สอนก้จริงแต่เราก้มีพ่อมีแม่มีลูกที่ต้องดูแล ตอนที่เราสั่งบรรจุ หลักเกณฑ์มันกำหนดมาแล้ว ชีวิตคนเราไม่ไมด้ยืนยาว ครูก็อยากตอบแทนพ่อแม่เหมือนกับคนปกติทั่วไป” “ถ้าท่านจะคิดทำอะไรท่านลองเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้างนะท่าน ขอความกรุณาทบทวนด้วย ครูหลายๆคนไม่ได้ร่ำรวยมีชีวิตสวยหรูมาแต่ไหน พ่อแม่บุพการีก็แก่ลงทุกๆวัน พวกเราหลายคนอยู่ห่างจากบ้านมากมายนักกว่าที่ท่านคิด จะกลับไปบ้านแต่ละทีก็ลำบาก โดยเฉพาะเพื่อนครูที่อยู่บนดอย … เราหวังว่าเราจะได้กลับไปดูแลครอบครัวของเรา แต่ความหวังต้องสลายเมื่อได้ยินเรื่องกฏเกณฑ์อะไรแบบนี้ ขอให้ท่านได้พิจารณาเรื่องนี้ใหม่ด้วย” เป็นต้น

ที่มา : thaischool

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ยอดสมัครครูผู้ช่วย2วันแรกทะลุ 3 หมื่นคน – ครูระยอง

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไปครั้ง 2 ประจำปี2558 วันที่ 14-20 ก.ย.ใน 110 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) และสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) รวมเป็น 111 เขตใน 44 กลุ่มวิชา จำนวน 1,611 อัตรา นั้น

ขณะนี้ สพฐ.กำลังรวบรวมข้อมูลการรับสมัครอยู่ ซึ่งการรับสมัคร 2วันแรก วันที่ 14-15ก.ย.พบว่า มีผู้สมัครรวมทั้งสิ้น 32,492 คน โดยวิชาเอกที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

  • คอมพิวเตอร์ 4,142 คน
  • ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 4,036 คน
  • วิทยาศาสตร์ 3,980 คน
  • สังคมศึกษา 3,857 คน
  • ภาษาอังกฤษ 3,446 คน

สำหรับเขตพื้นที่ที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับแรก ในวันแรก คือ

  • สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 จำนวน1,098 คน
  • สพป.เชียงราย เขต 2 จำนวน1,013 คน
  • สพป.ตาก เขต 2 จำนวน 639 คน
  • สพป.พิษณุโลก เขต 2จำนวน 613 คน
  • สพป.แม่ฮ่องสอนเขต 2จำนวน 573 คน

“ ดูจากยอดสมัครสองวันแรกแล้ว เมื่อครบกำหนดรับสมัครวันที่ 20 กันยายนน่าจะมีผู้สมัครตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ไม่ต่ำกว่า 100,000 คน ส่วนการดำเนินการจัดสอบผมได้สั่งการไปยังเขตพื้นที่ฯทั่วประเทศแล้ว ว่า ให้ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ที่สำคัญการสอบคัดเลือกครั้งนี้ผู้สมัครสามารถเลือกสมัครได้เพียงเขตพื้นที่เดียวเท่านั้น เพื่อแก้ปัญหาการสมัครหลายเขต ซึ่งอาจทำให้เกิดการทุจริตได้ ”

ทั้งนี้ จะมีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขัน วันที่ 25ก.ย. สอบข้อเขียนภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไปความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม และอุดมการณ์ความเป็นครูมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน วันที่ 10 ต.ค.สอบภาค ข ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแน่งวันที่ 11ต.ค. สอบสัมภาษณ์ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ วันที่ 12ต.ค.และประกาศผลการสอบวันที่ 20 ต.ค.นี้.

ที่มา : เดลินิวส์

คุรุสภาประกาศรายชื่อผู้ผ่านการเทียบโอนความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 92 – ครูระยอง


คุรุสภาประกาศรายชื่อผู้ผ่านการเทียบโอนความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 92

คุรุสภา

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

การจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา – ครูระยอง


การจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ก.ค.ศ.

Print Friendly

ดร.รัตนา  ศรีเหรัญ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา วันที่ 12 – 14 กันยายน 2558 ณ โรงแรมไมด้า ทวารวดี แกรนด์ จังหวัดนครปฐม โดยที่ประชุมได้จัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ถูกต้อง สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ และมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้ส่วนราชการได้ถือปฏิบัติต่อไป ดังนี้

  1. ปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 หลักเกณฑ์
  2. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) ตำแหน่งประเภททั่วไป เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้แทน สพฐ.  ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา  ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล  ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน  ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา  ผู้อำนวยการสถานศึกษา  ศึกษานิเทศก์  ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.ค.ศ.  รวมทั้งสิ้น 50 คน

ที่มา : สำนักงาน ก.ค.ศ.

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre