“ดาว์พงษ์” รอดูผลลดเวลาเรียนก่อนปรับหลักสูตร – ครูระยอง

Print Friendly

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า สมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ ได้เข้าพบตนเพื่อนำเสนอการแก้ไขปัญหาการศึกษาชาติในหลายเรื่อง อาทิ การเรียนการสอนที่มากไป และใช้วิธีท่องจำ สอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่ ศธ.ทำอยู่พราะต้องการให้เด็กมีเวลาเรียนรู้ ค้นคว้า คิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง ต้องการสอนให้เด็กคิดเป็นจะเริ่มดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558

ส่วนการจัดการเรียนการสอนที่อยากให้เด็กมีภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ศธ.กำลังมอง และวางแผนอยู่ รวมถึงการปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการพอสมควร เพราะการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากทุกภาคส่วนมาช่วยระดมความคิดเห็น หากนโยบายลดเวลาเรียนฯ ประสบความสำเร็จ อาจไม่ต้องปรับหลักสูตรก็เป็นได้

ที่มา : มติชน

8 วิธีปรับโฉม “โรงเรียน” ใหม่…จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ – ครูระยอง

Print Friendly

นิตยสารไทม์ฉบับประจำเดือนกันยายน 2558 โดยอเล็กซานดร้า ซิฟเฟอร์ลีน คอลัมนิสต์ได้ประมวล “วิธีการปรับโฉมโรงเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อให้เด็กเยาวชนมีความสุขมากขึ้น” โดยได้รวบรวมบทเรียนที่น่าสนใจจากโรงเรียนทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา และนโยบายของรัฐบาลกลางที่เป็นกรอบการพัฒนาให้โรงเรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้น

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จึงขอประมวลประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “ 8วิธีการปรับโฉมโรงเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อให้เด็กเยาวชนมีความสุขมากขึ้น” โดยอเล็กซานดร้า ซิฟเฟอร์ลีน คอลัมนิสต์ของนิตยสารไทม์ ได้รวบรวมบทเรียนที่น่าสนใจจากโรงเรียนทั่วสหรัฐอเมริกา และนโยบายของรัฐบาลกลางที่เป็นกรอบการพัฒนาให้โรงเรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้น

“เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของเด็กในอเมริกา อย่างน้อยก็ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่พวกเขาต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีเวลาเล่นมีน้อย กองการบ้านเริ่มกองสูงท่วมหัว อัตราโรคอ้วนเริ่มทะยานสูงเสียดฟ้า แถมยังหาเวลานอนอย่างมีคุณภาพแทบไม่ได้”

อเล็กซานดร้า ท้าวความถึงในอดีต ที่ทั้งผู้กำหนดนโยบาย และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ได้หาหนทางแก้ปัญหาร่วมกันโดยการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ถึงความสำคัญของดูแลสุขภาพการกิน และการสนับหนุนให้พวกเขาจำกัดเวลาลูกๆ จากหน้าจอทีวี แต่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญต่างพยายามหาหนทางทีจะทำให้เกิดผลในเชิงนโยบายเพื่อเปลี่ยน“สภาพแวดล้อม” ที่เด็กได้เรียนรู้ในโรงเรียนแต่ละวันแทน

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนในสหรัฐอเมริกาพยายาม “ทดลอง” ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียนเพื่อให้เด็กนักเรียนมีความสุขมากขึ้น สุขภาพดีขึ้น และสามารถเตรียมความพร้อมให้พวกเขาทำงานและอยู่ร่วมกับนักเรียนที่มาจากหลายหลากภูมิหลัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อถูกจำกัดโดยงบประมาณที่ลดลง

แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงกันในกลุ่มสมาพันธ์สหภาพครู และมาตรฐานกลางเพื่อดึงความสนใจในระหว่างที่การเลือกตั้งในปี 2016 ที่ใกล้จะมาถึง นักนวัตกรรมจึงพยายามหยิบแง่มุมใหม่ๆ ขึ้น เพื่อเริ่มตามติด หรือยกระดับการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนในอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย 8 ประเด็นที่น่าจับตามอง ได้แก่

  1. การปรับโฉม “การบ้าน” ยุคใหม่: วิจัยล่าสุดพบว่า นักเรียนในระดับประถมศึกษาไม่ได้รับประโยชน์จากการทำการบ้านหลังเลิกเรียนกับผู้ปกครอง โดยมีโรงเรียนหลายแห่ง เช่น Gaithers-burg ในรัฐแมรีแลนด์ ปรับเปลี่ยนการบ้านเป็นให้นักเรียนเลือกอ่านหนังสือที่ชอบเป็นเวลา 30 นาทีทุกวันแทน โดยครูใหญ่ได้กล่าวว่า นักเรียนของเธอดูมีความสนอกสนใจบทเรียนมากขึ้น ตั้งแต่โรงเรียนเริ่มปรับเปลี่ยนการบ้านตั้งแต่ปี 2011 โดยมีเด็กหลายคนที่มีพัฒนาการที่สูงขึ้นมากกว่าเด็กที่ยังได้รับการบ้านในแบบเดิม
  2. การปรับลดการเรียนในห้อง และเพิ่มการเรียนรู้นอกห้อง: ในปัจจุบันเด็กวัยรุ่นประสบปัญหา “โรคอ้วน” สูงกว่าเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ถึง 4 เท่า ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ถึงเวลาที่เราต้องลดเวลาเรียน ไม่ใช่แค่การหยุดพัก เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กได้ขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง ซึ่งจะลงผลดีแก่ร่างกายและจิตใจ โดยนักกุมารเวชศาสตร์ได้ให้คำแนะนำว่า กิจกรรมที่เอื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวนั้นจะช่วยเพิ่มพลังให้สมองเด็ก หลังจากต้องเรียนถึง 7 ชม.ต่อวัน ซึ่งในเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา มีโรงเรียนในอเมริกาประมาณ 40% ที่ลดช่วงเวลาดังกล่าวไปเพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมในการสอบ หรือการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามโรงเรียนในย่าน Bronx เพิ่มชั่วโมงฟิตเนสเข้าเป็นเวลาเรียนในทุกวัน
  3. การเฝ้าระวังการป่วยทางจิต: แม้ว่านักเรียนในระดับประถมศึกษาเกือบทั้งหมดจะถูกจับตามองและรับฟังเสียงสะท้อนต่างๆ อยู่เป็นปกติ แต่ยังขาดเครื่องมือในการตรวจวัดความผิดปกติด้านสภาพจิตใจ เช่น สภาพความหดหู่ หรือความวิตกกังวล เป็นต้น ซึ่งการรักษาที่ล่าช้า จะทำให้อาการแย่ลง โดยโรงเรียนบอสตันมีระบบที่พยายามป้องกันอาการดังกล่าวด้วยการตรวจสภาพทางด้านจิตใจ อารมณ์และพฤติกรรมเด็กปีละ 2 ครั้ง
  4. จัดโรงอาหารให้เอื้อต่อสุขภาพการกินที่ดี: แม้ว่าโรงเรียนในอเมริกาจะจัดให้มีอาหารที่ถูกหลักสุขภาพในโรงอาหาร แต่การชักชวนให้เด็กหันมาเลือกรับประทานกลับเป็นเรื่องยากลำบาก โดยมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ บูมเมอร์ สคูล ออฟ พับลิค เฮลธ์ ค้นพบงานวิจัยที่ชี้ว่า มีนักเรียนเพียงครึ่งเดียวที่เลือกซื้อผักและผลไม้เป็นอาหารกลางวัน และเด็กจำนวนน้อยที่เลือกกินผักผลไม้ และเพื่อจะแก้ปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบักกิ่งแฮม คันทรี่ K-5 ในเดลวิลล์ เวอร์จิเนีย ปรับเปลี่ยนห้องครัวในโรงอาหารใหม่ เพื่อให้นักเรียนได้เห็นอาหารสดใหม่ที่กำลังถูกเตรียมพร้อม และโรงเรียนยังสนับสนุนให้นักเรียนผลิตวัตถุดิบเองในสวนของโรงเรียน เพื่อที่จะทำให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและส่งต่อการส่งเสริมการกินอย่างมีคุณภาพ
  5. การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในความแตกต่าง: ผลวิจัยพบว่า การเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ร่วมกันทั้งคนผิวขาว และผิวสีนั้นจะนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงกว่า และเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กสู่โลกแห่งการทำงานจริง โดยมีโรงเรียนในหลายรัฐที่พยายามสร้างให้เกิดสภาพการเรียนรู้ของเด็กที่มาจากพื้นฐานทางครอบครัวที่ต่างกัน และหลากชาติพันธุ์ร่วมกัน โดยในปี 2012-2013 พบว่า ในห้องเรียนประกอบด้วย เด็กผิวขาว 30.2 % เด็กผิวดำ 31.4% เด็กละติน 30.5% และเด็กเอเชีย 4.4% ซึ่งมีค่าเฉลี่ยด้านความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศ
  6. เปลี่ยนการจัดระเบียบ ‘วินัย’ ให้เป็น ‘ข้อตกลงร่วม’: การลงโทษ จำพวก ‘กักบริเวณ’ หรือ ‘การพบครูใหญ่’ เพื่อแก้ปัญหา แทนที่จะให้นักเรียนเรียนรู้ว่าทำผิดนั้น คุณครูในโรงเรียนเดอแรม คอมมูนิตี้ ในรัฐเมนกลับเลือกใช้ “ข้อตกลงร่วม” แทน “ระเบียบวินัย” เช่น ถ้านักเรียนกระโดดโลดเต้นระหว่างชั่วโมงเรียน ครูจะถามนักเรียนว่า เขามีความคิดอย่างไรในการทำแก้พฤติกรรมที่รบกวนระหว่างเรียน อาทิ ยืนนั่ง 10 นาทีในห้องเรียน ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยพัฒนาพฤติกรรม โดยรอสส์ กรีนี นักจิตวิทยาในปี 2011 พบกว่า ระหว่างปี 2012-2013 มีการก่อกวนชั้นเรียนเพียง 8 ครั้งเท่านั้น ซึ่งลดลงจากเดิม 103 ครั้งหลังจากที่นำวิธีการนี้มาปรับใช้
  7. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดตารางการเรียนรู้: เด็กเรียนรู้ได้ดีเมื่อพวกเขาสนใจ ซึ่งปัจจุบันคอมพิวเตอร์กลายเป็นความสนใจร่วม ซึ่งสร้างให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดี โดยหนึ่งในเครื่องมือที่ประสบผลสำเร็จในอเมริกาขณะนี้คือ อุปกรณ์ที่เรียกว่า “Knewton” ซึ่งเป็นช่องทางการเรียนรู้เสมือนจริงที่สามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เช่น ใครที่ติดขัดในการคำนวณ Knewton จะให้คำแนะนำการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ และเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ได้ตรงจุด เป็นต้น
  8. เริ่มชั้นเรียนหลัง 8.30 น.: วัยรุ่นต้องการการพักผ่อนอย่างน้อย 8 ชม.เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และหากพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะเป็นสาเหตุนำไปสู่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ขาดสมาธิ ศักยภาพการเรียนรู้ที่ลดลง ซึ่งขัดแย้งกับสภาพร่างกายของวัยรุ่นที่สามารถตื่นได้ถึงเที่ยงคืน จึงเป็นสาเหตุให้รัฐบาลกลางและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เรียกร้องให้โรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเริ่มเรียนหลังจาก 8.30 น. (แม้ว่าจะมีโรงเรียนน้อยกว่า 1 ใน 5 ในอเมริกาที่ให้ความร่วมมือ) โดยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมินิโซตาพบว่า นักเรียน 60 % จะได้พักผ่อนอย่างน้อย 8 ชม. ซึ่งถือเป็นความพยายามในการปรับเปลี่ยนตารางชีวิตของวัยรุ่นที่เห็นได้ชัด

โดย : กนกวรรณ กลินณศักดิ์ นักวิชาการสื่อสาร สสค
ที่มา : สสค.

ความคืบหน้าการปรับขึ้นเงินเดือน 8% ให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ – ครูระยอง

Print Friendly

ศาสตราจารย์ อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ ประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) พร้อมด้วยรองประธาน และตัวแทนสภาคณาจารย์จาก ปอมท. จำนวน 13 คน จากทั้งหมด 28 สถาบัน เข้าแสดงความยินดีและหารือกับพลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมี ม.ล.ปริยดา ดิศกุล ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมประชุมหารือ

การหารือครั้งนี้ ตัวแทน ปอมท. ได้แสดงความคิดเห็นใน 5 ประเด็น โดยสรุปดังนี้

  • ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณานั้น พบว่ามีหลายข้อขัดแย้งกันเอง และหากประกาศใช้จะกระทบกับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด จึงขอให้มีการปรับปรุงแก้ไข
  • ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะใช้บังคับกับมหาวิทยาลัยของรัฐนั้น มีบางมาตราไปเกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จึงขอให้เพิ่มสัดส่วนของ ปอมท.เข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย
  • การประเมินกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF HEd) ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ เห็นด้วยที่จะให้มีการประเมินตาม มคอ. 1-2 แต่ มคอ.3-7 ควรให้มหาวิทยาลัยดำเนินการเองตามบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัย
  • การปรับขึ้นเงินเดือน 8% ให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ เนื่องจากเมื่อปี 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 8% ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ปรับให้อาจารย์มหาวิทยาลัย
  • การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จะต้องไม่ขึ้นค่าเทอมให้สูงขึ้น และการที่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีอิสระมากขึ้น ควรคำนึงถึงการนำงบประมาณรายได้ไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรนำไปใช้เพื่อการอื่น ทั้งยังขอให้มีตัวแทนคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยที่มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การหารือในครั้งนี้ทำให้รู้จักคณาจารย์หลายท่านใน ปอมท. และได้รับฟังความคิดเห็นจาก ปอมท. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอุดมศึกษา โดยได้ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับความคิดเห็นและข้อเสนอไปพิจารณา พร้อมทั้งขอให้ ปอมท.มีส่วนร่วมในการดูแลแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยบางแห่ง โดยให้กลับไปรวบรวมข้อเสนอและแนวทางแก้ปัญหาให้เป็นข้อมูลรับทราบต่อไป

นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวถึงประเด็นการพิจารณาดำเนินการปรับขึ้นเงินเดือน 8% ให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการว่า จะได้มีการหารือร่วมกับผู้บริหาร สกอ. ในวันที่ 18 กันยายนนี้ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ สกอ.เท่านั้น แต่เกี่ยวพันกับหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงบประมาณ ฯลฯ

ที่มา : moe

ร้องทุกข์เกณฑ์การย้ายครูแบบใหม่ – ครูระยอง


ร้องทุกข์เกณฑ์การย้ายครูแบบใหม่

โรงเรียน - ครูระยอง

Print Friendly

รายการร้องทุกข์ลงป้ายนี้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้นำเสนอข้อร้องทุกข์ของครูผู้ช่วยเรื่อง ร้องทุกข์เกณฑ์การย้ายครูแบบใหม่ ซึ่งเป็นกรณีที่ครูผู้ช่วยเรียกร้องให้เกณฑ์ย้ายครูแบบใหม่ ไม่มีผลย้อนหลังกับครูผู้ช่วยที่กำลังจะผ่านการประเมินอย่างเข้ม และเตรียมตัวที่จะเขียนย้ายกลับไปภูมิลำเนา เนื่องจากครูผู้ช่วยหลายๆ คนที่สอบบรรจุได้ ส่วนใหญ่จะบรรจุในโรงเรียนที่ไม่ใช่ภูมิลำเนาของตนเอง เมื่อครบสองปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นครู ก็อยากจะมีสิทธิ์ได้เขียนย้ายกลับภูมิลำเนาของตนเพื่ออยู่กับครอบครัว

ทั้งนี้ มีสมาชิกหลายท่านได้โพสต์แสดงความคิดเห็นมากมากมาย เช่น “ครู มีหน้าที่สอนก้จริงแต่เราก้มีพ่อมีแม่มีลูกที่ต้องดูแล ตอนที่เราสั่งบรรจุ หลักเกณฑ์มันกำหนดมาแล้ว ชีวิตคนเราไม่ไมด้ยืนยาว ครูก็อยากตอบแทนพ่อแม่เหมือนกับคนปกติทั่วไป” “ถ้าท่านจะคิดทำอะไรท่านลองเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้างนะท่าน ขอความกรุณาทบทวนด้วย ครูหลายๆคนไม่ได้ร่ำรวยมีชีวิตสวยหรูมาแต่ไหน พ่อแม่บุพการีก็แก่ลงทุกๆวัน พวกเราหลายคนอยู่ห่างจากบ้านมากมายนักกว่าที่ท่านคิด จะกลับไปบ้านแต่ละทีก็ลำบาก โดยเฉพาะเพื่อนครูที่อยู่บนดอย … เราหวังว่าเราจะได้กลับไปดูแลครอบครัวของเรา แต่ความหวังต้องสลายเมื่อได้ยินเรื่องกฏเกณฑ์อะไรแบบนี้ ขอให้ท่านได้พิจารณาเรื่องนี้ใหม่ด้วย” เป็นต้น

ที่มา : thaischool

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ยอดสมัครครูผู้ช่วย2วันแรกทะลุ 3 หมื่นคน – ครูระยอง

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไปครั้ง 2 ประจำปี2558 วันที่ 14-20 ก.ย.ใน 110 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) และสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.) รวมเป็น 111 เขตใน 44 กลุ่มวิชา จำนวน 1,611 อัตรา นั้น

ขณะนี้ สพฐ.กำลังรวบรวมข้อมูลการรับสมัครอยู่ ซึ่งการรับสมัคร 2วันแรก วันที่ 14-15ก.ย.พบว่า มีผู้สมัครรวมทั้งสิ้น 32,492 คน โดยวิชาเอกที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

  • คอมพิวเตอร์ 4,142 คน
  • ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 4,036 คน
  • วิทยาศาสตร์ 3,980 คน
  • สังคมศึกษา 3,857 คน
  • ภาษาอังกฤษ 3,446 คน

สำหรับเขตพื้นที่ที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับแรก ในวันแรก คือ

  • สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 จำนวน1,098 คน
  • สพป.เชียงราย เขต 2 จำนวน1,013 คน
  • สพป.ตาก เขต 2 จำนวน 639 คน
  • สพป.พิษณุโลก เขต 2จำนวน 613 คน
  • สพป.แม่ฮ่องสอนเขต 2จำนวน 573 คน

“ ดูจากยอดสมัครสองวันแรกแล้ว เมื่อครบกำหนดรับสมัครวันที่ 20 กันยายนน่าจะมีผู้สมัครตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ไม่ต่ำกว่า 100,000 คน ส่วนการดำเนินการจัดสอบผมได้สั่งการไปยังเขตพื้นที่ฯทั่วประเทศแล้ว ว่า ให้ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ที่สำคัญการสอบคัดเลือกครั้งนี้ผู้สมัครสามารถเลือกสมัครได้เพียงเขตพื้นที่เดียวเท่านั้น เพื่อแก้ปัญหาการสมัครหลายเขต ซึ่งอาจทำให้เกิดการทุจริตได้ ”

ทั้งนี้ จะมีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขัน วันที่ 25ก.ย. สอบข้อเขียนภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไปความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม และอุดมการณ์ความเป็นครูมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน วันที่ 10 ต.ค.สอบภาค ข ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแน่งวันที่ 11ต.ค. สอบสัมภาษณ์ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ วันที่ 12ต.ค.และประกาศผลการสอบวันที่ 20 ต.ค.นี้.

ที่มา : เดลินิวส์

คุรุสภาประกาศรายชื่อผู้ผ่านการเทียบโอนความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 92 – ครูระยอง


คุรุสภาประกาศรายชื่อผู้ผ่านการเทียบโอนความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 92

คุรุสภา

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

การจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา – ครูระยอง


การจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ก.ค.ศ.

Print Friendly

ดร.รัตนา  ศรีเหรัญ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา วันที่ 12 – 14 กันยายน 2558 ณ โรงแรมไมด้า ทวารวดี แกรนด์ จังหวัดนครปฐม โดยที่ประชุมได้จัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ถูกต้อง สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ และมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้ส่วนราชการได้ถือปฏิบัติต่อไป ดังนี้

  1. ปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 หลักเกณฑ์
  2. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) ตำแหน่งประเภททั่วไป เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้แทน สพฐ.  ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา  ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล  ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน  ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา  ผู้อำนวยการสถานศึกษา  ศึกษานิเทศก์  ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.ค.ศ.  รวมทั้งสิ้น 50 คน

ที่มา : สำนักงาน ก.ค.ศ.

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สพฐ.ทำคู่มือลดเวลาเรียน 13 เล่มแจก – ครูระยอง

Print Friendly

หลังทำเวิร์กช็อปผอ.เขต-รร.ศึกษานิเทศก์-อบรมโรงเรียนนำร่อง สพฐ.เตรียมเวิร์กช็อป ผอ.เขต-ผอ.รร.และศึกษานิเทศก์ โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ก่อนอบรมกลุ่ม รร.นำร่องในช่วงต้นตุลาคมนี้ พร้อมทำคู่มือแจก 13 เล่ม เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรม 12 เล่ม และการบริหารจัดการโครงการ 1 เล่ม ยันกิจกรรมช่วงบ่ายสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้

นางสุกัญญา งามบรรจง ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้เสนอตัวหลักการไปยัง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) แล้ว ซึ่งแบ่งกิจกรรมออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

  1. กิจกรรมเสริมสร้างทักษะ ที่เน้นให้เด็กทำกิจกรรมนอกห้องเรียน
  2. กิจกรรมเสรี ให้โรงเรียนจัดตามความเหมาะสมและความพร้อม
  3. กิจกรรมสอนอาชีพ
  4. กิจกรรมสอนเสริมวิชาการ ซึ่งไม่ใช่การติวเด็ก แต่เป็นการดูแลเด็กที่มีปัญหาเรียนอ่อน หรือสอนการบ้าน

และระหว่างนี้ สพฐ.ยังเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นจากบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว และแนะนำกิจกรรมผ่านทาง mcmk.obec.go.th และเพจลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ทาง www.facebook.com รวมถึงส่งหนังสือเวียนไปยังสำนักงานเขตพื้นที่ทั่วประเทศให้สำรวจความคิดเห็นกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งจะมีแบบสอบถามของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และศึกษานิเทศก์ เพื่อที่จะนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลผลจัดทำคู่มือที่ลงรายละเอียดในส่วนของกิจกรรม และการบริหารจัดการโครงการดังกล่าวให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

นางสุกัญญากล่าวต่อว่า เมื่อประมวลข้อมูลแล้วเสร็จจะมีการจัดเวิร์กช็อป ซึ่งจะมีผู้อำนวยการเขตพื้นที่ฯ ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ เข้าร่วม เพื่อระดมความคิดจัดทำคู่มือทั้งหมด 13 เล่ม ประกอบด้วย คู่มือกิจกรรม 4 รูปแบบ แบ่งเป็น 3 ช่วงชั้น ชั้น ป.1-3, ป.4-6 และชั้น ม.1-3 จำนวน 12 เล่ม และคู่มือการบริหารจัดการโครงการอีก 1 เล่ม คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้นจะเริ่มจัดการอบรมครู ผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการภายในต้นเดือนตุลาคม

“สำหรับในส่วนของการเรียนการสอนในช่วงเช้านั้น จะเน้นไปในเชิงวิชาการซึ่งจะครบทุกกลุ่มสาระอย่างแน่นอน และ สพฐ.เองก็มีตัวอย่างตารางสอน รูปแบบต่างๆ ที่สามารถใช้ได้กลับโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ รวมถึงโรงเรียนขยายโอกาสด้วย และดิฉันเชื่อว่ากิจกรรมในช่วงบ่ายนั้นสามารถสอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ได้ เพราะทุกกลุ่มสาระอยู่ในวิชาประจำวันของเราอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับครูจะมีการถ่ายทอดไปในลักษณะใด อาทิ การเรียนทำอาหาร ที่มองว่าเป็นเพียงเพื่อดำรงชีวิตหรือเสริมอาชีพเท่านั้น แต่ในการทำอาหารจะมีอัตราส่วนของเครื่องปรุงแต่ละชนิด จะสามารถทำให้เด็กเห็นภาพชัดขึ้นเมื่อเรียนเรื่องอัตราส่วนในวิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น” ผอ.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษากล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ให้ความสนใจแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ mcmk.obec.go.th จำนวน 2 กระทู้เท่านั้น โดยการแสดงความคิดเห็นจะต้องมีการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าสู่ระบบด้วย สำหรับเพจลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มีผู้ใช้ถูกใจทั้งหมด 548 คน โดยเนื้อหาภายในเป็นการเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ อาทิ รายการครอบครัวข่าวเด็ก ตอน แผนปรับลดเวลาเรียน เป็นต้น

หนึ่งในไม่กี่กระทู้ที่แสดงความคิดเห็นระบุว่า เป็นวิธีการหนึ่งที่สมควรนำมาบริหารจัดการเรื่องการจัดการเรียนการสอน เพราะบางสาระฯ เป็นการปฏิบัติมากกว่า และนักเรียนจะได้เลือกกิจกรรมที่ตนเองสนใจและสมัครใจ ภายใต้การแนะนำและดูแลของครูที่ปรึกษาต่อไป.

ที่มา : moe

สปช.คุย “ดาว์พงษ์”ปฏิรูปการศึกษา – ครูระยอง

Print Friendly

พล.อ.ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มีนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นประธานว่า เท่าที่ดูข้อเสนอของสปช. สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่ ศธ.ดำเนินการไปบ้างแล้ว  โดยตนได้ขอให้กรรมาธิการไปจัดทำรายละเอียดข้อมูล  รวมถึงเหตุผลที่ต้องมีการปฏิรูปในเรื่องต่างๆ เพื่อมาดูแนวทางการดำเนินงานก่อนที่จะนำข้อเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

รศ.นพ.กำจร  ตติยกวี ปลัด ศธ. กล่าวว่า รมว.ศธ.ได้ขอข้อมูลที่ สปช.ไปรวบรวมและได้กลั่นกรองไว้แล้ว พร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่ชี้ถึงวิธีการแก้ปัญหา เพื่อ ศธ.จะได้สานต่อและขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาต่อไป อย่างไรก็ตามในการประชุมได้มีการหารือใน  3 วาระสำคัญ คือ

  • ปฏิรูประบบการจัดการศึกษา
  • ปฏิรูประบบการคลังด้านการศึกษา ด้านอุปสงค์
  • ปฏิรูประบบการเรียนรู้

โดยที่ประชุมได้มีการอภิปรายอย่างขว้างขวางโดยเฉพาะ วาระระบบการจัดการศึกษา และการกระจายอำนาจ ซึ่งสปช.นำเสนอการดำเนินการ โดยเน้น 5 ด้าน คือ

  1. ปฏิรูปนโยบายการจัดการศึกษาและการจัดองค์กรในระบบการศึกษา ที่เน้นการกระจายอำนาจการจัดการสถานศึกษา การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
  2. ปฏิรูปการเตรียมการผู้เข้าเรียน
  3. ปฏิรูปการบริหารบุคลากรทางการศึกษา ทั้งการผลิต ปรับปรุงพัฒนา การประเมินผล และสร้างระบบคุณธรรมของบุคลากร
  4. ปฏิรูประบบธรรมาภิบาลการจัดการศึกษา
  5. ปฏิรูประบบการประกันคุณภาพการศึกษา

ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับการปฏิรูปการคลังด้านการศึกษา ได้เสนอให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา โดยการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การมีส่วนร่วมของประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน  มีการจัดทำระบบคูปองการศึกษาโดยจัดสรรให้แก่ผู้เรียนนำไปจ่ายให้แก่สถานศึกษาด้านอุปสงค์ตรงตามระดับการศึกษา มีการจัดสรรงบดำเนินการที่ต้องการเพิ่มพิเศษเพื่อจัดสรรงบประมาณให้แก่ผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เพียงพออย่างมีคุณภาพและตามความเป็นจริง สำหรับการปฏิรูประบบการเรียนรู้ ทุกระดับให้เหมาะสมและทันสมัยทั้งหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรตามภูมิสังคม และหลักสูตรเฉพาะ รวมทั้งมีวิธีการจัดการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักคิดด้วยเหตุและผล หาความรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งการเรียนในห้องเรียน การเรียนจากกิจกรรม การเรียนรู้ชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม และการฝึกทักษะ ตลอดจนปฏิรูปวิธีการวัดผล เพื่อสะท้อนถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ทั้งการวัดความรู้ร่วม การวัดความรู้เฉพาะ การวัดทักษะ และการวัดผลการจัดการศึกษา โดยวัดผลจากการทำงานของผู้ที่จบไปแล้ว อีกทั้งควรมีการปฏิรูปการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยควรเน้นสร้างความรู้ใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเสริมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

“อย่างไรก็ตามในที่ประชุมได้มีการพูดถึง เรื่องการปฏิรูปโครงสร้างศธ.ด้วย แต่ไม่ได้มีข้อเสนอให้ปรับหรือรื้อโครงสร้างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่เป็นการพูดถึงบทบาทหน้าที่ของกระทรวงที่ต้องดำเนินการในอนาคต คือ ประกันโอกาสทางการศึกษา ประกันคุณภาพทางการศึกษา วางแผนผลิตกำลังคนและการจ้างงาน และวิจัยพัฒนาระบบการศึกษา” รศ.นพ.กำจร กล่าว.

ที่มา : เดลินิวส์

“สุรเชษฐ์”สั่งสางคดีทุจริตในศธ.

ทุจริต ผิดวินัย ไม่เหมาะ

Print Friendly

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ ฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ ว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายเร่งรัดเรื่องการปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้น ซึ่งในส่วนของ ศธ.นั้น คณะกรรมการนโยบายแลพัฒนาการศึกษา หรือ ซูเปอร์บอร์ดการศึกษาที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้มอบหมายให้ตนรับผิดชอบในการพิจารณาจัดการแก้ไขปัญหาการทุจริตใน ศธ. ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูประบบการศึกษา โดยให้กำหนดเป้าหมายการดำเนินการให้แล้วเสร็จอย่างน้อยร้อยละ 50 ตามแผนภายใน 3 เดือน และ ร้อยละ 75 ภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่คำสั่งมีผลบังคับ ซึ่งก็คือวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา

รมช.ศธ.กล่าวต่อไปว่า จากการประชุมซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ใน ศธ. และผู้แทนจากหน่วยงานที่ทำงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้แก่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น ได้ร่วมกันให้ข้อแนะนำในการจัดทำแผนงานแก้ไขปัญหาอย่างสมบูรณ์ พร้อมทั้งมีมาตรการควบคุมและป้องกันปัญหาอย่างเข้มข้น ซึ่งคณะกรรมการจะเร่งจัดทำแผน และมาตรการเพื่อรายงานนายกรัฐมนตรีทราบต่อไป

“จากข้อมูลที่ได้รับรายงานพบว่า มีข้อมูลการทุจริตที่อยู่ระหว่างดำเนินการมากกว่า 600 คดี จำแนกเป็นประเภทหลัก ๆ ดังนี้ คดีทุจริตร้ายแรงเกี่ยวกับการงบประมาณ(การพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง) คดีทุจริตเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล(การสรรหาแต่งตั้งโยกย้าย การสอบบรรจุครู) คดีเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไปไม่โปร่งใส มีพฤติกรรมส่อทุจริต เรื่องการร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตการบริหารงานไม่โปร่งใส และเรื่องอื่น ๆ โดยเรื่องการร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตบริหารงานไม่โปร่งใสมีมากที่สุดถึง 301 คดี ทั้งนี้ ผมได้ขอให้เร่งรัดดำเนินการทุกคดีให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยเฉพาะคดีที่สังคมให้ความสนใจจะต้องเร่งรัดเป็นพิเศษ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างสนามฟุตซอล การเรียกร้องเงินเพื่อการโยกย้าย การสอบบรรจุครูผู้ช่วย รวมถึงกรณีการจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา เป็นต้น” พล.อ.สุรเชษฐ์กล่าวและว่า เท่าที่รับฟังเสียงสะท้อนจากข้าราชการและคนในวงการศึกษาต่างรู้สึกดีใจที่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้ เพราะจะทำให้การทำงานมีความโปร่งใสและทำให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาเป็นไปได้ดีขึ้น.

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre