TEPE-58303 Smart Classroom (26 คะแนน)

เฉลย TEPE Online - ครูระยอง

Print Friendly

TEPE-58303 Smart Classroom (26 คะแนน)

  • เทคโนโลยีใดมีความสำคัญในการออกแบบ Smart Classroom มากที่สุด
    – สถาปัตยกรรมออกแบบภายใน
  • Head phone เป็นสื่อเทคโนโลยีประเภทใดใน Smart Classroom
    – Transmission
  • องค์ประกอบใดมีความสำคัญน้อยที่สุดในระบบ Smart Classroom
    – Networking
  • ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่รูปแบบการจัดห้อง Smart Classroom
    -Th ree classroom architectures
  • เพราะเหตุใด Showing จึงเป็นคุณสมบัติสำคัญในการจัดการเรียนการสอนของ Smart Classroom
    – เป็นการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ
  • การออกแบบ Smart Classroom ไม่ตรงตามข้อใด
    – ออกแบบดัดแปลงจากห้องเรียนปกติ
  • Smart Classroom เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดในประเทศไทย
    – ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด
  • สื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในห้อง Smart Classroom ใดเป็นสื่อเทคโนโลยีประเภท Asynchronous Support
    – Web-base
  • ข้อใดต่อไปนี้มีความหมายเหมือนกับห้อง Smart Classroom
    – ห้องเรียนแบบ Collaborative
  • ข้อใดไม่เป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญของ Smart Classroom
    – การเตรียมผู้เรียนต้องใช้ระยะเวลา
  • อุปกรณ์แสดงผลใดไม่เหมาะสมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษามากที่สุด
    – Smart Table
  • Smart Classroom เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดในการจัดการเรียนการสอน
    -ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด
  • การจัดเก็บสื่อการสอนสำหรับใช้ใน Smart Classroom นิยมจัดเก็บไว้ในอุปกรณ์ใด
    – ถูกทุกข้อ
  • “Smart Classroom เป็นการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียนเชิงปฏิสัมพันธ์” มีความหมายตรงตามข้อใด
    – การจัดเรียนการเรียนเน้นปฏิสัมพันธ์
  • เหตุผลสำคัญการนำ Smart Classroom มาใช้ในการศึกษาเพื่ออะไร
    – เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษา
  • ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของ Smart Classroom
    – Practice
  • องค์ประกอบใดมีความสำคัญมากที่สุดในระบบ Smart Classroom
    – People ware
  • บุคลากรใดสำคัญน้อยที่สุดในการใช้ ในการเรียนการสอน
    – ผู้ดูแลห้อง Smart Classroom
  • เหตุผลสำคัญการนำ Smart Classroom มาใช้ในการศึกษาเพื่ออะไร
    – เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
  • การนำเสนอข้อมูลสารสนเทศแบบใดเป็นการนำเสนอของ Smart Classroom
    – Cloud Computing
  • สื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในห้อง Smart Classroom ใดเป็นสื่อเทคโนโลยีประเภท Rendering
    – ทุกข้อที่กล่าวมา
  • แนวโน้มการใช้ Smart Classroom ในอนาคตจะเป็นอย่างไร
    – ปรับตัวตามเทคโนโลยีที่ไม่มีวันสิ้นสุด
  • อุปกรณ์แสดงผลใดไม่เหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษามากที่สุด
    – TV
  • “Smart Classroom เป็นการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียนเชิงปฏิสัมพันธ์” มีความหมายไม่ตรงตามข้อใด
    – การจัดเรียนการสอนเน้นปฏิสัมพันธ์
  • เทคโนโลยีใดมีความสำคัญในการออกแบบ Smart Classroom น้อยที่สุด
    – ระบบการบันทึกภาพและเสียง
  • การนำเสนอข้อมูลสารสนเทศแบบใดไม่ใช่การนำเสนอของ Smart Classroom
    – Flip classroom
  • ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของ Smart Classroom
    – เสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียน
  • ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของ Smart Classroom
    – Learning
  • ข้อใดต่อไปนี้มีความหมายเหมือนกับห้อง Smart Classroom
    – ห้องเรียน e-Learning
  • แนวโน้มการใช้ Smart Classroom ไม่เป็นไปตามข้อใด
    – ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงจะถูกลง
  • อุปกรณ์แสดงผลใดเหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษามากที่สุด
    – Smart Table
  • Smart Classroom ออกแบบมาเพื่อใช้งานลักษณะใด
    – ออกแบบโดยใช้หลัก Instruction Design
  • อุปกรณ์แสดงผลใดเหมาะสมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษามากที่สุด
    – Computer PC
  • Laser-pointer เป็นสื่อเทคโนโลยีประเภทใดใน Smart Classroom
    – Presentation Support
  • ข้อใดเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญของ Smart Classroom
    – ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาสูง
  • ข้อใดต่อไปนี้เป็นรูปแบบการจัดห้อง Smart Classroom
    – Theater classroom architectures
  • การจัดเก็บสื่อการสอนสำหรับใช้ใน Smart Classroom ไม่นิยมจัดเก็บไว้ในอุปกรณ์ใด
    – DVD
  • บุคลากรใดสำคัญมากที่สุดในการใช้ ในการเรียนการสอน
    – ครูผู้สอน
  • เพราะเหตุใด Real-time Interactive จึงเป็นคุณสมบัติสำคัญในการจัดการเรียนการสอนของ Smart Classroom
    – เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่จำกัดในห้องเรียน
  • ข้อใดคือประโยชน์ของ Smart Classroom
    – เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

TEPE-58302 การเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด ได้ 17/20

เฉลย TEPE Online - ครูระยอง

Print Friendly

TEPE-58302 การเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด ได้ 17/20

  • องค์ประกอบของทักษะชีวิตข้อใดไม่ปรากกฎตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
    – การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เมื่อนักเรียนถูกเพื่อนชักชวนดื่มสุราและสูบบุหรี่บ่อยครั้ง จึงขอคำแนะนำการปฏิเสธเพื่อนจากครูผู้สอน ครูผู้สอนควรให้เหตุผลในการปฏิเสธเพื่อนตามข้อใดจึงจะเหมาะสม
    – ขอโทษด้วยนะ ฉันคงไปกับเธอไม่ได้ เพราะสุราและบุหรี่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เธอก็ควรเลิกนะ สิ่งเหล่านี้มันไม่ดีต่อเธอเลย
  • ข้อใดให้ความหมายของสารเสพติดได้ครบถ้วนชัดเจนตามองค์การอนามัยโลก (WHO) มากที่สุด
    – ยา สาร หรือวัตถุใด ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตามก่อให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ
  • การเลือกสื่อและแหล่งการเรียนรู้เพื่อประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรคำนึงถึงสิ่งใดมากที่สุด
    – ความเหมาะสม
  • การถูกเพื่อนชักชวนให้ลองใช้สารเสพติดสามารถเกิดขึ้นได้กับนักเรียนทุกคน ครูผู้สอนจะใช้วิธีการสอนรูปแบบใดเพื่อให้นักเรียนสามารถมีทักษะในการป้องกันในกรณีดังกล่าว
    – การฝึกทักษะปฏิเสธ
  • การจัดสารวัตรนักเรียนเป็นกิจกรรมใดในโครงการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติด
    – การจัดบริการป้องกันการใช้สารเสพติด
  • รูปแบบการสอนใดที่สร้างเสริมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดได้น้อยที่สุด
    – การบรรยาย
  • การจัดโครงการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติด ต้องอาศัยสิ่งใดเป็นสำคัญจึงจะประสบความสำเร็จ
    – ความร่วมมือของบุคลากรทุกคนในโรงเรียน
  • กิจกรรมใดไม่จัดเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร
    – กิจกรรมการสอนแบบบูรณาการ
  • สิ่งใดที่ครูผู้สอนจำเป็นต้องกระทำมากที่สุดเพื่อให้ประเมินผลการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    – กำหนดเกณฑ์ให้คะแนน
  • การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดครูผู้สอนควรมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารเสพติดและทักษะชีวิตอย่างถ่องแท้ เพราะเหตุใด
    – เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทักษะชีวิตตามองค์การอนามัยโลก (WHO) องค์ประกอบใดที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถประเมินทางเลือกและผลจากการเลือก
    – การตัดสินใจ
  • ครูผู้สอนจะใช้วิธีการสอนรูปแบบใดเพื่อให้นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นได้มากที่สุด
    – การโต้วาที
  • การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรใดที่สามารถให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้มากที่สุด
    – การจัดโครงการพี่แนะนำน้อง หรือเพื่อนแนะนำเพื่อน
  • สาระการเรียนรู้เรื่องสารเสพติดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดมากที่สุด
  • – กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
  • การป้องกันการใช้สารเสพติดนั้นต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตองค์ประกอบใดมากที่สุดตามองค์การอนามัยโลก
    – ทุกองค์ประกอบ
  • ครูผู้สอนจะทราบพัฒนาการของนักเรียนจากการประเมินการเรียนรู้ในส่วนใด
    – ประเมินผลระหว่างการเรียนรู้
  • ครูผู้สอนต้องการสื่อเกี่ยวกับโทษของสารเสพติด ควรขอคำแนะนำ สื่อการเรียนรู้ จากหน่วยงานใดจึงจะได้รับประโยชน์ได้มากที่สุด
    – กรมอนามัย
  • การจัดโครงการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติด แบ่งได้ตามข้อใด
    – การจัดสิ่งแวดล้อม การบริการป้องกันการใช้สารเสพติด การจัดการเรียนการสอน
  • การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดควรมีลักษณะอย่างไร
    – เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

โดย : ทองแม้น เอี่ยมอาจหาญ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

TEPE-58304 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 14/20 คะแนน

เฉลย TEPE Online - ครูระยอง

Print Friendly

TEPE-58304 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 14/20 คะแนน

  • ข้อใดกล่าวถึงกระบวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง
    – รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล คัดกรองนักเรียน ส่งเสริมพัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหา ส่งต่อนักเรียน
  • การนำผลการประเมินมาปรับปรุงจุดอ่อนและพัฒนาในส่วนที่ดีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานจัดอยู่ในขั้นตอนใด
    – CHECK
  • แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในอนาคตที่สำคัญที่สุดควรเริ่มต้นจาก
    – สร้างความตระหนักถึงความสำคัญและความเข้าใจในกระบวนการของระบบ
  • ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    – การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษานักเรียนทั้งระบบ
  • กิจกรรมในข้อใดจัดเป็นกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในขั้นตอนการแก้ไขปัญหานักเรียน
    – ครูหมากจัดโครงการพี่ช่วยน้องผองช่วยเพื่อนเพื่อให้นักเรียนที่เรียนเก่งสอนเสริมให้แก่เพื่อนที่เรียนอ่อน
  • ท่านคิดว่าวิธีการของครูท่านใดไม่ถูกต้องตามหลักการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
    – ครูสมรนำเหตุการณ์จากบันทึกประจำวันที่นักเรียนเขียนเล่าประสบการณ์ที่เคยเจอปัญหามาเป็นกรณีตัวอย่างให้นักเรียนในห้องได้เรียนรู้
  • การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนที่ปรับพฤติกรรมตนเองให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นต่อไปนี้ ข้อใดไม่เหมาะสม
    – ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทั้งห้องโดยรวมไปพร้อมๆ กัน
  • ข้อใดไม่ใช่ผลผลิตที่เป็นจุดเน้นของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    – นักเรียนมีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดเกมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เหมาะสมที่สุด
    – จัดเวทีให้นักเรียนถกปัญหาการติดเกมของวัยรุ่นไทยและเสนอแนวทางแก้ไข
  • ข้อใดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    – เจตคติที่ดีและความสามารถของครูในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  • สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร
    – ส่วนใหญ่คัดกรองนักเรียนออกเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง
  • ข้อใดไม่ใช่มาตรฐานที่ใช้ในการประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    – สถานศึกษามีบุคลากร สื่อ และเครื่องมือ ที่เอื้อต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  • ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการคัดกรองนักเรียน
    – นักเรียนกลุ่มปกติคือกลุ่มที่โรงเรียนไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ เนื่องจากนักเรียนผ่านเกณฑ์การคัดกรองว่ามีความพร้อมในทุกด้าน
  • ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    – การกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดในการประเมินองค์ประกอบด้านนักเรียน ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัย
  • ต่อไปนี้เป็นการเสริมแรงที่ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้นใช้กับนักเรียนชั้น ม.5 คนหนึ่งซึ่งปกติมักไม่ส่งงาน เมื่อนักเรียนคนดังกล่าวส่งงาน คำพูดของครูต่อไปนี้ข้อใดเหมาะสมที่สุด
    – ครูพูดว่า “ดีที่รู้จักปรับปรุงตนเอง คราวหลังอย่าขาดส่งงานอีกนะ”
  • ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาที่เกี่ยวกับครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา
    – ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
  • ท่านเห็นด้วยกับหลักคิดในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในข้อใดมากที่สุด
    – ครูควรใช้เวลาและวิธีการที่แตกต่างกันในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแต่ละคนตามควรแก่กรณีของตน
  • ความรู้สึกและความคิด/ความเชื่อของนักเรียนในข้อใดต่อไปนี้ ที่ครูควรพิจารณาเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาแรงจูงใจของนักเรียนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น
    – ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง และ ความคิด/ความเชื่อว่าตนสามารถทำได้
  • ต่อไปนี้เป็นกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรับมือกับปัญหานักเรียน
    – ควรพยายามแก้ไขปัญหาของนักเรียนคนหนึ่งๆให้ครบถ้วนทุกปัญหา
  • ข้อใดจัดเป็นการส่งต่อภายใน
    – การส่งต่อนักเรียนไปพบครูแนะแนว

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

TEPE-๕๘๑๐๕ ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสาร

Print Friendly

TEPE-๕๘๑๐๕ ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสาร

Which is the adjective to identify people about their personalities?
– Kind

Customer : Excuse me. Can you help me? I want a TV.
Salesperson : A big TV or a small TV?
Customer : I want a large TV for my bedroom.
Salesperson : OK, how about this one?
Customer : Yes, that’s good. ……………
Salesperson : It’s eight thousand and nine hundred baht.
Customer : I’ll take it.
– How much does it cost?

Which is the sentence of invitations?
– Would you like to have dinner at my house tomorrow?

A : ……….……
B : She’s black with curly brown hair.
A : How tall is she?
B : She’s about medium height with straight blond hair.
– What does he look like?

Waiter : ……………
Customer : Yes. I’ll have fried chicken.
Waiter : Anything else?
Customer : That’s all, thanks.
– Can I take your order?

A : Oh, Tuesday’s not possible. I’m visiting clients all day.
B : OK. What about Wednesday?
A : Wednesday’s OK, but the morning’s a bit difficult.
B : ……….……
A : Yes, that’s OK.
– How about the afternoon then?

A : ……….……
B : On December 26th, 1975.
– When were you born?

Which is the response for accepting invitations?
– That would be very nice.

Waiter : May I take your order?
Customer : Yes. I’d like the fried chicken.
Waiter : All right. And would you like a salad?
Customer : Yes, I’ll have a mixed green salad.
Waiter : And ……………
Customer : Yes, I’d like a large iced tea, please.
– would you like something to drink?

A : Thank you for your help.
B : ……….……
– With my pleasure.

A : Hello. I’m Mari Davis.
B : Hi. I’m Jim Wright.
A : ……….., Jim?
B : I’m a student, and you?
A : I work for Union Bank. I’m glad to meet you.
B : I’m glad to meet you, too.
– What do you do

A : ……….……
B : At six-fifteen. And you?
A : I get up at seven.
– What time do you get up?

A : How long have you stayed here?
B : ……….……
– For three weeks.

Which is NOT the response for accepting offers?
– It’s OK. I can do it myself. Thank you very much.

Which is the adjective to identify people or things about their physical appearance?
– Sophisticated

A : Good morning, Mr. Peter. How do you do?
B : ……….., Ms. Helen?
– How do you do

Operator: Bangkok Housing. Can I help you?
Customer: Hello. May I talk to the Sales Manager, please?
Operator: I’m sorry. He’s out.
Customer: Do you have any idea when he’ll be back?
Operator:I’m not really sure. He might not come back to the office today. ………..……
Customer: No, thank you. I’ll call him back later.
Operator:Goodbye.
– Can I take a message?

Operator: Bangkok Housing. Can I help you?
Customer: Hello. ………….……
Operator: I’m sorry. He’s out.
Customer: Do you have any idea when he’ll be back?
Operator: I’m not really sure. He might not come back to the office today. Can I take a message?
Customer: No, thank you. I’ll call him back later.
Operator: Goodbye.
– May I talk to the Sales Manager, please?

A : Hello. I’m Mari Davis.
B : Hi. I’m Jim Wright.
A : What do you do, Jim?
B : I’m a student, and you?
A : I work for Union Bank. ……………
B : I’m glad to meet you, too.
– I’m glad to meet you.

A : Excuse me! Is there a cash point near here?
B : Yes. ……….……
A : Thank you.
B : You’re welcome.
– There’s a bank on the corner.

tepe 58004 ค่านิยม 12 ประการ แบบทดสอบ Post –test 14/20

เฉลย TEPE Online - ครูระยอง

Print Friendly

tepe 58004 ค่านิยม 12 ประการ แบบทดสอบ Post –test 14/20

  • ข้อใดคือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาค่านิยมในห้องเรียน
    – การบูรณาการกับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
  • ทำไมค่านิยมจึงถือว่ามีความสำคัญต่อการสร้างความเป็นพลเมือง
    – ค่านิยมมีทักษะการคิดที่เป็นสมรรถนะสำคัญของพลเมือง
  • ข้อใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นส่วนรวม
    – การศึกษาอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
  • การตั้งคำถามใดทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเหตุการณ์จริงหรือพฤติกรรมของบุคคลตัวอย่าง
    – ให้วิเคราะห์การปฏิบัติให้ถูกต้องตามค่านิยมที่เกี่ยวข้อง
  • การจัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนบันทึกการกระทำของนักเรียนเหมาะสมกับการพัฒนาค่านิยมใดน้อยที่สุด
    – การเรียนรู้วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ
  • กิจกรรมใดต่อไปนี้สามารถพัฒนาความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ของการดำรงตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแก่นักเรียน ได้ตรงตามหลักการสอนมากที่สุด
    – ศึกษาดูงานวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ประวบความสำเร็จตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • ถ้านักเรียนมีพฤติกรรมที่ทำแบบฝึกหัดด้วยตนเองและไม่เห็นแก่ตัว
    – ซื่อสัตย์ เสียสละ
  • การเรียนรู้ด้วยการคิด รู้จักเห็นคุณค่าอละแสดงออก สะท้อนให้เห็นการจัดการเรียนรู้ในลักษณะใด
    – เน้นประสบการณ์จริง
  • จุดมุ่งหมายของการพัฒนาค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนดยบายคืออะไร
    – สร้างคนสร้างชาติให้เข้มแข็ง
  • การเป็นตัวอย่างที่ดีของครูในเรื่องการมีระเบียบวินัย มีประโยชน์อย่างไร
    – เป็นการแสดงบทบาทที่ถูกต้องของครู
  • การบูรณาการค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ มีหลักการพื้นฐานอย่างไร
    – การเชื่อมโยงเนื้อหาค่านิยมกับเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกัน
  • การปฏิบัติตามข้อตกลงกฎเกณฑ์และกฎหมายคือค่านิยมใด
    – มีระเบียบวินัย
  • บทบาทโดยตรงของครูสังคมศึกษาเกี่ยวข้องกับค่านิยมใดมากที่สุด
    – เข้าใจแลเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย
  • ค่านิยมหลัก 12 ประการ จัดอยู่ในค่านิยมประเภทใด
    – คุณธรรม จริยธรรมและสังคม
  • การรู้สึก รู้คิด รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรงกับกิจกรรมใดต่อไปนี้มากที่สุด
    – การจัดตั้งสหกรณ์หมู่บ้าน
  • วิธีการเรียนรู้ค่านิยมตาในโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมีหลักการสำคัญอย่างไร
    – เป็นการผสมผสานทักษะต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน
  • หลักการสำคัญของการรู้จักเคารพผู้อาวุโสที่ครูต้องพัฒนาแก่นักเรียนคืออะไร
    – มีสัมมาคารวะ รู้กาลเทศะ
  • ถ้าต้องการให้นักเรียนเรียนรู้พฤติกรรมของบุคคลต่างๆ ต้องใช้เนื้อหาค่านิยมใด
    – ทุกค่านิยม
  • กิจกรรมเรียงลำดับต่อไปนี้เหมาะสำหรับการพัฒนาค่านิยมแบบใดมากที่สุด
    * การให้เปรียบเทียบ * การให้สรุปความคิด * การลงมือปฏิบัติจริง
    – การปฏิบัติตามกฎหมายของสังคม
  • ข้อใดตรงกับค่านิยม “ที่สร้างศีลธรรม รักษาความสามัคคี หวังดี เผื่อแผ่และแบ่งปัน”
    – การจัดตั้งกองทุนฝึกอาชีพแก่ผู้ต้องหาหญิง

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

การประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา – ครูระยอง


การประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ก.ค.ศ.

หลังจากที่ ก.ค.ศ. มีมติให้ชะลอการยื่นขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน และให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการไปดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีความเคลื่อนไหวของการดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์ผ่านทางสื่อมวลชนเป็นระยะ ๆ นั้น ปรากฏว่า ยังมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหลายท่านยังคงสับสนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งคุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมิน ในโอกาสนี้จึงขอนำเรื่องนี้มาให้ความรู้ผ่านคอลัมน์นี้ ดังนี้

  1. การขอประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
    โดยหลักเกณฑ์ ว13/2556 กำหนดให้มีการประกาศรางวัลที่ ก.ค.ศ. รับรองเป็นรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไปก่อนที่จะมีการยื่นขอรับการประเมิน ดังนั้น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านต้องรอการประกาศรับรองรางวัลเสียก่อน จึงจะตรวจสอบได้ว่าจะสามารถยื่นขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว13/2556 ได้หรือไม่
  2. กรณีมีข้อสอบถามมาว่า
    2.1 ครูจะขอรับการประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ซึ่ง ก.ค.ศ. กำหนดคุณสมบัติไว้ว่า ต้องดำรงตำแหน่งครูที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือดำรงตำแหน่งครูที่มีวิทยฐานะชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ นั้น จะนำคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งครูวิทยฐานะครูชำนาญการ และวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษมารวมกันได้หรือไม่ ขอเรียนว่า หากจะยื่นขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ปัจจุบันผู้เสนอขอรับการประเมินต้องดำรงตำแหน่ง ที่มีวิทยฐานะใด วิทยฐานะหนึ่ง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หากเคยดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ 2 ปี จะนำเอาการดำรงตำแหน่งในวิทยฐานะชำนาญการมานับรวมไม่ได้
    2.2 หากจะขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ผู้เสนอขอรับการประเมินต้องได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป คณะกรรมการจึงจะพิจารณาประเมินผลงานทางวิชาการให้นั้น ขอเรียนว่า การขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 คณะกรรมการจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ และผลงานทางวิชาการที่มาจากการศึกษา ค้นคว้า หรืองานวิจัยที่ผู้ขอรับการประเมินได้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ไม่ได้พิจารณารางวัลระดับชาติ

จากกรณีข้อคำถามตามตัวอย่างข้างต้น เป็นกรณีที่เกิดขึ้นจริง ที่ได้มีการสอบถามเข้ามายังสำนักงาน ก.ค.ศ. ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหลายๆ ท่าน จะได้รับทราบข้อมูลไปพร้อมกัน และหากท่านมีข้อสงสัยประการใดสามารถสอบถามเข้ามายังสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้โดยผ่านทาง Facebook สำนักงาน ก.ค.ศ. หรือโทรศัพท์หมายเลข 02 280 2835 ในวันและเวลาราชการ

โดย : พินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา : otepc

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

หลักเกณฑ์ฯ เลื่อนวิทยฐานะครูใหม่ – ครูระยอง

ตามที่ทราบข่าวการประชุมของคณะอนุกรรมการวิสามัญเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงพัฒนางานเลื่อนและปรับปรุงหลักเกณฑ์ แนวใหม่ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา

ที่ประชุมมีความเห็นว่า…การทำเอกสารรวบรวมผลงานครู ควรให้ครูทำเป็นกิจวัตรตั้งแต่เริ่มเป็นครู วิทยฐานะขั้นต้นคือชำนาญการ จะมีเวลารวบรวมผลงานถึง 8 ปี ถ้าหากครูท่านใดมีผลงานทดสอบทางการศึกษาระดับชาติสูงกว่าค่าเฉลี่ย สามารถขอชำนาญการพิเศษได้

ส่วนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จะต้องมีผลงานเชิงประจักษ์ชัดเจนที่ชี้ให้เห็นว่าเด็กมีคุณภาพที่ดี และมีผลงานที่เป็นนวัตกรรม หรืองานวิจัยใหม่ๆ ด้วย

ซึ่งทั้งปวงนี้ เป็นข้อตกลงในหลักการเบื้องต้น ซึ่งคณะทำงานต้องไปกำหนดรายละเอียดอีกครั้งว่า ในการขอวิทยฐานะแต่ละระดับ จะต้องใช้ผลงานอะไรบ้าง ขนาดไหน

เท่าที่ทราบกันดีว่า…คณะทำงานชุดนี้ มีหน้าที่ปรับปรุงหลักเกณฑ์ฯ ให้มีความเหมาะสมกับนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อครั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการท่านใหม่เข้ารับตำแหน่ง

ทั้งๆ ที่หลักเกณฑ์ฯ ชุดนี้ได้ประกาศออกมาใช้แล้วเมื่อ 11 พฤษภาคม 2558 และมีการเตรียมการทดสอบภาคความรู้ในเดือนตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา

แต่เมื่อรัฐมนตรีท่านใหม่เข้าทำงานเห็นว่า หลักเกณฑ์ฯ ชุดนี้ยังไม่เหมาะสม จึงมีคำสั่งให้เลื่อนการใช้ไปก่อน ในคราวประชุมเมื่อ 24 กันยายน 2558 และแต่งตั้งคณะทำงานชุดใหม่ขึ้นมาปรับปรุงภายใน 2 เดือน

ซึ่งขณะนี้ ระยะเวลาก็ผ่านไปเกือบ 2 เดือนแล้ว ความคืบหน้าของการทำงาน เพิ่งจะตกลงกันได้เพียงหลักการเท่านั้น ส่วนรายละเอียดอีกเมื่อไหร่ไม่ทราบ

ความจริงแล้ว หลักการเกี่ยวกับวิทยฐานะครูนั้น ได้ปรากฏในเจตนารมณ์และรายละเอียดในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเป็นวิชาชีพควบคุม เพื่อให้เป็นหลักประกันและคุ้มครองให้ผู้รับบริการทางการศึกษาได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งจะเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาให้สูงขึ้น

และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. 2547 มาตรา 39 ให้ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นตำแหน่งที่มีวิทยฐานะ ได้แก่

  1. ครูชำนาญการ
  2. ครูชำนาญการพิเศษ
  3. ครูเชี่ยวชาญ
  4. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ฯลฯ

นอกจากนี้ ก.ค.ศ. ยังได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะแต่ละวิทยฐานะไว้แล้ว

สิ่งเหล่านี้ ใช้เป็นกรอบในการสร้างหลักการได้ ไม่จำเป็นจะต้องมานั่งคิดทบทวน โดยใช้ความเห็นเฉพาะตน ซึ่งท้ายที่สุดก็ไม่พ้นจะต้องยึดหลักการที่มีอยู่แล้ว

ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ก็เพียงตีโจทย์ว่า ทำอย่างไรวิชาชีพครู ซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูง ต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา (Intellectual Method) ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างเพียงพอ (Long Period of Training) มีอิสระในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Autonomy) และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ (Professional Ethics)

โดย ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา คอลัมน์ : ส่องการศึกษาไทย : หลักเกณฑ์ฯ เลื่อนวิทยฐานะครูใหม่ : ยิ่งแก้ ยิ่งวน
ทีมา : moe

ใบปลิวโจมตี สพฐ.ว่อนกระทรวง – ครูระยอง

ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีใบปลิวบันทึกข้อความเรื่องแถลงการณ์การรวมพลังเรียกร้องความเป็นธรรม และต่อต้านกลุ่มกระบวนการยึดครอง สพฐ.ที่ชั่วร้าย ถึงแกนนำและพี่น้องผู้เป็นกำลังสำคัญของ สพฐ.โดยใจความสำคัญระบุว่า ขณะนี้มีกลุ่มกระบวนการยึดครอง สพฐ.ที่ชั่วร้ายอาศัยจังหวะที่ทหารมีอำนาจเข้ามาเสียบตำแหน่งสำคัญใน สพฐ. โดยคนที่มีศักยภาพในสพฐ.ไม่ได้รับการแต่งตั้งแม้แต่คนเดียวและมีการแต่งตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษแบบแทกทีมมากินเงินหลวงนอนโรงแรมและคอรัปชั่นอย่างไม่ละอายใจ

นอกจากนี้ในใบปลิวยังระบุด้วยว่าการทำงานในระดับชาติไม่ง่าย วิสัยทัศน์ของ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา และผอ.สถานศึกษาแคบเกินกว่าที่จะทำงานใหญ่ระดับชาติถึงเวลาที่ต้องรวมตัวต่อต้านการตั้งคนข้ามหัวโดยไม่ได้ดูศักยภาพเพื่อให้กระบวนการชั่วร้ายที่ยึดครอง สพฐ.ได้รู้สำนึกและเกิดยางอายไม่กล้าทำอะไรโดยไม่เกรงใจคน สพฐ. โดยนัดแสดงพลังต่อต้านด้วยการนัดหยุดงานพร้อมกันในวันที่ 11 ธ.ค.นี้ ทั้งนี้ในใบปลิวดังกล่าวได้ระบุชื่อคนที่ถูกอ้างว่าเป็นประธานและรองประธานแกนนำพร้อมทั้งผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเข้ามาทำงานใน สพฐ.ด้วย

นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ได้อ่านใบปลิวดังกล่าวแล้ว ไม่รู้ว่าต้องการอะไร เพราะขณะนี้ สพฐ.ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ตนมองว่าเป็นการสร้างสถานการณ์มากกว่า เพราะผู้ถูกแอบอ้างชื่อก็มาชี้แจงแล้ว ทั้งนี้จากการวิเคราะห์เชื่อว่าสาเหตุน่าจะมาจากการที่ตนให้ นายชลำ อรรถธรรม ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)ภูเก็ต มารักษาราชการในตำแหน่ง ผอ.สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงอาจมีคนไม่พอใจ อย่างไรก็ตามอยากถามว่า ผอ.เขตพื้นที่เป็นคน สพฐ.หรือเปล่า ตนคิดว่าการมองว่าเข้ามายึดครอง สพฐ.เป็นเรื่องตลก

ด้าน พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้อ่านใบปลิวดังกล่าวแล้ว ต้องดูว่าใบปลิวที่เผยแพร่ออกมามีมูลความจริงมากน้อยแค่ไหน เพราะจะให้ตนเชื่อข้อมูลจากใบปลิวทั้งหมดคงไม่ได้ ไม่ทราบว่าผู้ที่นำมาเผยแพร่มีจุดประสงค์จะสื่อสารข้อมูลถึงใคร หากต้องการจะสื่อสารมาถึงตัว รมว.ศึกษาธิการ ก็ขอให้ส่งเรื่องมาถึงตนโดยตรง ตนพร้อมจะตรวจสอบให้และเป็นความลับอย่างแน่นอน ทั้งนี้ยืนยันว่า ตนไม่มีนอกมีในกับใครทั้งสิ้น ข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการตนก็ยังรู้จักไม่หมดทุกคน ส่วนที่มีการระบุว่าการแต่งตั้งข้าราชการใน สพฐ.ไม่เหมาะสม มีการข้ามหัว และได้คนไม่มีศักยภาพนั้น เรื่องนี้ตนให้อำนาจผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานพิจารณาแต่งตั้งเอง ตนไม่รู้จักใครเป็นการส่วนตัว แต่ดูตามผลงานที่สามารถจะทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ อย่างกรณีของนายพะโยม ชิณวงศ์ รองเลขาธิการ กพฐ. ตนก็สอบถามทั้งเลขาธิการ กพฐ. และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้นเมื่อเลือกบุคคลนั้นมาดำรงตำแหน่งแล้วจะถูกจะผิด คนที่คัดเลือกมาก็ต้องรับผิดชอบ แม้กระทั่งการแต่งตั้งนายการุณตนก็พร้อมจะรับผิดชอบอยู่แล้ว ส่วนที่จะมีการนัดหยุดงานในวันที่ 11 ธ.ค.นั้น เป็นข้าราชการมีผู้บังคับบัญชา หากมีอะไรก็ควรมาพูดคุยกัน ไม่ใช่ทำอะไรตามความรู้สึก.

ที่มา : เดลินิวส์

ระดมความเห็น “สะเต็มศึกษา” ชี้จำเป็นศต.21 – ครูระยอง

เสวนาวิชาการ “สะเต็มศึกษา” นักวิชาการมองเพื่อเป็นการเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ด้าน ผอ.รร.ภาคใต้เผยสามารถผนวกในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ได้ทันที แต่ผู้บริหารโรงเรียนต้องจริงจัง

ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์สะเต็มศึกษาจำเป็นต้องมี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่

  1. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เช่น ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
  2. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา
  3. การพัฒนาครูและบุคลากรสะเต็ม และการส่งเสริมให้ทูตสะเต็มเข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจต่ออาชีพด้านสะเต็ม
  4. การปรับเปลี่ยนการประเมินในโรงเรียนและระดับชาติให้สอดคล้องกับสะเต็มศึกษา โดยมุ่งเน้นการประเมินความรู้ควบคู่ไปกับทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี และพัฒนาระบบการประเมินให้ครอบคลุมการวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหาในชีวิตจริง

ผอ.สสวท.ยังได้กล่าวถึงความก้าวหน้าในเรื่องนี้ว่า ได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนจัดตั้งศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ ตลอดจนมาตรการในการดำเนินงานร่วมกับศูนย์สะเต็มศึกษาภาค 13 ศูนย์ เพื่อสร้างและพัฒนากำลังคนด้านสะเต็มศึกษาที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่น โดยมุ่งสร้างโรงเรียนในสังกัด สพฐ. 91 โรงเรียน เป็นโรงเรียนต้นแบบของการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา พร้อมทั้งขยายโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาให้ครอบคลุมทุกสังกัด ทุกเขตพื้นที่การศึกษา โดยกลไกการพัฒนาครูในรูปแบบ Train the Trainer สร้างและพัฒนาวิทยากรหลัก (core trainer) เพื่อพัฒนาวิทยากรท้องถิ่น (local trainer) และครูผู้สอนสะเต็มศึกษา (STEM teacher)

ขณะเดียวกันเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้นักเรียน ผู้ปกครองและครู จึงได้จัดกิจกรรม Thailand STEM Festival เป็นประจำทุกปีด้วย

ในส่วนของการเสวนา หัวข้อ “สะเต็มศึกษา : เรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา พัฒนานวัตกรรม นำสู่อาชีพ” นั้น ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช รองโฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบัณฑิตในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) กล่าวว่า ประเทศไทยต้องการกำลังคนด้าน STEM จำนวนมาก ให้สอดคล้องกับนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยกำลังคนด้าน STEM จำเป็นต้องมีทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่ง World Economic Forum (WEF) ได้ให้นิยามไว้ครอบคลุมใน 3 มิติ ได้แก่

  1. ทักษะในการดำรงชีวิต อาทิ การอ่าน เขียน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์​ ICT ฯลฯ
  2. ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ได้แก่ การคิดเชิงวิพากษ์ ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารและการทำงานเป็นทีม
  3. บุคลิกภาพแบบใหม่ เช่น การมีจิตอาสา ความเป็นผู้นำ ความเป็นผู้ริเริ่ม

นายภักดี เหมทานนท์ ผู้อำนวยการ รร.เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช กล่าวว่า การผลักดันให้สะเต็มศึกษาเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมแบบองค์รวมในโรงเรียนได้นั้น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเอาจริงเอาจัง ส่งเสริมให้ครูทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องมีความตระหนักถึงความสำคัญของสะเต็มศึกษา และต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา โดยการบริหารจัดการการเรียนการสอนสะเต็มศึกษานั้นจะต้องให้สอดรับกับนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของ ศธ. โดยโรงเรียนสามารถนำกิจกรรมสะเต็มศึกษาไปใช้จัดกิจกรรมได้เลย นอกจากนี้ ผู้บริหารโรงเรียนต้องสนับสนุนการทำงานเชิงบูรณาการของครูใน 3-4 วิชาที่เกี่ยวข้องในสะเต็มศึกษา และต้องส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ร่วมกันของครู สร้างเป็นชุมชนของการเรียนรู้ของครู เพื่อช่วยกระตุ้นให้ครูปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน และตื่นตัวในการใช้สะเต็มศึกษา.

ที่มา : ไทยโพสต์

ออมสินฟ้องหนี้ครู 13,000 คน ศธ.ห่วงติดบูโรหาทางเยียวยา – ครูระยอง

ตามที่ธนาคารออมสิน ได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาหนี้สินครู เพื่อที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้ทุ่มเทความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการสอนหนังสือให้แก่เยาวชนของชาติ โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงทะเบียนเข้าร่วม 33,354 ราย จำนวนเงิน 49,815 ล้านบาทนั้น

รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกับธนาคารออมสิน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ธนาคารออมสินแจ้งว่า ยังมีครูและบุคลากรทางการศึกษาอีกจำนวนหนึ่ง ที่ยังไม่ได้ยื่นเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือกับทางธนาคาร ดังนั้นธนาคารออมสินจึงจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ธนาคารออมสิน ได้ฟ้องร้องดำเนินคดีกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ไม่จ่ายหนี้ให้กับทางธนาคารติดต่อกัน จำนวน 13,000 ราย

โดยตนกำลังเร่งให้เจ้าหน้าที่ขอรายชื่อครูและบุคลากรที่กำลังถูกฟ้องอยู่ เพื่อจะได้ติดต่อเจ้าตัวรวมถึงผู้บังคับบัญชาว่า จะให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ช่วยเหลืออะไรได้บ้าง เพราะหากถูกฟ้องก็จะเข้าเครดิตบูโรทันที ไม่สามารถทำนิติกรรมอะไรได้อีก ซึ่งจะดูแล และสอบถามรายละเอียดทั้งหมดว่า ใครอยากจะให้ช่วยอะไร แต่หากใครไม่อยากให้ช่วยก็ไม่ต้องตอบคำถามว่า นำเงินไปใช้ทำอะไร

“ผมยังไม่ทราบว่าที่ครูไปกู้เงิน และเป็นหนี้สินจำนวนมาก เขานำเงินไปใช้จ่ายอะไร ส่วนใหญ่จะบอกว่านำเงินไปใช้จ่ายเรื่องการศึกษาบุตร ดูแลบิดามารดา แต่ข้อมูลอีกทางหนึ่ง ก็บอกว่านำเงินไปใช้จ่ายเพื่อความอำนวยความสะดวก เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ ซื้อสิ่งของมีค่า เป็นต้น และส่วนหนึ่งก็กู้เพื่อนำเงินไปลงทุนซื้อที่ทำสวนยางพารา ทำรีสอร์ท แต่ก็ต้องรู้ว่าการกู้เงินจะต้องมีความสามารถที่จะจ่ายหนี้ได้ด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็ต้องมาคุยกันว่าจะสามารถช่วยอะไรได้บ้าง แต่ถ้าให้ช่วยจะต้องขอรายละเอียด มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถช่วยอะไรได้”

ปลัด ศธ.กล่าว

ที่มา : สยามรัฐ

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre