ชงปลดล็อคจบสาขาอื่นนั่งผอ.โรงเรียนได้ – ครูระยอง

Print Friendly

ผศ.ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค รองเลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือ CHES กล่าวว่า ตามที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ไปปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ใหม่นั้น

ตนเห็นว่าควรมีการปลดล็อคคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่ต้องจบการศึกษาสาขาบริหารการศึกษาเท่านั้น โดยเปิดโอกาสให้ผู้จบการศึกษาสาขาอื่นด้วย เพราะขณะนี้ยังไม่มีงานวิจัย หรือ ข้อมูลใดๆที่ชัดเจนว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่จบจากสาขาบริหารการศึกษาจะสามารถบริหารงานได้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ดีกว่าผู้บริหารที่จบสาขาอื่นๆ

” นอกจากนี้การที่คุรุสภา กำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารสถานศึกษา ว่า จะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษาหรือเทียบเท่า เพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ขณะที่ในหลักสูตรปริญญาตรีด้านการศึกษาของทุกมหาวิทยาลัย ยังไม่มีหลักสูตรบริหารการศึกษา เพราะการเรียนระดับปริญญาตรีทุกมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการผลิตครูไม่ใช่ผลิตผู้บริหาร จึงเป็นการบังคับให้ผู้ที่ประสงค์จะเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องไปเรียนปริญญาโทในสาขาบริหารการศึกษาทุกคน ”
ผศ.ดร.พัทธนันท์ กล่าว.

ที่มา : เดลินิวส์

กมธ.การศึกษาและการกีฬาฯสนช. และ สปช.ชงตั้งสำนักพัฒนาหลักสูตรแห่งชาติ เป็นหน่วยงานอิสระดูงานวิชาการ – ครูระยอง


กมธ.การศึกษาและการกีฬาฯสนช. และ สปช.ชงตั้งสำนักพัฒนาหลักสูตรแห่งชาติ เป็นหน่วยงานอิสระดูงานวิชาการ

กมธ.การศึกษาและการกีฬาฯสนช. และ สปช.ชงตั้งสำนักพัฒนาหลักสูตรแห่งชาติ เป็นหน่วยงานอิสระดูงานวิชาการ

Print Friendly

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้เสนอความเห็นเรื่องการจัดตั้งสำนักพัฒนาหลักสูตรแห่งชาติขึ้น เป็นหน่วยงานอิสระที่อยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงศึการธิการ (ศธ.) ลักษณะคล้ายกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เพื่อมาทำหน้าที่ดูแลพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับอาชีวศึกษา มาให้ตนพิจารณา ซึ่งโดยหลักการตนเห็นด้วยที่งานวิชาการควรมีความเป็นเอกภาพ ไม่ใช่แยกกันอยู่ในแต่ละองค์กรหลัก ไม่มีความเข้มแข็งอย่างทุกวันนี้ แต่ข้อเสนอดังกล่าวก็ยังไม่ถือว่าตกผลึก ต้องหารือกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย

พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตามหากจะมีการจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าวขึ้นมาจริง ต้องคิดต่อให้จบด้วยว่า คนที่อยู่ในหน่วยงานที่ดูแลเรื่องวิชาการเดิม จะย้ายไปอยู่ตรงส่วนไหน จะให้ย้ายไปอยู่หน่วยงานใหม่ทั้งหมดเลยหรือไม่ รวมถึงจะต้องดูในเรื่องความเชื่อมโยงทั้งเรื่องการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนแต่ละระดับ ไป การสรรหาผู้อำนวยการ ไปจนถึงตัวรัฐมนตรีที่ดูแลระดับนโยบายด้วยว่า ควรจะอยู่ตรงไหน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องชัดเจน ทั้งนี้ ความต้องการของตนไม่อยากให้หลุดลอยเป็นหน่วยงานอิสระมากเกินไป จะทำงานลำบาก ควรเป็นหน่วยงานอิสระด้านวิชาการที่สอดรับกับการทำงานขององค์กรหลักใน ศธ.และการศึกษาปฐมวัยด้วย

“โดยปกติรัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะเพิ่มหน่วยงานอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ง่ายที่ผมจะตอบตกลง ดังนั้นถ้าผมจะทำหรือเห็นพ้องกับข้อเสนอของ สนช. หรือ สปช. ก็จะต้องมีเหตุผลอธิบายกับรัฐบาลได้ชัดเจนว่ามีประโยชน์จริงหรือไม่อย่างไร ซึ่งหากไปถึงจุดนั้น ก็จะต้องมีการยกร่างกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา คิดว่าไม่น่าจะเกินปี 2560 ก่อนเสนอให้ สนช.พิจารณาต่อไป”
พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าว.

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

อนุมัติร่างกฎ ก.ค.ศ.การให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) – ครูระยอง

Print Friendly

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎ ก.ค.ศ. การจัดประเภทตำแหน่ง ระดับตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ., สำนักงาน ก.พ.ร., กระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการด้วย

โดยมีสาระสำคัญคือ แก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.ค.ศ. การจัดประเภทตำแหน่ง ระดับตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) พ.ศ. 2555 สรุปรายละเอียด ดังนี้

ก.ค.ศ.การให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)

โดย : บัลลังก์ โรหิตเสถียร
ที่มา : moe

สพฐ. เร่งจัดมาตรฐานครูสอนตามวิชาเอก – ครูระยอง


สพฐ. เร่งจัดมาตรฐานครูสอนตามวิชาเอก

สพฐ.เร่งจัดมาตรฐานครูสอนตามวิชาเอก

Print Friendly

นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยถึงการประชุมผู้บริหารระดับสูง ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า ตามที่ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบนโยบาย 11 ข้อ ในการบริหารงาน ศธ. ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับ สพฐ.โดยตรงนั้น ตนได้เชิญผู้บริหารและหน่วยงานที่รับผิดชอบ มาประชุมร่วมกัน เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณ ในปีต่อไปได้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว

  1. การพัฒนาครูให้มีศักยภาพในการสอนอย่างเต็มที่ภายใน 5 ปี ซึ่งสพฐ.ได้ทำหลายโครงการ รวมถึงโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) มหาวิทยาลัยในท้องถิ่น โดยได้อัตราบรรจุครูในโครงการฯ กว่า 4,000 อัตรา
  2. ปรับระบบการสอบ O-NET ให้เป็นที่ยอมรับ และสะท้อนคุณภาพของการจัดการศึกษา ภายในปี 2560 โดยจะจัดทำ Test Blue Print และ Item Card ร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และให้ครูนำผลวิเคราะห์ข้อสอบ O-NETมาปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน
  3. ฝึกให้เด็กคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ภายใน 2 ปี
  4. มีการสอนสะเต็มศึกษา (STEM) ทุกโรงเรียนภายใน 5 ปี
  5. นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ ภายใน 3 ปี
  6. บริหารครูครบตามเกณฑ์ ภายใน 1 ปี ครูประจำชั้นครบทุกห้องภายใน 2 ปี และทำให้ครูสอนตรงสาขาวิชา ภายใน 5-10 ปี
  7. ผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ โดยจัดทำฐานข้อมูลที่ทันสมัยภายใน 1 ปี ให้สถานศึกษาเปิดหลักสูตรตาม Demand Side ภายใน 10 ปี และจัดโครงการทวิภาคี-ทวิวุฒิ-ทวิศึกษา หลักสูตรอาชีพระยะสั้นในโรงเรียนสามัญ และ กศน.เป็นต้น
  8. ด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
  9. ผลิตคนดีสู่สังคม
  10. ซ่อมบ้านพักครู ให้เสร็จภายในปี 2560 และ
  11. แก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งนี้ ตนได้ตั้งคณะทำงานลงไปติดตามความคืบหน้าด้วย

“สำหรับประเด็นจำนวนครูต่อนักเรียนครบตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด รวมถึงมีครูสอนตรงสาขาวิชาเอกนั้น สพฐ.ได้จัดทำมาตรฐานวิชาเอกทั้งระดับประถม-มัธยม รวมถึงการศึกษาพิเศษ และกำลังทดลองนำมาตรฐานวิชาเอกที่กำหนดไปเก็บข้อมูลครูในโรงเรียนสังกัด สพป.กทม.เขต 1 จำนวน 37 แห่ง ว่ามีผู้จบจากวิชาเอกตามสาขาวิชาที่สอนเท่าไร แล้วประมวลผลว่าแต่ละโรงเรียนมีครูวิชาใดขาดหรือเกิน เพื่อโยกย้ายให้ครบตามมาตรฐานที่กำหนด และจะนำเสนอต่อ ก.ค.ศ.ให้ออกหลักเกณฑ์การพิจารณาการโยกย้ายสับเปลี่ยนครู และขยายผลกับโรงเรียนสังกัด สพฐ.ทั่วประเทศต่อไป”

นายการุณ กล่าว

ที่มา : สยามรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

มศ.ลั่นพร้อมเข้ารับการประเมินตามโครงการ EU SHARE มั่นใจมีความเป็นสากล – ครูระยอง

Print Friendly

พล.ร.ต.วัชระ การุณยวนิช รองผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า เครือข่ายประกันคุณภาพอาเซียน (AQAN) สมาคมประกันคุณภาพจากสหภาพยุโรป (ENQA) และ หน่วยงาน DAAD ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบด้านการพัฒนากรอบการประกันคุณภาพและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการ EU SHARE เพื่อช่วยเหลือทางวิชาการด้านอุดมศึกษาแก่ภูมิภาคอาเซียน

โดยในระหว่างปี 2559-2560 นี้ จะนำร่องประเมินหน่วยงานประกันคุณภาพภายนอกของอาเซียนที่มีความพร้อมก่อน 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ไทย ซึ่งในส่วนของไทย สมศ.ได้ตอบรับและพร้อมเข้ารับการประเมินดังกล่าวแล้ว โดยภายในเดือน เม.ย.2560 จะส่งรายงานการประเมินตนเองไป จากนั้นในครึ่งปีหลังคณะกรรมการประเมินจาก EU SHARE จะมาลงพื้นที่ติดตามการประเมินคุณภาพภายนอกในประเทศไทย

พล.ร.ต.วัชระ สำหรับเนื้อหาที่หน่วยงานประเมินจากยุโรปพิจารณาประกอบด้วย 4 หลักการ โดนแต่ละหลักการใหญ่จะมี 10 หลักการย่อย  ได้แก่

  1. หลักการของหน่วยประเมินคุณภาพภายนอก อาทิ ระบบการแต่งตั้งคณะกรรมการที่โปร่งใส
  2. หลักการประเมินคุณภาพภายนอก อาทิ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนและสังคมเป็นสำคัญ
  3. หลักการประกันคุณภาพภายใน อาทิ สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องคุณภาพ
  4. หลักการกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ อาทิ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติช่วยในการกำหนดการเลื่อนคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้นจากผลการเรียนรู้และการฝึกอบรม รวมทั้งการเทียบโอนประสบการณ์ก่อนเข้าศึกษา เป็นต้น

“การเข้าร่วมโครงการนำร่องครั้งนี้ จะสะท้อนว่าหน่วยงานประกันคุณภาพภายนอกของอาเซียน มีความเป็นสากลเพียงใด พร้อมทั้งให้คำแนะนำแต่ละประเทศไปใช้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถเทียบเคียงกันได้ และจะส่งผลถึงการยอมรับ เชื่อมั่นในคุณภาพการอุดมศึกษา การเคลื่อนย้ายผู้เรียน การถ่ายโอนหน่วยกิต และการยอมรับคุณวุฒิระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งผมมั่นใจว่า สมศ.มีความเป็นสากล ”

พล.ร.ต.วัชระ กล่าว

ที่มา : เดลินิวส์

สพฐ.สร้างโครงข่ายระบบ G-Chat เพื่อความเข้าในร่วมกันในองค์กร – ครูระยอง

Print Friendly

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยถึงการเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรด้วยระบบ G-Chat ให้กับเจ้าหน้าที่ ICT เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ว่า เป็นการสร้างระบบสื่อสารภายในองค์กรแบบสองทางที่เน้นการกระจายอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร รวมถึงกระจายข่าวสารที่ถูกต้อง เชื่อถือได้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ในบุคลากร ในสังกัดอย่างทั่วถึงและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือร่วมใจของบุคลากร

G Chat

พร้อมทั้งสร้างความตระหนักการรับรู้การขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้บริหารใน สพฐ.ส่วนกลางทุกระดับ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาในอัตราส่วน 100% และกลุ่มเป้าหมายรองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จาก สพฐ. ในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ในสังกัด

ที่มา : แนวหน้า

สพฐ. ผลักดันการสหกรณ์ ในโรงเรียน บูรณาการนักคิด-ผลิต-ออม – ครูระยอง

Print Friendly

การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม นำมาซึ่งการสูญเสียอำนาจการต่อรองของหน่วยเศรษฐกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะหน่วยผลิตพื้นฐานอย่างเกษตรกร ที่มักจะถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ การนำรูปแบบสหกรณ์มาใช้ในโรงเรียน ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ให้เด็กมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและมีการอำนาจการต่อรอง ซึ่งจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในการปลูกฝังแนวคิดเรื่องสหกรณ์ คือ รั้วของสถาบันการศึกษานั่นเอง

นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) มีภารกิจหลักในการจัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเยาวชนไทย ซึ่งต้องมีความสอดคล้องกับบริบททางสังคม โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมสหกรณ์ในโรงเรียน ถึงแม้เรื่องของสหกรณ์จะไม่ใช่เรื่องใหม่ นับถึงปัจจุบันก็ 100 ปีแล้ว แต่เราก็ยังตระหนักว่าเป็นเรื่องที่ไม่ล้าสมัย เพราะเป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้การส่งเสริมมาโดยตลอด เห็นได้จากที่ทรงได้จัดตั้งหมู่บ้านสหกรณ์ที่หุบกะพง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งกลายเป็นต้นแบบของสหกรณ์ให้คนไทยได้ศึกษาและเรียนรู้ ในฐานะข้าราชบริพาร เราจึงถือเป็นหน้าที่ในการน้อมนำองค์ความรู้ที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานนี้ มาขยายผลให้กับลูกหลานคนไทยได้มีโอกาสได้เรียนรู้

เลขาธิการ กพฐ.-การุณ สกุลประดิษฐ์ ที่มา : สยามรัฐ

ที่สำคัญที่จะปฏิเสธไม่ได้ว่าไทยเราเป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมโลกที่เปิดกว้างทางการค้า และเรามีกลุ่มทุนขนาดใหญ่ทั้งจากภายในและต่างประเทศที่เข้ามาค้าขาย ซึ่งต่างก็มุ่งหวังหาผลกำไรสูงสุด ซึ่งจะทำทุกอย่างให้ลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำสุด เพื่อสร้างอำนาจในการแข่งขัน และกลายมาเป็นผู้กำหนดราคาของตลาดโดยเฉพาะผลิตผลทางด้านการเกษตร ซึ่งหากประชาชนไม่เข้มแข็งก็อาจจะถูกกดราคาได้ การรวมตัวในรูปแบบของสหกรณ์ ถือเป็นทางออกที่สามารถขจัดปัญหาเหล่านี้ได้

สพฐ. จึงเล็งเห็นว่า การปลูกฝังเรื่องของหลักการสหกรณ์ ถือเป็นหน้าที่เร่งด่วนที่จะต้องมีการส่งเสริม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ และเข้าใจ จนสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต หลังจากที่เขาจบการศึกษาไปแล้ว ซึ่งจะมีการส่งเสริมกันในทุกมิติ ตั้งแต่กระบวนการเรียนรู้ สู่การปฏิบัติ และการขยายผล สำหรับในกระบวนการเรียนรู้นั้น สพฐ. จัดสหกรณ์ในโรงเรียนใน 4 รูปแบบ ได้แก่ สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การผลิต และสหกรณ์บริการ ซึ่งโรงเรียนจะต้องส่งเสริม โดยโรงเรียนจะเลือกเอารูปแบบของสหกรณ์ที่สอดรับกับท้องถิ่นมาสอนเด็ก

อย่างไรก็ตาม ในแต่ละมิติของการปฏิบัตินั้น เด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้และลงมือทำ อย่างในสหกรณ์ร้านค้า เด็กๆ จะเรียนรู้เรื่องของการจัดทำบัญชี การจัดซื้อสินค้า การจำหน่าย เรียกว่าบริหารจัดการครบวงจร ส่วนเด็กที่ไม่ได้ทำงานในสหกรณ์ ก็จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ เมื่อมาซื้อของที่สหกรณ์ก็จะได้เรียนรู้ว่าได้สินค้าที่ดีในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด และยังได้เงินปันผลในตอนสิ้นปีอีกด้วย

สหกรณ์ออมทรัพย์ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องของกระบวนการจัดการเงินออม รวมไปถึงการวางแผนการเงินในอนาคต ซึ่งเด็กบางคนเขาสามารถนำเงินออมที่ได้จากที่เขาออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ในโรงเรียนไปช่วยเหลือครอบครัวได้ด้วย อย่างไรก็ตาม โรงเรียนจะไม่ส่งเสริมแค่การออมเงิน แต่จะใส่องค์ความรู้ให้กับเด็กด้วยว่าจะหาเงินออมจากที่ไหน

ซึ่งก็จะโยงมาถึงสหกรณ์รูปแบบที่ 3 คือสหกรณ์การผลิตนั่นเอง ซึ่งเขาจะได้เรียนรู้ว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และที่สำคัญ สพฐ.จะมีโครงการอาหารกลางวัน ผลผลิตที่นักเรียนผลิตได้ ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ หรือไข่ไก่ เหล่านี้โรงเรียนก็จะรับซื้อ และนำผลผลิตเข้าสู่โครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ซึ่งเรื่องนี้ สพฐ.ได้ส่งเสริมอย่างจริงจังมาโดยตลอด คือไม่ว่าเด็กจะได้ผลผลิตอะไรก็ตาม ด่านแรกเลย คือจะต้องนำผลผลิตเหล่านั้นเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน เพราะผลผลิตเหล่านี้จะมีความปลอดภัยสูงไม่มีสารปนเปื้อน หรือสารเคมีเจือปน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างทั่วถึงและอิ่มท้อง เพราะได้ปริมาณมากกว่าซื้อในท้องตลาด และที่สำคัญโรงเรียนจะส่งเสริมให้เด็กทำการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

และสุดท้ายคือ สหกรณ์บริการ ก็จะมีทั้งการสอนตัดผมในโรงเรียน บางแห่งก็มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างการนวดเข้ามาสอน รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเด็กๆ ที่เข้าร่วมเขาจะได้เรียนรู้เรื่องของการมีจิตสาธารณะ การบริการชุมชน การมีน้ำใจ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในสังคมปัจจุบัน

จากนี้ไป สพฐ.จะผลักดันเรื่องของสหกรณ์โรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งในส่วนของโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์ ก็จะให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับโรงเรียนอื่นๆ จากนั้นเราจะขยายผลให้ทุกโรงเรียนนำเรื่องของสหกรณ์เข้าไปจัดการให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเขาสามารถเลือกรูปแบบสหกรณ์ที่สอดรับกับขนาด และทรัพยากรที่มีอยู่ของโรงเรียนได้ ๆ อย่างที่โรงเรียนในจังหวัดกาญจนบุรี มีนักเรียนเพียงร้อยคน มีครูอยู่ไม่ถึงสิบคน เขาก็เลือกที่จะประสานกับชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาถ่ายทอดให้กับเด็กๆ คือการนวดฝ่าเท้า ใส่หลักการของสหกรณ์เข้าไป กลายเป็นสหกรณ์บริการนวดฝ่าเท้าให้กับผู้ปกครอง ชาวบ้าน ที่มารับลูกหลานตอนเย็น ซึ่งเราจะให้อิสระกับโรงเรียนในการเลือกสหกรณ์ไปประยุกต์ใช้ บางแห่งอยู่ในเมืองไม่มีพื้นที่ทำเกษตร ก็ยังมีสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์ร้านค้า นำไปทำได้แบบนี้เป็นต้น”

นายการุณ กล่าวและว่า ส่วนโรงเรียนที่มีพื้นที่และพื้นฐานของสังคมเป็นครอบครัวเกษตร ก็จะส่งเสริมเรื่องของสหกรณ์การผลิตเพราะผลผลิตที่ได้จะได้เข้าสู่โครงการอาหารกลางวันที่มีการส่งเสริมอยู่แล้ว เป็นการ บูรณาการกันแบบครบวงจรได้

“สิ่งแรกที่ผมคิดว่าจะได้เห็นได้อย่างชัดเจน คือการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความเข้มแข็งของชุมชน ที่สามารถกำหนดทิศทางทางด้านการตลาดของตัวเองได้ สามารถที่จะแข่งขันและอยู่รอดในภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของสังคมได้”

โดย : @วารินทร์ พรหมคุณ
ที่มา : สยามรัฐ

ผลวิจัยชี้ 12ข้อ เสนอรัฐต้องทำเพื่อพัฒนา รร.ขนาดเล็ก – ครูระยอง


ผลวิจัยชี้ 12ข้อ เสนอรัฐต้องทำเพื่อพัฒนา รร.ขนาดเล็ก

ผลวิจัยชี้12ข้อเสนอรัฐต้องทำเพื่อพัฒนารร.ขนาดเล็ก

Print Friendly

ผศ.ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค อดีตรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)วิทยาเขตกำแพงแสน เปิดเผยว่า มก.ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชน” โดยเก็บข้อมูลจากโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศกว่า 400 แห่งซึ่งพบว่า

แนวทางการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชนให้มีคุณภาพสูงขึ้นได้รัฐบาลจะต้องทำ 12 เรื่องสำคัญ ดังนี้

  1. กระตุ้นสังคมให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของคนไทยทุกคนในการสนับสนุนการศึกษาเพื่อให้เกิดการพัฒนาการศึกษาอย่างมั่นคง
  2. สนับสนุนการบูรณาการความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างความเข้าใจแนวทางการสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาให้กับโรงเรียนอย่างถูกต้อง
  3. การเปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถบริหารจัดการงบประมาณด้วยตนเองให้มากขึ้น
  4. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียนขั้นพื้นฐานในการกำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของโรงเรียน
  5. สนับสนุนการวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้เกิดความยั่งยืน
  6. สนับสนุนกลไกการถ่ายทอดนโยบายลงสู่การปฏิบัติให้กับโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถประเมินวัดผลได้จริง
  7. เสนอให้คุรุสภาจัดทำข้อตกลง (MOU) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และหน่วยผลิตครูในการจัดทำหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ตอบสนองกับสมรรถนะของบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนได้จริง และปรับระเบียบกฎเกณฑ์ให้สามารถฝึกประการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ผ่านการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)ได้ด้วย
  8. มีแนวทางที่ชัดเจนในการทำอนุสัญญาระหว่างโรงเรียนในการรวมโรงเรียนเครือข่ายเพื่อให้การดำเนินงานของโรงเรียนต่อเนื่อง แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
  9. วางแผนกำลังคนสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในการกำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่งของแต่ละหน่วยงานทางการศึกษา
  10. ให้ปรับเกณฑ์และวิธีการประเมินเกี่ยวกับมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำตามตำแหน่งและวิทยฐานะ โดยมุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์กับนักเรียนเป็นหลัก
  11. จัดทำกลไกให้โรงเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนำนโยบายต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติและการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ
  12. ส่งเสริมการรวมโรงเรียนโดยไม่ยึดติดกับรูปแบบการรวมโรงเรียนและวิธีการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

“นอกจากนี้สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดสรรและสนับสนุนการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กของประเทศไทยกับโรงเรียนขนาดเล็กในประเทศฟินแลนด์พบว่ามีความแตกต่างกันโดยประเทศฟินแลนด์ใช้หลักการจัดสรรที่แตกต่างกันตามความจำเป็น แต่เด็กนักเรียนจะได้รับการจัดการศึกษาที่เท่าเทียมกันทุกโรงเรียน ส่งผลให้การศึกษาของฟินแลนด์มีคุณภาพสูงสอดคล้องกับระดับการพัฒนาประเทศ ขณะที่การศึกษาไทยที่ใช้ระบบจัดสรรเงินรายหัวเท่าเทียมกันทุกพื้นที่ ทั้งๆ ที่แต่ละมีความพร้อมแตกต่างกันมาก ทำให้การศึกษาไทยไม่มีคุณภาพืเท่าเทียมกัน”

ผศ.ดร.พัทธนันท์ กล่าว

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สั่ง ก.ค.ศ. – สพฐ. ทำกรอบเวลาสอบ-บรรจุครูใหม่เริ่มใช้ปี 60 – ครูระยอง

Print Friendly

พล.อ.ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ  รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกับ นายพินิจศักดิ์  สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ถึงการจัดทำกรอบเวลาในโยกย้าย บรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ใหม่

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ให้โจทย์ไปว่า การสอบบรรจุครูจะต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ของทุกปี เพื่อให้โรงเรียนเอกชน สามารถหาครูทดแทนครูที่ลาออกได้ และสามารถสอบขึ้นบัญชีเป็นครูผู้ช่วยสังกัด สพฐ.ได้ทัน  ดังนั้น ช่วงเวลาที่ต้องมีการปรับเลื่อนขึ้น จะเริ่มตั้งแต่การยื่นคำร้องขอย้ายของครู ช่วงเวลาการโยกย้ายซึ่งต้องทำให้เสร็จก่อน เพื่อให้รู้อัตราว่าง จากนั้นจึงประกาศรับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วยโดยกรอบเวลาใหม่นี้จะเริ่มใช้ ทันทีในการโยกย้าย และสอบคัดเลือกครูในปี 2560

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า สำหรับการสอบครูผู้ช่วย ปี 2559 จะดำเนินการตามกรอบเวลาเดิม ที่กำหนดให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็น ผู้จัดสอบตามกรอบเวลาที่ ก.ค.ศ.กำหนด คือ ประกาศสอบภายในเดือนกรกฎาคม รับสมัครสอบเดือนสิงหาคม สอบประมาณต้นเดือนกันยายน และประกาศผลสอบภายในวันที่ 15 กันยายน  เพื่อให้บรรจุครูได้ทันภายในเดือนตุลาคม 2559 ส่วนการสอบในปี 2560จะ เป็นไปตามกรอบเวลาใหม่ ซึ่งจะเร็วขึ้นจากเดิมและจะยึดตามกรอบเวลานี้เป็นหลักในปีต่อๆไป ด้วย ส่วนวิธีการสอบนั้นอนาคตจะพัฒนาไปสู่การสอบจากส่วนกลาง

“ผมยังได้มอบหมายให้ สพฐ. และก.ค.ศ. ไปหารือช่วงเวลาที่เหมาะสม  อีกทั้งยังให้ไปหาแนวทางอุดช่องว่าง ทดแทนอัตราเกษียณให้ทันก่อนเปิดภาคเรียนที่ 2 ไม่ใช่ให้เกษียณอายุราชการไปแล้ว 2-3 เดือน และค่อยมาบรรจุ ทำให้โรงเรียนไม่มีครูสอนต่อเนื่อง”

รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

ด้าน นายพินิจศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับกรอบเวลาการโยกย้าย และบรรจุครูผู้ช่วยใหม่นี้ จะทำให้ครูที่เข้าบรรจุใหม่ รู้ล่วงหน้าว่าตัวเองจะต้องไปเป็นครูที่โรงเรียนใด ทำให้มีเวลาเตรียมความพร้อมในการสอนมากขึ้น ขณะที่โรงเรียนเอกชน มีเวลาหาครูมาทดแทน ครูที่มาบรรจุเป็นครูผู้ช่วยสังกัด สพฐ.ได้ทัน เบื้องต้นกำหนดให้การโยกย้ายครู ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 เมษายน จัดสอบและบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครู ตำแหน่งครูผู้ช่วยสังกัด สพฐ. ให้แล้วเสร็จวันที่ 1 พฤษภาคม ดังนั้นเท่ากับว่า การจัดสอบครูผู้ช่วยจะต้องแล้วเสร็จและประกาศผลภายในวันที่ 15 เมษายน ทั้งนี้ กรอบเวลาดังกล่าวเป็นภาพใหญ่ ตนจะต้องไปหารือร่วมกับสพฐ. เพื่อกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนและเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาก่อนปรับแก้หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา : คมชัดลึก

สภาการศึกษา ชง “ดาวพงษ์” ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กอัจฉริยะ คัดกรองมันสมองเด็ก เพื่อพัฒนาประเทศในอนาคต – ครูระยอง


สภาการศึกษา ชง “ดาวพงษ์” ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กอัจฉริยะ คัดกรองมันสมองเด็ก เพื่อพัฒนาประเทศในอนาคต

ศูนย์พัฒนาเด็กอัจฉริยะ

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือความร่วมมือด้านนโยบายการศึกษาไทย-รัสเซีย เพื่อพัฒนาบุคคลที่มีความสามารถพิเศษกับหน่วยงานด้านนโยบายโรงเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านการศึกษาของบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ ของสหพันธรัฐรัสเซีย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ หน่วยงานด้านนโยบายของรัสเซีย ได้นำเสนอศูนย์พัฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษที่ชื่อว่า “ซิริอุส” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนการศึกษาเพื่อผู้ที่มีความสามารถพิเศษ เพื่อคัดกรอง พัฒนาและสนับสนุนความเชี่ยวชาญของเด็กที่มีความสามารถพิเศษใน 3 ด้าน คือ ศิลปะ กีฬา และวิทยาศาสตร์ อายุ 10-17 ปี ซึ่งเด็กที่มีความสามารถพิเศษที่ได้รับการคัดเลือกจากทั่วประเทศรัสเซียจะ เดินทางมาที่ศูนย์ซิริอุส เพื่อรับการถ่ายทอดความรู้ทักษะจากครูผู้เชี่ยวชาญที่ดีที่สุดของรัสเซียโดย ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นเวลา 24 วัน

“หากเด็กไทยที่มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้อง จะทำให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำความคิดสร้างสรรค์พาประเทศไปสู่ความเจริญในอนาคต ได้ สกศ.จึงได้กำหนดนโยบายการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษไว้ ในแผนพัฒนาการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2574 เพื่อเป็นกรอบทิศทางให้การทำงานในอนาคต โดยจะเสนอต่อ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคคลผู้มีความสามารถพิเศษในประเทศไทย เพื่อให้เป็นมันสมองของชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ วรรณกรรม และกีฬาต่อไป” ดร.กมล กล่าว

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre