สพฐ. เร่งจัดมาตรฐานครูสอนตามวิชาเอก – ครูระยอง


สพฐ. เร่งจัดมาตรฐานครูสอนตามวิชาเอก

สพฐ.เร่งจัดมาตรฐานครูสอนตามวิชาเอก

Print Friendly

นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยถึงการประชุมผู้บริหารระดับสูง ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ว่า ตามที่ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบนโยบาย 11 ข้อ ในการบริหารงาน ศธ. ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับ สพฐ.โดยตรงนั้น ตนได้เชิญผู้บริหารและหน่วยงานที่รับผิดชอบ มาประชุมร่วมกัน เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณ ในปีต่อไปได้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว

  1. การพัฒนาครูให้มีศักยภาพในการสอนอย่างเต็มที่ภายใน 5 ปี ซึ่งสพฐ.ได้ทำหลายโครงการ รวมถึงโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) มหาวิทยาลัยในท้องถิ่น โดยได้อัตราบรรจุครูในโครงการฯ กว่า 4,000 อัตรา
  2. ปรับระบบการสอบ O-NET ให้เป็นที่ยอมรับ และสะท้อนคุณภาพของการจัดการศึกษา ภายในปี 2560 โดยจะจัดทำ Test Blue Print และ Item Card ร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และให้ครูนำผลวิเคราะห์ข้อสอบ O-NETมาปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน
  3. ฝึกให้เด็กคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ภายใน 2 ปี
  4. มีการสอนสะเต็มศึกษา (STEM) ทุกโรงเรียนภายใน 5 ปี
  5. นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ ภายใน 3 ปี
  6. บริหารครูครบตามเกณฑ์ ภายใน 1 ปี ครูประจำชั้นครบทุกห้องภายใน 2 ปี และทำให้ครูสอนตรงสาขาวิชา ภายใน 5-10 ปี
  7. ผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ โดยจัดทำฐานข้อมูลที่ทันสมัยภายใน 1 ปี ให้สถานศึกษาเปิดหลักสูตรตาม Demand Side ภายใน 10 ปี และจัดโครงการทวิภาคี-ทวิวุฒิ-ทวิศึกษา หลักสูตรอาชีพระยะสั้นในโรงเรียนสามัญ และ กศน.เป็นต้น
  8. ด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
  9. ผลิตคนดีสู่สังคม
  10. ซ่อมบ้านพักครู ให้เสร็จภายในปี 2560 และ
  11. แก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งนี้ ตนได้ตั้งคณะทำงานลงไปติดตามความคืบหน้าด้วย

“สำหรับประเด็นจำนวนครูต่อนักเรียนครบตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด รวมถึงมีครูสอนตรงสาขาวิชาเอกนั้น สพฐ.ได้จัดทำมาตรฐานวิชาเอกทั้งระดับประถม-มัธยม รวมถึงการศึกษาพิเศษ และกำลังทดลองนำมาตรฐานวิชาเอกที่กำหนดไปเก็บข้อมูลครูในโรงเรียนสังกัด สพป.กทม.เขต 1 จำนวน 37 แห่ง ว่ามีผู้จบจากวิชาเอกตามสาขาวิชาที่สอนเท่าไร แล้วประมวลผลว่าแต่ละโรงเรียนมีครูวิชาใดขาดหรือเกิน เพื่อโยกย้ายให้ครบตามมาตรฐานที่กำหนด และจะนำเสนอต่อ ก.ค.ศ.ให้ออกหลักเกณฑ์การพิจารณาการโยกย้ายสับเปลี่ยนครู และขยายผลกับโรงเรียนสังกัด สพฐ.ทั่วประเทศต่อไป”

นายการุณ กล่าว

ที่มา : สยามรัฐ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

มศ.ลั่นพร้อมเข้ารับการประเมินตามโครงการ EU SHARE มั่นใจมีความเป็นสากล – ครูระยอง

Print Friendly

พล.ร.ต.วัชระ การุณยวนิช รองผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า เครือข่ายประกันคุณภาพอาเซียน (AQAN) สมาคมประกันคุณภาพจากสหภาพยุโรป (ENQA) และ หน่วยงาน DAAD ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบด้านการพัฒนากรอบการประกันคุณภาพและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการ EU SHARE เพื่อช่วยเหลือทางวิชาการด้านอุดมศึกษาแก่ภูมิภาคอาเซียน

โดยในระหว่างปี 2559-2560 นี้ จะนำร่องประเมินหน่วยงานประกันคุณภาพภายนอกของอาเซียนที่มีความพร้อมก่อน 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ไทย ซึ่งในส่วนของไทย สมศ.ได้ตอบรับและพร้อมเข้ารับการประเมินดังกล่าวแล้ว โดยภายในเดือน เม.ย.2560 จะส่งรายงานการประเมินตนเองไป จากนั้นในครึ่งปีหลังคณะกรรมการประเมินจาก EU SHARE จะมาลงพื้นที่ติดตามการประเมินคุณภาพภายนอกในประเทศไทย

พล.ร.ต.วัชระ สำหรับเนื้อหาที่หน่วยงานประเมินจากยุโรปพิจารณาประกอบด้วย 4 หลักการ โดนแต่ละหลักการใหญ่จะมี 10 หลักการย่อย  ได้แก่

  1. หลักการของหน่วยประเมินคุณภาพภายนอก อาทิ ระบบการแต่งตั้งคณะกรรมการที่โปร่งใส
  2. หลักการประเมินคุณภาพภายนอก อาทิ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนและสังคมเป็นสำคัญ
  3. หลักการประกันคุณภาพภายใน อาทิ สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องคุณภาพ
  4. หลักการกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ อาทิ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติช่วยในการกำหนดการเลื่อนคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้นจากผลการเรียนรู้และการฝึกอบรม รวมทั้งการเทียบโอนประสบการณ์ก่อนเข้าศึกษา เป็นต้น

“การเข้าร่วมโครงการนำร่องครั้งนี้ จะสะท้อนว่าหน่วยงานประกันคุณภาพภายนอกของอาเซียน มีความเป็นสากลเพียงใด พร้อมทั้งให้คำแนะนำแต่ละประเทศไปใช้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถเทียบเคียงกันได้ และจะส่งผลถึงการยอมรับ เชื่อมั่นในคุณภาพการอุดมศึกษา การเคลื่อนย้ายผู้เรียน การถ่ายโอนหน่วยกิต และการยอมรับคุณวุฒิระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งผมมั่นใจว่า สมศ.มีความเป็นสากล ”

พล.ร.ต.วัชระ กล่าว

ที่มา : เดลินิวส์

สพฐ.สร้างโครงข่ายระบบ G-Chat เพื่อความเข้าในร่วมกันในองค์กร – ครูระยอง

Print Friendly

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยถึงการเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรด้วยระบบ G-Chat ให้กับเจ้าหน้าที่ ICT เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ว่า เป็นการสร้างระบบสื่อสารภายในองค์กรแบบสองทางที่เน้นการกระจายอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร รวมถึงกระจายข่าวสารที่ถูกต้อง เชื่อถือได้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ในบุคลากร ในสังกัดอย่างทั่วถึงและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือร่วมใจของบุคลากร

G Chat

พร้อมทั้งสร้างความตระหนักการรับรู้การขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้บริหารใน สพฐ.ส่วนกลางทุกระดับ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาในอัตราส่วน 100% และกลุ่มเป้าหมายรองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จาก สพฐ. ในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ในสังกัด

ที่มา : แนวหน้า

สพฐ. ผลักดันการสหกรณ์ ในโรงเรียน บูรณาการนักคิด-ผลิต-ออม – ครูระยอง

Print Friendly

การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม นำมาซึ่งการสูญเสียอำนาจการต่อรองของหน่วยเศรษฐกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะหน่วยผลิตพื้นฐานอย่างเกษตรกร ที่มักจะถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ การนำรูปแบบสหกรณ์มาใช้ในโรงเรียน ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ให้เด็กมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและมีการอำนาจการต่อรอง ซึ่งจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในการปลูกฝังแนวคิดเรื่องสหกรณ์ คือ รั้วของสถาบันการศึกษานั่นเอง

นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) มีภารกิจหลักในการจัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเยาวชนไทย ซึ่งต้องมีความสอดคล้องกับบริบททางสังคม โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมสหกรณ์ในโรงเรียน ถึงแม้เรื่องของสหกรณ์จะไม่ใช่เรื่องใหม่ นับถึงปัจจุบันก็ 100 ปีแล้ว แต่เราก็ยังตระหนักว่าเป็นเรื่องที่ไม่ล้าสมัย เพราะเป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้การส่งเสริมมาโดยตลอด เห็นได้จากที่ทรงได้จัดตั้งหมู่บ้านสหกรณ์ที่หุบกะพง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งกลายเป็นต้นแบบของสหกรณ์ให้คนไทยได้ศึกษาและเรียนรู้ ในฐานะข้าราชบริพาร เราจึงถือเป็นหน้าที่ในการน้อมนำองค์ความรู้ที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานนี้ มาขยายผลให้กับลูกหลานคนไทยได้มีโอกาสได้เรียนรู้

เลขาธิการ กพฐ.-การุณ สกุลประดิษฐ์ ที่มา : สยามรัฐ

ที่สำคัญที่จะปฏิเสธไม่ได้ว่าไทยเราเป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมโลกที่เปิดกว้างทางการค้า และเรามีกลุ่มทุนขนาดใหญ่ทั้งจากภายในและต่างประเทศที่เข้ามาค้าขาย ซึ่งต่างก็มุ่งหวังหาผลกำไรสูงสุด ซึ่งจะทำทุกอย่างให้ลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำสุด เพื่อสร้างอำนาจในการแข่งขัน และกลายมาเป็นผู้กำหนดราคาของตลาดโดยเฉพาะผลิตผลทางด้านการเกษตร ซึ่งหากประชาชนไม่เข้มแข็งก็อาจจะถูกกดราคาได้ การรวมตัวในรูปแบบของสหกรณ์ ถือเป็นทางออกที่สามารถขจัดปัญหาเหล่านี้ได้

สพฐ. จึงเล็งเห็นว่า การปลูกฝังเรื่องของหลักการสหกรณ์ ถือเป็นหน้าที่เร่งด่วนที่จะต้องมีการส่งเสริม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ และเข้าใจ จนสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต หลังจากที่เขาจบการศึกษาไปแล้ว ซึ่งจะมีการส่งเสริมกันในทุกมิติ ตั้งแต่กระบวนการเรียนรู้ สู่การปฏิบัติ และการขยายผล สำหรับในกระบวนการเรียนรู้นั้น สพฐ. จัดสหกรณ์ในโรงเรียนใน 4 รูปแบบ ได้แก่ สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การผลิต และสหกรณ์บริการ ซึ่งโรงเรียนจะต้องส่งเสริม โดยโรงเรียนจะเลือกเอารูปแบบของสหกรณ์ที่สอดรับกับท้องถิ่นมาสอนเด็ก

อย่างไรก็ตาม ในแต่ละมิติของการปฏิบัตินั้น เด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้และลงมือทำ อย่างในสหกรณ์ร้านค้า เด็กๆ จะเรียนรู้เรื่องของการจัดทำบัญชี การจัดซื้อสินค้า การจำหน่าย เรียกว่าบริหารจัดการครบวงจร ส่วนเด็กที่ไม่ได้ทำงานในสหกรณ์ ก็จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ เมื่อมาซื้อของที่สหกรณ์ก็จะได้เรียนรู้ว่าได้สินค้าที่ดีในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด และยังได้เงินปันผลในตอนสิ้นปีอีกด้วย

สหกรณ์ออมทรัพย์ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องของกระบวนการจัดการเงินออม รวมไปถึงการวางแผนการเงินในอนาคต ซึ่งเด็กบางคนเขาสามารถนำเงินออมที่ได้จากที่เขาออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ในโรงเรียนไปช่วยเหลือครอบครัวได้ด้วย อย่างไรก็ตาม โรงเรียนจะไม่ส่งเสริมแค่การออมเงิน แต่จะใส่องค์ความรู้ให้กับเด็กด้วยว่าจะหาเงินออมจากที่ไหน

ซึ่งก็จะโยงมาถึงสหกรณ์รูปแบบที่ 3 คือสหกรณ์การผลิตนั่นเอง ซึ่งเขาจะได้เรียนรู้ว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และที่สำคัญ สพฐ.จะมีโครงการอาหารกลางวัน ผลผลิตที่นักเรียนผลิตได้ ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ หรือไข่ไก่ เหล่านี้โรงเรียนก็จะรับซื้อ และนำผลผลิตเข้าสู่โครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ซึ่งเรื่องนี้ สพฐ.ได้ส่งเสริมอย่างจริงจังมาโดยตลอด คือไม่ว่าเด็กจะได้ผลผลิตอะไรก็ตาม ด่านแรกเลย คือจะต้องนำผลผลิตเหล่านั้นเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน เพราะผลผลิตเหล่านี้จะมีความปลอดภัยสูงไม่มีสารปนเปื้อน หรือสารเคมีเจือปน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างทั่วถึงและอิ่มท้อง เพราะได้ปริมาณมากกว่าซื้อในท้องตลาด และที่สำคัญโรงเรียนจะส่งเสริมให้เด็กทำการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

และสุดท้ายคือ สหกรณ์บริการ ก็จะมีทั้งการสอนตัดผมในโรงเรียน บางแห่งก็มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างการนวดเข้ามาสอน รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเด็กๆ ที่เข้าร่วมเขาจะได้เรียนรู้เรื่องของการมีจิตสาธารณะ การบริการชุมชน การมีน้ำใจ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในสังคมปัจจุบัน

จากนี้ไป สพฐ.จะผลักดันเรื่องของสหกรณ์โรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งในส่วนของโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์ ก็จะให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับโรงเรียนอื่นๆ จากนั้นเราจะขยายผลให้ทุกโรงเรียนนำเรื่องของสหกรณ์เข้าไปจัดการให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเขาสามารถเลือกรูปแบบสหกรณ์ที่สอดรับกับขนาด และทรัพยากรที่มีอยู่ของโรงเรียนได้ ๆ อย่างที่โรงเรียนในจังหวัดกาญจนบุรี มีนักเรียนเพียงร้อยคน มีครูอยู่ไม่ถึงสิบคน เขาก็เลือกที่จะประสานกับชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาถ่ายทอดให้กับเด็กๆ คือการนวดฝ่าเท้า ใส่หลักการของสหกรณ์เข้าไป กลายเป็นสหกรณ์บริการนวดฝ่าเท้าให้กับผู้ปกครอง ชาวบ้าน ที่มารับลูกหลานตอนเย็น ซึ่งเราจะให้อิสระกับโรงเรียนในการเลือกสหกรณ์ไปประยุกต์ใช้ บางแห่งอยู่ในเมืองไม่มีพื้นที่ทำเกษตร ก็ยังมีสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์ร้านค้า นำไปทำได้แบบนี้เป็นต้น”

นายการุณ กล่าวและว่า ส่วนโรงเรียนที่มีพื้นที่และพื้นฐานของสังคมเป็นครอบครัวเกษตร ก็จะส่งเสริมเรื่องของสหกรณ์การผลิตเพราะผลผลิตที่ได้จะได้เข้าสู่โครงการอาหารกลางวันที่มีการส่งเสริมอยู่แล้ว เป็นการ บูรณาการกันแบบครบวงจรได้

“สิ่งแรกที่ผมคิดว่าจะได้เห็นได้อย่างชัดเจน คือการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความเข้มแข็งของชุมชน ที่สามารถกำหนดทิศทางทางด้านการตลาดของตัวเองได้ สามารถที่จะแข่งขันและอยู่รอดในภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของสังคมได้”

โดย : @วารินทร์ พรหมคุณ
ที่มา : สยามรัฐ

ผลวิจัยชี้ 12ข้อ เสนอรัฐต้องทำเพื่อพัฒนา รร.ขนาดเล็ก – ครูระยอง


ผลวิจัยชี้ 12ข้อ เสนอรัฐต้องทำเพื่อพัฒนา รร.ขนาดเล็ก

ผลวิจัยชี้12ข้อเสนอรัฐต้องทำเพื่อพัฒนารร.ขนาดเล็ก

Print Friendly

ผศ.ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค อดีตรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)วิทยาเขตกำแพงแสน เปิดเผยว่า มก.ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชน” โดยเก็บข้อมูลจากโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศกว่า 400 แห่งซึ่งพบว่า

แนวทางการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชนให้มีคุณภาพสูงขึ้นได้รัฐบาลจะต้องทำ 12 เรื่องสำคัญ ดังนี้

  1. กระตุ้นสังคมให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของคนไทยทุกคนในการสนับสนุนการศึกษาเพื่อให้เกิดการพัฒนาการศึกษาอย่างมั่นคง
  2. สนับสนุนการบูรณาการความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างความเข้าใจแนวทางการสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาให้กับโรงเรียนอย่างถูกต้อง
  3. การเปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถบริหารจัดการงบประมาณด้วยตนเองให้มากขึ้น
  4. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียนขั้นพื้นฐานในการกำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของโรงเรียน
  5. สนับสนุนการวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้เกิดความยั่งยืน
  6. สนับสนุนกลไกการถ่ายทอดนโยบายลงสู่การปฏิบัติให้กับโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถประเมินวัดผลได้จริง
  7. เสนอให้คุรุสภาจัดทำข้อตกลง (MOU) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และหน่วยผลิตครูในการจัดทำหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ตอบสนองกับสมรรถนะของบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนได้จริง และปรับระเบียบกฎเกณฑ์ให้สามารถฝึกประการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ผ่านการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)ได้ด้วย
  8. มีแนวทางที่ชัดเจนในการทำอนุสัญญาระหว่างโรงเรียนในการรวมโรงเรียนเครือข่ายเพื่อให้การดำเนินงานของโรงเรียนต่อเนื่อง แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
  9. วางแผนกำลังคนสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในการกำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่งของแต่ละหน่วยงานทางการศึกษา
  10. ให้ปรับเกณฑ์และวิธีการประเมินเกี่ยวกับมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำตามตำแหน่งและวิทยฐานะ โดยมุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์กับนักเรียนเป็นหลัก
  11. จัดทำกลไกให้โรงเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนำนโยบายต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติและการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ
  12. ส่งเสริมการรวมโรงเรียนโดยไม่ยึดติดกับรูปแบบการรวมโรงเรียนและวิธีการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

“นอกจากนี้สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดสรรและสนับสนุนการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กของประเทศไทยกับโรงเรียนขนาดเล็กในประเทศฟินแลนด์พบว่ามีความแตกต่างกันโดยประเทศฟินแลนด์ใช้หลักการจัดสรรที่แตกต่างกันตามความจำเป็น แต่เด็กนักเรียนจะได้รับการจัดการศึกษาที่เท่าเทียมกันทุกโรงเรียน ส่งผลให้การศึกษาของฟินแลนด์มีคุณภาพสูงสอดคล้องกับระดับการพัฒนาประเทศ ขณะที่การศึกษาไทยที่ใช้ระบบจัดสรรเงินรายหัวเท่าเทียมกันทุกพื้นที่ ทั้งๆ ที่แต่ละมีความพร้อมแตกต่างกันมาก ทำให้การศึกษาไทยไม่มีคุณภาพืเท่าเทียมกัน”

ผศ.ดร.พัทธนันท์ กล่าว

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สั่ง ก.ค.ศ. – สพฐ. ทำกรอบเวลาสอบ-บรรจุครูใหม่เริ่มใช้ปี 60 – ครูระยอง

Print Friendly

พล.อ.ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ  รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกับ นายพินิจศักดิ์  สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ถึงการจัดทำกรอบเวลาในโยกย้าย บรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ใหม่

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ให้โจทย์ไปว่า การสอบบรรจุครูจะต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ของทุกปี เพื่อให้โรงเรียนเอกชน สามารถหาครูทดแทนครูที่ลาออกได้ และสามารถสอบขึ้นบัญชีเป็นครูผู้ช่วยสังกัด สพฐ.ได้ทัน  ดังนั้น ช่วงเวลาที่ต้องมีการปรับเลื่อนขึ้น จะเริ่มตั้งแต่การยื่นคำร้องขอย้ายของครู ช่วงเวลาการโยกย้ายซึ่งต้องทำให้เสร็จก่อน เพื่อให้รู้อัตราว่าง จากนั้นจึงประกาศรับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วยโดยกรอบเวลาใหม่นี้จะเริ่มใช้ ทันทีในการโยกย้าย และสอบคัดเลือกครูในปี 2560

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า สำหรับการสอบครูผู้ช่วย ปี 2559 จะดำเนินการตามกรอบเวลาเดิม ที่กำหนดให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็น ผู้จัดสอบตามกรอบเวลาที่ ก.ค.ศ.กำหนด คือ ประกาศสอบภายในเดือนกรกฎาคม รับสมัครสอบเดือนสิงหาคม สอบประมาณต้นเดือนกันยายน และประกาศผลสอบภายในวันที่ 15 กันยายน  เพื่อให้บรรจุครูได้ทันภายในเดือนตุลาคม 2559 ส่วนการสอบในปี 2560จะ เป็นไปตามกรอบเวลาใหม่ ซึ่งจะเร็วขึ้นจากเดิมและจะยึดตามกรอบเวลานี้เป็นหลักในปีต่อๆไป ด้วย ส่วนวิธีการสอบนั้นอนาคตจะพัฒนาไปสู่การสอบจากส่วนกลาง

“ผมยังได้มอบหมายให้ สพฐ. และก.ค.ศ. ไปหารือช่วงเวลาที่เหมาะสม  อีกทั้งยังให้ไปหาแนวทางอุดช่องว่าง ทดแทนอัตราเกษียณให้ทันก่อนเปิดภาคเรียนที่ 2 ไม่ใช่ให้เกษียณอายุราชการไปแล้ว 2-3 เดือน และค่อยมาบรรจุ ทำให้โรงเรียนไม่มีครูสอนต่อเนื่อง”

รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

ด้าน นายพินิจศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับกรอบเวลาการโยกย้าย และบรรจุครูผู้ช่วยใหม่นี้ จะทำให้ครูที่เข้าบรรจุใหม่ รู้ล่วงหน้าว่าตัวเองจะต้องไปเป็นครูที่โรงเรียนใด ทำให้มีเวลาเตรียมความพร้อมในการสอนมากขึ้น ขณะที่โรงเรียนเอกชน มีเวลาหาครูมาทดแทน ครูที่มาบรรจุเป็นครูผู้ช่วยสังกัด สพฐ.ได้ทัน เบื้องต้นกำหนดให้การโยกย้ายครู ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 เมษายน จัดสอบและบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครู ตำแหน่งครูผู้ช่วยสังกัด สพฐ. ให้แล้วเสร็จวันที่ 1 พฤษภาคม ดังนั้นเท่ากับว่า การจัดสอบครูผู้ช่วยจะต้องแล้วเสร็จและประกาศผลภายในวันที่ 15 เมษายน ทั้งนี้ กรอบเวลาดังกล่าวเป็นภาพใหญ่ ตนจะต้องไปหารือร่วมกับสพฐ. เพื่อกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนและเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาก่อนปรับแก้หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา : คมชัดลึก

สภาการศึกษา ชง “ดาวพงษ์” ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กอัจฉริยะ คัดกรองมันสมองเด็ก เพื่อพัฒนาประเทศในอนาคต – ครูระยอง


สภาการศึกษา ชง “ดาวพงษ์” ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กอัจฉริยะ คัดกรองมันสมองเด็ก เพื่อพัฒนาประเทศในอนาคต

ศูนย์พัฒนาเด็กอัจฉริยะ

Print Friendly

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือความร่วมมือด้านนโยบายการศึกษาไทย-รัสเซีย เพื่อพัฒนาบุคคลที่มีความสามารถพิเศษกับหน่วยงานด้านนโยบายโรงเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านการศึกษาของบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ ของสหพันธรัฐรัสเซีย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ หน่วยงานด้านนโยบายของรัสเซีย ได้นำเสนอศูนย์พัฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษที่ชื่อว่า “ซิริอุส” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนการศึกษาเพื่อผู้ที่มีความสามารถพิเศษ เพื่อคัดกรอง พัฒนาและสนับสนุนความเชี่ยวชาญของเด็กที่มีความสามารถพิเศษใน 3 ด้าน คือ ศิลปะ กีฬา และวิทยาศาสตร์ อายุ 10-17 ปี ซึ่งเด็กที่มีความสามารถพิเศษที่ได้รับการคัดเลือกจากทั่วประเทศรัสเซียจะ เดินทางมาที่ศูนย์ซิริอุส เพื่อรับการถ่ายทอดความรู้ทักษะจากครูผู้เชี่ยวชาญที่ดีที่สุดของรัสเซียโดย ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นเวลา 24 วัน

“หากเด็กไทยที่มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้อง จะทำให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำความคิดสร้างสรรค์พาประเทศไปสู่ความเจริญในอนาคต ได้ สกศ.จึงได้กำหนดนโยบายการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษไว้ ในแผนพัฒนาการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2574 เพื่อเป็นกรอบทิศทางให้การทำงานในอนาคต โดยจะเสนอต่อ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคคลผู้มีความสามารถพิเศษในประเทศไทย เพื่อให้เป็นมันสมองของชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ วรรณกรรม และกีฬาต่อไป” ดร.กมล กล่าว

ที่มา : เดลินิวส์

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

บรรจุทันที-ครูท้องถิ่น – ครูระยอง


บรรจุทันที-ครูท้องถิ่น

บรรจุทันที-ครูท้องถิ่น

Print Friendly

น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาฯ กกอ.) กล่าวถึงโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2559-2572) ว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ประกาศรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการทางเว็บไซต์ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ตั้งแต่วันที่ 4-18 กรกฎาคม 2559 นั้น เบื้องต้น ณ เวลา 15.44 น. ของวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 มีผู้สมัครทั้งหมด 30,328 คน ปีนี้มีผู้สมัครมากกว่าทุกปี สาเหตุเพราะผู้สมัครโครงการดังกล่าวจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รับประกันการมีงาน อีกทั้งปัจจุบันค่าตอบแทนวิชาชีพครูค่อนข้างสูง รวมถึงปีนี้เป็นปีแรกที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีคุณวุฒิวิชาชีพครูและผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอื่นๆ ที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รับรองสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการด้วย

น.ส.อาภรณ์กล่าวต่อว่า ขณะนี้ทาง สกอ.ได้ดำเนินการเตรียมสถานที่สอบเพื่อจัดสอบ 3 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยปีนี้มีนักศึกษาให้ความสนใจสมัครจำนวนมาก ทำให้ สกอ.ต้องจัดหาสถานที่สอบเพิ่มเติม โดยเฉพาะการสอบวิชาภาษาอังกฤษต้องสอบทั้ง 4 ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ในส่วนของการสอบทักษะการฟังจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์หรือหาสถานที่ในการสอบที่มีอุปกรณ์การฟังภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพราะหากอุปกรณ์ไม่ดี ไม่สามารถวัดทักษะการฟังภาษาอังกฤษของเด็กได้ อาจจะทำให้การวัดผลไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม อยากฝากนักศึกษาทุกคนที่สมัครเข้าร่วมโครงการศึกษารายละเอียด ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติ สาขาวิชาที่สอบ สถานที่สอบ จะได้ไม่ต้องเสียในการสมัคร หรือพลาดการสมัครเข้าร่วมโครงการ เพราะไม่ได้ทำตามรายละเอียดของโครงการ.

ที่มา : ไทยโพส

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 302/2559 ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 7/2559 – ครูระยอง

Print Friendly

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้

ที่มา : moe

ที่มา : moe

– การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559

ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ในการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2559 ของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2559 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้รับงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 515,516.1964 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 385,757.6254 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 74.83 ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75

– หลักเกณฑ์ฯ การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ เกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในกรณีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) หรือ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้งใด มีตำแหน่งว่างและไม่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งว่าที่จะบรรจุและแต่งตั้ง ให้ดำเนินการตามลำดับการขอชื่อบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่ง ไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น ดังนี้

  1. ให้ขอจากบัญชีรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ของ กศจ.ก่อน
  2. กรณีไม่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ กศจ. ให้ขอจากบัญชีรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ของ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง โดยดำเนินการตามลำดับการขอรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ฯ ได้แก่ 1) อ.ก.ค.ศ.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 2) อ.ก.ค.ศ.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  3. กรณีไม่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง ให้ขอจากบัญชีรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในประเภทข้าราชการพลเรือนสามัญของส่วนราชการต้นสังกัด โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กำหนด โดยอนุโลม
  4. กรณีไม่มีบัญชีรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ของส่วนราชการต้นสังกัด ให้ขอจากบัญชีรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในประเภทข้าราชการพลเรือนสามัญของส่วนราชการอื่นได้ โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด โดยอนุโลม

ทั้ง 4 ข้อดังกล่าวข้างต้น ต้องเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งเดียวกัน กับตำแหน่งว่างที่จะใช้บรรจุและแต่งตั้ง และมีคุณวุฒิตรงตามมาตรฐานตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง โดยการใช้ตำแหน่งว่างในการบรรจุและแต่งตั้งนั้นให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นผู้พิจารณาการใช้ตำแหน่งว่างได้ตามความเหมาะสม ภายใต้กรอบอัตรากำลังที่ ก.ค.ศ. กำหนด

– ศูนย์ดิจิทัลชุมชน

จากการที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร – สำนักงาน กศน. – บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีของภาคประชาชนอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบ ผ่านเครือข่ายศูนย์ดิจิทัลชุมชนอย่างน้อย 1 ล้านคน และเพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานครอบคลุมทั่วประเทศ

โดยมีขอบเขตความร่วมมือใน 3 ส่วน คือ สำนักงาน กศน.จะพัฒนาบุคลากรของ กศน.ตำบล ให้เป็นวิทยากรหรือผู้อำนวยการจัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัลในระดับหมู่บ้าน, สำนักงานปลัดกระทรวง ICT พัฒนาวิทยากรและการจัดอบรมในชุมชน ตลอดจนประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมสนับสนุนกิจกรรม วิทยากร หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) สนับสนุนการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ การจัดทำหลักสูตรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับชุมชน เช่น e-Commerce การสร้างเครือข่ายเน็ตอาสา ตลอดจนประเมินผลการดำเนินงาน

สำนักงาน กศน.จึงได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ ถึงความก้าวหน้าในการจัดอบรมบุคลากรของสำนักงาน กศน. ด้วยงบประมาณที่ ICT จัดสรรมาให้เพื่อพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลชุมชน กศน.ตำบล ดังนี้

  1. จัดอบรมวิทยากรแกนนำ ครู ก. (ระดับจังหวัด) จำนวน 77 จังหวัดๆ ละ 2 คน รวม 154 คน โดยมีสถาบัน กศน.ภาค รับผิดชอบดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  2. จัดอบรมวิทยากรแกนนำ ครู ข. (ระดับอำเภอ) จำนวน 928 อำเภอๆ ละ 2 คน รวม 1,856 คน โดยวิทยากรแกนนำ ครู ก. ดำเนินการอบรมเป็นเวลา 2 วัน ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2559
  3. จัดอบรมวิทยากรแกนนำ ครู ค. (ระดับตำบล) จำนวน 7,424 ตำบลๆ ละ 1 คน โดยวิทยากรแกนนำ ครู ข. ดำเนินการอบรมเป็นเวลา 2 วัน ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2559

ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบให้สำนักงาน กศน. จัดทำแผนติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์จากศูนย์ดิจิทัลชุมชนของประชาชน ทั้งในส่วนของระดับการใช้งาน และการนำเทคโนโลยีที่ได้เรียนรู้ไปใช้งานจริง

– ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล

สำนักงาน กศน. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานักศึกษาและประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมทั้งได้จัดการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) เพื่อสร้างเครือข่ายพัฒนาประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องยั่งยืนในระดับตำบล 7,424 ตำบล พร้อมตั้งคณะกรรมการ ศส.ปชต.รวม 74,240 คนทั่วประเทศ

และในช่วงของการเตรียมการออกเสียงประชามติ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นี้ ได้ร่วมกับสำนักงาน กกต. จัดกิจกรรม 3 สัปดาห์ประชามติ โดยได้จัดประชุมมอบนโยบายและชี้แจงแนวทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การออกเสียงประชามติให้กับผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ตลอดจนผู้อำนวยการศูนย์ กศน.อำเภอ/เขตทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน

จากนั้นคณะกรรมการ ศส.ปชต. ในทุกตำบล จะได้ใช้แนวทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าใจและคำแนะนำเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติแก่ประชาชนทุกหมู่บ้าน ให้สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจและลงทะเบียนนอกเขตจังหวัด การเพิ่มถอนชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ การจัดเตรียมเอกสารแสดงตน การเชิญชวนประชาชนให้ไปใช้สิทธิ์ นอกจากนี้ให้ติดตามการจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติด้วย

– การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

  1. สาเหตุ จากการวิเคราะห์พบว่าการทะเลาะวิวาทเกิดจากสาเหตุหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นค่านิยม : ความอยากเป็นข่าว-เด่น-ดัง การปลูกฝังเรื่องศักดิ์ศรีสถาบัน การแก้แค้น ความรักเพื่อน, ระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง : การแสดงศักยภาพและปลูกฝังความเชื่อในทางที่ผิด การอวดรุ่นน้อง, สื่อ/สังคม : การรวมกลุ่ม-ลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง การใช้โซเชียลมีเดียในการก่อเหตุ สังคมให้ความสนใจกับข่าวลบ อาวุธสามารถหา-ประดิษฐ์ได้ง่าย, พฤติกรรมส่วนบุคคล : พื้นฐานปัญหาเดิม การใช้เวลาว่างในทางที่ผิด ความต้องการอวดเพศตรงข้าม ความคึกคะนอง-ก้าวร้าว หรือติดยาเสพติด
  2. พฤติกรรมการทะเลาะวิวาท พฤติกรรมส่วนใหญ่ที่พบในการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ได้แก่ การรวมกลุ่ม-กลุ่มเพื่อน, ผู้นำในทางลบ, ก้าวร้าวรุ่นแรง วิตกกังวล, มองตนเองต่ำต้อย ขาดการยอมรับ
  3. มาตรการ ที่ผ่านมา สอศ.ได้กำหนดมาตรการในการดำเนินการเรื่องนี้ในหลายส่วน คือ การส่งเสริมภาพลักษณ์, การจัดหลักสูตรเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย,การสร้างค่านิยมให้เคารพกฎหมาย, การส่งเสริมสนับสนุนการเข้าเรียนในระบบทวิภาคี, การส่งเสริมกิจกรรมเชิงบวก ทั้งด้านจิตอาสา กีฬา ดนตรี, การเน้นย้ำ อาชีวะคือพระเอกตัวจริง จากกิจกรรมช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ-การประดิษฐ์นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์-ตั้งศูนย์ Fix It Center ในช่วงเทศกาลต่างๆ, การเตรียมความพร้อมอาชีวศึกษาร่วมกับกองทัพเรือ, การบูรณาการการทำงานร่วมกับตำรวจและทหาร, การจัดชุดพิเศษไล่ล่า ปะฉะดะ, การทำงานในรูปแบบเครือข่ายสหวิชาชีพ, การเฝ้าระวังความเคลื่อนไหวทางสื่อสังคมออนไลน์

นอกจากนี้ ภายหลังมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 30/2559 เรื่องมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษา สอศ.ได้ดำเนินงานให้สอดรับกับคำสั่งดังกล่าวในหลายส่วน อาทิ สร้างความเข้าใจและความตระหนักแก่พ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนนักเรียนนักศึกษาทุกคนภายใน 2 สัปดาห์, อบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ในสถานศึกษา, ทำงานร่วมกับทหาร/ตำรวจในพื้นที่, ปรับระบบการสื่อสาร, อบรมนักศึกษาอาชีวะคู่กรณี, อบรมเตรียมอาชีวศึกษา, สร้างเครือข่ายเข้มข้นและร่วมมือกันอย่างจริงจัง, ปรับแผนให้สอดรับและมีความเข้มข้นมากขึ้น

โดย : นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร ,นวรัตน์ รามสูต
ที่มา : moe

TEPE-58102 การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ (16/20) – ครูระยอง


TEPE-58102 การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ (16/20)

เฉลย TEPE Online - ครูระยอง

Print Friendly

TEPE-58102 การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ (16/20)

  • ข้อใดคือขั้นตอนแรกของวิธีสอบโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์
    – การขั้นกำหนดปัญหา
  • อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ตั้นอยู่ในจังหวัดใด
    – บุรีรัมย์
  • ข้อใดคือคุณค่าของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการศึกษานอกสถานที่
    – ทุกข้อที่กล่าวมา
  • มโนมติทางประวัติศาศตร์ข้อใดที่เกี่ยวข้องกับวิชารัฐศาสตร์มากที่สุด
    – เหตุปัจจัย
  • กินกรรมข้อใดเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลำดับเหตุการณ์ที่เกินขึ้นในประวัติสตร์มากที่สุด
    – กิจกรรมการเทียบศักราช และการนับช่วงเวลา
  • ข้อใดเป็นคุณค่าหรือประโยชน์ของวิชาประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง
    – ช่วยให้เข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์และสังคมว่ามีการพัฒนาตามลำดับอย่างไร
  • ประวัติศาสตร์(history) มาจากคำในภาษากรีกว่า “Historia” ซึ่งความหมายว่าอะไร
    – การไต่สวนหรือค้นคว้า
  • หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นและหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายพุทธศักราช 2503 ได้กำหนดหมวดสังคมศึกษาแยกเป็นกี่วิชา วิชาใดบ้าง
    – 4 รายวิชา คือ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์
  • แนวคิดที่ผู้สอนควรเน้นในกิจกรรม “การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน” คือข้อใดมากที่สุด
    – การบันทึกเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติสตร์
  • เครื่องมือการวัดและประเมินผล ด้านเจตคติและค่านิยม หรือด้านความรู้สึกและอารมณ์นั้น ครูควรใช้เครื่องมือใด
    – แบบสังเกตและวิธีการที่ให้นักเรียนรายงานด้วยตอนเอง
  • กิจกรรมพบปะสนทนากับผู้อาวุโสในชุมชน เป็นกิจกรรมที่จะส่งเสริมวิธีการเรียนประวัติศาสตร์แบบใด
    – ข้อ 1 และข้อ 2
  • หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศึกราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมนั้น สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ไวกี่มาตรฐาน
    – 3 มาตรฐาน
  • หลักสูตรประโยคต่างๆ ที่ออกใช้ในปี พ.ศ. 2438 ได้มีการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไว้ในบางส่วนของวิชาใด
    – วิชาภาษาไทย
  • ถ้าค้องการให้ผู้เรียนได้ชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ครูผู้สอนครใช้สือแบบใดต่อไปนี้ จึงจะเหมาะสมที่สุด
    – สไลด์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศึกราช 2551 นั้น สาระประวัติศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงในข้อใดบ้าง
    – เพิ่มตัวชี้วัดทุกช่วงชั้น
  • ข้อใดคือประโยชน์ของเส้นเวลา (Time Line)
    – ทุกข้อที่กล่าวมา
  • แผนภูมิแบบใดที่ออกแบบเพื่อแสดงให้เห็นข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างสิ่งของจำพวกเดียวกันแต่เป็นคนละแบบ ครละลักษณะ
    – แผนภูมิเปรียบเทียบ
  • พฤติกรรมที่ต้องวัดและประเมินมรการเรียนการสอนวิขาประวัติศาสตร์ได้แก่ พฤติกรรมด้านใด
    – ถุกทุกข้อ
  • สือสิ่งพิมพ์ใดที่ครูผู้าอนนิยมนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์มากที่สุด
    – แบบเรียนตำรา
  • “พัฒนาการของสังคมมนุษย์ คุณลักษณะของโครงสร้างทางสังคม ความเจริญทางเทคโนโลยี และการบริหาร ระดับความเจริญทางสติปัญญาและสุนทรียศาสตร์” คำอธิบายนี้ตรงกับมโนมติข้ดใด
    – อารยธรรม

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Our partners from Mexico:
Productos de salud
Carlos Torre