ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (Moderate Class More Knowledge) – ครูระยอง


ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (Moderate Class More Knowledge)

ครูระยอง-บทความ

Print Friendly

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มดำเนินการวางแนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียน ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (Moderate Class More Knowledge)” มาตั้งแต่สมัยพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จนกระทั่งมีการหารือและดำเนินการตามแผนมาเป็นระยะ พบว่ามี 4 เรื่องหลักที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์ ดังนี้

  1. หลักสูตร ยืนยันกับผู้ปกครอง นักเรียน และครู ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนหลักสูตร แต่จะใช้วิธีปรับปรุงใน 2 ส่วน คือ
    – เนื้อหาภายในแต่ละวิชาที่มีความซ้ำซ้อนจะต้องตัดออกไป โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตัวชี้วัด ซึ่งได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติฯ (สทศ.) ในฐานะผู้จัดการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ หรือ NT (National Test) และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET (Ordinary National Educational Test) แล้ว
    – การปรับโครงสร้างเวลาเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ระดับประถมศึกษา เดิมกำหนดเวลาเรียนไว้ไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี แต่ในความเป็นจริงใช้เวลาเรียนจริง 1,200-1,400 ชั่วโมงต่อปี จึงจะปรับโครงสร้างเวลาเรียนในห้องเรียนใหม่ ไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี หรือ 22 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้เรียนในชั่วโมงที่เหลือ 8-13 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
    ระดับประถมศึกษา

    ระดับประถมศึกษา

    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เดิมกำหนดเวลาเรียนไว้ไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมงต่อปี แต่ในความเป็นจริงใช้เวลาเรียน 1,400 ชั่วโมงต่อปี จึงจะปรับโครงสร้างเวลาเรียนในห้องเรียนใหม่ ไม่เกิน 1,200 ชั่วโมงต่อปี หรือ 27 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้เรียนในชั่วโมงที่เหลือ 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

  2. กระบวนการจัดการเรียนรู้  ซึ่งจะแบ่งการดำเนินงาน ออกเป็น 3 ส่วน คือ
    – จำนวนสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ โดยในขณะนี้มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ที่มีความพร้อมสมัครเข้าร่วมโครงการหลากหลายระดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กันยายน 2558 พบว่า มีโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวนรวมทั้งสิ้น 2,948 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนสังกัด สพป. 2,602 โรงเรียนจาก 137 เขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนสังกัด สพม. 346 โรงเรียนจาก 32 เขตพื้นที่การศึกษา) คือ โรงเรียนอนุบาลจังหวัด โรงเรียนอนุบาลอำเภอ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ตลอดจนโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ

    ครู ขณะนี้ สพฐ.ได้เตรียมการที่จะเตรียมความพร้อมให้กับครูใน 2 ส่วน คือ
    1) การอบรม (Workshop) โรงเรียนนำร่องจัดการเรียนรู้สู่ “การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ภาคเรียนที่ 2/2558 ใน 6 พื้นที่ เป็นเวลา 2 วัน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พิษณุโลก อุดรธานี สงขลา อุบลราชธานี และเชียงใหม่ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับครู
    2) จัด Smart Trainer จำนวน 300 ทีม เพื่อเป็นทีมพิเศษลงไปดูแลให้ความช่วยเหลือครูในแต่ละโรงเรียนในสัดส่วน 1 ทีมต่อ 10 โรงเรียน ซึ่งทีมนี้เปรียบเสมือนศึกษานิเทศก์ที่จะคอยให้ความดูแล ติดตาม ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

    รูปแบบ/วิธีการจัดการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของเบนจามิน บลูม (Bloom et al, 1956) และคณะ ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ซึ่งได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ
    1) ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) หรือสมอง ที่จะต้องฝึกให้เด็กรู้จักคิดตามหลักการการพัฒนาสมองของเด็กแต่ละช่วงวัย
    2) ด้านเจตพิสัย (Affective Domain) หรือหัวใจ ที่จะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ความมีวินัย ความเป็นชาติไทย รักสถาบันพระมหากษัตริย์ รู้จักสิทธิและหน้าที่ ฝึกให้มีทัศนคติที่ถูกที่ควร
    3) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) หรือมือ ก็คือการฝึกให้มีทักษะจากการปฏิบัติ

    รูปแบบ/วิธีการจัดการเรียนรู้

    รูปแบบ/วิธีการจัดการเรียนรู้

    สอดคล้องกับแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการจะผลิตกำลังสายอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น ทำให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่อาจจะไปเรียนต่อสายอาชีวะ มีกระบวนการได้เรียนรู้ตัวเอง นอกจากนี้ทฤษฎีดังกล่าวยังสอดคล้องกับพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับองค์ 4 แห่งการจัดการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา

    โดยมีรูปแบบ/วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมนอกห้องเรียน แบ่งเป็น 3 หมวด คือ

    สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ซึ่งมีกลุ่มกิจกรรมพัฒนาด้านการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ อาทิ กิจกรรมสนุกกับภาษาไทย หุ่นยนต์วิเศษ กลคณิตศาสตร์ เที่ยวไกลไร้พรมแดน นิทานหรรษา เป็นต้น

    สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้

    สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้

    สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม ซึ่งมีกลุ่มกิจกรรมปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคม ปลูกฝังความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ปลูกฝังและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย อาทิ กิจกรรมมือปราบขยะ ตามรอยพ่อ ลูกเสือเนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ ภูมิใจในบ้านเกิด เป็นต้น

    สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม

    สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม

    ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการเตรียมจะจัดประชุมสัมมนาผู้แทนหน่วยงานและองค์กร ที่จะร่วมจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับเด็กนักเรียนและสถานศึกษา ในวันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2558 เวลา 10.00 น. ซึ่งประกอบด้วยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย กลุ่มศิลปินดารา ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (กรอ.อศ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บริษัทเอกชนที่จัดทำโครงการรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมขององค์กร (CSR) ฯลฯ

    อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการประชุมร่วมกับหน่วยงานและครูแล้ว จะทำให้มีกิจกรรมเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเชื่อว่าทุกกิจกรรมจะตอบโจทย์ Head (สมอง) Heart (หัวใจ) และ Hand (มือ) ตามแต่ละช่วงวัยของผู้เรียนทั้งสิ้น

  3. การวัดและประเมินผล แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินทางวิชาการต่างๆ ซึ่งได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ไม่มีผลกระทบอย่างแน่นอน ส่วนการประเมินความสำเร็จของโครงการ จะมีการประเมินระหว่างเทอม 2 ครั้ง และประเมินหลังปิดเทอม 1 ครั้ง

    รมว.ศึกษาธิการ กล่าวย้ำว่า ในเรื่องของการประเมินผลเป็นเรื่องใหญ่ที่ให้ความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าส่วนใดสำเร็จ และมีส่วนใดที่ยังล้มเหลว จึงได้มอบให้ สพฐ. รวบรวมหัวข้อในการประเมินทั้งหมดมานำเสนอ ทั้งในส่วนการประเมินด้านวิชาการ และการประเมินความสุขของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู เพื่อจะได้นำมาเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมทั้งต้องตอบโจทย์ปัญหาด้านการศึกษาด้วย เช่น เด็กไทยเรียนมากและมีการบ้านจำนวนมาก ทำให้พ่อแม่และเด็กมีความเครียด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยไม่ดีขึ้น เด็กไทยขาดทักษะชีวิต ขาดระเบียบวินัย เป็นต้น

    ทั้งนี้ หากจำเป็นที่จะต้องนำบุคคลที่สามหรือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญมาเป็นผู้ประเมิน ก็ต้องทำ เพื่อให้ได้คำตอบของการดำเนินงานที่ชัดเจน แต่จะต้องพิจารณาถึงรายละเอียดของวิธีการประเมินก่อนว่า เป็นการสร้างภาระให้กับครูหรือไม่อย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงก็คงจะต้องมีภาระอยู่บ้าง แต่ไม่ควรจะมากเกินไป

    ในส่วนการประเมินของครู ให้ความสำคัญและมีความเห็นใจมาก เพราะครูจะต้องได้รับการประเมินต่างๆ ที่ล้วนเป็นภาระกับครูทั้งสิ้น อีกทั้งยังมีครูบางคนที่เป็นครูที่เก่ง ครูดีในพื้นที่ห่างไกล และเป็นที่รักของลูกศิษย์ แต่อาจจะสอบไม่เป็น จึงจำเป็นที่กระทรวงศึกษาธิการจะต้องพัฒนาวิธีการประเมินครูในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากการสอบที่ไม่ควรสร้างภาระให้กับครูมากจนเกินไป โดยเตรียมที่จะพัฒนาการประเมินครูทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นที่ “ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน” เป็นส่วนสำคัญของการประเมินด้วย

  4. การทบทวนหลังการปฏิบัติ (AAR)โดยจะดำเนินการทันทีหลังปิดเทอม เพื่อประมวลและรวบรวมปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ จากการดำเนินโครงการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะครูและสถานศึกษา เพื่อนำระบบ AAR (After Action Review) มาทบทวน ปรับปรุง แก้ไข ในการวางแผนดำเนินโครงการในปีการศึกษา 2559 ตลอดจนมีการศึกษารูปแบบการจัดการของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ เพื่อขยายไปยังโรงเรียนที่เหลือต่อไปด้วย
    การทบทวนหลังการปฏิบัติ (AAR)

    การทบทวนหลังการปฏิบัติ (AAR)

โดย : นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร
ที่มา : moe

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น