มศ.ลั่นพร้อมเข้ารับการประเมินตามโครงการ EU SHARE มั่นใจมีความเป็นสากล – ครูระยอง

Print Friendly

พล.ร.ต.วัชระ การุณยวนิช รองผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า เครือข่ายประกันคุณภาพอาเซียน (AQAN) สมาคมประกันคุณภาพจากสหภาพยุโรป (ENQA) และ หน่วยงาน DAAD ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบด้านการพัฒนากรอบการประกันคุณภาพและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการ EU SHARE เพื่อช่วยเหลือทางวิชาการด้านอุดมศึกษาแก่ภูมิภาคอาเซียน

โดยในระหว่างปี 2559-2560 นี้ จะนำร่องประเมินหน่วยงานประกันคุณภาพภายนอกของอาเซียนที่มีความพร้อมก่อน 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ไทย ซึ่งในส่วนของไทย สมศ.ได้ตอบรับและพร้อมเข้ารับการประเมินดังกล่าวแล้ว โดยภายในเดือน เม.ย.2560 จะส่งรายงานการประเมินตนเองไป จากนั้นในครึ่งปีหลังคณะกรรมการประเมินจาก EU SHARE จะมาลงพื้นที่ติดตามการประเมินคุณภาพภายนอกในประเทศไทย

พล.ร.ต.วัชระ สำหรับเนื้อหาที่หน่วยงานประเมินจากยุโรปพิจารณาประกอบด้วย 4 หลักการ โดนแต่ละหลักการใหญ่จะมี 10 หลักการย่อย  ได้แก่

  1. หลักการของหน่วยประเมินคุณภาพภายนอก อาทิ ระบบการแต่งตั้งคณะกรรมการที่โปร่งใส
  2. หลักการประเมินคุณภาพภายนอก อาทิ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนและสังคมเป็นสำคัญ
  3. หลักการประกันคุณภาพภายใน อาทิ สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องคุณภาพ
  4. หลักการกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ อาทิ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติช่วยในการกำหนดการเลื่อนคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้นจากผลการเรียนรู้และการฝึกอบรม รวมทั้งการเทียบโอนประสบการณ์ก่อนเข้าศึกษา เป็นต้น

“การเข้าร่วมโครงการนำร่องครั้งนี้ จะสะท้อนว่าหน่วยงานประกันคุณภาพภายนอกของอาเซียน มีความเป็นสากลเพียงใด พร้อมทั้งให้คำแนะนำแต่ละประเทศไปใช้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถเทียบเคียงกันได้ และจะส่งผลถึงการยอมรับ เชื่อมั่นในคุณภาพการอุดมศึกษา การเคลื่อนย้ายผู้เรียน การถ่ายโอนหน่วยกิต และการยอมรับคุณวุฒิระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งผมมั่นใจว่า สมศ.มีความเป็นสากล ”

พล.ร.ต.วัชระ กล่าว

ที่มา : เดลินิวส์

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น