สพฐ.สั่ง ร.ร. ปรับสอนแบบแจกลูกสะกดคำ สนองพระราชดำรัส “สมเด็จพระเทพฯ”

การศึกษาไทย

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีรับสั่งให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ฟื้นการสอนแบบแจกลูกสะกดคำและพิจารณาหาวิธีการขยายการสอนดังกล่าว เพราะเป็นพื้นฐานที่เป็นประโยชน์เพราะทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้ โดยพระองค์ท่านรับสั่งว่าเคยเรียนด้วยวิธีนี้ แต่ ศธ.ไปยกเลิกทำให้เด็กสะกดคำไม่เป็น ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พร้อมรับสนองพระราชดำรัส ทั้งนี้ โดยกระบวนการ สพฐ. ทราบว่าเด็กมีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ อยู่ 2 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่ไม่มีความพร้อมในการเรียน อาทิ เด็กต่างด้าวที่ย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เด็กชนเผ่าต่าง ๆ รวมถึงเด็กที่มีปัญหายากจน กลุ่มนี้ประมาณ 26,000 คน และกลุ่มที่ 2 เป็นเพราะโรงเรียนเปลี่ยนรูปแบบการสอน จากเดิมที่สอนแบบแบบแจกลูกสะกดคำ มาเป็นสอนอ่านเป็นคำ ๆ เช่นเดียวกันการสอนภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี เป็นต้น ทำให้เด็กไม่สามารถผลสมคำที่แตกต่างออกไปได้ จนเกิดปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ดังปัจจุบัน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สพฐ. ได้ดำเนินการแก้ไข ไปแล้วระดับหนึ่ง โดยได้จัดพิมพ์แบบเรียนเร็วใหม่ ตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ของหลวงดรุณกิจวิทูร และนายฉันท์ ขำวิไล ที่ใช้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 หนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชุดมานะ มานี มานะ ปิติ ชูใจ รวมถึง จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานอ่านออก เขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้ แจกโรงเรียนทั้งประเทศไปแล้ว รวมทั้งประกาศเป็นนโยบายการให้ทุกโรงเรียนปรับรูปแบบการสอน มาเป็นการสอนแบบแจกลูกสะกดคำทั้งหมด ขณะเดียวกันส่งเสริมให้ครูคิดนวัตกรรมการสอนแบบแจกลูกสะกดคำใหม่ ๆ ขึ้นมาปรับประยุคใช้กับการเรียนการสอนอีกทางหนึ่งด้วย

“ข้อดีของการเรียนแบบแจกลูกสะกดคำ จะทำให้เด็กสามารถผสมคำได้หลากหลาย เพราะภาษาไทยมีรูปแบบการเรียนที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ มีทั้งคำสมาส และคำสนธิ ที่เปลี่ยนรูปคำ ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย อาทิ คำว่า มติครู หากเปลี่ยนจาก เป็นมติประชา ความหมายก็จะเปลี่ยน จึงจำเป็นต้องเรียนแบบสะกด ขณะเดียวกัน จากการที่ได้ตามเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไปเยี่ยมโรงเรียน ซึ่งได้มีการนำนวัตกรรมการสอนแบบแจกลูกสะกดคำมานำเสนอต่อหน้าพระพักตร์ ได้อย่างน่าสนใจ ดังนั้นสพฐ. จะรวบรวมนวัตกรรมเหล่านี้ และนำผลงานที่โดดเด่นในด้านการสอนมาพัฒนาเป็นสื่อการเรียนการสอนต้นแบบให้โรงเรียนต่าง ๆ ต่อไป”นายกมล กล่าว

ที่มา : ผู้จัดการ

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น