ชงเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาทุกโรง

ทุจริต ผิดวินัย ไม่เหมาะ

Print Friendly

ดร.บัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาแนวทางการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาที่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และเสนอกลับไปยังครม.ภายในวันที่ 12 ม.ค.นั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.)ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้จัดเก็บภาษีเงินได้โรงเรียนกวดวิชาทุกโรงเรียน โดยแบ่งประเภทการจัดเก็บเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทบุคคลธรรมดา และประเภทนิติบุคคล ตามอัตราการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร โดยโรงเรียนกวดวิชาที่จดทะเบียนแบบประเภทบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้สุทธิเกิน 150,000 บาท และประเภทนิติบุคคล ที่มีรายได้สุทธิเกิน 300,000 บาท จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจะมีการแก้ไขกฎกระทรวงให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการต่อไป

“นอกจากนี้ที่ประชุมได้เสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือโรงเรียนกวดวิชาที่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ ด้วยการลดหย่อนภาษีแก่โรงเรียนกวดวิชาที่ประกอบกิจกรรมสาธารณประโยชน์ทางสังคมต่าง ๆ โดยให้สามารถขอลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ สช.จะสรุปรายละเอียดของมาตรการต่าง ๆ เพื่อนำเสนอ ครม.ต่อไป”ดร.บัณฑิตย์กล่าว

ข่าวอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น