ความก้าวหน้านโยบายการปฏิรูปการศึกษา

Print Friendly

สรุปผลความก้าวหน้าตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ภายใต้การบริหารงานของพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

  1. ความก้าวหน้านโยบาย
    ด้านการปฏิรูปการศึกษา

1) ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ เป็นองค์กรหลักที่มุ่งจัดและส่งเสริมการศึกษาให้ประชาชนมีความรูความสามารถ มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเองเสริมสร้างสังคมคุณธรรม พัฒนาสังคมฐานความรูและสามารถยืนหยัดในเวทีโลกบนพื้นฐานของความเป็นไทย

โดยมีการจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง เพื่อทำหนาที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา ติดตามตรวจสอบและประเมินผล

แต่จากการปฏิบัติราชการพบสภาพปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญคือ การกระจายโอกาสทางการศึกษายังไมเป็นธรรมและทั่วถึง เกิดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริการการศึกษา มาตรฐานและการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในทุกระดับกำหนดจากส่วนกลาง

ซึ่งไมสอดคลองกับสภาพปัจจุบันและความแตกต่างของแต่ละท้องถิ่น การส่งเสริมการจัดการศึกษายังไมเหมาะสมกับการศึกษาแต่ละระดับและประเภท นโยบายการผลิตผู้สำเร็จการศึกษาไมสอดคลอง กับทิศทางความต้องการของตลาดแรงงานนโยบายการบริหารจัดการศึกษาขาดความต่อเนื่องและชัดเจน เนื่องจากมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง

โครงสร้างการจัดระเบียบบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการยังไมสอดคลองกับภารกิจและไมเป็นเอกภาพ การตัดสินใจการบริหารและจัดสรรงบประมาณรวมศูนย์กลางไว้ในส่วนกลาง สถานศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานมีปริมาณไม่เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการในทุกระดับและทุกสาขาวิชา

ดังนั้น จากสภาพปัญหาอุปสรรคต่างๆ จึงเป็นกรอบกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ดังนี้

1. เพิ่มและสร้างโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทยอย่างเท่าเทียม

2. ปฏิรูปการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพการศึกษา

3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และส่งเสริมการวิจัยพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

4. ผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ

5. ปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทันสมัย

2) เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่จัดและส่งเสริมการจัดการศึกษาของชาติ ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ และการพัฒนาประเทศโดยรัฐบาลมุ่งจัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ

1. สร้างคุณภาพคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้ ด้วยความใฝ่รู้และทักษะที่เหมาะสม

2. คนไทยเป็นคนดีมีคุณธรรม

3. สร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่

สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ ได้กำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษาไว้ คือ สร้างระบบการศึกษาของไทยเป็นที่ยอมรับและเกิดความมั่นคงยั่งยืน  สร้างโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทยอย่างเท่าเทียมเป็นธรรม ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานสากล  ยกสถานะวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ครูเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี และบูรณาการการปฏิบัติราชการทุกระดับเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

3) ผลการดำเนินงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

คณะที่ปรึกษา ประกอบด้วยนายแพทย์กระแส ชนะวงศ์  – นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์  – นายตวง อันทะไชย  – นางทิชา ณ นครนายมีชัย วีระไวทยะ

คณะกรรมการ  โดยมีพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ นายกฤษณพงศ์  กีรติกร และพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ โดยมีกรรมการอีก 21 คน เช่น – พลเอก สุทัศน์  กาญจนานนท์กุล  – นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ – นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา  – นายวิจารณ์ พานิช  – นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์  – นายสมชัย ฤชุพันธุ์ – นางประภาภัทร นิยม – นายวรากรณ์ สามโกเศศ  – นางสิริกร มณีรินทร์  – นายนคร ตังคะพิภพ  – นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ – นายอมรวิชช์ นาครทรรพ  – นายสมพร ใช้บางยาง  – นางสุทธศรี วงษ์สมาน – นายแพทย์กำจร ตติยกวี – นายกมล  รอดคล้าย  – นายชัยพฤกษ์  เสรีรักษ์ – นายพินิติ รตะนานุกูล เป็นกรรมการและเลขานุการ  – นายประวิต เอราวรรณ์  นายชาญ ตันติธรรมถาวร และนายเฉลิมชนม์  แน่นหนา เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว มีหน้าที่จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปด้านการศึกษา เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับด้านการศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มอบหมายบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการตามที่เห็นสมควร รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานเพื่อดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

คณะกรรมการดังกล่าว ได้ประชุมครั้งแรกไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ โดยที่ประชุมได้หารือถึงกรอบการปฏิรูปการศึกษา เพื่อต้องการให้การปฏิรูปการศึกษาเป็นนโยบายพื้นฐานของทุกรัฐบาล ที่ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาล ก็ควรดำเนินการตามกรอบ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาของไทยเกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืน และไม่ถูกแทรกแซงจากระบบการเมือง ทั้งยังเห็นพ้องในหลักการว่าควรมี คณะกรรมการระดับชาติ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิรูปการศึกษา ทั้งระยะเร่งด่วน (1 ปี) ระยะปานกลาง (1-3 ปี) และระยะยาว (5-10 ปี)

นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ ในคณะกรรมการชุดนี้ 7 คณะ เพื่อเป็นกลไกการดำเนินงานกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อาทิ คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบงบประมาณและทรัพยากรเพื่อการศึกษา, คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล, คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายการศึกษา, คณะอนุกรรมการด้านการกระจายอำนาจ, ด้านการปฏิรูปหลักสูตร ด้านการผลิตและพัฒนาครู เป็นต้น

ประการสำคัญ คือ ได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการปฏิรูประบบการเรียนรู้สู่ผู้เรียน (Education Reform Lab & Coaching Lab) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการเพื่อนำร่องการกระจายความรับผิดชอบ (หรือกระจายอำนาจ) ลงสู่เขตพื้นที่การศึกษา เป็นเวลา 3ปีต่อเนื่อง (พ.ศ.2558-2560) ในเขตพื้นที่การศึกษา 20 เขตๆ ละ 15 โรงเรียน ครอบคลุมโรงเรียนแกนนำซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีผลการเรียนรู้ต่ำเป็นกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน รวมทั้งสิ้น 300 โรง โดยให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาวิเคราะห์สถานภาพและตั้งโจทย์การพัฒนาโรงเรียนดังกล่าว พร้อมทั้งจัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน (Reform Lab) และปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน (Coaching Lab) จากนั้นจึงจะร่วมกันเลือกประเด็นปัญหาสำคัญที่ต้องการแก้ไข เพื่อให้คณะทำงาน พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และนักประเมินผลติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะทุกๆ 3 เดือน และ 6 เดือนต่อไป

ทั้งนี้ จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 7 มกราคม 2558 ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ให้การปฏิรูปการศึกษาเป็นการวางรากฐานที่ดีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆ ของประเทศอย่างยั่งยืน จึงจะให้มีการประชุมหารือร่วมกันมากขึ้น ทั้งในส่วนของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการทั้ง 7 คณะ อาจเป็นเดือนละ 1-2 ครั้ง

ที่มา : moe

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น