สั่งสถาบันภาษาไทยจัดอบรมครูทั่วประเทศ แก้เด็กอ่านเขียนไม่ได้ – ครูระยอง

Print Friendly

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษา โดยเน้นความสำคัญไปที่การเรียนการสอนภาษาไทย และประกาศให้ปี 2558 เป็นปีที่ปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้นั้น ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มอบหมายให้สถาบันภาษาไทย ของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.)

ล่าสุด สถาบันภาษาไทยได้รายงานความคืบหน้า ระหว่างเดือน เม.ย.- มิ.ย. ว่า ได้จัดทำ “โครงการพลิกโฉมโรงเรียน ป.1 อ่านออกเขียนได้ใน 1 ปี” โดยจัดอบรมแนวทางพัฒนาการทางสมอง (บีบีแอล) ผ่านระบบทางไกลผ่านดาวเทียมดีแอลทีวี และเผยแพร่ทางเว็บไซต์โครงการฯ ให้กับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ครูภาษาไทย ป.1 ทั่วประเทศ 65,000 คน เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

นอกจากนี้ สพฐ. ได้คัดเลือกโรงเรียนแกนนำจากทุกเขตพื้นที่ฯ รวม 2,022 โรง เพื่อให้ผู้บริหาร สพท. ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ครูภาษาไทย ป.1 จำนวน 5,600 คน เข้ารับการอบรมระหว่างเดือน พ.ค.- มิ.ย. ก่อนเผยแพร่การอบรมข้างต้นไปยังครูกลุ่มเป้าหมายอีก 400,000 คน ทางเว็บไซต์ดีแอลไอที ควบคู่กันนี้ได้แจกหนังสือแบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม 1 ชั้น ป.1 ตอนกลาง ชั้น ป.2 และตอนปลาย ชั้นป.3 พร้อมคู่มือการสอนให้กับโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับประถมศึกษาทุกโรง เพื่อส่งเสริมการสอนแบบแจกลูกสะกดคำ ทั้งนี้ สถาบันภาษาไทยของ สวก. ได้กำหนดให้ สพท. ที่มีโรงเรียนประถมศึกษา รายงานผลกลับมาทุกเดือนเป็นรายโรงจนถึง ก.พ. 59

“28 มิ.ย.- 2 ก.ค. ที่ผ่านมา ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) จำนวน 18 เขต รวม 54 โรง ซึ่งในเดือนสิงหาคมนี้ จะได้รู้ข้อมูลชัดเจนว่า สพท. ไหนมีอัตรานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้” นายกมล กล่าว

ที่มา : ผู้จัดการ

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น