สพฐ.เตรียมกระจายงบฯสู่จังหวัด

Print Friendly

สพฐ.เดินหน้ารับแผนกระจายอำนาจให้สถานศึกษาในฐานะเป็นนิติบุคคล เผยการกระจายงบฯ สู่จังหวัดโดยตรง มีสัดส่วน 60-70% ของงบฯ ที่ได้รับ  นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ด้านการศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอจะดำเนินการจะจัดสรรงบประมาณลงสู่จังหวัด และให้อำนาจสถานศึกษาคิดโครงการบริหารจัดการงบฯ ซึ่งในเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับมอบหมายจาก พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ในเรื่องการทำให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล โดยการเพิ่มอำนาจของสถานศึกษาอย่างน้อย 4 เรื่อง คือ

  1. การบริหารจัดการ
  2. การบริหารงบประมาณ
  3. การบริหารบุคคล
  4. การบริหารวิชาการ

ซึ่งขณะนี้ได้มีการทดลองดำเนินการในกลุ่มสำนักงานเขตพื้นที่ฯ 20 เขต ที่อยู่ในโครงการปฏิรูปสู่ภาคปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

นายกมลกล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องของการกระจายงบประมาณไปสู่จังหวัดนั้น เป็นเรื่องที่สามารถดำเนินการได้เลย คือเมื่อได้รับงบฯ มา ทางส่วนกลางก็จะจัดการเคลียร์งบฯ ดังกล่าวว่าจะอยู่ในการดูแลของส่วนกลางเท่าไร ที่เหลือก็จะไปยังจังหวัดต่างๆ ประมาณ 60-70% และในเรื่องนี้ทาง สพฐ.เองก็เริ่มดำเนินการ โดยการกระจายงบฯ ลงไปยังสำนักงานเขตพื้นที่ฯ ต่างๆ เป็นผู้บริหารจัดการเองแล้ว นอกจากนี้ความเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านการศึกษา ที่ผมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ค่อนข้างที่จะมีแนวโน้มสูงว่าจะใช้จังหวัดเป็นฐาน

โดยอาจจะมีการจัดตั้งสภาการศึกษาระดับจังหวัด “สภาการศึกษาระดับจังหวัดจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่หลายๆ อย่าง เช่น การดูแลเรื่องการจัดสรรงบฯ ที่ส่วนกลางกระจายลงไปยังพื้นที่จังหวัด และเรื่องจัดสรรหลักสูตรการเรียนการสอนควบคู่ไปกับหลักสูตรของส่วนกลาง คือยังจะมีหลักสูตรที่ส่วนกลางเป็นผู้จัดในบางวิชา รักษาความเป็นมาตรฐานเดียวกัน ควบคู่ไปกับหลักสูตรที่ทางจังหวัดเป็นผู้จัด ที่จะสอนในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับจังหวัด เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อรองรับความหลากหลายของบริบทในแต่ละพื้นที่ และผู้เรียนยังสามารถนำความรู้ไปใช้ในพื้นที่ด้วย” เลขาฯ กพฐ.กล่าว.

ที่มา : ไทยโพสต์

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น