สกศ.เสนอได้”ตั๋วครู”ต้องสอบ!

Print Friendly

สกศ.ผุดแนวคิดการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องผ่านการสอบ พร้อมกับเสนอแยกใบประกอบวิชาชีพครูออกเป็นระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ชี้เพื่อเพิ่มช่องทางคนจบสาขาอื่นมาเป็นครู

นายพินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาการผลิตครู และมีแนวคิดว่าควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต่อไปผู้ที่จะได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการสอบตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนด ไม่ใช่ได้โดยอัตโนมัติเช่นปัจจุบัน แต่ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงแนวคิด เพราะต้องหารือกับคุรุสภาและสถาบันผลิตครู รวมถึงดูแนวโน้มการปรับหลักสูตรว่าจะมีความสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ แต่เท่าที่ดูขณะนี้ ทุกฝ่ายค่อนข้างมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน

ขณะเดียวกันที่ประชุมก็มีความคิดเห็นว่าอาจมีการแยกเป็นระดับประถม มัธยม รวมถึงเพิ่มช่องทางการได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสำหรับผู้ที่จบในสาขาอื่นให้สามารถมาเป็นครูได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ควรจะต้องแยกใบอนุญาตฯ เพราะที่ผ่านมา สถาบันผลิตครูจะเปิดสอนโดยแยกออกเป็นสาขาวิชาเอกต่างๆ เช่น วิชาเอกคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา เป็นต้น ทำให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องเรียกบรรจุครูตามวิชาเอก ทำให้ครูไม่มีความถนัดที่จะสอนข้ามเอก โดยเฉพาะในระดับประถม ที่เด็กยังไม่จำเป็นต้องเรียนลงลึกเป็นรายวิชา จึงต้องการครูที่สามารถเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ มาใช้ในการสอนได้ เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดเจน เกิดความเข้าใจ ส่วนระดับมัธยมสามารถใช้ครูที่จบในวิชาเอกต่างๆ ได้ตามปกติ

นายพินิติกล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้าง ในส่วนของ สกศ.ค่อนข้างนิ่งแล้วว่าควรจะต้องมีคณะกรรมการ ระดับรัฐบาล มีสำนักงานขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี หรือสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ในการทำแผนพัฒนาการศึกษาให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษา รวมถึงจะต้องยกร่างกฎหมาย เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และทุกหน่วยงานต้องให้ข้อมูลตัวเลข โดยเฉพาะกรอบการผลิตบัณฑิตในสาขาต่างๆ ของทุกหน่วยงาน เพราะปัจจุบัน สกศ.รู้ข้อมูลเฉพาะหน่วยงานที่อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เท่านั้น ต่อไปจะต้องดูภาพรวมทั้งหมด เพื่อไม่ให้ผลิตเกินและตรงตามความต้องการ ส่วน สกศ.จะมีอำนาจไปกำหนดตัวเลขการผลิตในแต่ละสาขาหรือไม่นั้น ตรงนี้ตนไม่แน่ใจ รายละเอียดต้องกำหนดไว้ในกฎหมายที่จะยกร่างขึ้นใหม่.

ที่มา : ไทยโพสต์

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น