สคศท.วอนคุรุสภาเช็กยอดจริงครูขาด

Print Friendly

ส.ค.ศ.ท.วอนคุรุสภาเช็กยอดจริงครูสาขาขาดแคลน ชี้ขณะนี้มีการขอใบอนุญาตตั๋วครูชั่วคราวจำนวนมาก ยกตัวอย่าง สอศ.ครูบางสาขาไม่ได้ขาดจริง นายสุรวาท ทองบุ ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวว่า จากกรณีที่คณะกรรมการคุรุสภามีมติประกาศสาขาขาดแคลนของสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 98 สาขา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 10 สาขานั้น ในการประชุม ส.ค.ศ.ท.ที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นว่าสาขาวิชาขาดแคลนที่บอร์ดคุรุสภาประกาศหลายสาขาไม่ขาดแคลน จริง แต่เป็นเพราะเมื่อถึงเวลาเปิดสอบแล้วมาสอบแข่งไม่ได้ หรือไม่มีคนมาสอบ จึงอยากให้มีการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนว่าเป็นสาขาขาดแคลนจริงหรือไม่ เพราะ ส.ค.ท.ศ.ยังยืนยันว่าควรต้องใช้ครูที่จบวุฒิการศึกษามาโดยตรงจะดีกว่า”

ตอนนี้ทั้ง สอศ., สพฐ. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มีการขอใบอนุญาตสอนชั่วคราวกันเป็นจำนวนมาก ทาง  ส.ค.ศ.ท.จึงอยากขอให้คุรุสภาตรวจสอบให้ดีว่าสาขาที่ขอมาขาดแคลนจริงหรือไม่ เพราะเท่าที่ทราบ สาขาที่ สอศ.ขอมามีหลายสาขาไม่ขาดแคลนจริง บางสาขาในโลกนี้ไม่ได้เปิดสอนเลย เป็นเพียงแขนงที่เป็นวิชาย่อยในสาขานั้น และขณะนี้ก็ยังไม่มีมหาวิทยาลัยใดส่งหลักสูตรมาให้สำนักงานคณะกรรมการข้า ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รับรองเพื่อตีค่าเงินเดือน” ประธาน ส.ค.ศ.ท.กล่าว

นายสุรวาทกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สิ่งที่สถานศึกษาต้องทำคือดูว่าสาขาที่ตัวเองขาดแคลนมีอะไร และต้องการได้ครูสาขาอะไร แล้วแจ้งให้ฝ่ายผลิตทราบล่วงหน้า เพื่อจะได้วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ แต่หากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ผลิตให้ไม่ได้จึงค่อยมาสรุปว่า นั่นคือสาขาขาดแคลน

ด้าน ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ได้เสนอให้บอร์ดคุรุสภาประกาศสาขาวิชาขาดแคลน 21สาขา แต่ผ่านเพียง 10 สาขา โดยสาขาที่บอร์ดคุรุสภาประกาศก็ตรงกับความต้องการของ สพฐ.ที่อยากได้คนเก่งและจบสายตรง อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ สพฐ.ก็จะทำหนังสือไปยัง ก.ค.ศ. เพื่อให้ ก.ค.ศ.รับรองหลักสูตรและกำหนดค่าตำแหน่งและเงินเดือนต่อไป.

ที่มา : ไทยโพสต์

krurayong

ผู้เขียน: krurayong

สุธาราทิพย์ แสงสุวรรณ เป็นที่ปรึกษาและติดยาเสพติดอายุ 31 ปีที่โรงพยาบาลศรีวิชัย เธอสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2553 เธอทำงานกับทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพื่อจัดการกับปัญหาการเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ในเวลาว่างของเธอเธอมีส่วนร่วมในชมรมละครของชุมชนท้องถิ่น